Search result for

*อัคร*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: อัคร, -อัคร-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - อังกฤษ (EN) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
อัครราชทูตที่ปรึกษา(n) Minister Counsellor

Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
อัครเศรษฐ์[อัก-คะ-ระ-เสด] (name) ชายผู้เป็นเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
อัครชายา(n) queen, See also: royal consort, Count Unit: องค์, Thai Definition: ตำแหน่งมเหสีรอง
อัครมเหสี(n) queen, See also: empress, Example: อัครมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มีพระวรกายซูบผอม, Count Unit: องค์, Thai Definition: พระมเหสีเอกของพระเจ้าแผ่นดิน
อัครราชทูต(n) minister, Example: เมื่อสมัยกรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัยยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น ทรงถูกอัครราชทูตอังกฤษบริภาษใส่พระพักตร์, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้แทนรัฐบาลไปราชการชั่วคราว หรือประจำอยู่ในสำนักแห่งรัฐบาลอื่น, Notes: (โบราณ)
อัครสมณทูต(n) internuncio, Count Unit: องค์, Thai Definition: ทูตที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำรัฐหนึ่ง
เอกอัครสมณทูต(n) nuncio, Count Unit: คน, Thai Definition: สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนทางการทูต รวมทั้งทำหน้าที่ดูแล และประสานงานกับคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา, Notes: (อังกฤษ)
อัครมหาเสนาบดี(n) prime minister, See also: chief of the minister, Example: ในการปกครองส่วนกลางสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีอัครเสนาบดีฝ่ายทหารดูแลข้อราชการในกรมพระกลาโหม, Count Unit: คน, Thai Definition: หัวหน้าเสนาบดี
สถานเอกอัครราชทูต(n) embassy, Example: เขาเดินหนังสือไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน, Thai Definition: สถานที่ทำการของเอกอัครราชทูต

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
อัคร-(อักคฺระ-) ว. เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี.
อัครชายาน. ตำแหน่งมเหสีรอง เรียกว่า พระอัครชายา.
อัครมหาเสนาบดีน. หัวหน้าเสนาบดี.
อัครมเหสีน. ตำแหน่งภรรยาเอกของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระอัครมเหสี.
อัครราชทูตน. ผู้แทนรัฐบาลไปราชการชั่วคราวหรือประจำอยู่ในสำนักแห่งรัฐบาลอื่น.
อัครสมณทูต(-สะมะนะทูด) น. ทูตที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่งในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งเอกอัครสมณทูต มีฐานะระดับเดียวกับรัฐทูต.
เอกอัครราชทูต(เอกอักคฺระ-) น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐแต่งตั้งไปประจำยังสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็นตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติของตนในรัฐนั้น ๆ.
เอกอัครสมณทูต(เอกอักคฺระ-) น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนทางการทูต รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับเอกอัครราชทูต.
กลูน, กลูน์(กะลูน, กะลู) ก. กรุณา เช่น ทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์ (สมุทรโฆษ).
ขวา(ขฺวา) ว. ตรงข้ามกับ ซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสำคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา.
ทูลกระหม่อม ๑คำเรียกพระราชโอรสพระราชธิดาซึ่งเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก ประสูติแต่พระอัครมเหสี, ใช้ว่า ทูลหม่อม ก็มี, หากเจ้านายทรงเรียกพระประยูรญาติที่เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก จะระบุคำแสดงความเป็นเครือญาติท้ายคำว่า ทูลกระหม่อม เช่น ทูลกระหม่อมปู่ ทูลกระหม่อมพ่อ ทูลกระหม่อมลุง ทูลกระหม่อมป้า ทูลกระหม่อมอา.
บรม, บรม-(บอรมมะ-) ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม)
ประดิษฐาน(ปฺระดิดสะถาน) ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี.
ประไหมสุหรี(ปฺระไหฺมสุหฺรี) น. ตำแหน่งพระมเหสีที่ ๑ หรืออัครมเหสีของกษัตริย์ชวาในวงศ์อสัญแดหวา.
ฯพณฯ(พะนะท่าน) น. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น.
พระพันวัสสา, พระพันวศา, พระพันวษา(-วัดสา, -วะสา) น. คำเรียกพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ ว่า สมเด็จพระพันวัสสา สมเด็จพระพันวศา หรือสมเด็จพระพันวษา
มหาสาวกน. พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ของพระพุทธเจ้า ๘๐ องค์ ซึ่งรวมพระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์เข้าไว้ในจำนวนนั้นด้วย.
รัฐทูต(รัดถะทูด) น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต.
ราชทูตน. ผู้นำพระราชสาส์นไปประเทศอื่น, ผู้แทนชาติในประเทศอื่น, ตำแหน่งผู้แทนรัฐถัดจากอัครราชทูต.
ศาสนูปถัมภก(สาสะนูปะถำพก, สาดสะนูปะถำพก) น. ผู้ทะนุบำรุงศาสนา, ถ้าใช้แก่พระมหากษัตริย์ เรียกว่า องค์เอกอัคร-ศาสนูปถัมภก.
สมุหนายกน. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายพลเรือน รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองฝ่ายเหนือ.
สมุหพระกลาโหมน. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาสนาบดีฝ่ายทหาร ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายทหาร รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองปักษ์ใต้.
อรรค(อัก) ว. อัคร.
อุปทูต(อุปะทูด, อุบปะทูด) น. ผู้รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาการแทนหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
plenipotentiary, ministerอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
pronuncioเอกอัครสมณทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
party, high contractingอัครภาคีผู้ทำสัญญา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legationสถานอัครราชทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
legationสถานอัครราชทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
resident, ministerอัครราชทูตประจำ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
acropolisอัครปุระ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
at large, ambassador; ambassador at largeเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
apostolic nuncioเอกอัครสมณทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
ambassadorเอกอัครราชทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
ambassadorเอกอัครราชทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
ambassador at large; at large, ambassadorเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiaryเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
minister๑. รัฐมนตรี๒. อัครราชทูต๓. ศาสนาจารย์ (คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
minister๑. รัฐมนตรี (ก. รัฐธรรมนูญ)๒. อัครราชทูต (ก. ระหว่างประเทศ)๓. ศาสนาจารย์ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
minister counsellorอัครราชทูตที่ปรึกษา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
minister plenipotentiaryอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
minister residentอัครราชทูตประจำ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
chargé d'affairesอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
counsellor of embassyที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
counsellor of legationที่ปรึกษาสถานอัครราชทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
counsellor, ministerอัครราชทูตที่ปรึกษา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
embassyสถานเอกอัครราชทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
embassy, counsellor ofที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
high contracting partyอัครภาคีผู้ทำสัญญา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
nuncioเอกอัครสมณทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
nuncioเอกอัครสมณทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
ประดิษฐาน[ ปฺระดิดสะถาน ] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี [ศัพท์พระราชพิธี]
Ambassadorsเอกอัครราชทูต [TU Subject Heading]
Taj Mahal (Agra, India)ทัช มาฮัล (อัครา, อินเดีย) [TU Subject Heading]
ASEAN Committee in Beijingคณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงปักกิ่ง " ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง ปักกิ่ง มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของ อาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่กรุงปักกิ่ง [การทูต]
ASEAN Committee in Seoulคณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโซล ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำ กรุงโซล มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิ สัมพันธ์กับสาธารณรัฐเกาหลีที่กรุงโซล [การทูต]
ASEAN Committee in Tokyoคณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโตเกียว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตอาเซียน 10 ประเทศซึ่งประจำที่กรุง โตเกียว มีการหารือเป็นประจำทุก 1-2 เดือน หรือตามความจำเป็น [การทูต]
Agrémentความเห็นชอบ ในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำในประเทศใด กำหนดให้ประเทศผู้ส่งขอความเห็นชอบจากประเทศผู้รับก่อน [การทูต]
Agreementการที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต]
Ambassadorเอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต]
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiaryผู้แทนทางการทูตในอันดับแรก หรือ หัวหน้าของสถานเอกอัครราชทูต, Example: ตามปกตินั้นจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ?Ambassador? (เอกอัครราชทูต) ในสมัยก่อนเอกอัครราชทูตที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับจะมีตำแหน่งต่อท้ายว่า ?Ordinary? (สามัญ) ส่วนเอกอัครราชทูตที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจพิเศษ จะต่อท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ต่อมาความแตกต่างดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว ทุกวันนี้บรรดาเอกอัครราชทูตทั้งหลายจะมีตำแหน่งห้อยท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ทั้งสิ้น การที่ได้รับพ่วงคำว่า ?Plenipotentiary? (ผู้มีอำนาจเต็ม) เข้าไปกับตำแหน่งอีกคำหนึ่งนั้น ย่อมหมายความว่า เอกอัครราชทูตมีอำนาจเต็มที่จะทำการเจรจาทางการทูตตามปกติใดๆ ได้ แต่การที่จะทำการเจรจาและลงนามในสนธิสัญญาได้นั้น จำเป็นที่เขาจะต้องมีอำนาจเต็มเป็นพิเศษตามปกติหรือในหลักการ เอกอัครราชทูตจะติดต่อพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประจำ เซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านชื่อ Guide to Diplomatic Practice ซึ่งเซอร์เนวิล แบลนด์ (Sir Neville Bland) ได้เรียบเรียงและปรับปรุงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 (ดู น.167) มีความตอนหนึ่งว่า?บางคราวเป็นที่เข้าใจกันว่า เอกอัครราชทูตสามารถเรียกร้องขอพบกับตัวประมุขของรัฐได้ไม่ว่าเวลาใด แต่อันที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากราชสำนักหรือรัฐบาลที่เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตได้มีโอกาสเข้าพบปะ พูดจากับประมุขของรัฐ อนึ่ง ในอดีตกาลมีประเทศใหญ่ ๆ เพียงไม่กี่แห่งทำการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกัน จึงเหลือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ เป็นจำนวนมากที่มีตำแหน่งเรียกว่า อัครราชทูต (Ministers) เท่านั้น อย่างไรก็ดีการที่รัฐผู้ส่งจะส่งผู้แทนทางการทูตในระดับเอกอัครราชทูต (Ambassador) ไปยังรัฐผู้รับนั้นจะถือเป็นการให้เกียรติกันอย่างยิ่ง แต่ในสมัยนี้ การที่มีสถานเอกอัครราชทูตแพร่กระจายไปทั่ว ทำให้ตำแหน่งเอกอัครราชทูตถูกลดศักดิ์ศรีและความขลังลงไปมากเมื่อเทียบกับ สมัยอดีตกาลเกี่ยวกับเอกอัครราชทูตนี้ ได้มีการนำเอาคำจำกัดความของตำแหน่งเอกอัครราชทูตมาพูดคุยกันบ่อยๆ เป็นคำจำกัดความของ เซอร์เฮนรี่ วอตตัน (Sir Henry Wotton) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเวนิส ในรัชสมียของกษัตริย์เจมส์ที่ 1 ว่า?เอกอัครราชทูต คือ บุคคลผู้ซื่อสัตย์ที่ถูกส่งไปกล่าวเท็จในต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเขา? (?An ambassador is an honest man sent to lie abroad for the good of his country?)เล่ากันว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1904 ระหว่างที่เซอร์เฮนรี่ วอตตัน เดินทางจากกรุงลอนดอนเพื่อไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตที่กรุงเวนิส ท่านได้แวะพักที่เมืองอ๊อกสเบิร์ก (Augsburg) ณ ที่นั้นท่านได้เขียนเป็นที่ระลึกไว้ในสมุดเยี่ยมของเจ้าของโรงแรมซึ่งเป็น สหายกับท่านในเชิงหยอกล้อ แต่แทนที่จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ กลับเขียนเป็นภาษาละตินว่า ?Legatus est vir bonus peregre missus ad mentiendum Republicae causa? ข้อความภาษาอังกฤษนั้น มีการเล่นคำว่า ?lie? ซึ่งนอกจากจะหมายความว่ากล่าวเท็จแล้ว ยังมีความหมายว่า ?พักอยู่? (Reside หรือ sojourn) ก็ได้ แต่บังเอิญคำละตินว่า ?admentiendum? มีความหมายเพียงอย่างเดียว คือ ?กล่าวเท็จ? ในไม่กี่ปีต่อมาคู่อริทางการเมืองของเซอร์เฮนรี่ได้ไปพบคำจำกัดความนี้เข้า จึงกราบทูลกษัตริย์เจมส์ให้ทรงทราบ หลักฐานประการหนึ่งอ้างว่ากษัตริย์เจมส์ทรงพิโรธอย่างยิ่ง ถึงกับให้เซอร์เฮนรี่ยุติการปฏิบัติราชการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา [การทูต]
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary Permanent Representative of Thailand to the United Nationsเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ (ณ นครนิวยอร์ก/นครเจนีวา) [การทูต]
ASEAN-New Delhi Committeeคณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงนิวเดลี " ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง นิวเดลี มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิ สัมพันธ์กับอินเดียที่กรุงนิวเดลี " [การทูต]
ASEAN Committees in Third Countriesคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม เป็นกลไกประสานงานของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของประเทศที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศนั้น ๆ [การทูต]
Break of Diplomatic Relationsการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต]
Chargé d' Affaires ad interimอุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูต หรือ อุปทูตชั่วคราว " ในกรณีที่ตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนว่างลง หรือหัวหน้าคณะ ผู้แทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ อุปทูตชั่วคราวจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นการชั่วคราวได้ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศของรัฐ ผู้รับทราบ หรือหากหัวหน้าคณะผู้แทนไม่สามารถแจ้งได้ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้ส่งจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวไปยังกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ " [การทูต]
Communiquéคำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต]
Conference Diplomacyกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต]
Conference of Ambassadors and Consuls-General of Thailandการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลก [การทูต]
Congress of Viennaเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต]
Consulateตัวอาคารสถานที่ทำการของกงสุล และคณะเจ้าหน้าที่ทางกงสุล คำนี้อย่าเข้าใจปะปนกับคำว่า ?Chancery? ซึ่งหมายถึงอาคารสถานที่ทำการของเอกอัครราชทูตและคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ของตน [การทูต]
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corpsคณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต]
Committee of Permanent Representatives to ASEANคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนถาวร (ระดับเอกอัครราชทูต) ประจำอาเซียนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับสำนัก เลขาธิการอาเซียนสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนรวมทั้งองค์กร ระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่าง ๆ [การทูต]
credentials, letters of credence" 1. อักษรสาส์นตราตั้ง พระราชสาส์นตราตั้ง (การทูต) หมายถึง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูตจากประมุขของรัฐผู้ส่ง ถึงประมุขของรัฐผู้รับ 2. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) " [การทูต]
Dean (of the Diplomatic Corps)คณบดีคณะทูต เอกอัครราชทูตที่อาวุโสที่สุด (ยื่นสาส์นตราตั้งก่อนผู้อื่น) ในประเทศนั้น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้แทนของคณะทูตานุทูต (ในกรณีที่รัฐผู้รับนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก สมณทูตวาติกันจะดำรงตำแหน่งคณบดีทูต) [การทูต]
diplomatic corpsคณะทูตานุทูต หมายถึง กลุ่มเอกอัครราชทูต กงสุล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งภริยาและเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ [การทูต]
Diplomatic Pouchถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต]
Diplomatic Privilege of Accommodationมาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Diplomatist หรือ Diplomatใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต]
Diplomatic Secretariesตำแหน่งเลขานุการทางการทูตในสถานเอกอัครราชทูต ตำแหน่งเลขานุการทางการทูตจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ เลขานุการเอก เลขานุการโท และเลขานุการตรี ทั้งสามระดับอยู่รองลงมาจากตำแหน่งที่ปรึกษา (Counselor) ระดับทั้งหมดนี้มีฐานะทางการทูต มีเอกสิทธิ และความคุ้มกันทางการทูตทั้งมวล และชื่อจะปรากฎอยู่ในสมุดเอกสารรายชื่อบุคคลในคณะทูตตำแหน่งเลขานุการทางการ ทูตเหล่านี้ อย่าไปปนกับตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของเอกอัครราชทูต ซึ่งแม้จะมีฐานะสำคัญในสถานเอกอัครราชทูต แต่ไม่มีสถานภาพทางการทูตแต่อย่างใด รวมทั้งตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งทำหน้าที่เสมียนจดชวเลขและพิมพ์ดีด [การทูต]
embassyสถานเอกอัครราชทูต " ที่ทำการที่มีหัวหน้าสำนักงานในระดับเอกอัครราชทูตหรืออุปทูต ตำแหน่งต่าง ๆ ประจำสถานเอกอัครราชทูต มีดังนี้ Ambassador เอกอัครราชทูต Minister อัครราชทูต Minister Counsellor อัครราชทูตที่ปรึกษา Counsellor ที่ปรึกษา First Secretary เลขานุการเอก Second Secretary เลขานุการโท Third Secretary เลขานุการตรี Attaché ผู้ช่วยเลขานุการ นอกจากนี้ บางสถานเอกอัครราชทูต มีข้าราชการจากกระทรวงอื่น ๆ นอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ที่ปรึกษาฝ่ายแรงงาน เป็นต้น " [การทูต]
Excellencyเป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต]
First Secretaryเลขานุการเอก เป็นตำแหน่งชั้นเลขานุการทางการทูตที่สูงที่สุดในสถาน เอกอัครราชทูตอยู่เหนือเลขานุการโทและตรี หากว่าในสถานเอกอัครราชทูตใดไม่มีที่ปรึกษา เลขานุการเอกนี้จะทำหน้าที่บังคับบัญชารองลงมาจากเอกอัครราชทูต ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต [การทูต]
Head of Diplomatic Missionบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต]
head of the missionหัวหน้าคณะผู้แทน " หมายถึง หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้น (1) ชั้นเอก- อัครราชทูต หรือเอกอัครสมณทูต (2) ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และ อัครสมณทูต (3) ชั้นอุปทูต (อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความ-สัมพันธ์ทางทูต พ.ศ. 2504) " [การทูต]
High Commiissionerข้าหลวงใหญ่ หรือผู้แทนทางการทูตของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกสังกัดเครือจักรภพอังกฤษ (The Commonwealth of Nations) และประจำอยู่ ณ ประเทศของสมาคมนี้ด้วยกัน แท้ที่จริงแล้วตำแหน่งนี้ก็เท่ากับตำแหน่งเอกอัคร ราชทูตในกรณีของประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกสังกัดในเครือจักรภพนั่นเอง เช่น ในกรณีที่ผู้แทนทางการทูตของประเทศแคนาดาไปประจำ ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศในเครือจักรภพด้วยกัน เขาจะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า High Commissioner ไม่ใช้คำว่า Ambassador แต่ถ้าผู้แทนทางการทูตของแคนาดาไปประจำประเทศนอกเครือจักรภพ เช่น ประเทศไทย ก็จะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า เอกอัครราชทูต (Ambassador) [การทูต]
High Commissioner1. เอกอัครราชทูตของประเทศในเครือจักรภพที่ประจำในสหราชอาณาจักรหรือประเทศใน เครือจักรภพด้วยกัน 2. ข้าหลวงใหญ่ ข้าหลวงใหญ่ : ใช้เรียกหัวหน้าสำนักงานบางแห่งในกรอบสหประชาชาติ เช่น United Nations High Commissioner of Refugee (UNHCR) หมายถึง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ [การทูต]
high contracting partiesอัครภาคีผู้ทำสัญญา [การทูต]
International Conferencesคือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต]
Introducer of Ambassadorsหมายถึง เจ้าหน้าที่แนะนำเอกอัครราชทูต ในนครหลวงของบางประเทศจะมีเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ ซึ่งรับผิดชอบการติดต่อกับเอกอัครราชทูตซึ่งกำหนดจะยื่นสารตราตั้ง ให้เดินทางจากทำเนียบเอกอัครราชทูตไปยังทำเนียบของประมุขแห่งรัฐ และจะเป็นผู้เบิกตัว หรือแนะนำเอกอัครราชทูตผู้นั้นต่อประมุขของรัฐในพิธียื่นสารตราตั้ง ในนครหลวงของอีกบางประเทศ เจ้าหน้าที่แนะนำตัวเอกอัครราชทูตจะมีตำแหน่งเรียกอย่างอื่นคือ Master of Ceremonies ส่วนในประเทศอังกฤษ ณ พระราชสำนักแห่งเซนต์เจมส์ ผู้ที่ทำหน้าที่เช่นนี้จะเรียกว่า Her Majesty?s Marshal of the Diplomatic Corps ส่วนในสหรัฐอเมริกา ผู้กระทำหน้าที่นี้คืออธิบดีกรมพิธีการทูต (Chief of Protocol) [การทูต]
Inviolabilityหมายถึง ความละเมิดมิได้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตต้องได้รับการคุ้มครองมากยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา มีการกล่าวกันว่า ตัวเอกอัครราชทูตนั้นจะได้รับการเคารพยกย่องพอ ๆ กับตัวประมุขของรัฐทีเดียว การให้ความคุ้มครองเช่นนี้จะขยายไปถึงสิ่งของทุกชิ้นที่เป็นของเอกอัคร ราชทูตบุคคลในครอบครัว บริวาร คนใช้ เครื่องเรือน เอกสาร และจดหมายโต้ตอบของเอกอัครราชทูต เป็นต้น [การทูต]
Legationคือสถานที่ทำงานทางการทูตชั้นสอง ต่างกับคำว่า Embassy ซึ่งถือว่าเป็นที่ทำงานของทูตชั้นหนึ่ง หัวหน้า Legation (สถานอัครราชทูต) มีตำแหน่งเป็นทางการเรียกว่า Envoy Extraordinary and Minister Plenipotentiary ในปัจจุบันไม่มีประเทศใดตั้งสถานที่ทำงานทางการทูตชั้นสองกันแล้ว [การทูต]
letter of credenceสาส์นตราตั้ง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูต จากประมุขรัฐผู้ส่งถึงประมุขของรัฐผู้รับ [การทูต]
letter of recallสาส์นถอน หนังสือแจ้งการถอดถอนเอกอัครราชทูตคนก่อน จากประมุขรัฐผู้ส่งถึงประมุขของรัฐผู้รับ [การทูต]
Multiple Representationคือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต]
National Holidayวันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต]
Normal Diplomacyการติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต]
Notes in Diplomatic Correspondenceหมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต]
Passportหนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต]
Personal Diplomacyคือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
You have also taught us by His holy apostle St. paul...ท่านยังได้สั่งสอนเราผ่านทาง พระอัครสาวกนักบุญพอลผู้ศักดิ์สิทธ์ Wuthering Heights (1992)
In Algiers, though, the French ambassador has just arrived, and the situation seems to be more stable.ในกรุงแอลเจียร์ แม้ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส มีความต้องการมาถึง และสถานการณ์ดูเหมือน จะมีเสถียรภาพมากขึ้น Wild Reeds (1994)
- Patience and moderation, Mr. Ambassador.- ความอดทนและการดูแลนายเอกอัครราชทูต The Ugly American (1963)
President, take as your lawful spouse His Excellency's daughter, Tatianaท่านประธานาธิบดีเลือกที่จะแต่งงานกับทาเทียน่า ลูกสาวของท่านเอกอัครราชทูต Salò, or the 120 Days of Sodom (1975)
The Soviet ambassador has been expelled along with the entire staff.เอกอัครราชทูตสหภาพโซเวียต ได้ถูกไล่ออก พร้อมด้วยพนักงานทั้งหมด 2010: The Year We Make Contact (1984)
Mr ambassador, we have arranged the 9 p.m. Aeroflot flight to Moscow.ท่านเอกอัครราชทูตคะ เราสั่งให้เครื่องบินรอตอน 3 ทุ่ม The Jackal (1997)
The declaration of war has already been delivered to the ambassadors.เอกสารประกาศสงคราม ถูกส่งไปให้เอกอัครราชทูตแล้ว... Malèna (2000)
Agra is where we will capture them!เราจะจับพวกมันที่เมืองอัครา Around the World in 80 Days (2004)
Intercept them at Agra! Carry on, Cutter!ไปสกัดพวกมันที่อัครา ไปได้ผู้พัน Around the World in 80 Days (2004)
Go, go, go! Get us out of Agra quickly.ไปๆ พาเราไปจากอัคราเร็วๆ เลย Around the World in 80 Days (2004)
- I need to get hold of my embassy. - If you give me one moment, please.ฉันต้องการติดต่อเอกอัครราชทูต กรุณารอซักครู่ Hotel Rwanda (2004)
Mr. Ambassador, welcome back. This came for you. - Thank you.ท่านเอกอัครราชทูต ยินดีต้อนรับอีกครั้งครับท่าน มีเอกสารส่งมาถึงท่านครับ Mr. Monk Takes Manhattan (2004)
- That's the new Latvian ambassador.- คนนั้นคือเอกอัครราชทูตลัตเวียคนใหม่ Mr. Monk Takes Manhattan (2004)
He was an ambassador, for god's sake.ท่านเป็นถึงท่านเอกอัคราชทูต พระเจ้าให้ตายสิ Mr. Monk Takes Manhattan (2004)
The ambassador.ท่านเอกอัครราชทูต Mr. Monk Takes Manhattan (2004)
Mr. Kazinsky's with the Latvian embassy.คุณคอนซินกี้คุณอยู่กับท่านเอกอัครราชทูตลัตเวีย Mr. Monk Takes Manhattan (2004)
Gratnik's been sending the ambassador some threatening letters.แกรท์นิคส่งจดหมายข่มขู่บางอย่าง ถึงท่านเอกอัครราชทูต Mr. Monk Takes Manhattan (2004)
-And he blamed the ambassador.- แล้วเขาตำหนิท่านเอกอัครราชทูต Mr. Monk Takes Manhattan (2004)
She was clinging to life and has been rushed to St. Thomas of the Apostles.เธอยึดมั่นกับชีวิตและวิ่งเข้าไป เพื่อเซนต์โทมัสของเหล่าอัครสาวก American Duos (2007)
It is a special frozen wine to welcome the Thanh's ambassadors during the feast for tomorrowเป็นเหล้าพิเศษสำหรับต้อนรับ เอกอัคราชทูตในพิธีฉลองพรุ่งนี้ Iljimae (2008)
Triads are gonna kill the Chinese Ambassador.ไทรแอ็ดกำลังจะฆ่า เอกอัครราชทูตจากจีน Chuck Versus the Best Friend (2009)
An archangel will appear to destroy that threat.อัครเทวดาจะออกมาจัดการสิ่งคุกคามนั้น The Monster at the End of This Book (2009)
Archangels are fierce.อัครเทวดาน่ะอำหิต The Monster at the End of This Book (2009)
And these archangels, they're tied to prophets?และอัครเทวดาพวกนี้ ก็คอยดูแลประกาศกอยู่สินะ ? The Monster at the End of This Book (2009)
You have an archangel tethered to you, okay?นายน่ะมีอัครเทวดาคอยคุ้มครองอยู่ โอเค้ ? The Monster at the End of This Book (2009)
I thought you said I was protected by an archangel.ฉันนึกว่านายบอกว่า ฉันมีอัครเทวดาคุ้มครองอยู่นะ The Monster at the End of This Book (2009)
See, Chuck here's got an archangel on his shoulder.ดูซะ ชัคคนนี้มีอัครเทวดาคอยคุ้มครองอยู่ The Monster at the End of This Book (2009)
It's the, Archangel!นั่นมันอัครเทวฑูต! Lucifer Rising (2009)
The archangel smote the crap out of him.พวกอัครเทวทูตเล่นงานเขาซะเละเลย Free to Be You and Me (2009)
It's an archangel.อัครเทวดา Free to Be You and Me (2009)
A deputy sheriff laid eyes on the archangel.ผู้ช่วยนายอำเภอ บังเอิญไปมองเห็นอัครเทวทูตเข้า Free to Be You and Me (2009)
The average customer wait time to speak to an archangel?โดยทั่วไปแล้วต้องรอนานเท่าไหร่\ ถึงจะได้คุยกับอัครเทวทูต Free to Be You and Me (2009)
The ambassador is about to speak.ท่านเอกอัครราชฑูต กำลังจะกล่าวสุนทรพจน์แล้ว A Night at the Bones Museum (2009)
My own private witness protection.ทำยังไง อัครเทวดาถึงกลายมาเป็นทริคสเตอร์ Changing Channels (2009)
Soviet ambassador to the U.N. had no comment when asked if Dr. Manhattan's disappearance has fueled Soviet aggression in Afghanistan.เอกอัครราชทูตฯโซเวียต ไม่มีความเห็นเกี่ยวกับสหประชาชาติ... ... ถ้าหาก ดร.แมนฮัตตันหายตัวไป... โซเวียตจะได้แหล่งน้ำมัน จากการโจมตีอัฟกานิสถาน Watchmen (2009)
Standish, the ambassador to the U.S..สแตนดริชเอกอัครทูตอเมริกา เขาใช้อินทรีเป็นสัญญลักษณ์ Sherlock Holmes (2009)
His Royal Highness Prince Albert.อัคราชกุมารเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต The Social Network (2010)
Talbot, royal consort.ทอลบอต อัครชายา Trouble (2010)
The u.S. Ambassador to Italy.เอกอัครราชฑูตสหรัฐ ประจำประเทศอิตาลี The Edge (2010)
You're not some middle-class banker who wants elocution lessons so you can chitchat...เอกอัคราชฑูตของฮิตเลอร์ เคาน์ท ฟอน ริปเบนทรอฟ คอยส่งคาร์เนชั่นให้เธอวันละ 17 ดอก The King's Speech (2010)
- but you have just been advised. - And now I advise you.เช้าวันนี้เอกอัครราชฑูตอังกฤษประจำกรุงเบอร์ลินได้ The King's Speech (2010)
- Sam: The arch angel?- อัครเทวดาหรอ Hammer of the Gods (2010)
The archangels, the only thing they understand is violence.พวกอัครเทวดาเข้าใจแต่ ความรุนแรง Hammer of the Gods (2010)
You're mine now... and you have something I want... an archangel's blade.คุณเป็นของฉันแล้ว... และคุณมีสิ่งที่ฉันต้องการ... มีดของอัครเทวดา Hammer of the Gods (2010)
From the archangel...จากอัครเทวดา... Hammer of the Gods (2010)
Cops have Saint jude, doctors have Raphael the archangel.ตำรวจมีนักบุญจู๊ด หมอมีราฟาเอล อัครเทวฑูต Rite of Passage (2010)
Archangels are fierce.เหล่าอัครเทวฑูต โหดเหี้ยม The Third Man (2010)
The archangel?อัครเทวฑูติ? The Third Man (2010)
According to witnesses, several gunman opened fire, instantly killing the ambassador.จากคำบอกเล่าของพยาน มีมือปืนบางคนยิง สังหารเอกอัคราชทูตในทันที All the Way (2010)
"The battle against the Devil, which is the principal task of Saint Michael the Archangel, is still being fought today, because the Devil is still alive and active in the world.""การต่อสู้กับปีศาจ ซึ่งเป็นงานหลักของเซนต์ไมเคิล อัครเทวดา ที่ยังคงต่อสู้อยู่ทุกวันนี้ The Rite (2011)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อัครราชทูต[akkharātchathūt] (n) EN: minister ; ambassador  FR: ministre [ m ]
เอกอัครราชทูต[ēk-akkharātchathūt] (n) EN: ambassador  FR: ambassadeur [ m ] ; ambassadrice [ f ]
สถานอัครราชทูต[sathān akkharātchathūt] (n, exp) EN: legation  FR: légation [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy  FR: Ambassade Royale de Thaïlande [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ = สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซล[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Brassēl] (n, prop) EN: royal Thai Embassy in Brussels  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Bruxelles [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Kūalā Lampoē] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy in Kuala Lumpur  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Kuala Lumpur [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Løndøn] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy in London  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Londres [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Manilā] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy in Manila  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Manille [ f ]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Møskō] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy in Moskow  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Moscou [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Pārit] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy in Paris  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Paris [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Tōkīo] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy in Tokyo  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Tokyo [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียนนา[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Wīennā] (n, prop) EN: Royal thai Embassy in Vienna  FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Vienne [ f ]
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี[Sathān Ēk-akkharātchathūt Thai na Krung Wøchingtan Dī.Sī.] (n, prop) EN: Royal Thai Embassy in Washington, D.C.,   FR: Ambassade Royale de Thaïlande à Washington [ f ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ambassador(n) เอกอัครราชทูต, See also: ทูต, นักการทูต, ราชทูต
diplomat(n) นักการทูต, See also: เอกอัครราชทูต, ทูต, ผู้ที่ต่อรองอย่างมีชั้นเชิง, ผู้ชำนาญในการคบค้าสมาคม, Syn. diplomatist, envoy representative
embassy(n) สถานเอกอัครราชทูต, Syn. consular office
Excellency(n) คำเรียกอย่างยกย่องสำหรับผู้มีตำแหน่งทางราชการสูง เช่น รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต
high commissioner(n) ข้าหลวงใหญ่, See also: เอกอัคราชทูต, Syn. ambassador, envoy, legate
internuncio(n) อัครสมณทูตขององค์สันตะปาปา

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
ambassador(แอมแบส' ซะดอร์) n. เอกอัครราชทูต. ambassadorial adj. ambassadorship n., Syn. embassdor, envoy, minister
ambassadress(แอมแบส' ซะดริส) n. เอกอัครราชฑูตหญิง, ภรรยาเอกอัครราชทูต (female)
chancellery(ชาน'ชะเลอรี) n. ตำแหน่งเสนาบดี, สำนักงานเสนาบดี, รัฐมนตรี, ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีของบางประเทศ, สถานเอกอัครราชฑูต, สถานกงสุลใหญ่, เจ้าหน้าที่ทั้งหมดของสถานเอกอัครราชฑูต (หรือกงสุล) , เลขานุการเอกอัครราชทูต (หรือกงสุล) , นายกรัฐมนตรี (ของบางประเทศ) , ตุลาการใหญ่ของบางประเ
chancellor(ชาน'ซะเลอ) n. เสนาบดี, อัครมหาเสนาบดี, นายกรัฐมนตรี, เอกอัครราชทูต, ตุลาการใหญ่, See also: chancellorship n.
embassy(เอม'บะซี) n. สถานเอกอัครราชฑูต
premier(พรีเมียร์', พริมเยียร์') n. นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี. adj. เป็นหัวหน้า, นำหน้า, ครั้งแรก, เก่าที่สุด., See also: premiership n., Syn. prime minister
vice chancellorn. รองอัครมหาเสนาบดี, รองนายกรัฐมนตรี, รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย

English-Thai: Nontri Dictionary
ambassador(n) ทูต, เอกอัครราชทูต
chancellor(n) อธิการบดี, อัครมหาเสนาบดี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, เลขานุการสถานทูตน
embassy(n) คณะทูต, สถานเอกอัครราชทูต
premier(n) นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี
PRIME prime minister(n) นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Apostle(n) อัครทูตในศาสนาคริสต์ มีอยู่ทั้งหมด 12 คน
Archangel(n) อัครทูตสวรรค์, See also: angel
Archbasilica(n) อัครมหาวิหาร
Grand Master(n) อัคราจารย์, บรมครู
high commission(n) สถานข้าหลวงใหญ่ (หน่วยงานเทียบเท่าสถานเอกอัครราชทูต)
Minister Counsellorอัครราชทูตที่ปรึกษา
Minister Counsellorอัครราชทูตที่ปรึกษา
Patmose[พัท มอส] (n) Patmos เป็นชื่อเกาะขนาดเล็กใน(เป็นภาษากริก) Aegean ทะเลและสามารถพบได้ระหว่างเกาะ Leros และ Ikaria. ... ประมงประวัติของพิพิธภัณฑ์เป็นนักท่องเที่ยว Philoproodos กล่าวกันว่านักบุญจอห์นอีแวนเจลลิสเป็นคนคนเดียวกับ “นักบุญอัครสาวก” ... (ดูเพิ่ม นักบุญจอห์นเพรสไบเตอร์ (John the Presbyter) และ นักบุญจอห์นแห่งพัทโมส (John of Patmos) ...ได้เห็นนิมิตที่พระเจ้าททรงประทานให้พ่านทูตสวรรค์ และยอห์นเขียนขึ้นมาเป็นเล่มเรียกชื่อว่า "พระธรรมวิวรณ์"
premiership(n, adj) (พรีเมียร์', พริมเยียร์') n. นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี. adj. เป็นหัวหน้า, นำหน้า, ครั้งแรก, เก่าที่สุด. คำศัพท์ย่อย: premiership n. คำที่มีความหมายเหมือนกัน: prime minister

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top