Search result for

*นิยมใช้*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: นิยมใช้, -นิยมใช้-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
บ่องตง(slang) บอกตรงๆ ซึ่งเป็นภาษาวัยรุ่นในปัจจุบัน นิยมใช้ในอินเตอร์เน็ต และ ภาษาพูดทั่วไป

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
กระจงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้.
กระจายแผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย.
กระจุยว. กระจายออกยุ่งไม่เป็นระเบียบ, นิยมใช้เข้าคู่กับ กระจุก เป็น .
กระเจิงว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
กระชั้นว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้นเข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
กระซาบก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคำเกลี้ยง (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
กระซิบก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ.
กระเซอว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
กระฎุมพีน. คนมั่งมี, พ่อเรือน, มักนิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี หมายความว่า ชนชั้นต่ำ.
กระดิบ, กระดิบ ๆก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายนํ้ากระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ.
กระเดื่อง ๒แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
กระเดื่อง ๓กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย (นิทราชาคริต), นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง.
กระยาทิพย์น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ข้าวฟ่าง ถั่วราชมาส งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
กระแอม ๑, กระแอมกระไอก. ทำเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระไอ เป็น กระแอมกระไอ.
กรัก(กฺรัก) น. แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า นิยมใช้ย้อมสบงจีวร
กลไฟ(กน-) น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือมหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
กลองแขกน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปยาวทรงกระบอก มี ๒ หน้า หน้าหนึ่งใหญ่ เรียกว่า หน้ารุ่ย อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า หน้าต่าน เดิมใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายหนังเหมือนกลองมลายู ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย, กลองชวา ก็เรียก.
กลองตะโพนน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ใช้ตะโพนไทย ๒ ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออกแล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีอย่างกลองทัด นิยมใช้ตีแทนกลองทัดในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ หรือเพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวลเมื่อบรรเลงภายในห้องหรืออาคาร.
กะหลาป๋า ๑เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป ว่า หมวกกะหลาป๋า
กันเกรา(-เกฺรา) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
กึ๋นสติปัญญาที่แหลมคม, นิยมใช้กับคำว่า มี หรือ ไม่มี เช่น หัวหน้าคนนี้มีกึ๋น เด็กคนนี้ไม่มีกึ๋นเอาเลย.
โกงกางน. ชื่อไม้ต้นในสกุล Rhizophora วงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าเลนชายทะเล นิยมใช้ทำฟืนและเผาถ่านกันมาก เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลักษณะเรียวยาวคล้ายฝัก มี ๒ ชนิด คือ โกงกางใบใหญ่หรือกงกอน ( R. mucronata Poir.) และโกงกางใบเล็ก ( R. apiculata Blume) ชนิดนี้นิยมใช้ทำฟืนและเผาถ่านกันมาก, พังกา ก็เรียก.
ข้าวกระยาทิพย์น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ข้าวฟ่าง ถั่วราชมาส งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
ข้าวทิพย์น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ข้าวฟ่าง ถั่วราชมาส งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวกระยาทิพย์ ก็เรียก.
เขากวางอ่อนน. เขากวางที่งอกใหม่หลังผลัดเขา มีหนังอ่อนนุ่มหุ้ม มีขนสั้นสีน้ำตาลเป็นมัน นิยมใช้ทำยา.
ค่าน้ำนมน. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอเพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มันแลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง (สามดวง)
เคราะห์ ๑สิ่งที่นำผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มักนิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์.
จรรยา(จัน-) น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี.
จระเข้หางยาวน. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น นิยมใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกการหัดเรียนดนตรีประเภทเครื่องสายและขับร้อง
ฉลอม(ฉะหฺลอม) น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
ชิน ๑น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง
โชคน. สิ่งที่นำผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น โชคดี โชคร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.
ดอกไม้จีน ๒น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในสกุล Hemerocallis วงศ์ Hemerocallidaceae คือ ชนิด H. lilioasphodelusL. ดอกสีเหลือง และชนิด H. fulva (L.) L. ดอกสีส้ม, ทั้ง ๒ ชนิดนิยมใช้ดอกแห้งเป็นอาหาร.
ตะกั่วเกรียบน. ตะกั่วที่ประสมโลหะบางอย่างเช่นสังกะสี นิยมใช้ทำพระเครื่อง.
ทองจังโกน. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ลงรักแล้วปิดทองคำเปลว นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.
ทางเก็บน. วิธีบรรเลงดนตรีแบบหนึ่ง โดยดำเนินทำนองเป็นพยางค์เสียงช่วงสั้นต่อเนื่องกันไป ส่วนใหญ่นิยมใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เช่น ระนาดเอก ขิม.
นร-(นอระ-) น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์.
นาก ๒น. โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ.
บหลิ่ม(บะหฺลิ่ม) น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับพิเศษ มีท่อนเดียว นิยมใช้ร้องในระบำสี่บท, ประหลิ่ม หรือ ปะวะหลิ่ม ก็เรียก.
บาตน. การตก, การตกไป, นิยมใช้ประกอบหลังคำอื่น ในคำว่า บิณฑบาต = การตกแห่งก้อนข้าว, อสนีบาต = การตกแห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า, อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ ผีพุ่งไต้.
ประดู่น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ประดู่บ้าน ก็เรียก, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน.
ประหลิ่มน. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับพิเศษ มีท่อนเดียว นิยมใช้ร้องในระบำสี่บท, บหลิ่ม หรือ ปะวะหลิ่ม ก็เรียก.
ปะวะหลิ่ม(-หฺลิ่ม) น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับพิเศษ มีท่อนเดียว นิยมใช้ร้องในระบำสี่บท, บหลิ่ม หรือ ประหลิ่ม ก็เรียก.
ปี่พาทย์เครื่องคู่น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว).
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และฆ้องโหม่งผสมด้วย (ปัจจุบันนิยมใช้แต่ปี่ใน).
ปี่อ้อน. ปี่ที่ตัวปี่หรือเลาปี่ทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว ๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือเงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.
ผนวช(ผะหฺนวด) ก. บวช, นิยมใช้ว่า ทรงพระผนวช ทรงผนวช.
พุ่มดอกไม้น. ดอกไม้ที่จัดบนพานให้มีลักษณะเป็นพุ่มยอดแหลม สำหรับบูชาพระเป็นต้น นิยมใช้ดอกไม้สด เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกผกากรอง.
ฟาทอมน. มาตราวัดระยะทาง เท่ากับ ๖ ฟุต หรือ ๑.๘ เมตร มักนิยมใช้วัดความลึกของทะเล.
มงคล, มงคล-สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Atomic energyพลังงานอะตอม, พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" [นิวเคลียร์]
Thermoluminescence datingการหาอายุโดยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์, วิธีหาอายุโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา โบราณสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐและตะกอนดิน โดยอาศัยปรากฏการณ์เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ วิธีที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ Quartz and Feldspar Inclusion Method สามารถหาอายุตัวอย่างที่มีหินเขี้ยวหนุมานประกอบอยู่ได้ในช่วง 50 ถึง 100, 000 ปี และถ้ามีหินฟันม้าประกอบอยู่ สามารถหาอายุได้ในช่วง 500 ถึง 500, 000 ปี อีกวิธีหนึ่งได้แก่ Pre-dose Method สามารถหาอายุตัวอย่างที่มีหินเขี้ยวหนุมานประกอบอยู่ได้ในช่วงไม่เกิน 1, 000 ปี (ดู thermoluminescence ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
structural languageภาษาโครงสร้าง, เทคนิคในการใช้โครงสร้างควบคุมภายในภาษาโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่ได้ไม่ซับซ้อนมากเกินไป โครงสร้างควบคุมที่ใช้กันได้แก่ การทำงานตามลำดับ การทำงานซ้ำตามเงื่อนไข การเลือกทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เทคนิคนี้นิยมใช้กันในภาษาคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ [คอมพิวเตอร์]
Nuclear energyพลังงานนิวเคลียร์ , พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของ อะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" [นิวเคลียร์]
Gaseous diffusion plantโรงงานแบบแพร่แก๊ส, <font color="#8b0000"><em>โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม</em></font>แบบหนึ่ง โดยการแยกไอโซโทปยูเรเนียม-238 และยูเรเนียม-235 ในรูปแก๊สเฮกซะฟลูออไรด์ออกจากกัน ภายในเครื่องแพร่แก๊สที่มีตัวกั้นเป็นรูพรุน ยูเรเนียม – 235 ซึ่งเบากว่าจะแพร่ผ่านเข้าสู่เครื่องแพร่แก๊สถัดๆ ไปในอัตราที่เร็วกว่า จนกว่าจะได้ยูเรเนียม-235 ที่มีสมรรถนะตามต้องการ โรงงานชนิดนี้มีขนาดใหญ่และใช้กำลังไฟฟ้ามาก จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน [นิวเคลียร์]
Diplomatic Expressionsถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต]
Diplomatic Languageภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต]
Excellencyเป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต]
International Conferencesคือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต]
Notes in Diplomatic Correspondenceหมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต]
linear electron acceleratorเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์ [พลังงาน]
specific gravityความถ่วงจำเพาะ, เป็นอัตราส่วนของน้ำหนักของเหลวเมื่อเทียบน้ำหนักที่ปริมาตรเดียวกัน แต่ปริมาณของเหลวมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ดังนั้นการบอกค่าความถ่วงจำเพาะจึงต้องระบุอุณหภูมิ เช่นน้ำมัน ในวงการอุตสาหกรรมน้ำมันนิยมใช้ค่าอนุพันธ์ความถ่วงจำเพาะในรูปของ API gravity [ปิโตรเลี่ยม]
Butadiene rubber or Polybutadieneยางบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากบิวทาไดอีนมอนอเมอร์ มีความยืดหยุ่นและสมบัติการกระเด้งกระดอนสูง มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการสึกกร่อนสูงมาก นอกจากนี้ยังมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดี ความร้อนสะสมขณะใช้งานต่ำจึงนิยมใช้ผสมกับยางธรรมชาติหรือยางเอสบีอาร์ในการ ผลิตดอกยางรถยนต์หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ต้องการความทนต่อการสึกกร่อนสูง เช่น ยางพื้นรองเท้า ยางกันกระแทก เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Butyl Rubber or Isobutylene Isoprene Rubber: IIRยาง IIR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคโพลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น และเนื่องการมีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่นสะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือนด้วย [เทคโนโลยียาง]
Calenderเครื่องอัดรีดคือเครื่องที่ประกอบด้วยชุดของลูกกลิ้งจำนวน 2 ถึง 4 ลูก เรียงตัวกันในแบบต่างๆ โดยทั่วไป ลูกกลิ้งแต่ละลูกจะทำจากเหล็กหล่ออย่างดี ผิวหน้าขัดเรียบ ด้านในลูกกลิ้งจะมีการเจาะรูให้เป็นโพรงเพื่อติดตั้งระบบทำความร้อนและทำ ความเย็น เช่นเดียวกับลูกกลิ้งที่ใช้ในการผสมยางและระยะห่างระหว่าลูกกลิ้งสามารถปรับ ให้กว้างหรือแคบได้ตามความต้องการ โดยทั่วไปเครื่องอัดรีดนิยมใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นเรียบ มีความหนาและความกว้างสม่ำเสมอ หรือเพื่อการฉาบยางบางๆ ลงบนผ้าหรือแผ่นใยลวด (coating) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ สายพานลำเลียง ยางแผ่นเรียบใช้ในงานปูพื้นต่างๆ เช่น ยางแผ่นปูอ่างน้ำ ยางบุถัง เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Carbon blackผงเขม่าดำได้จากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคปฐมภูมิอยู่ในช่วง 1-10 นาโนเมตร นิยมใช้เป็นสารเสริมแรงในอุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความทนต่อการสึกหรอให้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง [เทคโนโลยียาง]
Chlorinated polyethylene rubberยางคลอริเนตพอลิเอทิลีนเป็นยางที่ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิ ลีนและคลอรีน ยางชนิดนี้มีหลายเกรดขึ้นอยู่กับปริมาณของคลอรีน สมบัติโดยทั่วไปทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ โอโซน ความร้อน และสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่างๆ ได้ดี มีการติดไฟต่ำ มีความเสถียรของสีสูงมาก ทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีขั้วปานกลาง แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี นิยมใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายไฟฟ้าและสายเคเบิล ท่อยางและชิ้นส่วนภายในยานยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Compression mouldingการขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอัดเป็นวิธีการขึ้นรูปที่ใช้กันมากที่สุด ในโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับการขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอื่น ๆ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องลงทุนทางด้านเครื่องจักรสูง เพราะแม่พิมพ์และเครื่องอัดมีราคาไม่สูงมากนัก เครื่องอัดที่นิยมใช้ ได้แก่ เครื่องอัดระบบไฮดรอลิค การผลิตเริ่มจากการนำยางคอมพาวด์มาวางในแม่พิมพ์ที่ร้อน ปิดแบบแม่พิมพ์ อัดด้วยความร้อนและความดันภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ยางจะเกิดการวัลคาไนซ์และคงรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นถอดออกจากแม่พิมพ์ จะได้ผลิตภัณฑ์ตามต้องการ [เทคโนโลยียาง]
Concentrated latexน้ำยางข้น คือ น้ำยางสดที่ทำให้เข้มข้นโดยการหมุนเหวี่ยงหรือการแยกครีม เพื่อแยกส่วนที่เป็นเนื้อยางออกจากเซรุ่ม และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 60% สำหรับวิธีการหมุนเหวี่ยง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศไทย และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 64% สำหรับวิธีการแยกครีม เนื่องจากน้ำยางสดมีปริมาณน้ำมากเกินไปไม่เหมาะที่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการขนส่ง [เทคโนโลยียาง]
Deproteinised or Deproteinized natural rubberยางธรรมชาติที่เตรียมโดยการกำจัดโปรตีนที่มีอยู่ในยางธรรมชาติออกไป สามารถทำได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง วิธีที่นิยมใช้ในการกำจัดโปรตีน คือ การย่อยสลายโปรตีนด้วยเอนไซม์ (proteolytic enzymes) เช่น เอนไซม์ปาเปอิน (papain) หรืออาจใช้ด่าง (alkaline hydrolysis) หรือใช้น้ำร้อนในการกำจัดโปรตีน [เทคโนโลยียาง]
Durometerเครื่องมือวัดความแข็งของยางและพลาสติกที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีหลายสเกลให้เลือกใช้งานขึ้นกับช่วงความแข็งของวัสดุ รูปทรงของเข็มกด แรงกด และขนาดของแป้นกดของเครื่องทดสอบ ได้แก่ A, B, C, D, DO, O, OO และ M แต่ละสเกลจะมีค่าตั้งแต่ 0-100 และระบุในหน่วยชอร์ (Shore scale) สำหรับยางนิยมวัดความแข็งในสเกลของชอร์ เอ (Shore A) วิธีการวัดความแข็งสามารถทำได้ตามมาตรฐาน ISO 7619-1, ASTM D2240 [เทคโนโลยียาง]
Eboniteอีโบไนต์หรือยางแข็ง (hard rubber) คือ ยางที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันโดยใช้กำมะถันในปริมาณสูง (30-50%) และให้ความร้อน ทำให้ยางมีโครงสร้างแบบร่างแห (network) และมีสมบัติแข็งมากแต่เปราะ ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษ ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ทั่วไป นิยมใช้ทำหม้อบรรจุแบตเตอรีหรือภาชนะบรรจุกรด-เบส [เทคโนโลยียาง]
Ethylene propylene rubberยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Gutta perchaยางธรรมชาติสายพันธุ์หนึ่งที่ได้จากต้นยางกัตตา (Palaquium gutta) ซึ่งเป็นต้นไม้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมบัติความยืดหยุ่นไม่ดีเนื่องจากลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเป็น ทรานส์-1, 4-พอลิไอโซพรีน (trans-1, 4-polyisoprene) แต่มีความเป็นฉนวนที่ดี นิยมใช้ในการทำส่วนประกอบของลูกกอล์ฟ ทำฟันปลอม ฉนวนหุ้มสายเคเบิลไฟทั้งใต้ดินและในทะเล [เทคโนโลยียาง]
Halobutyl rubberยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Hydrogenated acrylonitrile-butadiene rubberยางไฮโดรจิเนตอะไครโลไนไทรล์บิวทาไดอีน หรือยาง HNBR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (Hydrogenation) ของยาง NBR สมบัติของยาง HNBR มีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน รังสีที่มีพลังงานสูง และโอโซนสูงมาก ใกล้เคียงกับยาง EPDM และเนื่องจากมี CN อยู่ในโมเลกุลทำให้ยางชนิดนี้ทนต่อน้ำมันได้ดี ยาง HNBR มีสมบัติทั่วไปอยู่ระหว่างยาง NBR และยางฟลูออโรคาร์บอน เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูง จึงนิยมใช้ยาง HNBR แทนยาง NBR เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้งานในสภาวะที่รุนแรงหรือที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีข้อดีเหนือกว่ายางฟลูออโรคาร์บอน คือ มีความทนทานต่อสารตัวเติมที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สารประกอบเอมีน ได้ดี จึงนิยมใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยางที่ใช้ในแท่นขุดเจาะน้ำมัน [เทคโนโลยียาง]
Isobutylene isoprene rubber or Butyl rubberยาง IIR หรือยางบิวไทล์เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคพอลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้องทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่น สะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือน นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Mooney viscometerเครื่องมือวัดความหนืดของยางคอมพาวด์หรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการ คงรูป นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมสมบัติการไหลของยางคอมพาวด์ ค่าความหนืดที่วัดได้จะเรียกว่าความหนืดมูนนี่ Mooney viscosity) วิธีการวัดค่าความหนืดมูนนี่ได้แสดงไว้ในมาตรฐาน ISO 289-1, ASTM D 1646, BS 1673: Part 3 [เทคโนโลยียาง]
Peroxideสารเคมีที่มี –O-O- ในโมเลกุล เช่น H2O2, Na2O2, benzoyl peroxide [ (C6H5CO)2O2 ] ออกซิเจนในเพอร์ออกไซด์มีเลขออกซิเดชัน -1 ทำให้เพอร์ออกไซด์โดยทั่วไปไม่เสถียร เมื่อให้ความร้อนจะสลายตัวให้อนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของโมเลกุลขึ้นได้ด้วยพันธะคาร์บอน-คาร์บอน นิยมใช้เพอร์ออกไซด์เป็นสารทำให้ยางคงรูปในยางที่ไม่มีพันธะคู่ เช่น EPM, EVA, CPE, Q หรือยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำมากเท่านั้น เช่น HNBR, EPDM [เทคโนโลยียาง]
Polynorborneneยางพอลินอร์บอนีนเป็นยางที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก สามารถเติมสารทำให้ยางนิ่มได้ถึง 150-300 phr ในขณะที่ยางยังคงรักษาสมบัติเชิงกลต่างๆ ได้ดี มีสมบัติเด่นคือ ทนต่อแรงดึงได้ดีแม้ว่ายางจะมีค่าความแข็งต่ำมาก เช่น 15 Shore A นิยมใช้ในการผลิตลูกกลิ้งป้อนกระดาษแบบอ่อนสำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Silicaซิลิกาเป็นสารตัวเติมเสริมแรงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากใน อุตสาหกรรมยางนอกเหนือจากเขม่าดำ มีสีขาวและมีขนาดอนุภาคเล็กมาก เมื่อเติมลงไปในยางจะทำให้ยางมีสมบัติเชิงกลต่าง ๆ ดีขึ้น แต่เนื่องจากซิลิกามีราคาแพงกว่าเขม่าดำ จึงมักใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่มีสี เช่น พื้นรองเท้ากีฬา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง]
Tensile testerเป็นเครื่องมือวัดสมบัติความทนต่อแรงดึงของยางคงรูป ซึ่งสมบัติความทนต่อแรงดึงเป็นสมบัติเชิงกลพื้นฐานที่โรงงานอุตสาหกรรมยาง ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นตัวกำหนดคุณภาพหรือสเปคของผลิตภัณฑ์ วิธีการวัด คือ จะให้แรงดึงกับชิ้นงานตัวอย่างจนกระทั่งชิ้นงานขาด วัดความทนต่อแรงดึงสูงสุด ณ จุดขาด (tensile strength) และสามารถระบุได้ว่าชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยยืดไปกี่ เปอร์เซ็นต์ (elongation at break) วิธีการวัดและชิ้นงานที่ใช้จะต้องทำตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ISO 37 หรือ ASTM D412 [เทคโนโลยียาง]
storage cellเซลล์สะสมไฟฟ้า, เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบบทุติยภูมิชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันแพร่หลายก็คือ เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว ซึ่งมีตะกั่วเป็นขั้วไฟฟ้าและสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอิเล็กโทรไลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
nichromeนิโครม, โลหะผสมชนิดหนึ่งประกอบด้วยนิกเกิล  โครเมียม เหล็ก ไม่รวมตัวกับออกซิเจนในอากาศ มีจุดหลอมเหลวสูง  นิยมใช้ทำเป็นขดลวดความร้อนในอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดให้ความร้อน เช่น เตารีด  เตาไฟฟ้า เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
acid dissociation constantค่าคงที่การแตกตัวของกรด, ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาที่โมเลกุลหรือไออนที่เป็นกรดทำปฏิกิริยากับน้ำให้ไฮโดรเนียมไอออน นิยมใช้อักษรย่อ Ka เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่ากรดใดจะแตกตัวให้ H+ หรือ  H3O+ ได้มากน้อยเพียงใด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
fibre glassไฟเบอร์กลาสส์, ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีใยแก้วเป็นวัสดุเสริมกำลัง มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อการอัดกระแทก นิยมใช้ทำเรือ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
topazโทแพซ, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบอะลูมิเนียมฟลูออโรซิลิเกต สูตรเคมีคือAl2SiO44(F.OH)2 ความแข็ง 8 มีสีเหลือง ชมพู น้ำเงิน เขียว หรือไม่มีสี สีที่นิยมใช้เป็นแร่รัตนชาติ คือ สีเหลือง เรียกว่า บุษราคัม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
vanillaวานิลลา, พืชชนิดหนึ่งมีมากในอเมริกาใต้ นำเมล็ดมาสกัดได้สารอินทรีย์  สูตรเคมีคือC8H8O3 เป็นผลึกสีขาว จุดหลอมเหลว 81-82 °C จุดเดือด 285 °C  มีกลิ่นหอม นิยมใช้ผสมอาหาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
zirconเพทาย, แร่ชนิดหนึ่ง เป็นผลึกของสารประกอบเซอร์โคเนียมซิลิเกต (ZrSiO4) มีความแข็ง7.5 ความถ่วงจำเพาะ 4.6 - 4.8 มีความวาวแบบเพชร ใส ไม่มีสี หรือมีสี เช่น น้ำตาล เขียว แดง เป็นต้น นิยมใช้เป็นแร่รัตนชาติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
form factorฟอร์มแฟกเตอร์, แสดงถึงขนาดของเมนบอร์ด ตำแหน่งของขั้วต่ออุปกรณ์ภายนอกต่างๆ ขนาดของเมนบอร์ดจะต้องเข้ากันได้กับชนิดของเคสที่ใช้ ฟอร์มแฟกเตอร์ของเมนบอร์ดที่เป็นมาตรฐานที่ยังนิยมใช้กันอยู่คือ เอทีเอ็กซ์ ซึ่งบริษัทอินเทลเป็นผู้เสนอมาตรฐานนี้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Infrared Data Association( IrDA)ไออาร์ดีเอ, โพรโทคอลใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้ และไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยใช้แสงอินฟราเรดในการติดต่อสื่อสาร และมีความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ระหว่าง 115 Kbps ถึง 4 Mbps ผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ นิยมใช้โพรโทคอลนี้ในระบบเครือข่ายส่วนบุคคลแบบไร้สาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
systematic samplingการสุ่มอย่างเป็นระบบ, การสุ่มอย่างเป็นระบบนิยมใช้กับกรอบตัวอย่างที่มีหน่วยตัวอย่างเรียงกันหรือจัดให้เรียงกันได้ เช่น รายชื่อพนักงานบริษัทที่เรียงตามลำดับการเข้าทำงานก่อนหลัง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
essentially, the initial device turns the whole ferry into a bomb and detonates it.ศพของหญิงสาวที่เราได้จากท่าเรือ ถูกน้ำมันไหม้อย่างแรง, ร่องรอย PETN on her face. PETN, นั่นมันเป็นพื้นฐานของระเบิด นิยมใช้โดย พวกผู้ก่อการร้าย. Deja Vu (2006)
And there's the tip of the latex glove it was originally packed in.และปลายถุงมือยาง ที่นิยมใช้แพ๊คของ Rio (2006)
People don't up-end their lives to pack up a dead relative's house.คนเขาไม่นิยมใช้ชีวิตกับสิ่งของ ของญาติที่ตายไปแล้วในบ้าน Patch Over (2008)
French bassoons are tricky to use in an orchestra.บาสซูนฝรั่งเศสมันกลไกซับซ้อนแถมไม่นิยมใช้ในออร์เคสตร้านะ Nodame Cantabile: The Movie I (2009)
Cook, I'm not sure if that's legal.ไม่รู้ว่าไอ้ซิดนี่เป็นใครนะ แต่มันรสนิยมใช้ได้เลย Everyone (2009)
Fuck you, Frank!เผอิญคนแถวนี้ไม่นิยมใช้ชื่อจริงเท่าไหร่ My Bloody Valentine (2009)
It's actually a pretty popular drug in the L.A. club scene.โดยปกติแล้วมันเป็นยาที่นิยมใช้กัน ในคลับ L.A. Dude, Where's My Groom? (2009)
I brought stuff people use for capers.ฉันเตรียมของที่คนนิยมใช้ในการจารกรรมมาด้วย Accounting for Lawyers (2010)
Well, at least that's what they say on "Castle."อย่างน้อย นั่นก็เป็นคำที่นิยมใช้กัน Digging the Dirt (2010)
Our penchant for fossil fuels has since diluted that carbon-14 in the atmosphere, giving us different benchmarks.ความนิยมใช้พลังงานฟอสซิลของพวกเรา ได้เจือจางระดับ Carbon-14 ในชั้นบรรยากาศ ทำให้เราได้เกณฑ์มาตรฐานที่แตกต่าง Sudden Death (2010)
It's a homeopathic pain treatment most commonly used for swollen joints.นิยมใช้กับภาวะข้ออักเสบ Into the Woods (2010)
You know, there's something just extremely uncomfortable about a man your size sniffing a flower.สิ่งที่นายต้องการคือ ดอกไฮเดรนเยีย นิยมใช้ในงานแต่ง ในสีเขียวและสีฟ้า Battle Los Angeles (2011)
Turns out our alien friends are big on recycling.ทำให้เราได้ว่า ไอ้เอเลี่ยนพวกนี้ เป็นพวกนิยมใช้ของเก่า What Hides Beneath (2011)
It's a common ammunition favored by... long-range shooters.เป็นแบบที่นิยมใช้ในกลุ่มของ นักยิงปืนระยะไกล Kill Shot (2011)
it turns out this window was more popular than the front door.คนนิยมใช้หน้าต่างบานนี้ มากกว่าประตูหน้า Ka Ho' Oponopono (2012)
The cars the Moonshine runners favoured were ones like this, a respectable looking 1941 Ford Business Coupe, which wouldn't raise the suspicions of a passing policeman.หนึ่งในรถขนเหล้าเถื่อน ที่เป็นที่นิยมใช้คือคันนี้ รถยนต์ที่ดูน่าเคารพอย่าง ฟอร์ด บีซิเนส คูเป้ ปี1941 ซึ่งดูไม่เป็นที่น่าสงสัย เวลาขับผ่านรถตำรวจ Episode #18.2 (2012)
Supplication is the most common form of prayer.การนั่งคุกเข่าในท่าวิงวอน เป็นรูปเเบบการสวดภาวนาที่นิยมใช้กันมากที่สุดน่ะ Coquilles (2013)
I recognized the scent of that stupid body wash they use in hotels trying to be classy.ฉันจำกลิ่นได้ กลิ่นสบู่เหลวงี่เง่าที่นิยมใช้ในโรงแรม เพื่อให้ดูมีระดับ Elle (2016)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
นิยมใช้[niyom chai] (v, exp) EN: prefer to use

English-Thai: Longdo Dictionary
PHP(n) ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่ง (เป็นแบบ intepreter) เป็นที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะในงานพัฒนาเว็บ แต่ก็สามารถใช้ในงานอื่นๆ ได้ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.php.net
MMC[M-M-C] (abbrev, uniq) ย่อมาจาก Multimedia Card อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท flash memory ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้าย SD (Secure Digital) แต่บางกว่าเล็กน้อย นิยมใช้กับ PDA กล้อง Digital MP3 Player, See also: flash memory, SD, CF, SM, MS, Digital Film
bayer pattern(n) รูปแบบตารางแผ่นกรองหลากสี สำหรับปะหน้าตัวรับภาพที่แยกแยะได้เฉพาะค่าความสว่าง (เช่น CCD หรือ CMOS Sensor) เพื่อให้สามารถแยกแยะสีของภาพได้ โดยแผ่นกรองนี้จะยอมให้แสงสีที่กำหนดผ่านไปตกบนตัวรับภาพ ณ บริเวณที่กำหนดเท่านั้น bayer pattern ที่นิยมใช้กันมากในกล้องถ่ายภาพมี สองชนิด คือ RGB bayer pattern และ CMY bayer pattern ซึ่งยอมให้แสงสี Red-Green-Blue และ Cyan-Magenta-Yellow ไปตกบนตัวรับภาพได้ ตามลำดับ ชื่อของแบบตาราง มาจากชื่อของ Dr. Bayer นักวิทยาศาสตร์ของบริษัท Kodak ผู้คิดค้น, See also: CCD
SD(abbrev, uniq) ย่อมาจาก Secure Digital อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท flash memory ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้าย MMC (Multimedia Card) แต่หนากว่าเล็กน้อย นิยมใช้กับ PDA กล้อง Digital MP3 Player, See also: flash memory, MMC, CF, SM, MS, digital film
DSL(abbrev) ย่อมาจากคำว่า Digital Subscriber Line เป็นวิธีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารแบบหนึ่ง นิยมใช้ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู้ใช้ทั่วไป
Perl(n, jargon, name) ชื่อภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาหนึ่ง เขียนโดยคุณ Larry Wall ในช่วงทศวรรษ 1980 เริ่มเป็นที่นิยมใช้ ในการประมวลผลข้อความ (Text) และใช้เขียน CGI program, หลังจากนั้นได้พัฒนาความสามารถในหลายๆ ด้าน จนสามารถใช้ในงานคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
go out(phrv) ล้าสมัย, See also: เลิกนิยม, ไม่นิยมใช้
instructress(n) ครูผู้หญิง (ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว), See also: อาจารย์ผู้หญิง

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
_เครื่องหมาย underscore เป็นอักขระตัวหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีลักษณะดังนี้ (-) ถ้าเป็นแป้นในพิมพ์ดีดจะใช้สำหรับขีดเส้นใต้ (underline) แทน แต่ในคอมพิวเตอร์ การขีดเส้นใต้มักนิยมใช้เป็นคำสั่ง (underline) แทน แต่บนแผงแป้นพิมพ์ก็ยังมีแป้นนี้อยู่ เมื่อกดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์จะถือเสมือนเป็นตัวอักขระตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้เป็นการขีดเส้นใต้ได้ต่อไปอีก เช่น อาจตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลว่า A-B ก็ได้
acronym(แอค' โรนิม) n. คำย่อจากพยัญชนะตัวแรกหลายคำ. -acronymic adj. คำย่อรัสพจน์หมายถึง คำย่อที่เกิดจากการนำอักษรตัวแรก หรือกลุ่มอักษรบางตัวมาสร้างขึ้นเป็นคำใหม่ประกอบด้วยอักขระตั้งแต่สองตัวขึ้นไป นิยมออกเสียงเหมือนคำปกติ เช่น DOS ซึ่งเอาอักษร D มาจากคำว่า Disk อักษร O มาจาก คำ Operating และ S มาจากคำว่า System คำนี้จะอ่านออกเสียงว่า "ดอส" แทนที่จะอ่านว่า ดีโอเอส คำย่อประเภทนี้ นิยมใช้กันมากใน วงการคอมพิวเตอร์ เช่น BASIC ซึ่งย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ก็อ่านว่า "เบสิก"
adobe photoshopโปรแกรมอโดบี โฟโทช็อป <คำแปล>Photoshopเป็นชื่อโปรแกรมสำเร็จโปรแกรมหนึ่งที่ช่วยในการแก้ไขปรับแต่งภาพ โดยเฉพาะภาพถ่าย ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก มักใช้ในการจัดทำสิ่งพิมพ์คู่กับโปรแกรม อโดบี เพจเมกเกอร์ (Adobe PageMaker) บริษัทอโดบีเป็นบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์ใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่ง โปรแกรมดัง ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันนอกจาก Photoshop, PageMaker แล้ว ยังมี Adobe Acrobat, Adobe Illustrator, Adobe Type Manager เป็นต้น)
amiga(อามิกา) เป็นชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซียี่ห้อหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ราคาไม่สู้จะแพงนัก นิยมใช้เฉพาะในหมู่นักวาดภาพและนักดนตรี
arc(อาร์ค) 1. n. ส่วนโค้ง, ความโค้ง, สะพานเรืองแสงที่อยู่ระหว่างปลายหรือ conductors ทั้งสอง, สิ่งที่มีรูปคล้ายคันศร -S...curve, arch, bend 2. เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการหลอมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แฟ้มเข้าเป็นแฟ้มเดียวกัน เพื่อให้ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อยลง โปรแกรมนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูงมาก่อน ต่อมาความนิยมได้ลดลงเพราะมีโปรแกรมใหม่กว่า มีผู้นิยมใช้มากกว่า มีชื่อเรียกว่า ZIP โปรแกรมประเภทนี้จะสามารถอัด (compress) ข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้เก็บได้ในเนื้อที่น้อย ๆ เช่นในจานบันทึก (floppy disk) แต่เมื่อจะใช้ จะต้องนำมาขยายเป็นขนาดปกติก่อน เรียกว่า decompress (ดู compress)
ascii fileแฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
assembly languageภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU)
autocad(ออโตแคด) เป็นชื่อโปรแกรมสำเร็จที่ใช้ในการออกแบบที่โด่งดังมากที่สุดในยุคนี้ ได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่าสิบปีแล้ว สามารถสร้างแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ สร้างแบบจำลอง (model) ได้โดยทำให้เหมือนจริง หมุนดูทิศทางต่าง ๆ ได้ นิยมใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ฯ เมื่อจะแสดงผลในกระดาษ ต้องใช้กับเครื่องวาด (plotter) ดู CAD ประกอบ
automatic teller machineเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ <คำแปล>นิยมใช้ตัวย่อว่า ATM หมายถึง เครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่ลูกค้าสามารถกดรหัสติดต่อกับธนาคารเพื่อใช้บริการบางอย่าง เช่น ฝากหรือถอนเงินได้ ในกรุงเทพ เครื่องเอทีเอ็ม นี้จะเห็นได้อยู่ทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางไปธนาคาร แล้วยังต้องรอรับบริการจากพนักงาน การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องเอทีเอ็ม และคอมพิวเตอร์ของธนาคาร จะใช้ผ่านทางสายโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่
bar codeรหัสแท่ง <คำแปล>หมายถึง รหัสที่ประกอบด้วยเส้นหลายเส้นที่มีขนาดความกว้างต่าง ๆ กัน มักจะมีอยู่บนสินค้านานาชนิด นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เครื่องอ่านรหัสแท่งจะอ่านได้ด้วยการปล่อยให้แสงผ่าน แล้วนำรหัสเหล่านี้มาแยกออกว่า เป็นรหัสของสินค้าอะไร ราคาเท่าใด บางบริษัทอาจจะใช้เป็นตัวควบคุมบัญชีพัสดุได้ด้วย
binary codeรหัสฐานสองหมายถึง การใช้รหัสเลขฐานสองแทนตัวอักษร ตัวเลข และตัวอักขระ พิเศษต่าง ๆ โดยใช้เพียงเลข 0 และ 1 รหัสที่นิยมใช้กันอยู่มีหลายรหัสเช่น เอ็บซีดิก (EBCDIC) , แอสกี (ASCII) , บีซีดี (BCD) คอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทจะเลือกใช้รหัสหนึ่งในการแทนข้อมูล
binary number systemระบบเลขฐานสอง <คำแปล>ระบบเลขฐานสอง หมายถึง ตัวเลขบอกจำนวนที่มีฐานเป็น"สอง" (ไม่ใช่ "สิบ" อย่างที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) คือมีเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 คอมพิวเตอร์ได้นำระบบเลขฐานสองนี้มาใช้เป็นรหัส เพื่อสะดวกในการแสดงสภาวะ 2 ประการคือ (สวิตซ์) เปิด และ ปิด
bubble memoryหน่วยความจำแบบฟองหมายถึง หน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใด้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับไปแล้วก็ตาม นิยมใช้กันมากสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีเนื้อที่มากพอที่จะมีฮาร์ดดิสก์ได้
byte(ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes)
c:หน่วยบันทึกซีหมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกแข็งที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักจะมีหน่วยบันทึกอย่างน้อยสองหน่วย คือ หน่วยบันทึกA: และหน่วยบันทึก C: หน่วยบันทึก C: มักนิยมใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ซึ่งจะมีความจุมากกว่าหน่วยบันทึก A: มาก จึงมักใช้ C: เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ตั้งแต่โปรแกรมระบบจนถึงโปรแกรมสำเร็จ (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังตัว C เสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก)
cartridge(คาร์'ทริจฺ) 1. n. กระสุนปืน, ลูกกระสุน, ลำกล้องดินระเบิด, ภาชนะใส่ของเหลวหรือแก๊ส, ที่ม้วนเทป 2. อาจเป็นได้ทั้งตลับเทปหรือกล่อง ใช้เก็บข้อมูล ปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยมใช้ บางทีใช้เป็นที่บรรจุเกมส์ต่าง ๆ เรียกว่า game cartridge ส่วน font cartridge หมายถึง ตลับที่ใช้เก็บแบบตัวอักษรสำหรับใส่ในเครื่องพิมพ์บางชนิด ถ้าใช้กับเครื่องพิมพ์หมายถึงที่ใส่หมึกสำหรับพิมพ์ เรียกว่า toner cartridge
casette tapeตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว
cdabbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่)
cd-rom(ซีดีรอม) ย่อมาจาก compact disc read-only memory หมายถึง compact disc ที่เป็นฟอร์แมตสำหรับผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และเก็บเสียง ภาพ และข้อความ เป็นต้น เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง
central processing unitหน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ
coaxial cableสายเคเบิลหุ้มฉนวนหมายถึง สายเคเบิลที่ห่อหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าอย่างดี นิยมใช้ ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) เพราสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดา
cobol(โคบอล) ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง แรกเริ่มเดิมที นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสำหรับงานด้านธุรกิจ ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) แต่ปัจจุบัน ได้รับการดัดแปลงให้ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ภาษาโคบอลนี้ออกจะละม้ายคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษธรรมดาอยู่ค่อนข้างมาก ภาษานี้เป็นภาษาสากล ที่ยังมีคนนิยมใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
compact diskใช้ตัวย่อว่า CD เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่อง คอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยบันทึกที่อ่านจานบันทึกนี้ได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์) หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ทำให้สะดวกสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคายังค่อนข้างแพง
compression(คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ
computer scienceวิทยาการคอมพิวเตอร์สาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์สาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกำหนดรูปแบบ และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้งาน หรือสั่งให้ทำงานให้ตามความประสงค์ เป็นต้นว่า กระบวนการต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ (information) ฯ อนึ่ง ศัพท์นี้ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ วิทยาการคอมพิวเตอร์
coreldraw(คอเรล ดรอว์) เป็นชื่อโปรแกรมสำเร็จโปรแกรมหนึ่ง ใช้ในการวาดภาพ มีผู้นิยมใช้กันมากในการสร้างสื่อโฆษณา ถือกันว่าเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงมากโปรแกรมหนึ่ง
desktop publishingการจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะใช้ตัวย่อว่า DTP (อ่านว่า ดีทีพี) หมายถึง การนำภาพและข้อความมาจัดวางไว้ด้วยกันบนจอภาพ ในตำแหน่งที่สวยงาม ดูแล้วสบายตา มักใช้เป็นต้นแบบ (ต้นฉบับที่จะนำไปผลิตต่อ) ของเอกสารสิ่งพิมพ์ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การจัดเตรียมต้นฉบับเอกสารสิ่งพิมพ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) แทนที่จะเป็นการ "ตัดปะ" อย่างสมัยก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันมาก คือ PageMaker และ QuarkXpress การจัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
disk(ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn. disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น
disketteแผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360, 000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ
drum plotterพล็อตเตอร์แบบดรัมเป็นอุปกรณ์แสดงผลชนิดพล็อตเตอร์ (plotter) มีรูปเป็นทรงกระบอกหรือดรัม มีกระดาษพันรอบ ดรัมนี้จะหมุนไปข้างหน้าและข้างหลังได้ มีปลายเป็นเหมือนปากกาติดอยู่เหนือดรัม ซึ่งจะเลื่อนไปซ้ายไปขวาได้ เวลาวาด จะลากเป็นเส้นลงบนกระดาษ การขยับขึ้นลงของดรัม และปากกาจะทำให้เกิดเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งได้ ความแม่นยำของเครื่องวาดชนิดนี้มีน้อยกว่าเครื่องวาดแบบระนาบ (flatbed plotter) แต่ราคาก็ถูกกว่า จึงนิยมใช้กันมากในเชิงพาณิชย์
dtp(ดีทีพี) ย่อมาจาก desktop publishing ซึ่งแปลว่า การจัดพิมพ์ (หรือการจัดเตรียมต้นแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์) ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หมายถึง การนำภาพและข้อความมาจัดวางไว้ด้วยกันบนจอภาพ ในตำแหน่งที่สวยงาม ดูแล้วสบายตา มักใช้เป็นต้นแบบ (ต้นฉบับที่จะนำไปผลิตต่อ) ของเอกสารสิ่งพิมพ์ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การจัดเตรียมต้นฉบับเอกสารสิ่งพิมพ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) แทนที่จะเป็นการ "ตัดปะ" อย่างสมัยก่อน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันมาก คือ PageMaker และ QuarkXpress การจัดเตรียมเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
dvorak keyboardแป้นพิมพ์ดีโวรักแป้นพิมพ์แบบพิเศษ ที่อ้างว่าจัดเรียงลำดับของแป้นอักษรและสัญลักษณ์ เพื่อให้ สะดวกในการใช้สอยสูงสุด แต่กลับมีคนรู้จักน้อยและไม่นิยมใช้กันเท่าใดนัก ดู Qwerty keyboard เปรียบเทียบ
ebcdic(เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้
eighty column cardบัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ
expanded memoryหน่วยความจำส่วนขยายหมายถึง หน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง วิธีเพิ่มหน่วยความจำแบบนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส นิยมใช้อยู่ก่อนจะมีการนำชิป (chip) 80286 มาใช้ หน่วยความจำนี้เป็นหน่วยความจำต่างหากที่บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ทำเป็นรายการแถมให้ เพิ่มจากหน่วยความจำ 640 K ที่ใช้อยู่เดิม ไม่ใช่นำหน่วยความจำเดิมมาทำให้ใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยความจำคนละหน่วย แต่คอมพิวเตอร์สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ได้รวดเร็ว จนทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นหน่วยความจำเดียวกัน
extended binary coded decextended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้
fiber opticsวิทยาการเส้นใยนำแสงหมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับเส้นใยแก้วซึ่งใช้วัสดุที่ทำจากใยแก้วหรือพลาสติก ใช้เป็นพาหะนำสัญญาณแสง ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล หรือการสื่อสารข้อมูล ปัจจุบันนิยมใช้กันมากในระบบเครือข่าย นับเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงอีก อย่างหนึ่ง ที่เข้ามาแทนสายเคเบิล เพราะสื่อสารได้เร็วกว่าและรับส่งข้อมูลได้ทีละมากกว่า
flexible diskหมายถึง แผ่นบันทึกที่ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่เรียกว่า floppy disk เป็นจานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
floppy diskจานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360, 000 - 720, 000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette
germanium(เจอเม'เนียม) adj. ธาตุโลหะชนิดหนึ่งเป็นวัสดุอย่างหนึ่งใช้ทำสารกึ่งตัวนำกระแสไฟฟ้า (semiconductor) ได้ดีมาก แต่ปัจจุบันนิยมใช้ซิลิคอน (silicon) กันมากกว่า
gw-basic(จีดับบลิวเบสิก) เป็นชื่อภาษาเบสิกแบบหนึ่งที่ดัดแปลงไปจากภาษาเบสิกธรรมดา ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วหันไปใช้ QBASIC แทน
helvetica(เฮลเวติกา) เป็นชื่อแบบตัวอักษร (font) ภาษาอังกฤษแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นตัวตรง ๆ ไม่เล่นหาง ประเภทที่เรียกว่า sans serif แบบอักษรรูปนี้ได้รับความนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางไม่แพ้แบบ Times มีใช้ทั้งในเครื่องแมคอินทอช และพีซี
hexadecimalฐาน 16ระบบเลขฐาน 16 หมายถึงระบบเลขที่มีสัญลักษณ์ 16 ตัว (ฐานสิบมี 10 ตัวคือ 0-9) ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น เรานิยมใช้เลขฐาน 16 ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ จะรับรู้ได้ เลขฐานสิบหกก็คือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
hollerith cardบัตรฮอลเลอริทหมายถึงบัตรที่ฮอลเลอริท (Dr. John Hollerith) เป็นผู้ออกแบบ ทำด้วยกระดาษ ต้องมีขนาดมาตรฐาน (7 1/8 x 3 1/4 นิ้ว) ใช้สำหรับบรรจุข้อมูลโดยเจาะเป็นรูตามรหัสที่กำหนด คอมพิวเตอร์สามารถอ่านรูบนบัตรเหล่านี้แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำเพื่อใช้ประมวลผลได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เพราะใช้สื่อเก็บข้อมูลอย่างอื่น สะดวกกว่า ผิดพลาดน้อยกว่า เช่น จานบันทึก แถบบันทึก มีความหมายเหมือน computer card
icabbr. infection control ไอซีย่อมาจากคำ integrated circuit (แปลว่า วงจรรวม, วงจรเบ็ดเสร็จ) เป็นวงจรที่สร้างขึ้นครบชุดด้วยเกล็ดซิลิคอน ประกอบเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวงจร เช่น ทรานซิสเตอร์ (transistor) ไดโอดส์ (diodes) เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรเบ็ดเสร็จชนิดนี้ใช้กันมากในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคต้น ๆ ใช้วงจรแยกชิ้นเป็นหลัก เหตุที่นิยมใช้วงจรเบ็ดเสร็จกันมาก ก็เพราะขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กระแสไฟน้อยกว่า และสามารถปฏิบัติงานได้เร็วกว่า
integrated circuitวงจรรวมวงจรเบ็ดเสร็จใช้ตัวย่อว่า IC (อ่านว่า ไอซี) เป็นวงจรที่สร้างขึ้นครบชุดด้วยเกล็ดซิลิคอน ประกอบเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวงจร เช่น ทรานซิสเตอร์ (transistor) ไดโอดส์ (diodes) เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรเบ็ดเสร็จชนิดนี้ใช้กันมากในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคต้น ๆ ใช้วงจรแยกชิ้นเป็นหลัก เหตุที่นิยมใช้วงจรเบ็ดเสร็จกันมาก ก็เพราะขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กระแสไฟน้อยกว่า และสามารถปฏิบัติงานได้เร็วกว่า
keyword in contextคำหลักในบริบทนิยมใช้ตัวย่อว่า KWIC (อ่านว่า ควิก) หมายถึงกลวิธีในการให้คอมพิวเตอร์เลือกคำที่สำคัญจากหัวข้อเรื่อง แล้วนำไปเก็บเป็นชื่อของหัวเรื่อง โดยเรียงไว้ตามตัวอักษร
kilo instructions per secพันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก
kips(กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ
large scale integrationวงจรรวมความจุสูงนิยมใช้ตัวย่อว่า LSI (อ่าว่า แอลเอสไอ) เป็นเทคโนโลยีในการสร้างชิป (chip) ให้มีทรานซิสเตอร์จำนวนมากเป็นแสนตัวบนชิปตัวเดียว นำมาใช้เป็นหน่วยความจำ (memory) หรือตัวประมวลผลก่อน (preprocessor) ดู integrated circuit ประกอบ

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Athame[อธาเม] (uniq) มีดสั้นสองคม ทั้งซ้ายและขวา มีด้ามจับสีดำ ที่สำคัญคือนิยมใช้ คาสวงกลมและลบล้างด้วย คุณสมบัติสามารถนำดาบเวทย์ใช้แทนกันได้ เป็นอุปกรณ์ ธาตุไฟ สำหรับหลายๆธรรมเนียม
Benesh Notation[เบเนช โนเทชั่น] (n) ระบบการจดบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่ใช้สำหรับการเต้นบัลเลต์ เป็นระบบที่นิยมและแพร่หลายสำหรับผู้ที่เรียนศิลปะการเต้นบัลเลต์ มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับระบบของลาบาน (Labanotation) แต่จะนิยมใช้ระบบเบเนชในการจดบันทึกท่าเต้นรำของบัลเลต์มากกว่า, See also: Labanotation, Syn. Dance Notation
iphone(n) ชื่อผลิตภัณฑ์ของมือถือมีดีไซน์ ที่ผู้คนแทบจะทั่วทุกมุมโลกนิยมใช้เป็นอย่างมาก ผลิตโดย ค่าย Apple, See also: ipad
Perl(n, jargon, name) ชื่อภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาหนึ่ง เขียนโดยคุณ Larry Wall ในช่วงทศวรรษ 1980 เริ่มเป็นที่นิยมใช้ ในการประมวลผลข้อความ (Text) และใช้เขียน CGI program, หลังจากนั้นได้พัฒนาความสามารถในหลายๆ ด้าน จนสามารถใช้ในงานคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
Perl(n, jargon, name) ชื่อภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาหนึ่ง เขียนโดยคุณ Larry Wall ในช่วงทศวรรษ 1980 เริ่มเป็นที่นิยมใช้ ในการประมวลผลข้อความ (Text) และใช้เขียน CGI program, หลังจากนั้นได้พัฒนาความสามารถในหลายๆ ด้าน จนสามารถใช้ในงานคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
polenta(n) แป้งข้าวโพดบดหยาบ มีสีเหลือง นิยมใช้ในอาหารอิตาเลียนหรือแอฟริกัน

Japanese-Thai-English: Saikam Dictionary
巻き込む[まきこむ, makikomu] TH: ดึงเข้ามาพัวพัน(นิยมใช้ในรูปถูกกระทำ)

German-Thai: Longdo Dictionary
herkömmlich(adj) ที่สืบทอดกันมา , ที่แพร่หลายอยู่ขณะนี้ , ที่นิยมใช้กันอยู่, Syn. traditional

French-Thai: Longdo Dictionary
embrasser(vt) 1)จูบหรือหอมแก้ม ex: Embrasse-moi, s'il te plaît! = กรุณาจูบฉันที , Je t'embrasse!!! = นิยมใช้เป็นคำลากับคนสนิท 2) กอดไว้ในอ้อมแขน
Image:

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top