Search result for

*หอสมุดรัฐสภา*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: หอสมุดรัฐสภา, -หอสมุดรัฐสภา-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Classification, Library of Congressระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน, การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, Example: ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classficiation - LC) หรือเรียกสั้นๆ ว่า LC หรือระบบ LCC เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> ในระยะแรกก่อตั้งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1800 ระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่นั้น คิดขึ้นโดยจอห์น เบคเลย์ (John Beckley) โดยจัดหนังสือตามขนาดหน้ายก หนังสือขนาดเดียวกันจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ <p> ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมื่อหนังสือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนเป็นวิธีการจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง โดยนำระบบจัดหมู่หนังสือของ The Library Company of Philadelphia มาใช้ แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 18 หมวด เมื่อห้องสมุดไฟไหม้ จึงได้จัดซื้อหนังสือจำนวน 6, 487 เล่มจากห้องสมุดส่วนตัวของประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน โดยคิดระบบตามที่ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน โดยแบ่งออกเป็น 44 หมวด <p> จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1890 เมื่อมีหนังสือเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บรรณารักษ์ของหอสมุดในขณะนั้น คือ จอห์น รัสเซล ยัง (John Russell Young)คิดว่าระบบเดิมไม่เหมาะสม ควรคิดหาระบบใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จึงมอบหมายให้ เจมส์ แฮนสัน (James Hanson) และ ชาร์ลส์ มาร์แตล (Charles Martel) ศึกษาหาแนวทางที่จะสร้างระบบจัดหมู่หนังสือใหม่เพื่อใช้ในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> การศึกษาอย่างจริงจังได้เริ่มเมื่อ เฮอร์เบิร์ต พุตนัม (Herbert Putnum) เข้ามาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ในปี ค.ศ. 1899 และยังคงมอบหมายให้ แฮนสันและมาร์แตลรับศึกษาต่อไป โดยนำระบบ 3 ระบบ คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบเอ็กแพนซีฟ และระบบจัดหมู่หนังสือของเยอรมัน ชื่อ Halle Schema ของออตโต ฮาร์ตวิก (Otto Hartwig) พบว่า ระบบเอ็กแพนซีฟมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากการจัดหมวดหมู่กว้างขวางและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายทุกๆ หมวดตามต้องการ สัญลักษณ์ที่ใช้สามารถขยายได้ทั้งชนิดที่เป็นตัวอักษรและตัวเลข เพราะเป็นสัญลักษณ์ผสม เหมาะกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกันซึ่งมีหนังสือจำนวนมาก จึงได้จัดทำระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันขึ้นโดยยึดหลักการของระบบเอ็กแพนซีฟ <p> มีการจัดทำหมวด Z เป็นหมวดแรก เมื่อปี ค.ศ. 1902 <p> ลักษณะทั่วไปของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>1. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันเป็นระบบที่คิดขึ้นโดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามสาขาวิชาความรู้ที่มีอยู่จริงของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>2. สัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ผสมระหว่างตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และเลขอารบิค โดยอักษรโรมันตัวใหญ่หนึ่งตัวแทนหมวดใหญ่และเพิ่มอักษรโรมันตัวใหญ่อีกหนึ่งหรือสองตัวแทนหมวดย่อย (ยกเว้นหมวด E-F และ Z) และแบ่งหมู่ย่อยต่อไปอีก โดยใช้เลขอารบิคจาก 1-9999 รวมทั้งขยายโดยใช้จุดทศนิยม <p>3. แผนการจัดหมวดหมู่จัดแบ่งวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <p>3.1 การแบ่งครั้งที่ 1 เป็นการแบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 20 หมวดใหญ่ (Main class) โดยใช้อักษรตัวเดียวโดดๆ A-Z ยกเว้น I, O, W, X, Y <p>A ความรู้ทั่วไป (General Works) <p>B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion) <p>C ศาสตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary sciences of history) <p>D ประวัติศาสตร์ : เรื่องทั่วไปและประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : general and old world) <p>E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America) <p>G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation) <p>H สังคมศาสตร์ (Social science) <p>J รัฐศาสตร์ (Political science) <p>K กฎหมาย (Law) <p>L การศึกษา (Education) <p>M ดนตรี (Music) <p>N ศิลปกรรม (Fine Arts) <p>P ภาษาและวรรณคดี (Languages and Literature) <p>Q วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p>R แพทยศาสตร์ (Medicines) <p>S เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p>T เทคโนโลยี (Technology) <p>U ยุทธศาสตร์ (Military science) <p>V นาวิกศาสตร์ (Naval science) <p>Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library science) <p>3.2 การแบ่งครั้งที่ 2 เป็นการแบ่งหมวดย่อย (subclass) ตามสาขาวิชา โดยใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ 2 ตัว ถึง 3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ และใช้หลักการเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z ยกเว้นหมวด Z จะไม่มีการแบ่งครั้งที่ 2 เช่น หมวด Q แบ่งออกเป็นหมวดย่อย 12 หมวดดังนี้คือ <p>Q วิทยาศาสตร์ (Science) <p> QA คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> QB ดาราศาสตร์ (Astronomy) <p> QC ฟิสิกส์ (Physics) <p> QD เคมี (Chemistry) <p> QE ธรณีวิทยา (Geology) <p> QH ธรรมชาติวิทยา (Natural History) <p> QK พฤกษศาสตร์ (Botany) <p> QL สัตววิทยา (Zoology) <p> QM กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy) <p> QP สรีรวิทยา (Physiology) <p> QR จุลชีววิทยา (Microbiology) <p> ซึ่งยังคงแบ่งต่อไปได้อีก เมื่อต้องการขยายเลขหมู่เพิ่มในภายหลัง <p> 3.3 การแบ่งครั้งที่ 3 คือ การแบ่งออกเป็น หมู่ (division) โดยใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1-9999 ประกอบตัวอักษรโรมัน ในแต่ละหมู่จะมีจำนวนการแบ่งเป็นหมู่ย่อยไม่เท่ากัน เช่น หมวด LA จะแบ่งเป็น LA1-LA 2397 หรือ หมวด HV จะแบ่งเป็น HV 1-HV 9920 เป็นต้น สามารถที่จะขยายเลขหมู่สำหรับวิชาการที่จะเพิ่มใหม่ การแบ่งครั้งที่ 3 มี 2 ลักษณะ คือ <p> 3.3.1 การแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ การนำเอาเลขทศนิยมมาขยายเลขย่อยในกลุ่มนั้น ให้ได้เลขหมู่เพิ่มขึ้นสำหรับเนื้อหาวิชาที่ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน <p> 3.3.2 การแบ่งโดยใช้เลขคัตเตอร์ คือ การใช้ตัวอักษรและตัวเลขสำหรับการแบ่งย่อยเนื้อหาที่ละเอียดลงไปอีก เช่น การแบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (geographical name) และการแบ่งย่อยตามรายชื่อเนื้อหาวิชาเฉพาะ (special topics) และการแบ่งตามเลขคัตเตอร์สำรองที่ได้กำหนดไว้แล้ว <p> ตัวอย่าง HF 5438.5 HF เป็นหมวดย่อยของ H คือ สังคมศาสตร์ ซึ่ง HF เป็นหมู่ย่อย หมายถึง การค้า (Commerce) และแบ่งออกเป็นหมู่ คือ 5438 หมายถึง การขาย (Selling) จากนั้นแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ .5 หมายถึง การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) <p> ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี <p> DS เป็นเลขหมู่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย <p> 575 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการเมืองและการทูต <p> .5 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ A-Z <p> .J3 ประเทศญี่ปุ่น (Japan = .J3) <p> จะได้เลขหมู่เป็น DS 575.5.J3 ปัจจุบัน หนังสือคู่มือหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกันมีทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบออนไลน์ <p> บรรณานุกรม <p> Library of Congress. Library of Congress Classification Outline. 2011. [ Online ] Retrieve from: http://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco/. Accessed 20110516. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> กมลา รุ่งอุทัย. 2533. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 219-281. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. <p> อัมพร ทีขะระ. 2532. คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาััลัย. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Library of Congress Subject Headingsหัวเรื่องระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Classification, Library of Congressการวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน [TU Subject Heading]

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit




ติดโพย (PopThai)
 Move your mouse over the text to see pop-up windows.

 

*หอสมุดรัฐสภา*

 


  หอสมุดรัฐสภา
 


Search other online dictionaries

English/Thai Dictionary
Thai Dictionary and related
English/Thai Dictionary Software Application
English/English Dictionary
 

Japanese Dictionary
German and German/English Dictionaries
Other translation and dictionary websites
Other interesting resources

Do you know the meaning of this word?

You can Suggest your own translation to Longdo

Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top