พิธีกรรม | น. การบูชา, แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา. |
กลองชนะ | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองแขกแต่สั้นกว่า ใช้ในพิธีกรรม ใช้ตีด้วยไม้งอ ๆ หรือหวายทางด้านหน้าใหญ่ ตัวกลองทาสีเขียวหรือแดงปิดทองเขียนลาย หน้ากลองเขียนหรือปิดด้วยทองหรือเงิน ทำเป็นลวดลายเช่นกัน. |
กาลจักร | (กาละ-) น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มนํ้าเมา กินเนื้อสัตว์ พรํ่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และเสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. |
ดำนาน | น. เรื่องแสดงความเป็นมาแต่ปางหลังของสถานที่ บุคคล หรือพิธีกรรม เป็นต้น, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น น้าวเอาดำนานพระมหาแพศยันดรธรรมเทศนา (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ดู ตำนาน). |
ตัดไม้ข่มนาม | น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. |
ตันตระ ๒ | (-ตฺระ) น. ชื่อนิกายหนึ่งในศาสนาฮินดู ว่าด้วยพิธีกรรมเพื่อบูชาพระอุมาและพระศิวะ. |
ตาลปัตร | (ตาละปัด) น. พัดทำด้วยใบตาล มีด้ามยาว สำหรับพระภิกษุถือบังหน้าในพิธีกรรมเช่นในเวลาให้ศีล ต่อมาอนุโลมเรียกพัดที่ทำด้วยผ้าหรือไหมซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตาลปัตร ด้วย, ตาลิปัตร ก็ว่า. |
ตำนาน | น. เรื่องแสดงความเป็นมาแต่ปางหลังของสถานที่ บุคคล หรือพิธีกรรม เป็นต้น, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์, ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว |
ทักนิมิต | ก. ถามตอบในพิธีกรรมฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมา เพื่อให้รู้ว่าทิศใดมีสิ่งใดเป็นนิมิต. |
ทักษิณาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. |
ทำ | คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ |
โบสถ์ | น. สถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคำว่า อุโบสถ). |
ปวารณา | พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษา ว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. |
พราหมณะ | (พฺรามมะนะ) น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาประเภทหนึ่งในยุคพระเวทของอินเดียโบราณ มีหลายคัมภีร์ด้วยกัน ส่วนใหญ่แต่งร้อยแก้ว ว่าด้วยการประกอบพิธีกรรม มีเรื่องราวของเทพต่าง ๆ ประกอบ. |
พุทธตันตระ | (-ตันตฺระ) น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลักปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท. |
มโหระทึก | น. กลองโลหะหน้าเดียวส่วนมากทำด้วยสัมฤทธิ์ ใช้ตีเป็นสัญญาณประโคมในพิธีกรรม. |
มายาการ | น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ. |
มิสซา | น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึงพระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทำ พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. |
รัว ๒ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงในลักษณะต่าง ๆ กันคือ รัวธรรมดาหรือรัวลาเดียว ใช้บรรเลงเมื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการแสดงโขนละครเป็นต้น และใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงผลสำเร็จของพิธีการหรือพิธีกรรมนั้น ๆ, รัวเฉพาะ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์บางเพลง เช่น รัวท้ายเพลงบาทสกุณี รัวท้ายเพลงปลูกต้นไม้ รัวสามลา เป็นเพลงในชุดโหมโรงเย็นมีความหมายแทนการกราบไหว้บูชา ในการแสดงโขนละคร ใช้บรรเลงประกอบกิริยาแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครสูงศักดิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน. |
วามาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร |
ศาสนพิธี | น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธีอุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา. |
ศาสนสถาน | น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็นศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม. |
ศีล | พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. |
ส่งสการ | น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ เช่น รุดเร่งส่งสการ (ม. คำหลวง ชูชก), สังสการ ก็ว่า. |
สังสการ | (-สะกาน) น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ, ส่งสการ ก็ว่า. |
สาธุการ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเพื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยานบไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกที่ใช้สอนเมื่อเริ่มต้นเรียนวิชาปี่พาทย์ และเป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น. |
หงส์ร่อนมังกรรำ | น. ชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่หญิงทำเพื่อให้ผัวหลงรักตัวคนเดียว. |