กาฮัง | น. ชื่อนกเงือกชนิด Buceros bicornis Linn. ในวงศ์ Bucerotidae เป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่นกเงือก โคนขากรรไกรบนมีโหนกแข็งขนาดใหญ่ คอสีขาว ปีกสีดำพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางยาวสีขาวพาดดำ ตัวผู้ตาสีแดง ตัวเมียตาสีขาว กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก, กก หรือ กะวะ ก็เรียก. |
ขุนแผน ๒ | ชื่อนกหลายชนิด ในสกุล Harpactesวงศ์ Trogonidae ปากกว้าง ปีกสั้น ปลายปีกมน ขาสั้น หางยาว ปลายหางตัด มีหลายสี เช่น สีแดง เหลือง ดำ เช่น ขุนแผนหัวดำ [ H. diardii (Temminck) ] ขุนแผนอกสีส้ม [ H. oreskios (Temminck) ]. |
แจ้ | น. ชื่อไก่ซึ่งคัดเลือกสายพันธุ์มาจากไก่ [ Gallus gallus (Linn.) ] ตัวเล็กเตี้ย สั้น กลม หลังสั้นกว้าง หัวใหญ่ หงอนใหญ่ตั้งตรงมี ๕ หยัก เหนียงใหญ่กลม ห้อยลงทาบข้างคอ จะงอยปากแข็งแรง โค้งลงเล็กน้อย ตาและติ่งหูใหญ่ คอสั้น ปีกใหญ่ยาว ปลายปีกชี้จดพื้นดิน หางพัดใหญ่ กางแผ่ออกตั้งชี้ขึ้น ขาสั้น แข้งไม่มีขน นิ้วตีนเล็ก ตรง, ไก่เตี้ย ก็เรียก. |
ดา ๑, ดานา | น. ชื่อแมลงพวกมวน Lethocerus indicus (Lepeletier & Serville) ในวงศ์ Belostomatidae ปากสั้นแหลมคม ลำตัวกว้าง รูปไข่ แบนลง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖-๘ เซนติเมตร ปีกสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลอมเขียว ขาคู่หน้าแข็งแรงใช้จับเหยื่อ เจาะดูดกินของเหลวจากเหยื่อเป็นอาหาร ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมักบินเข้าหาแสงไฟ ตัวผู้มีต่อมกลิ่นนิยมนำไปผสมอาหาร, แมลงดา หรือ แมลงดานา ก็เรียก. |
ผีเสื้อกะโหลก, ผีเสื้อหัวกะโหลก | น. ชื่อผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด ในสกุล Acherontiaวงศ์ Sphingidae บริเวณด้านบนของส่วนอกมีลายรูปคล้ายหัวกะโหลก พบทั่วไป เช่น ชนิด A. lachesis (Fabricius) ความกว้างเมื่อกางปีกวัดจากปลายปีกข้างหนึ่งถึงปลายปีกอีกข้างหนึ่งยาว ๘-๑๓ เซนติเมตร, ชนิด A. styx (Westwood) ความกว้างเมื่อกางปีกยาว ๘-๑๒ เซนติเมตร. |
ผีเสื้อยักษ์ ๒ | น. ชื่อผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ ๒ ชนิด ในวงศ์ Saturniidae ความกว้างเมื่อกางปีก วัดจากปลายปีกข้างหนึ่งถึงปลายปีกอีกข้างหนึ่งยาว ๒๑-๒๗ เซนติเมตร ลำตัวและอกปกคลุมด้วยขนสีนํ้าตาลแดง ปีกสีนํ้าตาลแดงมีลวดลาย บริเวณเกือบกึ่งกลางปีกมีลักษณะบางใส เช่น ชนิด Attacus atlas (Linn.) ปลายปีกคู่หน้ามีจุดสีน้ำตาลดำ ๑ จุด พบทั่วไป ส่วนใหญ่กินใบกระท้อนและฝรั่ง และชนิด Archaeoattacus edwardsiiWhite ปลายปีกคู่หน้ามีจุดสีน้ำตาลดำ ๓ จุด พบที่จังหวัดเชียงใหม่. |
แม่ม่ายลองไน | น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีแถบสีดำ ขาว เหลือง หรือส้มพาดขวางเด่นตามลำตัวและปีก เฉพาะเพศผู้มีอวัยวะทำเสียงบริเวณด้านล่างของส่วนท้อง เสียงนั้นก้องได้ยินไปไกล มีหลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera (White) ในวงศ์ Cicadidae เมื่อหุบปีกวัดจากหัวถึงปลายปีกยาว ๙-๑๐ เซนติเมตร, ลองไน ก็เรียก. |
เรไร ๑ | น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Tettigoniidae วัดจากหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีเขียวหรือน้ำตาล เพศผู้มีด้านบนของโคนปีกคู่หน้าเป็นสันขรุขระ เมื่อสีกันทำให้เกิดเสียงกังวาน กินหญ้า เช่น ชนิด Mecopoda elongata (Linn). |
ลิ้นทอง | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Ampeliceps coronatus Blyth วงศ์ Sturnidae ตัวสีดำเหลือบเป็นมัน ขอบขนปลายปีกสีเหลือง ตัวผู้กระหม่อม ด้านข้างของหัว และคอหอยสีเหลืองจัด ตัวเมียเฉพาะกระหม่อมเป็นสีเหลือง ทำรังตามโพรงไม้ กินผลไม้และแมลง เป็นนกที่สามารถร้องเลียนเสียงคนและสัตว์อื่น ๆ ได้, เอี้ยงหัวสีทอง ก็เรียก. |
สาลิกา ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากสีแดง มีแถบสีดำคาดตา ตัวสีเขียว ขนปลายปีกสีน้ำตาล ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ สาลิกาเขียว [ Cissa chinensis (Boddaert) ] และสาลิกาเขียวหางสั้น (C. hypoleuca Salvadori & Giglioli) พบทางตะวันออก. |
หัวโต | ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด วงศ์ย่อย charadriinae ในวงศ์ Charadriidae และวงศ์ย่อย Dromadinae ในวงศ์ Glareolidae หัวใหญ่ แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน ทำรังเป็นแอ่งตามพื้นทราย วงศ์ย่อยแรก ปากสั้น คอสั้น ปีกกว้าง ปลายปีกมน ขาสั้น ไม่มีนิ้วหลัง หากินตามชายน้ำ กินสัตว์น้ำและแมลง เช่น หัวโตหลังจุดสีทอง [ Pluvialis fulva (Gmelin) ] หัวโตเล็กขาเหลือง (Charadrius dubius Scopoli) หัวโตทรายเล็ก (C. mongolus Pallas) วงศ์ย่อยหลัง คือ หัวโตกินปู (Dromas ordeola Paykull) ปากยาว แบนข้าง ขายาว มีนิ้วหลังโคนนิ้วมีพังผืด หากินตามชายน้ำและบริเวณน้ำตื้น กินสัตว์น้ำโดยเฉพาะปู. |
เหยี่ยว | น. ชื่อนกหลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae และ Falconidae ปากเป็นปากขอและคม ปีกแข็งแรง ขาและนิ้วแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม บินร่อนได้นาน ๆ วงศ์แรกเป็นนกขนาดใหญ่ ปลายปีกมน ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งก้านของต้นไม้สูง ส่วนใหญ่ล่าสัตว์ บางชนิดกินซากสัตว์ เช่น เหยี่ยวขาวหรือเหยี่ยวปักหลัก [ Elanus caeruleus (Desfontaines) ] เหยี่ยวแดง [ HaliasturIndus (Boddaert) ] เหยี่ยวดำ [ Milvus migrans (Boddaert) ] เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ [ Aviceda leuphotes (Dumont) ] วงศ์หลังเป็นนกขนาดเล็ก ปลายปีกแหลม บางชนิดทำรังตามโพรงไม้ บางชนิดทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งไม้ค่อนข้างสูง ล่าแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว (Polihierax Insignis Walden) เหยี่ยวแมลงปอขาแดง [ Microhierax caerulescens (Linn.) ] เหยี่ยวตีนแดง (Falco amurensis Radde). |
อ้ายแอ้ด | น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาวไม่เกิน ๒ เซนติเมตร ส่วนใหญ่ปีกคู่หลังยาวกว่าปีกคู่หน้า ขณะพับปีกปลายปีกจึงยื่นไปด้านท้าย โดยทั่วไปสีดำหรือน้ำตาลตลอดทั้งตัว ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด Modicogryllus confiermatus (Walker) ซึ่งมีสีน้ำตาล, จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด ก็เรียก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีขนาดเล็กหรือน้ำหนักน้อยกว่าปรกติ เช่น รถถังอ้ายแอ้ด มวยรุ่นอ้ายแอ้ด. |
อีแอ่น | น. ชื่อนกขนาดเล็กในหลายวงศ์ คือ Apodidae, Hemiprocnidae, Hirundinidae, Corvidae และ Glareolidae ตัวสีนํ้าตาลหรือดำ ปลายปีกแหลม มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ใช้เวลาส่วนใหญ่บินโฉบแมลง มีหลายชนิด เช่น อีแอ่นบ้าน ( Hirundo rustica Linn.) ในวงศ์ Hirundinidae อีแอ่นตาล [ Cypsiurus balasiensis (Gray) ] ในวงศ์ Apodidae ชนิดที่นำรังมากินได้ เช่น อีแอ่นกินรัง [ Collocalia fuciphaga (Gmelin) ] ในวงศ์ Apodidae, นางแอ่น แอ่น หรือ แอ่นลม ก็เรียก. |