ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ที่รั, -ที่รั- |
นพณภสสรณ | [นบ-นะ-พัด-สอน] (name) ผู้เป็นที่รัก และผู้ประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน |
|
| 情人 | [qíng rén, ㄑㄧㄥˊ ㄖㄣˊ, 情 人] (n) หวานใจ สุดที่รัก |
| ที่รัก | (n) dear, See also: beloved, darling, sweetheart, love, honey, Syn. สุดที่รัก, ทูนหัว, สุดสวาท, หวานใจ | ที่รับรอง | (n) lounge, Syn. ที่พัก, Example: ทางโรงแรมได้จัดที่รับรองไว้ให้ทีมชาติอังกฤษอย่างหรูหรา, Count Unit: แห่ง, ที่, Thai Definition: ห้องที่เตรียมไว้สำหรับให้พักผ่อนหรือพักอาศัยอยู่ชั่วคราว | สุดที่รัก | (n) sweetheart, See also: dear, darling, honey, beloved, love, Syn. ที่รัก, คนรัก, Example: เย็นนี้ผมต้องไปรับสุดที่รักไปทานข้าว, Count Unit: คน | พื้นที่รับน้ำ | (n) catchment area, See also: watershed, drainage basin, drainage area | เป็นที่รับรู้ | (adj) be acknowledged, See also: be recognized, be accepted, be acceptable, Syn. เป็นที่ยอมรับ, เป็นที่รับรอง, Example: การแต่งงานของหญิงสูงศักดิ์และลูกชายนายวาณิชเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไป, Thai Definition: รู้กันโดยทั่วไป | สถานที่รับเลี้ยงเด็ก | (n) day nursery, See also: creche |
| ที่รัก | น. คนรัก, คำแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความนับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก. | เลือกที่รักมักที่ชัง | ก. ลำเอียง. | สุดที่รัก | น. ผู้เป็นยอดรักหรือเป็นที่รักยิ่ง เช่น เธอเป็นสุดที่รักของผม. | สุดที่รัก | ว. ยอดรัก, ที่รักยิ่ง, เช่น ลูกสุดที่รัก. | กฎกระทรวง | น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎกระทรวง, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี ถ้าเป็นข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีออก เรียกว่า กฎสำนักนายกรัฐมนตรี. | กฎทบวง | น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎทบวง. | กฎหมายเอกชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. | กรมวัง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รักษาพระราชมนเทียร พระราชวังชั้นนอก พระราชวังชั้นใน บริหารกิจการในพระราชสำนัก และบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสมใน ได้แก่ ศาลแพ่งวัง ศาลอาชญาวัง และศาลนครบาลวัง รวมทั้งบังคับบัญชาศาลมรดก | กระซับ | น. ชื่อพนักงานพวกหนึ่งในเรือเดินทะเล มีหน้าที่รักษาพัสดุตลอดจนสินค้าทั่วไปในระวางเรือด้วย เรียกเต็มว่า กระซับปากเรือ. | กานดา | น. หญิงที่รัก. | กานต์ | ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึกที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของพระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. | การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | น. การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิ และการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนมาจัดให้แก่เกษตรกรผู้ยากจน โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม. | กาฬโรค | (กานละ-, กาละ-) น. ชื่อโรคระบาดอย่างร้ายแรงชนิดหนึ่ง มักมีอาการบวมนูนที่รักแร้เป็นต้น. | กำนัล ๒ | น. หญิงชาววัง มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ เรียกว่า นางกำนัล. | แก้ว ๑ | โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคำว่า แก้วทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคำนามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว. | แก้วตา | โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่รักยิ่ง. | ขวัญ | ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ | ขวัญ | ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ | ขวัญ | คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ | ของกำนัล | น. สิ่งของที่นำไปให้แก่ผู้ที่รักและนับถือ. | ขื่อหมู่ | น. ขื่อไม่น้อยกว่า ๒ ตัว เจาะฝังเข้าไปในเสาร่วมในซึ่งเป็นมุมแล้วทอดไปหาเสาหรือผนังของระเบียงคล้ายเต้าที่รับเชิงกลอน. | ขุนการ, ขุนกาล | น. เจ้าหน้าที่รับจดคำฟ้อง เช่น หญิงชายทำหนังสือร้องฟ้องนั้น มีชื่อหลายคน พึงให้ขุนการเอามาจนถ้วนคน อนึ่ง ถ้าความนั้นข้องขัดจะพิพากษาบังคับบัญชายากไซร้ให้ขุนกาลชุมนุมจตุสดมให้ช่วยว่า (สามดวง). | เขตติดโรค | น. ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด. | โขลน ๒ | (โขฺลน) น. เจ้าพนักงานหญิงมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นในของพระราชวังหลวงและวังหน้า. | ไข้ป่า | น. ไข้ที่รับจากป่าหรือดงดิบ เกิดเพราะถูกอายพิษดิน พิษแร่ หรือว่านยา หรือเชื้อไข้มาลาเรีย. | คณะกรรมาธิการร่วมกัน | น. คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกและแต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดที่รัฐสภามอบหมาย. | คณะองคมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. | คนใช้ | น. คนที่มีหน้าที่คอยรับใช้, ลูกจ้างที่รับใช้ทำงานบ้าน. | คนโปรด | น. ผู้เป็นที่รักใคร่เอ็นดูมากเป็นพิเศษ เช่น เขาเป็นลูกศิษย์คนโปรด. | คนรัก | น. คนที่เป็นที่รักในเชิงชู้สาว. | คลินิก | แผนกของโรงพยาบาลที่รักษาโรคเฉพาะทาง. | ความรู้สึกช้า | น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ. | ความรู้สึกไว | น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดีควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้. | คันทวย | น. ไม้ค้ำยันที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, ทวย ก็เรียก. | คู่มิตร | น. ผู้ที่มีชะตาถูกกัน เป็นมิตรกัน, ผู้ที่รักใคร่กัน ไม่เป็นภัยแก่กัน ตรงข้ามกับ คู่ศัตรู. | ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด | ก. ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด). | ฆาน, ฆาน- | (คาน, คานะ-) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. | ฆานประสาท | น. ประสาทที่รับรู้กลิ่น. | ง้วน ๑ | น. เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่ผึ้งนำมาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน. | เงินคงคลัง | น. บรรดารายได้ที่รัฐบาลได้รับมาและยังไม่ได้จ่ายออกไป. | เงินตรา | น. เงินที่รัฐกำหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, (โบ) เงินที่ทำเป็นก้อนลักษณะคล้ายตัวด้วงงอ มีตราจักรและตราประจำรัชกาล มีขนาด น้ำหนัก และราคาต่างกัน ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน, เงินพดด้วง ก็เรียก. | จตุโลกบาล | (-โลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. | จอมขวัญ | น. ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง หญิงที่รัก. | จัตุโลกบาล | (จัดตุโลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. | จาตุมหาราช | เรียกหัวหน้าเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า. | โจทย์ | (โจด) น. คำถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลแก้ไม่ตก. | ชาระ | น. ชายชู้, ชายที่รัก. | ชารี | น. หญิงชู้, หญิงที่รัก. | ชาววัง | น. ผู้หญิงที่รับราชการอยู่ในวัง เช่น ข้าหลวง ชาวที่ โขลน, ภาษาปากว่า ชาวรั้วชาววัง | ชู้ | น. คู่รัก เช่น ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่และเจ้าข้ามิให้ และมันภากันหนีไปไกล หญิงนั้นยังมิเปนเมียชายเปนแต่ชู้กัน (สามดวง ลักษณผัวเมีย), ถ้าชายผู้ใดเอาหญิงเปนชู้เปนเมีย แต่ในกำหนดนั้นคือเมียท่านแลให้ไหมโดยขนาด (สามดวง ลักษณผัวเมีย), บุคคลที่เป็นที่รัก เช่น ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ เมียตน (ลอ) |
| place of destination | สถานที่รับตราส่ง, ตำบลที่กำหนดให้ส่ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | public ownership | หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | pregnancy, ovarian; oocyesis; ovariocyesis | การตั้งครรภ์ที่รังไข่ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | legal evidence | พยานหลักฐานที่รับฟังได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | legal excuse | ข้อแก้ตัวที่รับฟังได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | responsible government | รัฐบาลที่รับผิดชอบ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | receptor | ๑. หน่วยรับความรู้สึก๒. ตัวรับ, ที่รับ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | salaried employee | ลูกจ้างที่รับเงินเดือน [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | oocyesis; ovariocyesis; pregnancy, ovarian | การตั้งครรภ์ที่รังไข่ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | ownership, public | หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | ovarian pregnancy; oocyesis; ovariocyesis | การตั้งครรภ์ที่รังไข่ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | ovariocyesis; oocyesis; pregnancy, ovarian | การตั้งครรภ์ที่รังไข่ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | admissible; admissible evidence | ๑. ที่รับไว้พิจารณาได้, ที่ยอมรับได้๒. ที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | admissible evidence; admissible | ๑. ที่รับไว้พิจารณาได้, ที่ยอมรับได้๒. ที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | catchment area | ๑. พื้นที่รับน้ำ๒. บริเวณลุ่มน้ำ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | Crown proceedings | การฟ้องคดีที่รัฐเป็นโจทก์หรือจำเลย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | child of the family | ลูกติดพ่อ, ลูกติดแม่, เด็กที่รับมาเลี้ยงเป็นลูก (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | commissioned court | ศาลที่รับประเด็นไปสืบพยาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | collecting area | พื้นที่รับน้ำ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | constable | ๑. พลตำรวจ (อังกฤษ)๒. พนักงานเทศบาล (มีหน้าที่รักษาความสงบ) (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | incurable | ที่ไม่มีทางหาย, ที่รักษาไม่หาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | written line | ส่วนที่รับประกันภัย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
| Concession | สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง, สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่รัฐอนุญาตให้เอกชนมาดำเนินการได้ภายใต้สัญญาสัมปทาน [ปิโตรเลี่ยม] | Make-up Gas | ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay, ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay (ดูคำ Take or Pay) [ปิโตรเลี่ยม] | X-ray diffraction | การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์, ปรากฏการณ์ที่รังสีเอกซ์ซึ่งสะท้อนจากภายในผลึก แล้วรวมกัน เกิดเป็นคลื่นสะท้อนที่มีความเข้มสูงสุด [นิวเคลียร์] | Very high radiation area | บริเวณรังสีสูงมาก, บริเวณที่มีการแผ่รังสีปริมาณสูงมากซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณนั้นที่ระยะห่าง 1 เมตร จากต้นกำเนิดรังสี หรือ พื้นผิวที่รังสีทะลุผ่านได้รับปริมาณรังสีดูดกลืนเกิน 5 เกรย์ ในเวลา 1 ชั่วโมง การรับรังสีปริมาณสูงมากมักจะวัดในหน่วยของปริมาณรังสีดูดกลืน เนื่องจากให้ค่าการวัดที่แม่นยำกว่าการวัดปริมาณรังสีสมมูล, Example: [นิวเคลียร์] | Patent | สิทธิบัตร, หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention)การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model)ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Petty Patent | อนุสิทธิบัตร, หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Issued Date | วันที่รับจดทะเบียนสิทธิบัตร [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Pair production | แพร์โพรดักชัน, การแปลงพลังงานจลน์ของโฟตอนหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงให้เป็นมวล เกิดเป็นอนุภาคย่อยและปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้น เช่น การที่รังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานตั้งแต่ 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ขึ้นไป ผ่านสนามไฟฟ้ารอบนิวเคลียสแล้วกลายเป็นอิเล็กตรอนและโพซิตรอนที่มีพลังงานเท่ากัน <br>พลังงาน 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์เทียบเท่ากับมวลนิ่งของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอนรวมกัน</br>, Example: [นิวเคลียร์] | High radiation area | บริเวณรังสีสูง, บริเวณที่มีการแผ่รังสีปริมาณสูงซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณนั้นที่ระยะห่าง 30 เซนติเมตรจากต้นกำเนิดรังสี หรือ พื้นผิวที่รังสีทะลุผ่านได้รับปริมาณรังสีสมมูลเกิน 1 มิลลิซีเวิร์ต ในเวลา 1 ชั่วโมง [นิวเคลียร์] | On screen Keyboard | โปรแกรมแป้นพิมพ์บนจอภาพ, ซอฟต์แวร์ที่มีหน้าตาเหมือนคีย์บอร์ดบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับอินพุตข้อมูลผ่านเมาส์ หรืออุปกรณ์อินพุตอื่นๆ [Assistive Technology] | มาตรฐาน | สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ มาตราฐาน [คำที่มักเขียนผิด] | Bereavement | การสูญเสียบุคคลที่รักจากการตาย [TU Subject Heading] | Indirect action | การกระทำโดยอ้อม, การที่รังสีถ่ายเทพลังงานให้กับโมเลกุนของน้ำ มีผลให้เกิดอนุมูลเสรี ซึ่งมีความไวในการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับชีวโมเลกุล แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโมเลกุลนั้น [นิวเคลียร์] | Police, Private | เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย [TU Subject Heading] | Surrogate motherhood | ความเป็นมารดาที่รับตั้งครรภ์แทน [TU Subject Heading] | Surrogate mothers | มารดาที่รับตั้งครรภ์แทน [TU Subject Heading] | Unacceptable Waste | ของเสียที่รับไม่ได้ [สิ่งแวดล้อม] | Carrying Capacity | จำนวนที่รับได้ หรือ จำนวนประชากรที่รับได้ (population carrying capacity), Example: จำนวนประชากรที่มากที่สุดที่ทรัพยากรในประเทศ นั้น หรือพื้นที่นั้นจะสามารถเลี้ยงดูได้ [สิ่งแวดล้อม] | Waste Emplacement | ที่รับของเสีย, Example: ที่ซึ่งของเสียถูกนำมาใส่ เช่น หลุมฝังกลบ [สิ่งแวดล้อม] | Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] | Ad hoc | เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) [การทูต] | Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] | Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] | Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] | ASEAN Ministers Responsible for Information | การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบงานทางด้านสารนิเทศของประเทศสมาชิก อาเซียน จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี [การทูต] | Approbation | การที่รัฐหนึ่งใดมีทัศนคติในทางพึงพอใจและเห็น พ้องด้วยกับบทบัญญัติในสนธิสัญญาหนึ่งใด ซึ่งรัฐนั้นมิได้เป็นภาคีคู่สัญญานั้นแต่อย่างใด [การทูต] | APSC | แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก [การทูต] | ASEAN Senior Officials on Drugs Matter | เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวงฯ ที่รับผิดชอบงานด้าน ยาเสพติดของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมปีละครั้ง " [การทูต] | Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] | Council for Security and Cooperation in the Asia-Pacific | ชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] | Dean (of the Diplomatic Corps) | คณบดีคณะทูต เอกอัครราชทูตที่อาวุโสที่สุด (ยื่นสาส์นตราตั้งก่อนผู้อื่น) ในประเทศนั้น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้แทนของคณะทูตานุทูต (ในกรณีที่รัฐผู้รับนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก สมณทูตวาติกันจะดำรงตำแหน่งคณบดีทูต) [การทูต] | Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] | Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] | Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] | Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] | Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | persona non grata | บุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต] | Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] | Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] | Placement | หมายถึง วิธีจัดที่นั่งโต๊ะในการเลี้ยงอาหารสำหรับนักการทูต โดยคำนึงถึงลำดับอาวุโส เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกขุ่นเคืองหรือหัวเสีย เรื่องการจัดที่นั่งในการเลี้ยงอาหารโดยคำนึงถึงลำดับอาวุโสนี้ นักการทูตส่วนใหญ่ไม่ว่าที่ไหน มักจะถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย เพราะถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ ฝ่ายที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดที่นั่งเช่นนี้ได้แก่ กรมพิธีการทูตของกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนลำดับของอาวุโสก็ถือตามวันเวลาที่นักการทูตแต่ละคนได้เข้าประจำตำแหน่ง ที่ในประเทศผู้รับ กล่าวคือ ผู้ที่เข้าประจำตำแหน่งก่อนก็คือผู้ทีมีอาวุโสกว่าผู้ที่มาประจำตำแหน่ง หน้าที่ทีหลัง [การทูต] | Plural Representation | หมายถึง การที่รัฐหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตถาวรของตนมากกว่าหนึ่งคนไปประจำรัฐ อีกแห่งหนึ่งนอกประเทศ ในกรณีเช่นนั้น ผู้แทนทางการทูตคนหนึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ส่วนผู้แทนทางการทูตที่เหลือจะเป็นตัวรองอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่น ในสหประชาชาติมีคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติหลายแห่ง นิยมตั้งเอกอัครราชทูตของตนเป็นจำนวนมากถึง 3 หรือ 4 คนไปประจำอยู่ในคณะ ตัวหัวหน้าคณะทูตถาวรเช่นนั้น จะมีตำแหน่งเรียกว่า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศของตนประจำสหประชาชาติ ส่วนเอกอัครราชทูตคนที่สองในคณะทูตถาวร มีตำแหน่งเรียกว่า รองผู้แทนถาวรการส่งเอกอัครราชทูตหลายคนไปประจำเป็นตัวแทนเช่นนี้ ไม่เป็นที่นิยมกระทำกันแพร่หลายเหมือนกับการส่งหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตคน เดียวไปประจำในหลายประเทศในเวลาเดียวกัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น [การทูต] |
| อันเป็นที่รัก | [an pen thīrak] (x) EN: cherished | เจ้าหน้าที่รัฐ | [jaonāthī rat] (n) EN: government officer | พยานหลักฐานที่รับฟังได้ | [phayān lakthān thī rapfang dāi] (n, exp) EN: admissible evidence | พื้นที่รับน้ำ | [pheūnthī rap nām] (n, exp) EN: catchment area ; watershed ; drainage basin ; drainage area | สำเนาที่รับรอง | [samnao thī raprøng] (n, exp) EN: certified copy FR: copie certifiée [ f ] | สถานที่รับฝาก | [sathānthī rap fāk] (n, exp) EN: depository | สถานที่รับเลี้ยงเด็ก | [sathānthī rap līeng dek] (n, exp) EN: day nursery | ที่รัก | [thīrak] (n) EN: dear ; darling ; beloved ; honey FR: chéri [ m ] ; chérie [ f ] | ที่รัก | [thīrak] (n) EN: darling ; dear ; beloved ; love FR: chéri [ m ] ; chérie [ f ] ; amour [ m ] | ที่รักใคร่ | [thīrak krai] (x) EN: affectionate FR: affectueux | ที่รับฝากกระเป๋าเดินทาง | [thī rap fāk krapao doēnthāng] (n, exp) EN: left-luggage office FR: consigne [ f ] | ที่รับสำภาระ | [thī rap samphāra] (n, exp) EN: baggage claim FR: livraison des bagages [ f ] |
| Richter scale | (n, name) หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหว จากพลังงานที่แผ่นดินไหวปล่อยออกมา เช่น แผ่นดินไหวขนาด (หรือแมกนิจูด) 6.1 ตามมาตราวัดริกเตอร์ หมายเหตุ: แผ่นดินไหวจะรุนแรงไม่รุนแรง ต้องดูขนาดควบคู่ไปกับความลึกของจุดศูนย์กลาง กล่าวคือ ถ้าขนาดใหญ่แต่ถ้าอยู่ลึกมากก็อาจจะไม่แรง แต่ถึงขนาดไม่ใหญ่มาก แต่จุดศูนย์กลางอยู่ตื้นก็อาจสร้างความเสียหายได้มาก, ส่วนสิ่งที่รับรู้ได้บนดินคือ ความสั่นสะเทือน (ความรุนแรง, intensity) ซึ่งแต่ละพื้นที่บนพื้นดินจะมีความสั่นสะเทือนแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าอยู่ใกล้ไกล จุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว (epicenter) แค่ไหน <p> <b>เพิ่มเติม:</b>ความสั่นสะเทือน (intensity) ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียก ชินโดะ (震度) และมีมาตรวัดของญี่ปุ่นเอง มีระดับตั้งแต่ 1 (เบา) ถึง 7 (รุนแรง) ถ้าพูดถึงขนาดจะใช้ว่า Magnitude | authentication | (n) สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่รับรองว่าเป็นของแท้หรือแสดงที่มา | Taj Mahal | (n) ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรักของจักรพรรดิ์อินเดียที่ชื่อ Mughal Emperor Shāh Jahān ทัชมาฮาลถูกสร้างเพื่อรำลึกถึงภรรยาที่รักของพระองค์ | babe | (n) คนที่เป็นสุดที่รัก (ปกติหมายถึง เด็กทารกหรือคนที่ไร้เดียงสา), See also: dear, sweetheart, Syn. darling |
| acknowledged | (adj) เป็นที่รับรู้, See also: เป็นที่รับทราบ | acting | (adj) ที่รักษาการแทน, See also: รักษาการแทน, ทำหน้าที่แทน, ทำหน้าที่ชั่วคราว, Syn. temporary, substitute, substituting, Ant. official, confirmed | anathema | (adj) เป็นที่รังเกียจ, Syn. detested, hated | beloved | (adj) เป็นที่รัก, See also: ที่รักมาก | beloved | (n) ที่รัก, See also: ขวัญใจ, Syn. dear | blacklist | (n) รายชื่อผู้ที่รัฐบาลไม่ยอมรับหรือต้องถูกหลีกเลี่ยง | caretaker | (n) ผู้ที่รับจ้างดูแล, Syn. keeper, custodian | caseload | (n) จำนวนงานที่รับผิดชอบอยู่ (เช่น ของหมอหรือนักสังคมสงเคราะห์) | casting vote | (n) การลงคะแนนตัดสินโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการประชุมเนื่องจากแต่ละฝ่ายมีคะแนนเท่ากัน | catcher | (n) ผู้เล่นที่อยู่หลังผู้ตีมีหน้าที่รับลูกบอลเมื่อผู้ตีตีไม้ได้ (กีฬาเบสบอล) | catchment area | (n) พื้นที่รับน้ำของแม่น้ำหรือทะเลสาบ, Syn. drainage basin | cattery | (n) สถานที่รับเลี้ยงแมว | caveat emptor | (n) หลักในการซื้อขายที่ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการหาคุณภาพที่บกพร่องของสินค้า | clannish | (adj) ที่รักแต่พวกพ้องตัวเอง, Syn. select, cliquish | clear | (adj) ที่รับรู้ได้ดี | commission | (n) งานที่รับผิดชอบ, Syn. duty, work, abligation | commissionaire | (n) ผู้ที่รับจ้างทำงานเล็กๆ น้อยๆ | cup | (n) ส่วนของชุดชั้นในสตรีที่รับเต้านม | discriminate against | (phrv) ปฏิบัติอย่างเลือกที่รักมักที่ชังกับ, See also: เลือกปฏิบัติกับ, แบ่งแยกกับ | endear to | (phrv) ทำให้เป็นที่รักสำหรับ, See also: ทำให้เป็นที่รักของ | darling | (n) คำเรียกขานแสดงการทักทาย (ใช้กับคนคุ้นเคย) เพื่อขึ้นต้นย่อหน้าในจดหมาย, See also: ที่รัก, ยอดรัก, สุดที่รัก, Syn. honey, sweetheart, dear | darling | (adj) ซึ่งเป็นที่รัก, See also: อันเป็นที่รัก, Syn. favorite, beloved, dear | darling | (n) บุคคลอันเป็นที่รัก, See also: คนซึ่งเป็นที่รัก, คนน่ารัก, สุดที่รัก, ยอดรัก, คนรัก, คนโปรด, ขวัญใจ, Syn. beloved, dear, sweetheart, love | dear | (adj) ซึ่งเป็นที่รักยิ่ง, See also: ซึ่งเป็นสุดที่รัก, Syn. loved, beloved | dear | (n) ที่รัก, See also: สุดที่รัก, ทูนหัว, ยอดรัก, ผู้เป็นที่รัก, Syn. darling | dearie | (n) ที่รัก (ใช้เรียกผู้อื่น) (คำไม่เป็นทางการ ปัจจุบันใช้ในการเสียดสีหรือล้อเลียน), Syn. deary | deck officer | (n) เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินเรือและสินค้าเรือ | declared | (adj) ซึ่งเปิดเผย, See also: ซึ่งชี้ชัด, ซึ่งเป็นที่ทราบ, ซึ่งเป็นที่รับรู้, Syn. avowed, professed, self-confessed, stated | detestable | (adj) ที่เกลียดชัง, See also: ที่รังเกียจ, Syn. dislikeable | dole | (n) เงินที่รัฐบาลแจกให้คนว่างงานทุกๆ เดือน, See also: เงิน / อาหารที่ให้เพื่อการกุศล, ของบริจาค | duty | (n) ความรับผิดชอบ, See also: หน้าที่รับผิดชอบ, หน้าที่, Syn. matter, affair, chore, charge | endear | (vt) ทำให้เป็นที่รักใคร่, See also: ทำให้ได้รับความรักใคร่, ทำให้ได้รับความชื่นชอบ, Syn. attach, charm | endearing | (adj) ซึ่งเป็นที่รัก, See also: น่ารัก, เป็นที่รัก, Syn. appealing, likable, lovable | endearment | (n) การทำให้เป็นที่รัก, See also: การแสดงความรัก, Syn. affection, fondness, love | esthete | (n) คนที่รักความสวยงามโดยเฉพาะในงานศิลปะ, Syn. aesthete, dilettante | euthanasia | (n) การฆ่าหรือช่วยให้บุคคลที่ทุกข์ทรมานจากโรคหรืออาการบาดเจ็บที่รักษาไม่หาย ตายอย่างไม่เจ็บปวด (ซึ่งผิดกฎหมายในเกือบทุกประเทศ), Syn. mercy killing | fairy | (n) ผู้ชายที่รักร่วมเพศ (คำสแลง), See also: เกย์, Syn. fag, faggot, homo | family man | (n) ชายที่รักครอบครัว, See also: ชายที่อุทิศตัวเพื่อครอบครัว | fed2 | (n) เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง, See also: เจ้าหน้าที่รัฐบาล | flame | (n) คู่รัก (คำไม่เป็นทางการ), See also: ที่รัก, คนรัก, Syn. sweetheart, lover | Gallicism | (n) คำ วลี สำนวนในภาษาฝรั่งเศสที่รับมาจากภาษาอื่น | giro cheque | (n) เช็คที่รัฐบาลโอนเงินผ่านระบบ giro เพื่อให้กับประชาชนผู้ยากไร้, Syn. giro | government official | (n) ข้าราชการ, See also: เจ้าหน้าที่ราชการ, เจ้าหน้าที่รัฐบาล, Syn. commissioner | guardsman | (n) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, See also: ยาม, Syn. guard, security officer | handyman | (n) คนที่รับจ้างทำงานเล็กๆน้อยๆ, Syn. jack-of-all-trades | homo | (n) คนที่รักร่วมเพศ (คำสแลง) (คำหยาบ), Syn. gay, homosexual | honey | (n) ผู้เป็นที่รัก (คำไม่เป็นทางการ), See also: ที่รัก, Syn. darling, honeybun, sweetheart | impartial | (adj) ยุติธรรม, See also: เป็นกลาง, ซึ่งให้ความเป็นธรรม, ไม่เข้าข้าง, ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง, Syn. equal, unbiased, unprejudiced, Ant. biased, prejudiced | impeachment | (n) การกล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐว่าทำผิดศีลธรรมหรือจรรยาบรรณ, See also: การฟ้องร้อง | inamorata | (n) หญิงที่เป็นที่รัก (ทางวรรณคดี), See also: สาวคนรัก, หวานใจ, Syn. sweetheart |
| acetabulum | (แอสซิแทบ' บิวลัม) n. โพรงรูปถ้วยของด้านข้างของกระดูกตะโพก เป็นที่รับหัวกระดูกโคนขา. -acetabular adj. | age of discretion | ขีดอายุที่คนมีความนึกคิดที่รับผิดชอบได้ | ageism | (เอจ' จิสซึม) n. การเลือกที่รักมักที่ชังโดยถืออายุเป็นเกณฑ์และโดยเฉพาะกับคนแก่. ageist n | bartend | (บาร์'เทนดฺ) { bartended, bartending, bartends } vi. ทำหน้าที่รับใช้ในบาร์, ทำหน้าที่บริการเครื่องดื่มบนเคาน์เตอร์, See also: bartender n. | beloved | (บิเลิฟ'วิด) adj. สุดที่รัก n. ผู้เป็นที่รักยิ่ง, Syn. cherished | bloodmobile | (บลัด'มะบีล) รถพยาบาลที่รับบริจาคโลหิต | boutique | (บูทิค') n. ดอกไม้ที่ติดอยู่ที่รังดุมหรือปกเสื้อ | boutonniere | (บูทอเนีย') n. ดอกไม้ที่ติดอยู่ที่รังดุมหรือปกเสื้อ | brace | (เบรส) n. เสาค้ำ, เครื่องค้ำจุน, เครื่องเหนี่ยวรั้ง, เชือกโยงเสา, เฝือก, ที่รั้ง, ที่พาด, สายหนึ่ง, วงเล็บปีกกา vt. หนุนไว้, ค้ำไว้, รั้งไว้, มัดแน่น, กระตุ้น, หนุน, ตัดสินใจแน่วแน่, Syn. fortify | brake band | n. แผ่นเหล็กโค้งที่รัดกับจานเบรก | broom | (บรูม) { broomed, brooming, brooms } n. ไม้กวาด, ข้าราชการที่รับตำแหน่งใหม่ vt. ปัดกวาด, See also: broomy, adj. | cherie | (เชรีช) n., Fr. ที่รัก | clearstation | n. สถานที่รักษาพยาบาลทหารแนวหน้า | compatible | (คัมแพท'ทิเบิล) adj. ซึ่งอยู่ด้วยกันได้, ซึ่งเข้ากันได้, เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์สีที่รับเป็นภาพขาวดำก็ได้., See also: compatibility, compatibleness n., Syn. agreeable, Ant. incompatible | data encryption standards | มาตรฐานการเข้ารหัสใช้ตัวย่อว่า DES หมายถึงข้อกำหนดมาตรฐานในการเข้าถึงข้อมูลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยวิธีใช้รหัส ผ่าน (password) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล | dear | (เดียร์) adj. ที่รัก, เป็นที่รัก, น่ารัก, แพง, ทุกข์ใจ, ขุ่นใจ, เข้มงวด n. บุคคลอันเป็นที่รัก, บุคคลที่ดี, คนรัก -adv. เป็นที่รัก, มีราคาแพง interj. คำอุทานที่แสดงความประหลาดใจ, ความโศกเศร้า เช่น อนิจจา! ตายจริง! โอ้!., See also: dearness n. ดูdear คำที | deary | (เดีย'รี) n., ที่รัก, Syn. dearie pl. dearies | depository | (ดิพอซ'ซิโทรี) n. ที่เก็บของ, โกดัง, สถานที่รับฝากของ, ผู้พิทักษ์มรดกหรือทรัพย์สิน | des | 1. abbr. disequilibrium syndrome 2. (ดีอีเอส) ย่อมาจากคำ data encryption standards (แปลว่า มาตรฐานการเข้ารหัสลับข้อมูล) หมายถึงข้อกำหนดมาตรฐานในการเข้าถึงข้อมูลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยวิธีใช้รหัสผ่าน (pass word) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล | dike | (ไดคฺ) { diked, diking, dikes } n. เขื่อน, กำแพงกั้นน้ำ, สิ่งกีดขวาง, อุปสรรค, หญิงที่รักร่วมเพศ, เลสเบี้ยน, vt. สร้างเขื่อน, ยับยั้ง, ป้องกัน, Syn. dyke | diner | (ได'เนอะ) n. ผู้ที่รับประทานอาหาร, ตู้เสบียงของขบวนรถโดยสาร (รถไฟ) , ร้านอาหารข้างทาง | discriminate | (ดิสคริม'มะเนท) vi. แยกแยะ, แบ่งแยก, เลือกที่รักมักที่ชัง, วินิจฉัย., Syn. distinguish | discrimination | (ดิสคริมมะเน'เชิน) n. การแยกแยะ, การแบ่งแยก, การเลือกที่รักมักที่ชัง, การวินิจฉัย., Syn. perception, bias, Ant. equity, impartiality | discriminative | adj. ซึ่งแยกแยะ, ซึ่งแบ่งออก, เกี่ยวกับการเลือกที่รักมักที่ชัง, Syn. discriminating | disdain | (ดิสเดน') { disdained, disdaining, disdains } vt. ดูถูก, ดูหมิ่น, เหยียดหยาม, รังเกียจ. n. การดูถูก, การดูหมิ่น, ความรู้สึกที่รังเกียจ, Syn. scorn, contempt | duck | (ดัค) n. เป็ด, ที่รัก, ทูนหัว, สัตว์เลี้ยง, Syn. immerse, submerse, dip | edp | (อีดีพี) ย่อมาจาก electronic data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว แล้วแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง | electronic data processin | การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า EDP (อ่านว่า อีดีพี) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว และแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง | endear | (เอนเดียร์') vt. ทำให้เป็นที่รัก | fairy | (แฟ'รี) n. เทพธิดา, นางฟ้า, ชายที่รักร่วมเพศ. adj. เกี่ยวกับเทพธิดา, คล้ายนางฟ้า., Syn. elf | fence | (เฟนซฺ) { fenced, fencing, fences } n. รั้ว, เครื่องกั้น, คอกล้อม, พะเนียด, ศิลปะหรือกีฬาฟันดาบ, ความชำนาญในการโต้แย้ง, บุคคลผู้รับและจำหน่ายของโจร, สถานที่รับและจำหน่ายของโจร. -Phr. (sit on the fence เป็นกลาง, ไม่เข้าข้างฝ่ายใด) . vi. เล่นหรือฝึกฝนการฟันดาบ, ล้อมรั้ว, | ferrule | (เฟอ'เริล) n., v. (ใส่) หัวหุ้ม, แถบโลหะยึดรากฟัน, ที่รัดโลหะหุ้มโลหะ, สายครอบ, สายยึด., Syn. ferule | g-man | abbr. government-man (จี'แมน) n. เจ้าหน้าที่รัฐบาล | gold certificate | ธนบัตรที่รับรองด้วยทองคำ | government man | ข้าราชการ, เจ้าหน้าที่รัฐบาล | gun carriage | n. โครงตั้งปืน, โครงตั้งปืนใหญ่, ราวและล้อที่รับตัวปืน | hereditament | n. ทรัพย์สินที่รับช่วงกัน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ที่ตกทอดเป็นมรดกกันได้ | hinny | (ฮิน'นี) n. ม้าพ่อ (เกิดจากม้าตัวผู้ผสมกับแม่ลา) , ขวัญใจ, ที่รัก | honeybunch | n. ที่รัก, น้ำผึ้ง | hospitalization | (ฮอสพเทิลเซ'เชิน) n. การนำเข้ารักษาในโรงพยาบาล, ระยะเวลาที่รักษาในโรงพยาบาล | incidence | (อิน' ซิเดินซฺ) n. การบังเกิด, เหตุการณ์, การที่รังสีหรือลำแสงกระทบผิวหน้า | incurable | (อินเคียว' ระเบิล) adj. ซึ่งรักษาไม่หาย. -n. บุคคลที่เป็นโรคที่รักษาไม่หาย., See also: incurability, incurableness n. incurably adv. | indian agent | เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่มีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องของอินเดีย | indiscriminating | (อินดิสคริม'มะเนททิง) adj. ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง, ซึ่งขาดการพิจารณา., See also: indiscriminatingly adv. | ingestant | (อินเจส'เทินทฺ) n. สิ่งที่ถูกนำเข้าไปในร่างกาย, สารที่รับประทาน | inheritance | (อินเฮอ'ริเทินซฺ) n. สิ่งที่รับช่วงมา, สิ่งที่สืบทอดมา, การรับช่วง, การสืบทอด, สิทธิในการรับมรดก, สิทธิในการรับช่วง, Syn. heritage, legacy, การสืบทอด เป็นศัพท์ที่ใช้ในภาษาเชิงวัตถุ object-oriented language เป็นคำสั่งให้ทำการคัดลอกกลุ่มรหัสคำสั่งได้ นักเขียนโปรแกรมจะชอบเพราะไม่ต้องพิมพ์กลุ่มคำสั่งนั้นซ้ำ แล้วซ้ำอีกบ่อย ๆ | jo | (โจ) n. คนรัก ที่รัก | leakage | (ลี'คิจฺ) n. การรั่ว, การรั่วไหล, สิ่งที่รั่วออก, จำนวนที่รั่วออก, Syn. leak | lief | (ลีฟ) n. อย่างดีใจ, อย่างเต็มใจ adj. เต็มใจ, ต้องการ, สมัครใจ, ยินยอม, เป็นที่รัก. | machree | (มะครี') n. ที่รัก, ผู้เป็นที่รัก |
| affectionate | (adj) ที่รัก, ที่ชอบ, ที่เสน่หา, ที่รักใคร่ | beloved | (adj) ที่รัก, สุดที่รัก, เป็นที่รักยิ่ง | beloved | (n) ผู้เป็นที่รัก | brace | (n) เครื่องค้ำจุน, เครื่องเหนี่ยวรั้ง, ที่รั้ง, เครื่องหมายปีกกา | checkroom | (n) ที่รับฝากของ | darling | (adj) น่ารัก, เป็นที่รัก, เป็นที่โปรดปราน | darling | (n) ที่รัก, ยอดรัก, ทูนหัว, สุดที่รัก, ขวัญใจ, คนรัก, คนโปรด | dear | (adj) แพง, ราคาสูง, เป็นที่รัก, สุดสวาท, น่ารัก | dearness | (n) ความเป็นที่รัก, ความน่ารัก, ราคาแพง | depository | (n) โกดัง, คลังเสบียง, ท้องพระคลัง, ที่รับฝากของ | differential | (adj) ซึ่งแตกต่างกัน, ซึ่งแสดงความต่างกัน, ซึ่งเลือกที่รักมักที่ชัง | endear | (vt) เป็นที่รัก, เป็นดวงใจ | endearment | (n) ความเป็นที่รัก, การแสดงความรัก | favouritism | (n) การชอบสิ่งใดโดยเฉพาะ, ความลำเอียง, การเลือกที่รักมักที่ชัง | fond | (adj) ที่รัก, ชอบ, ติดอกติดใจ, หลงงมงาย | honey | (n) ความหวาน, น้ำผึ้ง, ที่รัก | indorse | (adj) ที่สลักหลัง, ที่สนับสนุน, ที่รับรอง | nepotism | (n) การแบ่งพรรคพวก, การถือพวกพ้อง, การเลือกที่รักมักที่ชัง | penitentiary | (adj) ที่รับผิด, ซึ่งรู้สึกผิด, เกี่ยวกับการกักขัง | precious | (adj) ล้ำค่า, เป็นที่รัก, มีค่ามาก, สำคัญมาก, อย่างยิ่ง | repellent | (adj) ขับไล่ไป, ต้านทานไว้, เป็นที่รังเกียจ, น่าเบื่อหน่าย | reserved | (adj) สงบเสงี่ยม, ขรึม, ที่สงวนไว้, ที่รักษาไว้ | strut | (n) ไม้ค้ำ, ที่รับรอง, ไม้เท้า | sweetheart | (n) ที่รัก, คู่รัก, ยอดรัก, สุดที่รัก |
| authority | [อ่อธ้อเหรอะทิ] (n) (1) อำนาจ (權柄) (2) บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น MEA, PEA (3) แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ (權威) | darling | (n) กลอยใจ, นางอันเป็นที่รัก | dendrite | (n) แขนงของเซลล์ประสาท ทำหน้าที่รับสัญญาณประสาทจากเซลล์ข้างเคียง | dispatcher | (n) คือผู้มีหน้าที่รับลงทะเบียน ยอดจำนวนลูกค้าที่ Sender แต่ละคน มาแจ้งให้ทราบและเรียกรถยนต์VIP ซึ่งจอดรออยู่แล้วให้มารับ-ส่ง ลูกค้า (รถเบ็นซ์, วอลโว่, ครามลีย์) ค้นหาเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Dispatcher | fagged | (n) เกย์, ชายที่รักใคร่เพศเดียวกัน, See also: fag, Syn. gay | gay | [เก] (n) คนที่รักเพศเดียวกัน ทั้งหญิงรักหญิง และชายรักชาย, See also: ชายรักชาย, หญิงรักหญิง, เกย์, Syn. homosexual | Goddism | (n) ศาสนาที่รักเทิดทูน, ศาสนาเเห่งความรักของพระเจ้ากับมนุษยชาติ, ลัทธิความเชื่อที่เกี่ยวกับความรักของพระเจ้า | hellon't | [[ เหอะ ลอนท์ ]] เป็นการพูดแบบเสียดสีเพื่อบอกว่า " ลาก่อน " คำนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร OMFG, he is here, I will say him "hellon't, see you later" โอ้พระเจ้าเขาอยู่ที่นี่ ฉันจะบอกเขาว่า " สวัสดีเจอกันใหม่นะ " "hellon't baby, I really need to go" "สวัสดีที่รัก ฉันต้องไปแล้วจริงๆ" | hitch | (n) ช่วงเวลาที่รับราชการทหาร | oedipus complex | (n) เด็กชายที่ติดแม่ คนติดแม่ เด็กที่รักแม่จนเกินพอดี | Received by | ผู้ชื่อรับเงิน, ให้กรอกชื่อผู้ที่รับเงิน, ผู้ที่ได้รับเอกสาร พัสดุ ฯลฯ, ผู้ที่ได้รับของ | router | (n) Router คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ computer จากเครือข่ายหนึ่ง ไปยัง computer อีกเครือข่ายหนึ่ง หรือเปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เหมือนบุรุษไปรษณีย์ ที่คอยส่งข้อความจาก computer เราไปยังที่อื่น แถมยังเลือกเส้นทางที่สะดวก หรือใกล้ที่สุด เพื่อจะไปยังจุดหมายปลายทาง Router มีทั้งแบบกระจายสัญญาณ และทำหน้าที่รับสัญญาณอย่างเดียว | RSAT | [อา-แสท] (abbrev, org, uniq) Rainbow Sky Association of Thailand, สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, สมาคมที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อคนไทยที่รักเพศเดียวกัน จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายไทย เป็นแห่งแรก และแห่งเดียว (ณ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐), Syn. สมาคมฟ้าสีรุ้ง | thqn | [ที-เอช-คิว-เอ็น] (abbrev, name, org, u) เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ, Thailand Queer Network, เป็นเครือข่ายความร่วมมือกันขององค์กรอิสระต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงานด้านสาธารณะประโยชน์ สิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ให้แก่คนไทยที่รักเพศเดียวกัน และคนไทยในชุมชนอื่นที่ไม่อยู่ในการดูแลจากสังคมไทย ดูเวปไซต์ทางการที่ http://www.thqn.net/, Syn. เครือข่ายคนรักเพศเดียวกัน | track record | ภาพรวมของผลงานที่ผ่านมาซึ่งเป็นที่รับรู้ | Yoo | [ยู] หนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น Your only one คนเดียวของคุณ เขาหรือคุณเป็นของเขาคนเดียวเป็นที่ต้องการเป็นที่รักที่กล่าวถึงผู้เดียว |
| 同性愛者 | [どうせいあいしゃ, douseiaisha] (n) คนที่รักเพศเดียวกัน |
| honey | [どうせいあいしゃ, honey] (n, vi, vt, modal, ver) ที่รัก | honey | [どうせいあいしゃ, honey] (n, vi, vt, modal, ver) ที่รัก |
| 一人まえになる | [いちにんまえになる, ichininmaeninaru] TH: เป็นคนที่รับผิดชอบตัวเองได้ |
| Klinik | (n) |die, pl. Kliniken| โรงพยาบาลที่รักษาเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น Frauenklinik, Hautklinik | Gefallen | (n) |der, nur Sg.| ความกรุณา, ความชอบ, การบริการที่ถูกใจ มักจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น Schatz! Kannst du mir bitte einen Gefallen tun, mir eine Zeitung zu kaufen? = ที่รักจ๋า, คุณช่วยทำอะไรให้ผมหน่อยได้มั้ย แค่ไปซื้อหนังสือพิมพ์ | im Abo | ที่บอกรับเป็นสมาชิก เช่น ein Magazin im Abo นิตยสารที่รับเป็นประจำ, See also: Related: abonnieren | Wächter | (n) |der, pl. Wächter| ยาม, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, Syn. Wärter | Schwule | (n) |der, pl. Schwulen| ผู้ชายที่รักร่วมเพศ, See also: Related: schwul | Lesbe | (n) |die, pl. Lesben| ผู้หญิงที่รักร่วมเพศ, See also: Related: lesbisch, Syn. Lesbieren | Lesbierin | (n) |die, pl. Lesbierinnen| ผู้หญิงที่รักร่วมเพศ, See also: Related: lesbisch, Syn. Lesbe | Schatz | (n, slang) |der, pl. Schätze| ที่รัก (เป็นภาษาพูดสำหรับคู่รักหรือพ่อแม่กับลูก) เช่น Bist du schon zurück, mein Schatz? เธอกลับมาแล้วหรือจ๊ะ ที่รักจ๋า | Imbiss | (n) |der, pl. Imbisse| ร้านขายอาหารที่รับประทานได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีพิธีรีตอง บางร้านมีที่นั่งให้ บางร้านมีโต๊ะสำหรับยืนทาน ราคาถูกกว่าร้านอาหาร (Restaurant) | Augenarzt | (n) |der, pl. Augenärzte| จักษุแพทย์, หมอที่รักษาดวงตา |
| chéri | (n) ที่รัก, สุดที่รัก เช่น mon chéri ที่รักของฉัน (ใช้เรียกผู้ชาย), ma chérie ที่รักของฉัน (ใช้เรียกผู้หญิง) |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |