ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: นั้น ๆ, -นั้น ๆ- |
การได้เปรียบ | หากไม่ปฎิบัติตามจะตัดสิทธิ์นักกีฬา รวมทั้งผลการแข่งขันของทีมนั้น ๆ |
|
| กุศล | (n, adj, adv) การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา |
| กถามรรค | (-มัก) น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. | กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. | กรมการนอกทำเนียบ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า. | กรมการพิเศษ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า. | กระทู้ถาม | น. คำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. | กลอก | (กฺลอก) ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมาภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทำให้เคลื่อนวนกลับไปกลับมา เช่น กลอกแป้งขนมเบื้องญวน กลอกไข่, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกนํ้าร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น. | การประกอบโรคศิลปะ | น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ. | แกง ๑ | น. กับข้าวประเภทที่เป็นนํ้า มีชื่อต่าง ๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม. (ดูที่คำนั้น ๆ ).ก. ทำกับข้าวประเภทที่เป็นแกง. | แกงส้ม | น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิ หรือ นํ้ามัน มีรสเปรี้ยวด้วยนํ้าส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้ หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค. | แกะดำ | น. คนที่ทำอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี). | ข้อบัญญัติ | น. กฎที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา. | ข้าวใหม่ | น. ข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ในปีนั้น ๆ | ขี้ | น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออกทางทวารหนัก, อุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า พระบังคนหนัก, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, ใช้ประกอบหน้าคำ หมายความว่า เป็นสิ่งที่สกปรก เช่น ขี้เลน ขี้ดิน ขี้ทราย, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. | ขึ้น ๑ | เริ่มเดินหมากตัวนั้น ๆ เป็นครั้งแรก ใช้ในการเล่นหมากรุกเป็นต้น เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน | คณะกรรมาธิการร่วมกัน | น. คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกและแต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดที่รัฐสภามอบหมาย. | คณะกรรมาธิการวิสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องที่สภามอบหมาย และเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว คณะกรรมาธิการนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่ง. | คณะกรรมาธิการสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เลือกและแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำ. | คอนแวนต์ | น. สำนักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสำนักนั้น ๆ ตั้งขึ้นและเป็นผู้ดำเนินการสอน ว่า โรงเรียนคอนแวนต์. | คา ๒ | ว. ยังไม่พ้นไปจากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่. | คุณ ๑, คุณ- | (คุน, คุนนะ-) น. ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น คุณของแผ่นดิน, ความดีที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม่รู้คุณข้าวแดงแกงร้อน | คุณสมบัติ | (คุนนะสมบัด, คุนสมบัด) น. คุณงามความดี, คุณลักษณะประจำตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, ลักษณะประจำของสิ่งนั้น ๆ เช่น สมุนไพรส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค. | คู่โค | น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [ “ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” พงศ. ร. ๒ ]. | เคมี | น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อสารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สารนั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์. | เคย ๒ | ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้น ๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น เคยทำ = ได้ทำมาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยาที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. | เครดิต | ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึงได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกำหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ, หน่วยกิต ก็เรียก. | จนกว่า | สัน. กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย. | จองกฐิน | ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า. | จางวาง | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงกว่าเจ้ากรมที่มิใช่กรมเสนาบดี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำกับดูแลกรมนั้น ๆ, ตำแหน่งในสังกัดของเจ้านายที่ทรงกรม ทำหน้าที่กำกับดูแลกรมเจ้านาย, ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๔ มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวหมื่นมหาดเล็ก | จำนำพรรษา | ว. เรียกผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในวัดนั้น ๆ ว่า ผ้าจำนำพรรษา. | เจ้าถิ่น | น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต. | เจ้าพ่อ | น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น. | เฉพาะหน้า | ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า. | ช่าง ๒ | ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะโน้มไปในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่างเก่งจริง ๆ. | ชีวเคมี | น. วิชาเคมีสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งที่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ประกอบเหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ. | เซต ๑ | น. คำที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ | ดรรชนี ๓ | น. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดัชนี ก็ใช้. | ดอกจัน | น. เครื่องหมายมีลักษณะรูปกลม ๆ เป็นจัก ๆ ดังนี้ * เขียนไว้ข้างหน้าหรือหลังข้อความ เพื่อให้เป็นที่สังเกตหรือแสดงความสำคัญของคำหรือข้อความนั้น ๆ. | ดัชนี ๓ | น. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดรรชนี ก็ใช้. | ต้นเรื่อง | น. มูลเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องนั้น ๆ, เรื่องเดิม, เรื่องก่อนที่จะเริ่มเรื่องที่แต่ง, เช่น เรื่องนนทุกเป็นต้นเรื่องรามเกียรติ์. | ต้นสังกัด | น. ส่วนราชการที่ข้าราชการนั้น ๆ สังกัดอยู่ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจทุกคน. | ตัวอย่าง | ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมดของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทำให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. | ตีความ | วิเคราะห์ถ้อยคำ ข้อความ และความมุ่งหมายของบทกฎหมาย นิติกรรม สัญญา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย หรือที่มีความหมายไม่ชัดเจน เพื่อให้ทราบความหมายของถ้อยคำหรือข้อความนั้น ๆ. | เตา | น. ที่สำหรับก่อไฟหุงต้มหรือเผาสิ่งต่าง ๆ ตามปรกติใช้ฟืนหรือถ่าน ถ้าใช้สิ่งอื่น ๆ ก็เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า. | โต้ตอบ | ก. มีหนังสือไปมา, ตอบกันไปมาในเรื่องนั้น ๆ. | ทรง | ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม | ทะเลอาณาเขต | น. ส่วนของทะเลซึ่งแต่ละประเทศกำหนดว่าอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศนั้น ๆ โดยกำหนดเป็นระยะทางวัดจากชายฝั่งทะเลตามแต่จะตกลงกัน. | ทัณฑสถาน | (ทันทะ-) น. เรือนจำพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่ควบคุมกักขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับประเภทผู้ต้องขังนั้น ๆ เช่น ทัณฑสถานวัยหนุ่ม เป็นสถานที่ควบคุมกักขังและฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่อยู่ในวัยหนุ่ม. | ทำ | คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ | ทำไม้ | ก. ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย. | เทคนิค | น. ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้น ๆ. |
| Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] | ASEAN Committees in Third Countries | คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม เป็นกลไกประสานงานของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของประเทศที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศนั้น ๆ [การทูต] | Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] | diplomatic corps | คณะทูตานุทูต หมายถึง กลุ่มเอกอัครราชทูต กงสุล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งภริยาและเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ [การทูต] | Free Trade Zones | เขตปลอดภาษี เป็นอาณาบริเวณที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือท่าอากาศยานที่อนุญาตให้นำเข้าโดยไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ อาจเป็นการนำเข้าเพื่อส่งไปยังประเทศที่สาม หรือนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าสำหรับส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าของประเทศ นั้น ๆ ให้สามารถส่งออกไปขายแข่งกับตลาดโลกได้มากขึ้น [การทูต] | International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | International Development Association | เป็นองค์การให้กู้เงิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 อยู่ภายใต้การบริหารควบคุมของธนาคารระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก ย่อมสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศนี้ได้วัตถุประสงค์ สำคัญของไอดีเอ คือ ให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตน โดยกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่าเงื่อนไขของการกู้ยืมทั่ว ๆ ไป ช่วยให้มีผลกระทบต่อดุลแห่งการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ ไม่มากนัก ซึ่งเป็นไปตามแนววัตถุประสงค์การให้กู้ยืมของธนาคารโลก อันเท่ากับเสริมการดำเนินงานของธนาคารโลก ที่มีต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วยไอดีเอมีโครงสร้างการดำเนินงานที่คล้ายคลึง กับของธนาคารโลก คณะผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั้งหมดเป็นคนคนเดียวกับที่มีตำแหน่ง หน้าที่อยู่ในธนาคารโลก จึงเท่ากับเข้าไปทำงานมีหน้าที่ในไอดีเอโดยตำแหน่ง (Ex officio) นั่นเอง ไอดีเอมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] | Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] | No Objection Certificate | เป็นเอกสารรับรองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย กระทรวงการต่างประเทศไทยไม่มีข้อขัดข้องสำหรับบุคคลที่จะนำเอกสารนี้ไปใช้ เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของต่างประเทศตามคำร้องขอของรัฐบาล ปากีสถาน หรือใช้ในการขอเปลี่ยนแปลงสถานะวีซ่าจากประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่งตาม ที่ต่างประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนด กรณีนักศึกษาไทยไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาโดยวีซ่านักเรียน แต่ภายหลังประสงค์จะขอเปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่าทำงานตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง ของสหรัฐอเมริกา [การทูต] | Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | Nuclear Test Ban | หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต] | Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] | Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] | sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] | watershed | สันปันน้ำ แนวสันเขาซึ่งโดยปกติเป็นส่วนที่สูงที่สุดของภูเขาที่แบ่งน้ำให้ตกออกสอง ข้างของภูเขานั้น ๆ เป็นลักษณะทางธรรมชาติซึ่งรัฐที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณานำมาใช้เป็นเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศได้ เช่น สันปันน้ำของเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า [การทูต] | ระดับความสามารถ | ระดับความสามารถ, การเปรียบเทียบอัตราส่วนศักยภาพในเรื่องหนึ่ง ๆ ว่าผู้นั้นอยู่ในช่วง/ระดับศักยภาพเท่าใดของเรื่องนั้น ๆ, Example: ได้จากความสามารถที่ทำได้ (Score Ability) เทียบกับความสามารถจริง (True Ability) ตามหลักของทฤษฎีการวัด ] ซึ่งนักวัดระดับความสามารถหลาย ๆ ท่านมักจะใช้คำว่า Quotient อันแปลอย่างตรงตัวว่า ผลลัพธ์ของการหาร มักจะถูกนำไปวางไว้หลังคำภาษาอังกฤษในเรื่องที่ใช้วัดความ [สุขภาพจิต] | สุขภาพจิตสถานศึกษา | สุขภาพจิตสถานศึกษา, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สถานศึกษาทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายที่จะดำเนินงานและแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคน นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เด็ก นักเรียน นักศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นต้น [สุขภาพจิต] | สุขภาพจิตสังคม | สุขภาพจิตสังคม, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สังคมภาพรวมหรือสังคมของกลุ่มคน (สังคมกลุ่มใหญ่) ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายหรือแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเรียน แรงงาน วัยเกษียณ กลุ่มพนักงาน สื่อมวลชน เป็นต้น และโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู [สุขภาพจิต] | สุขภาพจิตชุมชน | สุขภาพจิตชุมชน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่ชุมชน (สังคมเล็ก ๆ) ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายวัยที่จะดำเนินงาน แตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มพ่อบ้าน กลุ [สุขภาพจิต] | สุขภาพจิตครอบครัว | สุขภาพจิตครอบครัว, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่ครอบครัว ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายวัยที่จะดำเนินงาน แตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ ลูกหลาน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ปู่ยาตายาย เป็น [สุขภาพจิต] | สุขภาพจิตระดับบุคคล | สุขภาพจิตระดับบุคคล, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในกลุ่มคน ทุกระดับ โดยส่วนใหญ่จะเน้นตามวัย ตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ แรงงาน ผู้ต้องขัง เป็นต้น ซึ่งจะ [สุขภาพจิต] | conditioning | การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข, พฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 ชนิดอย่างมีเงื่อนไข คือเมื่อมีสิ่งเร้าแท้จริงและสิ่งเร้าไม่แท้จริง เร้าติดต่อกันเป็นเวลานาน จนกระทั่งแม้จะไม่มีสิ่งเร้าแท้จริงอยู่ด้วย สิ่งเร้าไม่แท้จริงก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้น ๆ ตอบสนองได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | taxis | แทกซิส, พฤติกรรมการเคลื่อนที่เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ มีทิศทางการเคลื่อนที่อย่างแน่นอนที่จะเข้าหา หรือหนีสิ่งเร้านั้น ๆ เช่น การเข้าหาแสงสว่างของพลานาเรีย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | vaccine | วัคซีน, สารที่ได้มาจากการทำให้เชื้อโรคอ่อนฤทธิ์หรือตายลง จนไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ เพื่อจะฉีดเข้าไปในร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | antigen | แอนติเจน, สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในร่างกาย แล้วร่างกายจะผลิตสารซึ่งเรียกว่าแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้าน หรือทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | atomic radius | รัศมีอะตอม, ความยาวครึ่งหนึ่งของระยะทางระหว่างนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งไปยังนิวเคลียสของอีกอะตอมหนึ่ง โดยการวัดแบบรัศมีโคเวเลนต์ รัศมีวันเดอวาลส์หรือรัศมีโลหะ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพันธะระหว่างอะตอมนั้น ๆ ดังนั้นรัศมีอะตอมของธาตุหนึ่งอาจมีค่าต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | valence electron | เวเลนซ์อิเล็กตรอน, อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุดของอะตอมเป็นอิเล็กตรอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีของธาตุนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | lone pair electrons | อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว, เวเลนซ์อิเล็กตรอนคู่ใดคู่หนึ่งของอะตอมซึ่งไม่ได้มีส่วนในการสร้างพันธะ แต่มีความสำคัญในการทำให้อะตอมนั้น ๆ มีจำนวนอิเล็กตรอนครบตามกฎออกเทต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | interaction | อันตรกิริยา, ผลที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ หรืออนุภาค หรือระบบอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งเกิดขึ้นกับวัตถุ หรืออนุภาค หรือระบบนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | precision | ความเที่ยง, ความละเอียดถูกต้องแน่นอนของการวัด หรือความเที่ยงของค่าประมาณการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ วัดได้จากความผิดพลาดของการวัดหรือการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องมือนั้น ๆ ถ้าความผิดพลาดมีมาก ความเที่ยงจะต่ำแต่ถ้าความผิดพลาดมีน้อย ความเที่ยงจะสูง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | standard score | คะแนนมาตรฐาน, ค่าที่บอกให้ทราบว่า ความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูลนั้น ๆ กับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้นเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Zi [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | parameter | พารามิเตอร์, ชื่อที่ถูกอ้างถึงในส่วนหัวของฟังก์ชันหรือโปรแกรมย่อย ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยค่าที่ฟังก์ชันผู้เรียกส่งผ่านมาให้ ในขณะที่มีการเรียกใช้ฟังก์ชันหรือโปรแกรมย่อยนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | poll | การสำรวจความคิดเห็นหรือโพล, การสำรวจความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ทำเพื่อแสดงถึงความคิดเห็นของคนทั่วไปที่มีต่อเรื่องหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไปในชุมชนหรือประเทศนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | state | สถานะของสาร, ความเป็นอยู่ของสารนั้น ๆ มีอยู่ 3 สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | input | ตัวป้อน, ความต้องการของมนุษย์หรือปัญหาที่ต้องการแก้ไข เช่น ความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (need) ความต้องการที่จะเพิ่มความสามารถของมนุษย์ (want) รวมถึงสถานการณ์เทคโนโลยีและรายละเอียดของปัญหาหรือความต้องการนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
| | assemble | (อะเซม'เบิล) vt. รวบรวม, ประชุม, รวมเข้า. -assembler n., Syn. combine, collect, Ant. disperse, separate แปล ภาษาแอสเซมบลี หมายถึงแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง machine language เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ได้ | base number | เลขฐานหมายถึง จำนวนสัญลักษณ์ที่ ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอ | cad | 1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM | character reader | เครื่องอ่านอักขระหมายถึง เครื่องอ่านอักขระจากตัวพิมพ์ซึ่งจะต้องมีลักษณะพิเศษที่เป็นมาตรฐาน การอ่านใช้วิธีให้แสงผ่านช่องว่างของตัวอักขระนั้น ๆ แล้วแปลเป็นรหัสบันทึกลงไว้ในแถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) | computer aided design | การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ | computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล | data fork | ส่วนข้อมูลแฟ้มข้อมูลที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุก ๆ แฟ้มจะประกอบด้วยสองส่วน ส่วนที่หนึ่งนั้น เรียกว่า ส่วนข้อมูล (data fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อมูลจริง ๆ ที่โปรแกรมนั้น ๆ จะต้องใช้ ส่วนที่สองเรียกว่า ส่วนทรัพยากร (resource fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกว่าโปรแกรม ซึ่งจะเป็นตัวทำงานให้ หรือไม่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีไว้ เพื่อให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้ครบถ้วน เช่น การกำหนดแบบอักษร (font) สัญรูป (icon) รายการเลือก (menu) เป็นต้น | em dash | (เอ็มแดช) เป็นอักษรพิเศษตัวหนึ่งที่ใช้ในการพิมพ์ มีลักษณะเป็นขีดยาวเท่า ๆ กับอักษร M หรือเครื่องหมาย hyphen 2 ตัวพิมพ์ติด ๆ กัน (--) โดยปกติ จะใช้เพื่อแสดงว่าต้องการเน้นข้อความนั้น ๆ เช่น " การ เล่นกอล์ฟเป็นการพนันอย่างหนึ่ง -- การพนันที่เป็นที่นิยมมากเสียด้วย " ดู en dash เปรียบเทียบ | eoj | (อีโอเจ) ย่อมาจาก end of job (แปลว่า สิ้นสุดงาน) หมายถึง จุดสิ้นสุดของแฟ้มหรือของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ทำไว้ท้ายแฟ้มข้อมูลที่บันทึกลงในแถบบันทึกหรือเทป (tape) เพื่อบอกว่าสิ้นสุดแฟ้มข้อมูลหรือสิ้นสุดงานนั้น ๆ มีความหมายเหมือน end of file | error code | รหัสระบุความผิดพลาดหมายถึง รหัสที่มีกำหนดไว้ เพื่อบ่งบอกข้อผิดพลาดต่าง ๆ ว่าเป็นข้อผิดพลาดจากสาเหตุใด เช่น ศัพท์ที่ใช้ในชุดคำสั่งภาษานั้น ๆ ตัวแปลภาษาไม่รู้จัก (bad command) หรือไวยากรณ์ผิด (syntax error) เป็นต้น | error correcting code | รหัสแก้ความผิดพลาดหมายถึง รหัสที่สามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในขณะอ่านข้อมูล ส่งข้อมูล และพิมพ์ผลลัพธ์ การค้นพบนี้จะอาศัยการใช้บิตเสริม (parity bit) พิเศษในข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจะชี้ไปที่บิตที่มี ความผิดพลาด และจะเปลี่ยนค่าจาก 0 เป็น 1 หรือ 1 เป็น 0 ให้ | execution phase | ช่วงกระทำการหมายถึง ช่วงเวลาที่คอมพิวเตอร์กระทำตามคำสั่งในชุดคำสั่งชุดหนึ่ง ๆ เริ่มนับแต่การไปนำข้อมูลมา (fetch) การถอดรหัส (decode) และการกระทำการ (execute) ตามข้อความสั่งนั้น ๆ ดู compilation phase เปรียบเทียบ | expert system | ระบบผู้เชี่ยวชาญหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง เช่น งานด้านการแพทย์ ระบบนี้จะรวมเอาความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งพวกมืออาชีพหรือผู้ชำนาญการได้รวบรวมไว้ กับต้องมีวิธีการที่จะใช้ในการประมวลผล โดยการตั้งคำถามให้ตอบ โปรแกรมประเภทนี้ จะต้องนำคำตอบเหล่านั้นมาประมวลผล เปรียบเทียบกับข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว หาข้อสรุปให้ หรือช่วยแก้ปัญหาให้ คำตอบที่คอมพิวเตอร์ตอบนี้ ถือว่าเป็นคำตอบที่เหมือนกับที่ผู้เชี่ยวชาญจะตอบ | file protection | การอารักขาแฟ้มข้อมูลหมายถึงวิธีการที่สร้างขึ้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่มีได้รับอนุญาตเข้ามาดู หรือแก้ไขข้อมูลในแฟ้มนั้น ๆ ได้ เป็นต้นว่าการสร้างคำผ่าน (passwords) เป็นต้น | high tech | เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นคำที่แสดงถึงคุณภาพที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้น ๆ หรืองานนั้น ๆ ได้มีการค้นคว้าและพัฒนากันมามากมายแล้ว | hypertext | ข้อความหลายมิติหมายถึง การเรียกหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้ ให้แสดงบนจอภาพ ซึ่งอาจมีทั้งข้อความที่ใช้อธิบาย หรือบางทีจะมีภาพประกอบ มีเสียง หรือมีการแสดงการเคลื่อนไหว ฯ ใช้มากในโฮมเพจต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต ส่วนมาก คำที่จะมีคำอธิบายเช่นนี้ มักจะเป็นคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ หรือไม่ก็เป็นตัวดำหนา เมื่อลากเมาส์ไปวางที่คำเหล่านี้ ตัวชี้ตำแหน่งจะเปลี่ยนเป็นนิ้วชี้ ถ้ากดเมาส์ ก็จะมีรายละเอียดมาอธิบายให้ หรือจะโยงไปหารายละเอียดของเรื่องนั้น ๆ | interpreted language | ภาษาที่แปลด้วยตัวแปลภาษาหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์จะอ่านคำสั่งทีละคำสั่ง จัดการแปลให้แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ทันที ก่อนที่จะไปอ่านคำสั่งใหม่ เช่น ภาษา BASIC, LISP, PROLOG และ LOGO เป็นต้น การใช้ภาษาประเภทนี้ ที่ใช้จะรู้สึกทันใจกว่า เพราะรายงานผลได้ทันที ถ้ามีที่ผิด ก็จะได้แก้ไขได้เลย ภาษาเหล่านี้เป็นภาษาที่ใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า Interpreter เป็นตัวแปล | machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ | non executable statement | ข้อความสั่งไม่ทำการหมายถึง คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำการใด ๆ แต่เป็นการแจ้งให้ตัวแปลชุดคำสั่ง (compiler) รับรู้ข้อความบางอย่างที่ต้องการแจ้งให้ทราบเท่านั้น เช่น คำสั่ง END เป็นต้น คำสั่งนี้เป็นเพียงต้องการแจ้งให้ทราบว่า จบโปรแกรมนั้น ๆ แล้วเท่านั้น นอกจากนั้น ก็อาจเป็นคำสั่งให้เตรียมที่ในหน่วยความจำบ้าง เตรียมจัดรูปแบบข้อมูลบ้าง ถ้าสั่งให้อ่านข้อมูลโดยใช้คำสั่ง Read คำสั่งนี้เป็นข้อความสั่งทำการ (excutable statement) เครื่องจะทำการทันทีที่พบคำสั่งนี้ แต่อ่านข้อมูลแล้วนำไปจัดเก็บในรูปแบบตามคำสั่ง FORMAT (ในภาษาฟอร์แทรน) คำสั่ง FORMAT ถือว่าเป็นข้อความสั่งไม่ทำการดู excutable statement เปรียบเทียบ | odd even check | การตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่หมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจสอบแต่ละหน่วยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) หรือเป็นคำ (word) ว่ามีจำนวนบิต (bit) ที่เป็น 1 เป็นจำนวนคู่หรือคี่ โดยการเพิ่มหนึ่งบิตที่เรียกว่า บิตเสริม (parity bit) เข้าที่ท้ายหรือต้นข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้จำนวนบิตที่เป็น 1 เป็นเลขคี่หรือคู่เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน, บันทึก, หรือถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริมก็จะถูกนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากันก็แปลว่าการอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน parity check | parity check | การตรวจสอบภาวะเสริมหมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจแต่ละหน่วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) คำ (word) ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน บันทึก หรือ ถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริม (parity bit) ก็จะถูกนำมาคำนวณแล้วเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากัน ก็แปลว่า การอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้มีการอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน odd even check | pds | (พีดีเอส) ย่อมาจาก public domain software เป็นที่รวมของโปรแกรมฟรี หมายถึงผู้สร้างซอฟต์แวร์นั้น ๆ ยินยอมให้คนทั่วไปคัดลอกไปใช้ได้ ไม่ผิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดู public domain ประกอบ | radix | (เร'ดิคซฺ) n.เลขฐานของระบบเลขหรือlogarithmsหรืออื่น ๆ , ราก, รากศัพท์, สมุฎฐาน, มูลฐาน, จำนวนสัญลักษณ์ที่ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอและมีวิธีเขียนหลายแบบ (ถ้าเป็นเลขฐาน 10 จะไม่ต้องเขียนฐานกำกับ) เช่น101 (8) หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานแปด (101) 2 หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานสองมีความหมายเหมือน base numberดู number system ประกอบ pl. radices, radixes, Syn. root, a radical | reverse engineer | วิศวกรรมย้อนกลับหมายถึง กระบวนการถอดรหัสโปรแกรม โดยไม่ต้องดูรหัสที่โปรแกรมนั้นใช้อยู่ แต่ถอดจากการวิเคราะห์แยกแยะว่าโปรแกรมนั้น ๆ มีผลกระทบทางด้านฮาร์ดแวร์อย่างไร ทำงานอย่างไร | semantic | (ซีแมน'ทิค) adj. เกี่ยวกับหรือเนื่องจากความหมายแตกต่างของคำหรือสัญลักษณ์อื่น, เกี่ยวกับsemantics (ดู) -semantically adv. ความหมายหมายถึง สัมพันธภาพระหว่างคำกับสัญลักษณ์ในภาษาที่ใช้การเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งความหมายที่กำหนดให้สำหรับคำและสัญลักษณ์นั้น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม คำสั่งต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมักใช้อธิบายด้วยภาษาคณิตศาสตร์ เพราะมีความชัดเจนแน่นอน | shareware | แชร์แวร์หมายถึง โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่อาจต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายในรูปของการบริจาคตามความสมัครใจ เมื่อต้องการคัดลอกไปใช้ ผู้ขายยังคงรักษาความเป็นเจ้าของอยู่ ผู้ซื้อจะได้รับคู่มือการใช้บริการสนับสนุน ตอบข้อข้องใจทางโทรศัพท์ และการแจ้งการปรับปรุงครั้งใหม่ของโปรแกรมนั้น ๆ ถ้าเป็นของสาธารณะ (publlic domain จะไม่ตัองเสียค่าใช้จ่ายเลยดู piracy และ public domain เปรียบเทียบ | software engineering | วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นศัพท์ที่เพิ่งนำมาใช้เมื่อไม่นานมานี้ โดยกำหนดให้ถือว่า วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นส่วนหนึ่งของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ นั้นจะเน้นเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์ และการนำซอฟต์แวร์นั้น ๆ ไปทดลองใช้ มุ่งให้ความสำคัญในเรื่องการผลิตซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ชั้นดี รวมทั้งระเบียบวิธีการเขียนโปรแกรม และการบริหารโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ | such | (ซัชฺ) adj. เช่นนั้น, เช่นนี้, ดังนั้น, ดังนี้, นั้น, นั้น ๆ , นั่น, แท้, จริง ๆ , แน่นอน. pron. คนเช่นนี้, คนเช่นนั้น, สิ่งนี้, สิ่งนั้น, -Phr. (as such ดังนั้น, ดังนี้, เช่นนั้น เช่นนี้) -Phr. (such as เช่น ตัวอย่างเช่น) -Phr. (such and such เป็นต้น เป็นอาทิ) | tag | (แทก) n. หัวหุ้มปลายเชือกผูกรองเท้า, หูหลังรองเท้า, แผ่นกลม, โลหะกลม, ป้ายติดราคา, สายโยง, สายคาด, ชายหรือปลายหางของสิ่งหนึ่ง ๆ , สิ่งต่อท้าย, บทลูกคู่, ฉายา, การเล่นไล่จับของเด็ก vt. ติดป้ายบอกราคา, ติดแผ่นกลม, ติดกระจุก, ต่อ, ติดตาม, ต่อท้าย, ทำให้รวมกัน, ประมาณ, ไล่หลัง, ป้ายระบุหมายถึงรหัสที่ใส่ในแฟ้มข้อมูล หรือใช้ในเรื่องของโครงสร้างข้อมูล (data structure) ที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่า จะต้องมีการตีความเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ นิยมใช้ป้ายระบุนี้ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กัน คำสั่งในภาษา HTML ก็นิยมให้ใช้ป้ายระบุนี้ดู HTML ประกอบ |
| compute | (vt) compute vt. คึ่มพิ้วท์ (พบบ่อย) 1. คำนวณ nc. ค็อมพิ้วเตอร์ (บังคับ) 1. (comp.) คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ประมวลผลที่มีความจำ ตามชุดคำสั่ง และสามารถบันทึกผลการประมวลได้ 2. (comp.) พนักงานคำนวณ ในแง่ที่ทำกันเป็นร้อยคน ในสมัยโบราณ ในงานดาราศาสตร์ (ความหมายโบราณ) nc. 1. (comp.) ศิลปะโดยคอมพิวเตอร์ คือ ศิลปที่สร้างหรือทำขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ หรือระบายสี เป็นต้น nc. 1. (comp.) คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง คือ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายทำหน้าที่บริการด้านประมวลผลข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการในเครือข่าย nc. 1. (comp.) สกุลของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในกลุ่มที่สร้างขึ้นจาก microprocessor ชนิดเดียวกัน หรือ คล้ายกัน ตัวอย่างสกุลของคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม และแบบ PS /2 nc. 1. (comp.) เกมคอมพิวเตอร์ คือ การเล่นเกมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ การเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ มักควบคุมการเล่นโดยคันโยก (joystick)หรือ แป้นพิมพ์ (keyboard) ก็ได้ nc. 1. (comp.) ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อจะนำไปใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ nc. 1. (comp.) ระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยชุดฮาร์ดแวร์ และเครื่องอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ร่วมกันของระบบ เช่น ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยตัวเครื่อง ดิสก์ไดร้ว์ จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และเมาส์ nc. 1. (comp.) ยุคพัฒนาการคอมพิวเตอร์ ในช่วงระหว่างกลางปี พ.ศ. 2503 - 2513 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เปลี่ยนมาใช้ IC หรือวงจรรวม ชื่อเต็มว่า integrated circuit หรือ IC n. (ศัพท์คอม) 1. (comp.) ความสามารถที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ nc. 1. (comp.) การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน มีความหมาย เช่นเดียวกับ computer-assisted instruction สามารถดูคำอธิบายใน CAI n. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ v. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงาน | earworm | (n) คืออาการที่เรานึกถึงเนื้อเพลงนั้น ๆ วนเวียนอยู่ในหัวไปมา, เพลงติดหู | particular | (adj) นั้น ๆ (e.g. the particular place = สถานที่นั้น ๆ ) | กุศล | (n, adj) กุศล ควรจะหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา |
| 住人 | [じゅうにん, juunin] (n) ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตนั้น ๆ, See also: S. 住民, R. 住民 | 住民 | [じゅうみん, juumin] (n) ชาวเมือง, คนในพื้นที่, คนที่อาศัยอยู่ในเขตนั้น ๆ, See also: S. 住人, R. 住人 |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |