บ่อย, บ่อย ๆ | ว. หลายครั้งหลายหนไม่ห่างกัน. |
กระชอน ๒ | น. ชื่อแมลงหลายชนิด ในวงศ์ Gryllotalpidae ลำตัวสีน้ำตาล ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ปีกสั้น บินได้ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นป้อมและแบนทางข้าง คล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Gryllotalpa orientalis Burmeister. |
กระเสาะกระแสะ | ว. อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า. |
กระออดกระแอด | ว. ออดแอด, อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ. |
กรุ่ม | (กฺรุ่ม) ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดา เวลากรุ่มกำลังที่ตั้งขึ้นตามฤดู (ม. ร. ๔ วนปเวสน์) |
กะแตว | ว. ลักษณะที่ไปรบกวนบ่อย ๆ, หย่อย ๆ, เซ้าซี้. |
กะแต่ว | ว. แสดงลักษณะของการร้องหรือการทวงสิ่งของบ่อย ๆ ว่า ร้องกะแต่ว ๆ. |
กะแท้ | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cydnidae ลำตัวยาว ๔-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างรูปไข่ ส่วนใหญ่มีสีนํ้าตาลแก่อมดำหรือดำ มักบินเข้าหาแสงไฟ เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่นอุจจาระของคน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus (Dallas). |
กิ้งกือ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้อง ชั้น Diplopodae มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวกลมยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย อยู่ในสกุล Thyropygusเช่น กิ้งกือกระบอก ชนิด T. allevatus (Karsch) วงศ์ Harpagophoridae ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Nepalmatoiulasวงศ์ Julidae. |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
กุ้งเต้น ๒ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Talitridae และ Hyalidae ลักษณะคล้ายกุ้งลำตัวขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัว ใหญ่กว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่สุดท้ายสั้นแข็งใช้สำหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ ที่พบบ่อยตามชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย เช่น ชนิด Orchestia floresianaWeber . |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
เก่ง | ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคำนวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่ง ลืมเก่ง. |
ขมวน | (ขะหฺมวน) น. ชื่อหนอนแมลงพวกด้วงที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา ตัวหนอนมักมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน มีขนปกคลุม ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dermestes maculatus De Geer ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาว ๗-๙ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำพาดตามขวาง. |
ขวัญ | สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน , และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง |
ขวัญอ่อน ๑ | น. เรียกผู้ตกใจง่าย คือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน. |
ข้อสังเกต | น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มีข้อสังเกตอยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้ามาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย. |
ขี้แย | ว. มักร้องไห้บ่อย ๆ, ใจน้อย. |
ขึ้นชื่อ | ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ |
เข้าหู | ก. มาให้ได้ยิน (ใช้สำหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้เข้าหูฉันบ่อย ๆ. |
ครุ่น | (คฺรุ่น) ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น. |
ค้อย | เนือง, บ่อย. |
ค้อยค้อย | ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
คุ้น | ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตาบ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู. |
คุ้นเคย | ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกันมานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทำบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืดได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้. |
จะไจ้ | ว. บ่อย ๆ, เนือง ๆ. |
จักจั่น ๑ | (จักกะ-) น. ชื่อแมลงในวงศ์ Cicadidae ลำตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกส่วนใหญ่ใสเหมือนกันทั้ง ๒ คู่ เมื่อเกาะอยู่กับที่ปีกพับเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิดเจาะดูด ตาโตเห็นได้ชัด เพศผู้มีอวัยวะทำเสียงอยู่ทางด้านล่างของส่วนท้องได้ยินไปไกล ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ที่พบบ่อยเป็นชนิด Dundubia intermerata Walker. |
จับจด | ว. ลักษณะที่ทำไม่จริงจัง ชอบเปลี่ยนงานบ่อย ๆ. |
จำเจ | ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, ซํ้าซาก. |
จิงโจ้น้ำ | น. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลำตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาว หรือไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่าลำตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวกที่อยู่ในสกุล Limnogonus เช่น ชนิด L. fossarum (fabricirs), จิงโจ้ ก็เรียก. |
จุดบอด | น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณหลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้. |
เจนสังเวียน | ก. ขึ้นชกบนสังเวียนบ่อย, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง. |
ไจ้ ๆ | ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เป็นอยู่อย่างนั้น, จะไจ้ ก็ว่า. |
ชอบ ๑ | ก. พอใจและทำบ่อย ๆ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
ช้ำ | ว. น่วมระบมเพราะถูกกระทบกระแทกอย่างแรงหรือบ่อย ๆ เช่น มะม่วงชํ้า, เป็นรอยจํ้า ๆ อย่างรอยฟกชํ้าดำเขียว, เรียกสิ่งที่ถูกใช้งานหรือถูกจับต้องบ่อย ๆ จนมีสภาพทรุดโทรม เช่น หนังสือเล่มนี้คนยืมไปใช้บ่อย ช้ำหมดแล้ว. |
ชิน ๒ | ก. เคยบ่อย ๆ จนคุ้นหรือเจน. |
ชินชา | ว. เคยบ่อย ๆ จนเลิกเอาใจใส่. |
ชุก | ว. มีดื่น, มีมากมาย, เช่น มะม่วงชุก, มีบ่อย ๆ เช่น ฝนชุก. |
ดาโป้งเป้ง | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Nepidae ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Laccotrephesเช่น ชนิด L. ruberLinn. และ L. robustus Stål ลำตัวยาว ๓-๔ เซนติเมตร มีหางยาวยื่นออกมา ๒ เส้น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ขาคู่หน้าแข็งแรง จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นลูกน้ำหรือดักแด้ยุงกิน, มวนแมงป่องน้ำ หรือ แมลงดาโป้งเป้ง ก็เรียก, พายัพเรียก ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว, อีสานเรียก แมงฮอด อีงอด งอดน้ำ หรือ กะโซ่น้ำ, ปักษ์ใต้เรียก แมลงจิ้มฟันจระเข้ หรือ แมลงดาขี้ควาย. |
ดีด ๒, ดีดขัน ๑ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Elateridae ลำตัวยาว แบนเล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดำ นํ้าตาล หรือเทา บางชนิดมีจุดเป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่งยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทำให้สามารถดีดตัวกลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด Agrypnus aegualiaCandèze ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร สีดำ. |
เดิน | หมดไป (ใช้แก่อาหาร) เช่น ในงานนี้ขนมจีนน้ำยาเดินดีต้องตักมาเติมบ่อย ๆ. |
ตระบัด ๒ | (ตฺระ-) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์ (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้. |
ต้อลม | น. โรคตาซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการถูกลมและแดดบ่อย เป็นผลให้เยื่อหุ้มหัวตาหนาตัว มีสีเหลืองอ่อน อาจกลายเป็นต้อเนื้อได้. |
ตับเต่า ๒ | น. ชื่อแมลงพวกด้วง ในวงศ์ Dytiscidae ส่วนใหญ่ปีกสีดำ ขอบปีกมีแถบสีน้ำตาล ขาคู่หลังแบน มีขน และยาวกว่าขาคู่อื่น บินได้ ว่ายน้ำได้ดี เมื่ออยู่ตามผิวน้ำมักดิ่งหัวลงน้ำ กินแมลงขนาดเล็กหรือลูกปลา ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Cybister limbatus (Fabricius) ลำตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร, ด้วงดิ่ง ก็เรียก. |
ตายซับตายซ้อน, ตายซ้ำตายซาก | ก. ตายในสถานที่เดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น โค้งนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อยมีคนตายซ้ำตายซาก. |
ติดปาก | ก. ใช้คำใดคำหนึ่งบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย. |
ติดศัพท์ | ก. พูดใช้ศัพท์ยากหลาย ๆ คำ, พูดใช้ศัพท์คำใดคำหนึ่งบ่อย ๆ |
ตุ๊กแก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ Gekko gecko (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน ( Ptychozoon lionatum Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. |
ท้องเดิน | ว. อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวมากบ่อย ๆ. |