Search result for

*สหพันธ*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: สหพันธ, -สหพันธ-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
สหพันธ์(n) union, Syn. สมาพันธ์
สหพันธ์(n) federation, See also: alliance, union, Syn. สมาคม, สมาพันธ์, องค์กร, องค์การ, Example: สหพันธ์แรงงานเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองหรือเรียกร้องผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อผู้ใช้แรงงาน, Thai Definition: สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ 2 สหภาพหรือ 2 สมาคมขึ้นไปรวมตัวกันเข้าเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น
สหพันธรัฐ(n) federal state, Syn. สมาพันธ์รัฐ
สหพันธ์กรรมกร(n) labour federation, See also: labour union, Syn. สหภาพแรงงาน, Example: สหพันธ์กรรมกรช่วยต่อรองเรื่องค่าจ้างแรงงานให้กรรมกร

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
สหพันธ์น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคมขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร.
สหพันธรัฐน. รัฐหลายรัฐที่รวมกันเป็นรัฐรวม โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละรัฐมีอำนาจเฉพาะกิจการภายในรัฐของตนเท่านั้น.
รัทเทอร์ฟอร์เดียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหพันธรัฐรัสเซียเรียกชื่อธาตุนี้ว่า เคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku.
รัสเซียน. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย.
สห-(สะหะ-) ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคำอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
labour federationสหพันธ์แรงงาน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
state, federalสหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Basic Lawกฎหมายหลักพื้นฐาน (รัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ค.ศ. ๑๙๔๙) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
consortium๑. สิทธิของคู่สมรส (ก. แพ่ง)๒. สหพันธ์ธุรกิจการเงิน (ก. พาณิชย์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Chancellorนายกรัฐมนตรี (ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสาธารณรัฐออสเตรีย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
chancellorนายกรัฐมนตรี (ของบางประเทศ เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Deutsche Industrie Norm (DIN)สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ดีน) [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
DIN (Deutsche Industrie Norm)ดีน (สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
federation; federal stateสหพันธรัฐ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
federal state; federationสหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
federal state; federationสหพันธรัฐ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
federalismระบอบสหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
federalismระบอบสหพันธรัฐ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
federation; federal stateสหพันธรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
International Federation of Library Assoสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด, Example: <p>International Federation of Library Associations and Institutions (IFLA) สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) มีวัตถุประสงค์ในการประสานสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ และร่วมมือกันสร้างความพัฒนาถาวรให้แก่ห้องสมุด และสถาบันบริการสารนิเทศ รวมทั้งการพัฒนาทางมาตรฐานงานเทคนิคของห้องสมุด ปัจจุบันมีสมาชิกทั่วโลกจำนวน 1, 600 คน / หน่วยงาน จาก 150 ประเทศ <p>IFLA มีสถานภาพเป็นองค์กรอิสระระดับสากล ไม่แสวงหากำไร ให้คำแนะนำปรึกษาด้านห้องสมุด บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ แก่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน สภาระหว่างประเทศว่าด้วยการจดหมายเหตุ และองค์การอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ การศึกษา และวัฒนธรรม IFLA ก่อตั้งขึ้นที่เมือง Edinburgh, Scotland และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้ตั้งสำนักงานที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ <p>IFLA จัดการประชุมวิชาการทุกปีโดยหมุนเวียนเปลี่ยนสถานที่ไปตามประเทศสมาชิกต่าง ๆ เพื่อให้บรรณารักษ์นานาชาติจากทั่วโลกได้มาพบ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาการ วิชาชีพ และสร้างมิตรภาพ ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด โดยประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดประชุม IFLA ครั้งที่ 65 ในปี พ.ศ. 2542 (วันที่ 19 - 27 สิงหาคม 2542) โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์การประชุม หัวข้อการประชุมในครั้งนั้น เรื่อง On the Threshold of the 21st Century : Libraries as Gateways to an Enlightened World หรือ ห้องสมุดเป็นประตูไปสู่โลกอันสดใสในรุ่งอรุณแห่งศตวรรษใหม่ สนใจกิจกรรมการจัดประชุมของ IFLA ติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.ifla.org [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Russia (Federation)รัสเซีย (สหพันธรัฐ) [TU Subject Heading]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Palestine Questionปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต]
Copolymersโพลิเมอร์สหพันธ์, โคโพลิเมอร์, โคโพลีเมอร์ [การแพทย์]
Interdisciplinaryสหพันธวิชา, สหวิชาชีพ [การแพทย์]
International Federation of Clinical Chemistryองค์การสหพันธ์เคมีคลินิกระหว่างประเทศ, สมาพันธ์เคมีคลินิกระหว่างชาติ [การแพทย์]
International Planned Parenthood Associationสหพันธ์สมาคมวางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ [การแพทย์]
International Planned Parenthood Federationสหพันธ์วางแผนครอบครัวแห่งโลก [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
สหพันธ์[sahaphan] (n) EN: federation ; alliance ; union  FR: fédération [ f ] ; alliance [ f ] ; union [ f ] ; syndicat [ m ]
สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน[Sahaphan Futbøn Asīan] (org) EN: ASEAN Football Federation (AFF)
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ[Sahaphan Futbøn Nānāchāt] (org) EN: Fédération Internationale de Football Association (FIFA)  FR: Fédération Internationale de Football Association (FIFA)
สหพันธ์กรรมกร[sahaphan kammakøn] (n, exp) EN: labour federation ; labour union  FR: syndicat ouvrier [ m ]
สหพันธ์กีฬา[sahaphan kīlā] (n, exp) EN: sport federation  FR: fédération sportive [ f ]
สหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก[Sahaphan Kīlā Mahāwitthayālai Lōk] (org) EN: International University Sports Federation (FISU)  FR: Fédération Internationale de Sport Universitaire [ f ]
สหพันธ์กีฬานานาชาติ[sahaphan kīlā nānāchāt] (n, exp) FR: fédération sportive internationale [ f ]
สหพันธ์กีฬาสากล[sahaphan kīlā sākon] (n, exp) EN: international sports federation
สหพันธรัฐ[sahaphantharat] (n) EN: federation  FR: fédération [ f ]

English-Thai: Longdo Dictionary
Chancellor(n) นายกรัฐมนตรี (ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และของสาธารณรัฐออสเตรีย)
Hesse(n, uniq) รัฐหนึ่งในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันตกตอนกลาง เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของรัฐนี้คือ Frankfurt am Main

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
alliance(n) สหพันธ์, See also: สมาพันธ์, องค์กร, พันธมิตร, Syn. union, league, federation
federal(n) สหพันธรัฐ, See also: สหรัฐ, สหพันธ์, สหภาพ
federal(adj) เกี่ยวกับสหพันธรัฐ, Syn. central, governmental
federate(vt) รวมเข้าเป็นสมาพันธรัฐ, See also: เข้าร่วมในสหพันธ์, Syn. combine, confederate, unify
federated(adj) ซึ่งรวมตัวกันภายใต้ส่วนกลาง, See also: ซึ่งรวมเข้าเป็นสหพันธ์, Syn. confederate, joined, unified
federation(n) สหพันธรัฐ, See also: สหรัฐ, สหพันธ์, สหภาพ, Syn. alliance, confederacy
league(n) สหพันธ์, Syn. alliance
union(n) สหภาพ, See also: สหพันธ, สมาคม
union(n) สหภาพแรงงาน, See also: สหพันธ์แรงงาน, Syn. labor union

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
aflabbr. American Federation of Labor สหพันธ์แรงงานแห่งอเมริกา
alliance(อะไล' เอินซฺ) n. พันธมิตร, สันนิบาต, การแต่งงาน, ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการแต่งงาน, สหพันธ์, ข้อตกลงระหว่างประเทศ, Syn. fusion, union -A.difference, disparity
antiunion(แอนทียูน' เนียน) adj. ต่อต้านสหพันธ์กรรมกร. -antiunionist n.
commonwealth(คอม'มันเวลธฺ) n. เครือประเทศ, การรวมกัน., See also: Commonwealth n. เครือจักรภพอังกฤษ, สหพันธรัฐ, สมาพันธรัฐ, ประชากรของรัฐ, สาธารณประโยชน์
confederacy(คันเฟด'เดอระซี) n. สหภาพ, สหพันธ์, กลุ่มคนที่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การร่วมกันคิดอุบาย, Syn. alliance, conspiracy, bloc, syndicate
confederate(คันเฟด'เดอริท) adj. ซึ่งรวมกันในรูปสหพันธ์ สันนิบาต หรืออื่น ๆ, See also: Confederate เกี่ยวกับกลุ่ม 11 รัฐภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่แยกตัวออกเป็นอิสระในปี ค.ศ.1860-61 n. พันธมิตร, ผู้สมรู้ ร่วมคิด. vt., vi. รวมกันเป็นกลุ่ม คำที่มีความหมายเหมือน
federal(เฟด'เดอเริล) adj. สหพันธ์, สหรัฐ, สมาพันธรัฐ, สันนิบาต, พันธมิตร, กลาง
federation(เฟดเดอเร'เชิน) n. การรวมเข้าเป็นสหรัฐหรือสมาพันธรัฐ, กลุ่มการเมือง (สหรัฐ, สมาพันธรัฐ, สหพันธ์, สันนิบาต, พันธมิตรหรืออื่น ๆ), Syn. league
ifips(ไอฟิปส์) ย่อมาจาก International Federation of Information Processing Societies แปลว่า สหพันธ์สมาคมระหว่างประเทศเพื่อการประมวลผลสารสนเทศ เป็นองค์กรหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกัน ในอันที่จะพัฒนาวิทยาการสารสนเทศ (information science) และการประมวลผลข้อมูลให้ก้าวหน้า
league(ลีก) { leagued, leaguing, leagues } n. สหพันธ์, สันนิบาต, สมาคม, กลุ่มคน, พันธมิตร, คณะ, ประเภท, สมาคมนักกีฬา, กลุ่มนักกีฬา, หน่วยระยะทาง (ประมาณ3ไมล์หรือนอตในอังกฤษและอเมริกา) vt. เป็นพันธมิตร, รวมกัน, รวมกลุ่ม
union(ยู'เนียน) n. การรวมกัน, ความสามัคคี, การสอดคล้องกัน, การสมรสกัน, การสังวาส, สหภาพ, สหพันธรัฐ, องค์การกรรมกร, เครื่องมือเชื่อมต่อ, ส่งท่อร่วม, การเชื่อมกัน. -Phr. (the Union สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยสหรัฐอเมริกา (สมัยก่อน)), Syn. unification

English-Thai: Nontri Dictionary
correlation(n) ความเกี่ยวพัน, ความสัมพันธ์, สหพันธ์
federal(adj) เกี่ยวกับสหพันธ์, เกี่ยวกับสันนิบาต, เกี่ยวกับพันธมิตร
federate(adj) ซึ่งรวมเป็นสหพันธ์, ซึ่งเป็นพันธมิตร, ซึ่งเป็นสหพันธรัฐ
federate(vt) รวมเป็นสหพันธ์, จัดการปกครองแบบสหพันธรัฐ
federation(n) สหพันธ์, กลุ่มการเมือง, การจัดตั้งพรรคการเมือง, การรวมกัน
league(n) สมาคม, สันนิบาต, สหพันธ์, คณะ, พันธมิตร, ความยาวสามไมล์

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Airbusยี่ห้อเครื่องบินโดยสารยี่ห้อหนึ่ง มีมากมายหลายรุ่น โดยชื่อรุ่น เช่น A320, A380 คำว่า Airbus เป็นเครื่องหมายการค้าและบริการของ Airbus Operations GmbH แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
cartel(n) กลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ
Council of Ministers"คณะมนตรีบริหาร" เป็นชื่อเรียกรัฐบาลระดับแคว้น รัฐ หรือภูมิภาค คำนี้ปรากฎในบางประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐ หัวหน้าคณะมนตรีบริหารมักมีชื่อตำแหน่งว่า "มุขมนตรี"
federal tax(n) ภาษีสหพันธรัฐ

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
連合[rengou] สหพันธ์ สหภาพ

German-Thai: Longdo Dictionary
Bundesrepublik(n) |die| ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ย่อมาจาก Bundesrepublik Deutschland
Bundes-(n) แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ใช้นำหน้าคำนามอื่นๆ) เช่น Bundeswehr กองทัพเยอรมัน

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top