ก ข | (กอข้อ) น. พยัญชนะแต่ ก ถึง ฮ. |
ก ข ไม่กระดิกหู | (กอข้อ-) น. ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้. |
หวย ก ข | น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีนมาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก. |
กก ๑ | น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด ว่า มาตรากกหรือแม่กก. |
กรวย ๒ | ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายมน มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก. |
กระฉีก | น. ของหวานทำด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เรียกว่า หน้ากระฉีก เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก. |
กระตุก | อาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นทันที เช่น เส้นกระตุก ขากระตุก. |
กระแต ๔ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Charadriinae ในวงศ์ Charadriidae หัวใหญ่ ปากสั้น อาจมีเดือยที่ปีก ขายาวปานกลาง มี ๔ ชนิด คือ กระแตหาด [ Vanellus duvaucelii (Lesson) ] กระแตหัวเทา [ V. cinereus (Blyth) ] กระแตหงอน [ V. vanellus (Linn.) ] และกระแตแต้แว้ดหรือต้อยตีวิด [ V. indicus (Boddaert) ]. |
กระแตแต้แว้ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Vanellus indicus (Boddaert) วงศ์ย่อย Charadriinae ในวงศ์ Charadriidae ปากยาว หัวสีดำ ขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดระหว่างตาผ่านหน้าผาก ขายาวสีเหลือง วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก ร้องเสียงแตแต้แว้ด, กระต้อยตีวิด ต้อยตีวิด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก. |
กระถิก, กระถึก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Sciuridae เป็นกระรอกขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาล มีแถบสีน้ำตาลเข้ม ๓ แถบพาดตามยาวลำตัว สลับกับแถบสีน้ำตาลจาง ๆ ๔ แถบ ตั้งแต่สันหลังลงไปถึงข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว [ Tamiops rodolphe i (Milne-Edwards) ] และกระถิกขนปลายหูสั้น [ T. mxcclellandi (Horsfield) ], กระเล็น ก็เรียก. |
กระหมิบ | อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). |
กอริลลา | น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla Savage & Wyman ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ลํ่าสันและแข็งแรงกว่ามาก ขนลำตัวสีดำหรือสีเทา มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา. |
กัณฐชะ | น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่เพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดที่เส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. |
กาง ๑ | ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง. |
กาบบัว | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Mycteria leucocephala (Pennant) ในวงศ์ Ciconiidae คอและขายาว ปากยาวสีเหลือง หัว คอ และลำตัวสีขาว มีแถบดำคาดขวางอก ขนคลุมขนปีกตอนปลายสีชมพู อาศัยอยู่ตามบึงและหนองนํ้า กินปลาและสัตว์น้ำ. |
เก | ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลำ) เช่น ฟันเก ขาเก |
เก้ง | น. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ. |
ขน ๑ | น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา. |
ขนมเปี๊ยะ | น. ขนมทำด้วยแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ถั่วกวน ไส้ฟักเชื่อม ไส้ทุเรียนกวน, โบราณเรียก ขนมเปีย หรือ ขนมเปียะ. (จ.) |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ขมิ้น ๑ | (ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น. |
ข้อ | เรียกอวัยวะบางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า |
ขอด ๑ | ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. |
ข่อยน้ำ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (K. Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด. |
ขาวพวง | น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มจุก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร. |
ขึง | ก. ทำให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียดออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง. |
ไขว้โรง | ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ). |
ครั่ง ๑ | (คฺรั่ง) น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Kerria lacca (Kerr) ในวงศ์ Kerriidae เพศเมียไม่มีปีก ขณะเป็นตัวอ่อนระยะแรกมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา เกาะอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นไม้ เช่น จามจุรี และผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นำไปใช้ทำประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เชลแล็ก สีย้อมผ้า. |
จิงโจ้น้ำ | น. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลำตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาว หรือไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่าลำตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวกที่อยู่ในสกุล Limnogonus เช่น ชนิด L. fossarum (fabricirs), จิงโจ้ ก็เรียก. |
ฉนาก | (ฉะหฺนาก) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Anoxypristis และ Pristis วงศ์ Pristidae เป็นปลากระดูกอ่อนอยู่ในกลุ่มปลากระเบน ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูกแข็งคล้ายฟันเลื่อยเรียงห่างกันอย่างสมํ่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด A. Cuspidata Latham หรือ P. cuspidatus Latham มี ๑๖-๒๙ คู่, ชนิด P. microdon Latham มี ๑๔-๒๓ คู่. |
ฉลามเสือ | น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างลำตัวถึงปลายหาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น หางยาว ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง พิมพา หรือ เสือทะเล ก็เรียก. |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
ดัง ๒ | มีชื่อเสียง เช่น นักร้องดัง นักการเมืองคนดัง, เป็นที่รู้จักหรือโจษขานกันทั่วไป เช่น ละครเรื่องนี้ดังมาก ข่าวดัง. |
ตด ๒ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลำตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภทควินอลออกมาทางก้นมีเสียงดัง ร้อนและมีควัน ที่สำคัญ เช่น ชนิด Pheropsophus occipitalis (MacLeay), P. javanus (Dejean), ปักษ์ใต้เรียก ขี้ตด. |
ตะพัด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus (Müller & Schlegel) ในวงศ์ Osteoglossidae เป็นปลาโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ลำตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลังตรงโดยตลอด แนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางมาก ขอบหางกลม เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลำตัวเป็นสีเงินอมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราดและจันทบุรี รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, มังกร ก็เรียก. |
ตาลปัตรฤๅษี | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Opuntia cochenillifera (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ ใบลดขนาดลงเป็นกระจุก ขนค่อนข้างแข็ง เป็นไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ตาเหลือก ๒ | ชื่อปลาทะเล ๒ ชนิด ตาโตเหลือกขึ้น ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง ๑ ชิ้น ลำตัวค่อนข้างเรียว แบนข้าง ได้แก่ ตาเหลือกสั้น [ Megalops cyprinoides (Broussonet) ] ในวงศ์ Megalopidae ขนาดยาวได้ถึง ๕๘ เซนติเมตร เกล็ดใหญ่ มีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น และตาเหลือกยาว [ Elops hawaiensis (Regan) ] ในวงศ์ Elopidae ลำตัวเรียวยาวกว่าชนิดแรก ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร. |
เต่าเหลือง | น. ชื่อเต่าบกขนาดกลางชนิด Indotestudo elongata (Blyth) ในวงศ์ Testudinidae หัวสีเหลือง กระดองหลังสีเหลืองมีลายเปรอะสีน้ำตาล กระดองท้องสีเหลืองไม่มีลาย กินพืช เช่น หญ้าเพ็ก, เพ็ก ขี้ผึ้ง เทียน หรือ แขนง ก็เรียก. |
แตก | ไหลออกมาเอง เช่น เหงื่อแตก เยี่ยวแตก ขี้แตก |
ทั้ง | ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อมด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กำหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด |
ทัณฑ-, ทัณฑ์ | โทษทางวินัยที่ใช้แก่ทหารที่กระทำความผิดมี ๕ สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กัก ขัง และจำขัง. |
ทันตกรรม | (ทันตะ-) น. การรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก. |
ทันตแพทย์ | (ทันตะ-) น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก. |
ทา | ก. เอาของเปียก ของเหลว หรือของละเอียด ลูบ ไล้ หรือป้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทายา ทาปาก. |
ทางเก็บ | น. วิธีบรรเลงดนตรีแบบหนึ่ง โดยดำเนินทำนองเป็นพยางค์เสียงช่วงสั้นต่อเนื่องกันไป ส่วนใหญ่นิยมใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เช่น ระนาดเอก ขิม. |
ธัญชาติ | น. คำรวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี. |
ประกับ ๒ | น. วัตถุใช้แทนเงินปลีก ขนาดเท่าเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว ทำด้วยดินเผาตีตราต่าง ๆ. |
ประดู่ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ประดู่บ้าน ก็เรียก, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน. |
ปล้องอ้อย | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthopthalmus kuhlii (Valenciennes) ในวงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย กินสาหร่ายและเศษซาก ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร. |