กินข้าวต้มกระโจมกลาง | ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อนไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน. |
กินข้าวลิง | ก. กินสิ่งที่พอจะหาได้ เพราะไปตกอยู่ในที่ที่ไม่มีอาหารจะกิน เช่น ไปเที่ยวป่าคราวก่อน หลงทางอยู่นาน เกือบจะต้องกินข้าวลิงเสียแล้ว. |
แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน | ว. มีอายุมากแต่ไม่มีประโยชน์. |
กรรม ๒, กรรม- ๒ | (กำ, กำมะ-) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน. |
กระโจม ๔ | ข้ามลำดับไป ในความว่า กินข้าวต้มกระโจมกลาง. |
กิน | ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินนํ้า, ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ |
ค่อย ๓ | ว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า. |
ง่ำ, ง่ำ ๆ | ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. |
จึง, จึ่ง | สัน. สำหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทำดีจึงได้ดี. |
ฉะ ๑ | คำใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว. |
ซาง ๒ | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค. |
เต้า ๒ | นํ้าเต้า เช่น ไม่กินปลากินข้าวกินเต้าแตง (อภัย) |
เติบ | ว. มากเกินสมควร เช่น เด็ก ๆ กินกับเติบ ไม่ค่อยกินข้าว. |
แต่วัน, แต่หัววัน | ว. ก่อนเวลากำหนดมาก เช่น งานเริ่มทุ่มหนึ่ง มาแต่วันเชียว, ก่อนเวลาที่ควรเป็น (มักใช้เฉพาะเวลาช่วงบ่ายค่อนไปทางเย็น) เช่น วันนี้กลับบ้านแต่วัน กินข้าวแต่วัน กินเหล้าแต่หัววัน. |
แต่ ๓, แต่ว่า | สัน. เชื่อมความให้กลับกันหรือให้แย้งกัน เช่น นํ้าขึ้นแต่ลมลง นาย ก กินข้าว แต่นาย ข นอน |
ประธาน ๒ | น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว คน เป็นประธานของกริยา กิน. |
ผอก ๑ | น. การกินข้าว |
ฝืด | ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสีเป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด |
โภชน-, โภชนะ | การกิน, การกินข้าว. |
โม้ ๆ, โม่ะ | ว. เสียงอย่างเสียงเรียกสุนัขมากินข้าว. |
เรี่ยราย | ก. กระจายเกลื่อนไป เช่น กินข้าวหกเรี่ยรายไปทั่ว หมาคุ้ยขยะตกเรี่ยราย. |
เรียบร้อย | เสร็จ เช่น กินข้าวมาเรียบร้อยแล้ว |
ล้อมวง | ก. นั่งหรือยืนเป็นวง เช่น ล้อมวงกินข้าว ล้อมวงจับระบำชาวไร่ |
ลูกโยน | น. ดินที่ปั้นกลมแล้วเอาต้นหญ้าทำเป็นหางสำหรับขว้างไล่นกซึ่งมากินข้าวในนา |
เลย | ทำสิ่งหนึ่งแล้วจะทำอีกสิ่งหนึ่งต่อไป เช่น ไปซื้อของแล้วจะเลยไปกินข้าวนอกบ้าน. |
เลอะเทอะ | ว. เปรอะเปื้อน เช่น ขุดดินมือเลอะเทอะ กินข้าวหกเลอะเทอะ, เลเพลาดพาด เช่น วางข้าวของไว้เลอะเทอะ, โดยปริยายหมายความว่า เลื่อนเปื้อน, เหลวไหล, ไม่ได้เรื่อง, เช่น คนเมาพูดจาเลอะเทอะ, โบราณใช้ว่า เลอะเพอะ ก็มี. |
วง | ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คนนั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วง หรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็นชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วงประชันกัน. |
ว่าง | น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าว ว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง. |
สิ้นฤทธิ์ | ก. หมดฤทธิ์ เช่น เสือโคร่งพอถูกยิงด้วยลูกดอกยาสลบก็สิ้นฤทธิ์, หมดพยศ เช่น เด็กทำฤทธิ์ไม่ยอมกินข้าว พอหิวก็สิ้นฤทธิ์ จึงยอมกินแต่โดยดี. |
เอกา, เอ้กา | ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้าถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา. |