เขี้ยวตะขาบ | ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง. |
จาร ๑ | (จาน) ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ) (จารึกสมัยสุโขทัย). |
จารึก ๒ | น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้น ว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย. |
จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง | น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมายที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต. |
เชลียง | (ชะเลียง) น. ชื่อเครื่องดินเผาที่ทำมาจากเมืองเชลียง ซึ่งอยู่ในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. |
ตระพัง | (ตฺระ-) น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, เช่น กลางเมืองสุโขทัยนี้มีน้ำตระพังโพยสี (จารึกหลักที่ ๑), ตะพัง กระพัง หรือ สะพัง ก็ว่า. |
ตรีบูร | น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล). |
เตาทุเรียง | น. ชื่อเตาโบราณชนิดหนึ่ง สำหรับเผาเครื่องถ้วยชามและเครื่องกระเบื้องต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัย, (ทุเรียง อาจเพี้ยนมาจากชื่อเมืองเชลียง). |
เต่า ๓ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ ปี, คำกำกับชื่อวันแบบโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ วัน, เขียนเป็น เต้า ก็มี. |
ปู่ครู | น. ตำแหน่งสมณศักดิ์ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี. |
พ่อขุน | น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย. |
มหาศักราช | น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช). |
ลุก | เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย (จารึกสยาม) |
วิหารหลวง | น. วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมติดกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ เช่น วิหารหลวงวัดพระศรีรัตน-มหาธาตุ ตำบลเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. |
สุม | น. ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น สุมม่วง คือ ป่าม่วง (จารึกสุโขทัย). |
อรัญญิก | น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น (จารึกสยาม). |
อุทัย | น. การเกิดขึ้น เช่น สุโขทัย = การเกิดขึ้นแห่งความสุข, การตั้งขึ้น เช่น อรุโณทัย = การตั้งขึ้นแห่งอรุณ. |
โอย ๒ | ก. อวย, ให้, เช่น คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน (จารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒). |