ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ก ข*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ก ข, -ก ข-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทยภาคใต้ (TH-SOUTH) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
แหย้ว(n) คำแสดงเสียงเรียกเหมือนแมว ใช้ล้อเลียนคนบางคนที่ทำตัวเหมือนเด็ก ขี้อ้อน เอาแต่ใจ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
ก ข(กอข้อ) น. พยัญชนะแต่ ก ถึง ฮ.
ก ข ไม่กระดิกหู(กอข้อ-) น. ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้.
หวย ก ขน. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีนมาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.
กก ๑น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด ว่า มาตรากกหรือแม่กก.
กรวย ๒ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายมน มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
กระฉีกน. ของหวานทำด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เรียกว่า หน้ากระฉีก เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
กระตุกอาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นทันที เช่น เส้นกระตุก ขากระตุก.
กระแต ๔น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Charadriinae ในวงศ์ Charadriidae หัวใหญ่ ปากสั้น อาจมีเดือยที่ปีก ขายาวปานกลาง มี ๔ ชนิด คือ กระแตหาด [ Vanellus duvaucelii (Lesson) ] กระแตหัวเทา [ V. cinereus (Blyth) ] กระแตหงอน [ V. vanellus (Linn.) ] และกระแตแต้แว้ดหรือต้อยตีวิด [ V. indicus (Boddaert) ].
กระแตแต้แว้ด ๑น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Vanellus indicus (Boddaert) วงศ์ย่อย Charadriinae ในวงศ์ Charadriidae ปากยาว หัวสีดำ ขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดระหว่างตาผ่านหน้าผาก ขายาวสีเหลือง วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก ร้องเสียงแตแต้แว้ด, กระต้อยตีวิด ต้อยตีวิด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก.
กระถิก, กระถึกน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Sciuridae เป็นกระรอกขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาล มีแถบสีน้ำตาลเข้ม ๓ แถบพาดตามยาวลำตัว สลับกับแถบสีน้ำตาลจาง ๆ ๔ แถบ ตั้งแต่สันหลังลงไปถึงข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว [ Tamiops rodolphe i (Milne-Edwards) ] และกระถิกขนปลายหูสั้น [ T. mxcclellandi (Horsfield) ], กระเล็น ก็เรียก.
กระหมิบอาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ).
กอริลลาน. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla Savage & Wyman ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ลํ่าสันและแข็งแรงกว่ามาก ขนลำตัวสีดำหรือสีเทา มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.
กัณฐชะน. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่เพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดที่เส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา.
กาง ๑ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง.
กาบบัวน. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Mycteria leucocephala (Pennant) ในวงศ์ Ciconiidae คอและขายาว ปากยาวสีเหลือง หัว คอ และลำตัวสีขาว มีแถบดำคาดขวางอก ขนคลุมขนปีกตอนปลายสีชมพู อาศัยอยู่ตามบึงและหนองนํ้า กินปลาและสัตว์น้ำ.
เกว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลำ) เช่น ฟันเก ขาเก
เก้งน. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ.
ขน ๑น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
ขนมเปี๊ยะน. ขนมทำด้วยแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ถั่วกวน ไส้ฟักเชื่อม ไส้ทุเรียนกวน, โบราณเรียก ขนมเปีย หรือ ขนมเปียะ. (จ.)
ขนุน ๑(ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.
ขมิ้น ๑(ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.
ข้อเรียกอวัยวะบางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า
ขอด ๑ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก.
ข่อยน้ำน. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (K. Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด.
ขาวพวงน. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มจุก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เซนติเมตร.
ขึงก. ทำให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียดออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
ไขว้โรงก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).
ครั่ง ๑(คฺรั่ง) น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Kerria lacca (Kerr) ในวงศ์ Kerriidae เพศเมียไม่มีปีก ขณะเป็นตัวอ่อนระยะแรกมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา เกาะอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นไม้ เช่น จามจุรี และผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นำไปใช้ทำประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เชลแล็ก สีย้อมผ้า.
จิงโจ้น้ำน. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลำตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาว หรือไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่าลำตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวกที่อยู่ในสกุล Limnogonus เช่น ชนิด L. fossarum (fabricirs), จิงโจ้ ก็เรียก.
ฉนาก(ฉะหฺนาก) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Anoxypristis และ Pristis วงศ์ Pristidae เป็นปลากระดูกอ่อนอยู่ในกลุ่มปลากระเบน ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูกแข็งคล้ายฟันเลื่อยเรียงห่างกันอย่างสมํ่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด A. Cuspidata Latham หรือ P. cuspidatus Latham มี ๑๖-๒๙ คู่, ชนิด P. microdon Latham มี ๑๔-๒๓ คู่.
ฉลามเสือน. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างลำตัวถึงปลายหาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น หางยาว ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง พิมพา หรือ เสือทะเล ก็เรียก.
ชันโรง(ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน.
ช้างเอเชียน. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย.
ดัง ๒มีชื่อเสียง เช่น นักร้องดัง นักการเมืองคนดัง, เป็นที่รู้จักหรือโจษขานกันทั่วไป เช่น ละครเรื่องนี้ดังมาก ข่าวดัง.
ตด ๒น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลำตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภทควินอลออกมาทางก้นมีเสียงดัง ร้อนและมีควัน ที่สำคัญ เช่น ชนิด Pheropsophus occipitalis (MacLeay), P. javanus (Dejean), ปักษ์ใต้เรียก ขี้ตด.
ตะพัด ๒น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus (Müller & Schlegel) ในวงศ์ Osteoglossidae เป็นปลาโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ลำตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลังตรงโดยตลอด แนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางมาก ขอบหางกลม เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลำตัวเป็นสีเงินอมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราดและจันทบุรี รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, มังกร ก็เรียก.
ตาลปัตรฤๅษีน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Opuntia cochenillifera (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ ใบลดขนาดลงเป็นกระจุก ขนค่อนข้างแข็ง เป็นไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ประดับ.
ตาเหลือก ๒ชื่อปลาทะเล ๒ ชนิด ตาโตเหลือกขึ้น ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง ๑ ชิ้น ลำตัวค่อนข้างเรียว แบนข้าง ได้แก่ ตาเหลือกสั้น [ Megalops cyprinoides (Broussonet) ] ในวงศ์ Megalopidae ขนาดยาวได้ถึง ๕๘ เซนติเมตร เกล็ดใหญ่ มีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น และตาเหลือกยาว [ Elops hawaiensis (Regan) ] ในวงศ์ Elopidae ลำตัวเรียวยาวกว่าชนิดแรก ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร.
เต่าเหลืองน. ชื่อเต่าบกขนาดกลางชนิด Indotestudo elongata (Blyth) ในวงศ์ Testudinidae หัวสีเหลือง กระดองหลังสีเหลืองมีลายเปรอะสีน้ำตาล กระดองท้องสีเหลืองไม่มีลาย กินพืช เช่น หญ้าเพ็ก, เพ็ก ขี้ผึ้ง เทียน หรือ แขนง ก็เรียก.
แตกไหลออกมาเอง เช่น เหงื่อแตก เยี่ยวแตก ขี้แตก
ทั้งว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อมด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กำหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด
ทัณฑ-, ทัณฑ์โทษทางวินัยที่ใช้แก่ทหารที่กระทำความผิดมี ๕ สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กัก ขัง และจำขัง.
ทันตกรรม(ทันตะ-) น. การรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
ทันตแพทย์(ทันตะ-) น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
ทาก. เอาของเปียก ของเหลว หรือของละเอียด ลูบ ไล้ หรือป้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทายา ทาปาก.
ทางเก็บน. วิธีบรรเลงดนตรีแบบหนึ่ง โดยดำเนินทำนองเป็นพยางค์เสียงช่วงสั้นต่อเนื่องกันไป ส่วนใหญ่นิยมใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เช่น ระนาดเอก ขิม.
ธัญชาติน. คำรวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี.
ประกับ ๒น. วัตถุใช้แทนเงินปลีก ขนาดเท่าเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว ทำด้วยดินเผาตีตราต่าง ๆ.
ประดู่น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ประดู่บ้าน ก็เรียก, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน.
ปล้องอ้อยน. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthopthalmus kuhlii (Valenciennes) ในวงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย กินสาหร่ายและเศษซาก ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Convention on Cluster Munitionsอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง มีสาระสำคัญคือ การห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอนรวมทั้งต้องทำลายระเบิดพวง โดยมีการยกเว้นระเบิดพวงบางประเภทที่มีความแม่นยำต่อเป้าหมายและมีอัตรา ความเสี่ยงต่ำ โดยเปิดให้ลงนามอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์เป็นต้นไป และจะมีผลบังคับใช้วันแรก ของเดือนที่หกหลังจากที่ 30 ประเทศ ได้ให้สัตยาบัน [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Humanitarian Interventionการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต]
visitการเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต]
Upward terrestrial radiationการแผ่รังสีของโลก ขึ้นสู่เบื้องบน [อุตุนิยมวิทยา]
relative complement [ difference of sets ]ผลต่างระหว่างเซต, เซตที่ประกอบด้วยสมาชิก ของเซต A ซึ่งไม่อยู่ในเซต B  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A - B [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
mass numberเลขมวล, ตัวเลขแสดงผลบวก ของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
back e.m.f.แรงเคลื่อนไฟฟ้ากลับ, แรงเคลื่อนไฟฟ้าซึ่งมีทิศตรงข้ามกับกระแสในวงจรตามปกติ เช่น ขณะที่ขดลวดของมอเตอร์หมุนอยู่ในสนามแม่เหล็ก ขดลวดจะตัดเส้นแรงแม่เหล็ก ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำซึ่งมีทิศตรงข้าม กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
husked rice [ brown rice ]ข้าวกล้อง, ข้าวที่กะเทาะเปลือกออกแล้ว แต่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสีให้ขาว เป็นข้าวที่ยังมีเยื่อซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยวิตามิน B1 ข้าวชนิดนี้ถ้ากะเทาะเปลือกด้วยการตำเรียก ข้าวซ้อมมือ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
communication devicesอุปกรณ์การสื่อสาร, ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งและรับข้อมูลโดยมีการส่งผ่านทางสื่อกลางดังที่กล่าวมาแล้ว สัญญาณที่ส่งออกไปอาจอยู่ในรูปแบบดิจิทัล หรือแบบแอนะล็อก ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสื่อกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ephedrine(n) สารอัลคาลอยด์สีขาวไม่มีกลิ่นช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ขยายรูม่านตาและกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
vitamin K1(n) วิตามินเคหนึ่ง พบในผัก ข้าว ตับหมู, See also: ช่วยในการแข็งตัวของเลือด

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
acromegaly(แอคโรเมก' กาลี) n. การที่ส่วนปลายของโครงกระดูกคือ จมูก ขากรรไกร นิ้วมือนิ้วเท้าโตเกินปกติ, เนื่องจากต่อม pituitary gland หลังฮอร์โมนมากเกินไป
advise(แอดไวซ) vt., vi. แนะนำ, เตือน, ให้ความเห็น, บอก ข่าว, ให้คำปรึกษา, Syn. direct
crow(โคร) { crowd/crew, crowed, crowding, crows } n. อีกา, ชะแลง, ตะขอเกี่ยวสินค้า -Phr. (a white crow ของหายาก ของล้ำค่า) vt., n. (การ) (ไก่หรือนก) ขัน, ร้องเสียงหรือออกเสียงแสดงความดีใจ, คุยโต, See also: crowingly adv.
fragmentationการแยกส่วนหมายถึง อาการอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ที่ ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึก ข้อมูลลงไป แล้วมาสั่งลบภายหลัง ก็จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่ บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการ แบ่งแฟ้มใหม่นี้ให้ได้ สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน บางที แฟ้มเดียวกันจึงต้อง ถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการเก็บแยกส่วน ในโปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จะมีคำสั่ง "DE FRAG" ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา ในเรื่องนี้ได้
microficheไมโครฟิชหมายถึงแผ่นไมโครฟิล์มเล็ก ๆ มีขนาดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 105 มิลลิเมตร ใช้เก็บภาพถ่ายของเอกสารโดยย่อไว้ในขนาดที่เล็กมาก เพื่อให้สะดวกในการเก็บรักษา และเป็นการประหยัดเนื้อที่ สามารถนำติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก เพราะจะเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านี้จะอ่านด้วยตาเปล่าไม่ได้ ต้องใช้กล้องขยายสำหรับอ่านโดยเฉพาะ เรียกว่า microfich reader
orthopaedics(ออร์ธะพี'ดิคซฺ) n. ออร์โธพีดิกส์, การแพทย์ที่เกี่ยวกับการแก้ไข รักษาหน้าที่และสภาพของระบบโครงกระดูก ข้อต่อ และโครงสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง., Syn. orthopedy, orthopaedy
orthopedics(ออร์ธะพี'ดิคซฺ) n. ออร์โธพีดิกส์, การแพทย์ที่เกี่ยวกับการแก้ไข รักษาหน้าที่และสภาพของระบบโครงกระดูก ข้อต่อ และโครงสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง., Syn. orthopedy, orthopaedy
soft hyphenยัติภังค์เทียมหมายถึง ขีดสั้น ๆ ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ที่แสดงว่าคำนั้นยังไม่จบ และจะมีต่อในบรรทัดถัดไป เป็นขีดที่จะเกิดขึ้นเอง เมื่อมีการแบ่งคำที่ปลายบรรทัด (ถ้าหากมีการแก้ไขข้อความ จนทำให้ไม่ต้องมีการแบ่งคำนี้อีก ขีดนี้ก็จะหายไป) ตรงข้ามกับยัติภังค์จริง (hard hyphen) ซึ่งหมายถึง ขีดที่เราพิมพ์ลงไปเองเพื่อแบ่งคำที่อยู่ปลายบรรทัด ถ้ามีการแก้ไขข้อความ ทำให้ขีดนี้ไม่อยู่ปลายบรรทัด ขีดก็จะยังคงมีอยู่ ไม่หายไป
warm startการเริ่มต้นระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยไม่ต้องปิดสวิตช์ที่ตัวเครื่อง การเริ่มต้นเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นใหม่ก็จริง แต่วิธีทำเพียงกดแป้นบางแป้นที่แผงแป้นอักขระ (เช่น แป้น CTRL, ALT และ DEL พร้อม ๆ กันในระบบดอส ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม) เครื่องก็จะเริ่มต้นใหม่ให้ การที่ต้องทำเช่นนี้ก็เนื่องจาก ขณะที่ใช้อยู่ เกิดข้อผิดพลาดบางประการเกี่ยวกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จนทำให้ไม่สามารถประมวลผลต่อไปได้ ทำให้ต้องเริ่มต้นใหม่ การเริ่มเครื่องต่อด้วยวิธีนี้ ใช้เวลาน้อยกว่าเปิดเครื่องใหม่ (cold start) มีความหมายเหมือน warm bootดู cold start เปรียบเทียบ

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
abrasion(n) รอยขีด--ในการถ่ายรูป หมายถึง รอยถลอก ขีดข่วน หรือตำหนิ เกิดขึ้นโดยการสัมผัสบนผิวที่เคลือบด้วยน้ำยาหรือเนื้อแผ่นฟิล์ม
connotation(n) ความหมายพิเศษของคำซึ่งมีอยู่กับผู้ใช้ภาษาแต่ละคน เช่น "แมว" บางคนอาจนึกถึงความสะอาดน่ารัก ขณะที่บางคนอาจนึกถึงการกินหนูซึ่งสกปรกน่ารังเกียจ
couscous(n) คูสคูส (เมล็ดธัญพืชที่ได้จาก ข้าวสาลีที่หักเป็นเม็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน ทำให้สุกโดยการหุงต้ม หรือแช่ในน้ำเดือดสัก 10-15 นาที คูสคูสจะพองตัวออก และนำมาปรุงอาหารได้)

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
運ぶ[はこぶ, hakobu] แบก ขน(ของ) ลาก(พู่กัน) เดินเรื่อง คืบหน้า

Japanese-Thai-English: Saikam Dictionary
割込む[わりこむ, warikomu] TH: แทรก ขัดจังหวะ ขัดคอ  EN: to interrupt

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top