ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: อื่น ๆ, -อื่น ๆ- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ นีร์ | [(นีระ-)] น. นํ้า. นีร- (นีระ-) น. นํ้า. นีรจร น. ปลาหรือสัตว์นํ้าอื่น ๆ. นีรช, นีรชะ (-รด, -ระชะ) น. บัว. นีรนาท ก. กึกก้อง เช่น ปฐพีนีรนาทหวาดไหว (คำพากย์), เนียรนาท ก็ใช้. |
| กรมนา | เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาเกษตราธิบดีฯ หรือเจ้าพระยาพลเทพฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือตราพระพิรุณทรงนาคและตราอื่น ๆ รวม ๙ ดวง. | กรอง ๓ | (กฺรอง) น. กำไล, โดยมากใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กำไลเท้า กรองได = กำไลมือ กรองศอ = เครื่องประดับคอ, นวมคอ, เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา (อิเหนา). [ ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม ]. | กระ ๓ | น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า. | กระจัง ๑ | น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้เป็นลวดลายสำหรับเครื่องประดับที่อยู่บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์ กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ, เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับบนลับแลและอื่น ๆ. | กระดาษ | น. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทำจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ. | กระดาษเพลา | (-เพฺลา) น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ. | กระดี่ ๔ | ก. เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งเคลื่อนย้ายยาก เช่นเสา เสาเข็ม หรืออื่น ๆ วิธีคือนำไม้หรือวัตถุอื่นที่มีความยาวและแข็งแรงพอ มาปักลงบนพื้นให้ปลายไม้ล้ำเข้าไปใต้วัตถุด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย แล้วงัดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่. | กระติ๊ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Estrildidae ปากสั้นหนารูปกรวยปลายแหลม หัวกลม ลำตัวอ้วนป้อม มีหลายสี ปลายหางแหลม ใช้หญ้าทำรังเป็นรูปกลมอยู่บนพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือกอหญ้า ปากรังอยู่ทางด้านข้าง กินเมล็ดพืช มีหลายชนิด ที่พบมาก คือ กระติ๊ดขี้หมู [ Lonchura punctulata (Linn.) ] ชนิดอื่น ๆ เช่น กระติ๊ดเขียวหรือไผ่ [ Erythrura prasina (Sparrman) ] กระติ๊ดแดงหรือสีชมพูดง [ Amandava amandava (Linn.) ] กระติ๊ดท้องขาว[ Lonchura leucogastra (Blyth) ], กะทิ ก็เรียก. | กระถาง | น. ภาชนะปากกว้าง มีรูปต่าง ๆ สำหรับปลูกต้นไม้ หรือใส่ของอื่น ๆ เช่น กระถางต้นไม้ กระถางธูป. | กระบอก ๑ | น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา | กระเบื้อง ๑ | น. วัสดุใช้มุงหลังคา ทำผนังหรือปูพื้น เป็นต้น ทำด้วยดินเผาหรือซีเมนต์ หรือวัสดุอื่น ๆ มักทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม มีขนาดต่าง ๆ อาจมีสีหรือลวดลายก็ได้, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สำหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทำด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ | กระสอบ | น. เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สำหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ. | กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. | กลบ | (กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี). | กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. | กลิ่น ๑ | (กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น. | กลืน | (กฺลืน) ก. อาการที่ทำให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลำคอลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ ในความหมายเช่นทำให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สำแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน. | ก๊อก ๒ | น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทำจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. | กองเกียรติยศ | น. กองทหารหรือตำรวจเป็นต้นที่จัดขึ้นเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสำคัญ ศพทหารตำรวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล. | กองทัพ | น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา. | กองพล | น. หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ๓ กรม เป็นหลัก มีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ทหารขนส่ง หน่วยทหารสารวัตร เป็นส่วนประกอบ มีผู้บัญชาการกองพลเป็นผู้บังคับบัญชา. | กะราง, กะลาง | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อม หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน อาจหากินร่วมกับนกชนิดอื่น ๆ พวกที่อยู่ในวงศ์ Sylviidae มีปากหนาสั้นสีดำปลายแหลม เช่น กะรางหัวหงอก [ Garrulax leucolophus (Hardwicke) ] กะรางคอดำ [ G. chinensis (Scopoli) ] กะรางสร้อยคอเล็ก [ G. monileqer (Hodgson) ] พวกที่อยู่ในวงศ์ Upupidae ได้แก่ กะรางหัวขวาน ( Upupa epops Linn.) ปากยาวแหลมโค้งสีดำ หงอนขนสีส้มขอบดำ ลักษณะหงอนขนเหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลำตัวสีนํ้าตาลอมเหลือง มีแถบดำขาวสลับกัน, ชนิดนี้ การางหัวขวาน หรือ หงอนชบา ก็เรียก. | กะหรี่ ๑ | เรียกเครื่องแกงกะหรี่ซึ่งประกอบด้วยขมิ้นและเครื่องเทศอื่น ๆ บดเป็นผง ว่า ผงกะหรี่. | กะหรี่ปั๊บ | น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ใช้แป้งสาลีห่อไส้ที่ใช้เนื้อไก่เป็นต้นผัดกับผงกะหรี่ หรืออาจเป็นไส้อื่น ๆ เช่น ถั่วกวน เผือกกวน ม้วนปิดริมแป้งตรงที่ประกบกันให้เป็นลายเกลียว แล้วทอดนํ้ามัน. | กัปปิยภัณฑ์ | น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า. | กาแล็กซี | น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑, ๐๐๐ ล้านกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง. | กำเกรียก | น. ชื่อการพนันใช้กำเบี้ยหรือเม็ดอื่น ๆ แล้วทายกัน. | กำจาย ๓ | น. เรียกงาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ว่า งากำจาย. | กินเปล่า | (-เปฺล่า) น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน ว่า เงินกินเปล่า. | กุ๊น | ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียงเย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น. | เกลือจืด | น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทำนาเกลือ มีปนอยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือเกลือที่ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก. | เก่า | ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คำนี้เมื่อใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คำที่นำมาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชำนาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว. | แก้ว ๔ | น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus (Cantor) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และนูนเป็นสัน ลำตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก. | โก้ ๒, โก้หร่าน | ว. หรูหราภูมิฐาน (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ ). | โก้เก๋ | ว. หรูหรางามเข้าที (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ ). | ไก่นา ๒ | น. ชื่อที่ชาวบ้านเรียกนกที่อาศัยตามทุ่งนาหลายชนิด เช่น คุ่มสี [ Coturnix chinensis (Linn.) ] และนกอื่น ๆ หลายชนิด ในวงศ์ Rallidae เช่น กวัก [ Amaurornis phoenicurus (Pennant) ] อีล้ำ [ Gallinula choropus (Linn.) ] อีลุ้ม [ Gallicrex cinerea (Gmelin) ]. | ขน ๑ | น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา. | ขนุนนก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Palaquium obovatum (Griff.) Engl. ในวงศ์ Sapotaceae มีนํ้ายางขาว จับเป็นก้อนแข็งเมื่อผสมกับยางอื่น ๆ ใช้ยาเรือได้. | ขมวน | (ขะหฺมวน) น. ชื่อหนอนแมลงพวกด้วงที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา ตัวหนอนมักมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน มีขนปกคลุม ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dermestes maculatus De Geer ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาว ๗-๙ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำพาดตามขวาง. | ขลิบ | (ขฺลิบ) ก. เย็บหุ้มริมผ้าและของอื่น ๆ เพื่อกันลุ่ยหรือเพื่อให้งามเป็นต้น | ขันหมาก ๑ | น. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธีหมั้นหรือแต่งงาน เป็นเครื่องคำนับผู้ปกครองฝ่ายหญิง. | ขั้ว | น. ส่วนที่ต่อของก้านดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ และอื่น ๆ. | ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gracula religiosa Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ ( G. r. intermediaHay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย ( G. r. religiosa Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. | เข็ม ๑ | น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่างคล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา | เข้าผู้เข้าคน | ก. ติดต่อกับคนอื่น ๆ ได้ดี. | เขี่ย | ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ | แขกเต้า | น. ชื่อนกปากขอขนาดกลางชนิด Psittacula alexandri (Linn.) ในวงศ์ Psittacidae ตาสีดำขอบเหลือง หัวสีเทา หน้าผากสีเทาอมเขียวมีเส้นสีดำลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ขนลำตัวสีเขียวอมเหลือง ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดำ มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ เมล็ดพืช ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้. | คอมมานโด | น. ทหารหรือตำรวจในกลุ่มที่ได้คัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อฝึกการต่อสู้ประชิดตัว การโจมตีโฉบฉวย จู่โจม และยุทธวิธีข่มขวัญอื่น ๆ, หน่วยรบเฉพาะกิจ. | ค่าฤชาธรรมเนียม | (-รึชา-) น. ค่าธรรมเนียมที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ และค่าธรรมเนียมศาลอื่น ๆ. | งากำจาย | น. งาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ. |
| |
| Et allii | และคนอื่น ๆ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Prompt radiation | รังสีพรอมต์, รังสีที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในตอนเริ่มต้นของกระบวนการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือหลอมนิวเคลียส โดยไม่รวมรังสีที่เกิดจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส และจากปฏิกิริยาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลัง [นิวเคลียร์] | Pluripotent | คุณสมบัติของเซลล์ต้นตอในการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเซลล์ต้นตอในการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์จำเพาะของเนื้อเยื่อชนิดอื่น ๆ ได้หลายชนิด, Example: แต่เซลล์ต้นตอชนิดพลูริโพเทนท์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของตัวอ่อน (Extraembryonic Tissues) ได้ ซึ่งเนื้อเยื่อนี้ได้แก่ ถุงน้ำคร่ำ (Amnion) เยื่อหุ้มตัวอ่อน (Chorion) และองค์ประกอบของรก (Placenta) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Other Industrial Minerals | กลุ่มแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ, Example: กลุ่มแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ - แร่แบไรต์ พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แพร่ เลย กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช สตูล ตรัง - แร่เบนโทไนต์ พบในจังหวัดลพบุรี - แร่แคลไซต์ พบในจังหวัดลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ - แร่ไดอะทอไมต์ พบในจังหวัดลำปาง - แร่ฟลูออไรด์ พบในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี - ดินมาร์ล พบในจังหวัดสระบุรี - แร่ฟอสเฟต พบในจังหวัดลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช - เกลือหิน พบในจังหวัดนครราชสีมา - แร่ทัลค์ พบในจังหวัดอุตรดิตถ์ [สิ่งแวดล้อม] | Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] | Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] | Australia New Zealand Army Corps Day | วันที่ระลึกทหารผ่านศึกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2458 หน่วยปฏิบัติการร่วมของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบ สมุทรกาลิโปลี (Gallipoli) ช่องแคบดาร์ดาแนล (Dardanelles) ประเทศตุรกีเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปสู่ทะเลดำใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งสองประเทศจึงถือเอาวันที่ 25 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่ระลึกและจัดพิธีไว้อาลัยแก่ทหารผ่านศึกในสมรภูมิครั้งนั้นและทหาร ผ่านศึกที่เสียชีวิตในสมรภูมิอื่น ๆ ด้วย [การทูต] | ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] | ASEAN Senior Officials on the Environment | เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ " [การทูต] | ASEAN Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อติดตามและเสนอนโยบายด้านการเมือง ความมั่นคง และเรื่องอื่น ๆ ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน [การทูต] | Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] | ASEAN Committee on Science and Technology | คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนและกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรอื่น ๆ ประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยแยกเป็นอนุกรรมการ 9 คณะ คือ (1) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (2) ด้านอุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์ (3) ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) ด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี (5) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (6) ด้านการวิจัยพลังงานนอกแบบ (7) ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล (8) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (9) ด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ " [การทูต] | Council for Security and Cooperation in the Asia-Pacific | ชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] | Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] | Economic Integration | การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ " หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป โดยการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและมาตรการอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าให้แก่กันและกัน รวมทั้งอาจใช้นโยบายต่าง ๆ ร่วมกัน จำแนกได้หลายรูปแบบ เช่น เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ " [การทูต] | Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] | embassy | สถานเอกอัครราชทูต " ที่ทำการที่มีหัวหน้าสำนักงานในระดับเอกอัครราชทูตหรืออุปทูต ตำแหน่งต่าง ๆ ประจำสถานเอกอัครราชทูต มีดังนี้ Ambassador เอกอัครราชทูต Minister อัครราชทูต Minister Counsellor อัครราชทูตที่ปรึกษา Counsellor ที่ปรึกษา First Secretary เลขานุการเอก Second Secretary เลขานุการโท Third Secretary เลขานุการตรี Attaché ผู้ช่วยเลขานุการ นอกจากนี้ บางสถานเอกอัครราชทูต มีข้าราชการจากกระทรวงอื่น ๆ นอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ที่ปรึกษาฝ่ายแรงงาน เป็นต้น " [การทูต] | facility agreement | ความตกลงเกี่ยวกับสถานที่ (รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ) [การทูต] | functional cooperation | ความร่วมมือเฉพาะด้าน " หมายถึง ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ของอาเซียนที่นอกเหนือจากความ ร่วมมือด้านการเมืองและเศรษฐกิจ " [การทูต] | Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] | International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] | International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] | Joint Development Area | พื้นที่พัฒนาร่วม " หมายถึง พื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแปรปัญหาเขตทับซ้อนในไหล่ทวีป ซึ่งมีพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม โดยการแสวงหาและนำเอาทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมาใช้และแบ่งปันผล ประโยชน์ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในลักษณะ 50 : 50 ซึ่งนับว่าเป็น ตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตทับซ้อนทางทะเลสำหรับประเทศ อื่น ๆ " [การทูต] | National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] | North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | Nuclear Test Ban | หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต] | Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] | Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] | Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] | Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] | Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] | sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] | Schengen States | กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศที่ยอมรับกันให้ประชาชนของแต่ละประเทศ สามารถเดินทางไปมาถึงกันและเข้าเมืองได้โดยไม่มีการตรวจลงตราหรือมีการควบ คุมใดๆ ระหว่างกัน และสำหรับประชาชนจากประเทศที่สาม หากได้รับอนุญาตให้เดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดในกลุ่มประเทศนี้แล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ได้โดยไม่มีการควบคุม สมาชิกประกอบด้วย เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และสเปน [การทูต] | Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] | Social Safety Nets | โครงข่ายรองรับทางสังคม หมายถึง มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ด้วยการดำเนินนโยบายระยะสั้นในการสร้างงาน การให้การฝึกอบรมวิชาชีพใหม่ และอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและการพัฒนา สังคมอย่างรอบด้านในภาพรวม [การทูต] | South-South Cooperation | ความร่วมมือใต้-ใต้ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศกำลังพัฒนา/ ด้อยพัฒนา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายหลังจากที่ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้แก่ประเทศกำลัง พัฒนา/ด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงและมีการนำเงื่อนไขอื่น ๆ มาผูกกับการให้ความช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนานี้ จะเป็นทั้งในลักษณะของการให้ (อาทิ ทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม/ทุนดูงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/วัสดุอุปกรณ์) ของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว อาทิ การให้ความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาการเกษตรของไทยแก่ประเทศใน แอฟริกา และในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน " [การทูต] | The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] | The League of Nations | สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาแวร์ซาย และสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่ทำขึ้นตอนเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา2. ให้โลกมีสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแต่สันนิบาตชาติมีอายุอยู่ได้ ไม่นาน อุปสรรคสำคัญที่สุดอันหนึ่ง คือ ไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย สันนิบาตชาติประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1939 และหมดสภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้แก่องค์การสหประชาชาติ [การทูต] | Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] | Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] | visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] | Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] | Compression moulding | การขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอัดเป็นวิธีการขึ้นรูปที่ใช้กันมากที่สุด ในโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับการขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอื่น ๆ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องลงทุนทางด้านเครื่องจักรสูง เพราะแม่พิมพ์และเครื่องอัดมีราคาไม่สูงมากนัก เครื่องอัดที่นิยมใช้ ได้แก่ เครื่องอัดระบบไฮดรอลิค การผลิตเริ่มจากการนำยางคอมพาวด์มาวางในแม่พิมพ์ที่ร้อน ปิดแบบแม่พิมพ์ อัดด้วยความร้อนและความดันภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ยางจะเกิดการวัลคาไนซ์และคงรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นถอดออกจากแม่พิมพ์ จะได้ผลิตภัณฑ์ตามต้องการ [เทคโนโลยียาง] |
| - Both sides are blaming each other... | - - ทั้งสองฝ่ายจะโทษคนอื่น ๆ ... - In the Name of the Father (1993) | Have you any other alibis? | คุณมี alibis อื่น ๆ In the Name of the Father (1993) | All the other fathers were in there laughing at you... calling you "Poor Giuseppe." | ทั้งหมดบรรพบุรุษอื่น ๆ อยู่ในนั้น การหัวเราะที่คุณ ... โทรหาคุณ"Poor เซปเป." In the Name of the Father (1993) | And the others... | และอื่น ๆ ... In the Name of the Father (1993) | If anything happens to me or Gerry... or any other Irish prisoner... we'll have 54 Halsley Road blown to smithereens... with your family in it. | หากสิ่งที่เกิดขึ้นกับฉัน Gerry หรือ ... หรือนักโทษไอริชอื่น ๆ ... เราจะมี Halsley 54 ถนน เป่าเพื่อ smithereens ... In the Name of the Father (1993) | He thought we were signalling to other prisoners. | เขาคิดว่าเรามีการส่งสัญญาณ กับนักโทษอื่น ๆ In the Name of the Father (1993) | All the other children laughing at you. You have any kids yourself? | เด็กคนอื่น ๆ ทั้งหมดที่คุณหัวเราะ คุณมีเด็ก ๆ ตัวคุณเ In the Name of the Father (1993) | Sally, I need your help more than anyone's. | แซลลี่ ฉันต้องพึ่งความสามารถเธอมากกว่าคนอื่น ๆ เลย The Nightmare Before Christmas (1993) | He gives the phone to a teller. The bloke on the other end says, | เขาให้โทรศัพท์ไปยังพนักงาน เจ้าหมอในส่วนอื่น ๆ กล่าวว่า Pulp Fiction (1994) | Restaurants, on the other hand, you catch with their pants down. | ร้านอาหารในมืออื่น ๆ ที่คุณจับกับกางเกงของพวกเขาลง Pulp Fiction (1994) | Oh, man, you know what some fucker did the other day? | โอ้คนที่คุณรู้ว่าสิ่งที่คนร่วมเพศบางคนก็วันอื่น ๆ ? Pulp Fiction (1994) | Dane was a Marine, and he was killed... along with all the other Marines at the battle of Wake Island. | เดนมาร์กเป็นทะเลและเขาถูกฆ่าตาย ... พร้อมกับนาวิกโยธินอื่น ๆ ในสมรภูมิรบตื่น lsland Pulp Fiction (1994) | You killed the other boxing man. | คุณฆ่าคนมวยอื่น ๆ Pulp Fiction (1994) | All this other shit you could've set on fire, but I specifically reminded you not to forget the fucking watch. | ทั้งหมดนี้อึอื่น ๆ ที่คุณจะได้จุดไฟ แต่ผมเตือนเฉพาะที่คุณจะไม่ลืมนาฬิการ่วมเพศ Pulp Fiction (1994) | If Jimmie's ass ain't home, I don't know what the fuck we gonna do, 'cause I ain't got no other partners in 818. | ถ้าลาจิมมี่ไม่ได้เป็นบ้านผมไม่ทราบว่าเพศสัมพันธ์ที่เราจะทำ เพราะฉันจะไม่ได้ไม่คู่ค้าอื่น ๆ 818 Pulp Fiction (1994) | The other rules... you'll figure out as you go along. | กฎระเบียบอื่น ๆ ... คุณจะคิดออกที่คุณไปพร้อม The Shawshank Redemption (1994) | I'm innocent, Red. Just like everybody else here. | ฉันบริสุทธิ์สีแดง เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ที่นี่ The Shawshank Redemption (1994) | I guess I'm too old for that sort of nonsense any more. | ผมคิดว่าผมแก่เกินไปสำหรับการเรียงลำดับของเรื่องไร้สาระที่คนอื่น ๆ The Shawshank Redemption (1994) | It seems to me I already got my boys committed elsewhere. | ดูเหมือนว่าฉันฉันแล้วมีชายของฉันมุ่งมั่นที่อื่น ๆ The Shawshank Redemption (1994) | Others build matchstick houses. | อื่น ๆ สร้างบ้านไม้ขีดไฟ The Shawshank Redemption (1994) | That's the other thing. He never shut up. | นั่นคือสิ่งที่คนอื่น ๆ เขาไม่เคยปิด The Shawshank Redemption (1994) | Andy Dufresne, who crawled through a river of shit and came out clean on the other side. | แอนดี้ Dufresne, ที่คลานผ่านแม่น้ำอึ และออกมาทำความสะอาดในด้านอื่น ๆ The Shawshank Redemption (1994) | But still... the place you live in is that much more drab and empty that they're gone. | แต่ก็ยังคง ... สถานที่ที่คุณอาศัยอยู่ในที่อื่น ๆ อีกมากมายที่น่าเบื่อและว่างเปล่าว่าพวกเขากำลังหายไป The Shawshank Redemption (1994) | By comparing them with other hills. | กับเนินอื่น ๆ The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain (1995) | Heights of other mountains sometimes include burial mounds. | ความสูงของภูเขาอื่น ๆ บางคัร้งก็วัดรวม... - กองดินไปด้วย The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain (1995) | Good Geppetto, you have given so much happiness to others. | ดี เจเปโท ที่คุณได้รับ มีความสุขมากกับคนอื่น ๆ Pinocchio (1940) | Hurry, Father. | รีบ พ่อ ไม้อื่น ๆ ! Pinocchio (1940) | One, two, three and so on around the table, if that's OK with you gentlemen. | หนึ่งสองสามและอื่น ๆ รอบโต๊ะถ้าที่ตกลงกับคุณสุภาพบุรุษ 12 Angry Men (1957) | The lights were out, and they proved in court that at night you can look through the windows and see what's happening on the other side. | ไฟออกและพวกเขาได้รับการพิสูจน์ในศาลว่าในเวลากลางคืน คุณสามารถมองผ่านหน้าต่างและดูสิ่งที่เกิดขึ้นในด้านอื่น ๆ 12 Angry Men (1957) | I don't believe I have to be loyal to one side or the other. | ผมไม่เชื่อว่าฉันจะต้องมีความภักดีต่อด้านใดด้านหนึ่งหรืออื่น ๆ 12 Angry Men (1957) | Let the kid take his chance with 12 other guys. | ให้เด็กได้รับโอกาสของเขากับ 12 คนอื่น ๆ 12 Angry Men (1957) | Anyone who's ever used one wouldn't handle it any other way. | ใครก็ตามที่เคยใช้อย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่จัดการกับมันด้วยวิธีอื่น ๆ 12 Angry Men (1957) | About the great DiMaggio and how he was himself again... ... and about the other men on the team. | เกี่ยวกับดิมักจิโอที่ดี และวิธีการที่เขาเป็นตัวเองอีก ครั้ง และเกี่ยวกับผู้ชายคนอื่น ๆ ใน ทีม The Old Man and the Sea (1958) | He rolled himself in the blanket and slept on the papers... ... that covered the springs of the bed. | เขาก็กลิ้งตัวเองอยู่ในผ้าห่ม และนอนบนหนังสือพิมพ์เก่า อื่น ๆ ที่ปกคลุมน้ำพุของเตียง The Old Man and the Sea (1958) | There were other boats going out to sea... ... and the old man heard the dip and push of their oars. | มีเรือลำอื่น ๆ ได้จากที่อื่น ๆ ชายหาดที่จะออกไปในทะเล และชายชรา ได้ยินกรมทรัพย์สินทางปัญญา และการผลักดันของพายของพวกเขา The Old Man and the Sea (1958) | The sun rose from the sea, and the old man could see other boats... ... low on the water and well in toward the shore, spread out across the current. | ดวงอาทิตย์ขึ้นประปรายจาก ทะเล และคนเก่าจะได้เห็นเรือลำอื่น ๆ ต่ำในน้ำและได้ดีในที่มีต่อ The Old Man and the Sea (1958) | The other baits were still in the water, but there was nothing to be done. | เหยื่ออื่น ๆ ยังคงอยู่ในน้ำ แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องทำ The Old Man and the Sea (1958) | The old man felt very tired, and he knew that the night would come soon... ... and he tried to think of other things. | ชายชรารู้สึกเหนื่อยมาก และเขารู้ว่าคืนนี้จะมาเร็ว ๆ นี้ และเขาพยายามที่จะคิดว่าของ สิ่งอื่น ๆ The Old Man and the Sea (1958) | And of their mating too, and of their friendliness with each other, and their play. | และการผสมพันธุ์ของมันมาก ด้วย และเป็นมิตรของมันกับแต่ละ อื่น ๆ และการเล่นของมัน The Old Man and the Sea (1958) | Now my fish bleeds again, and there will be others. | ตอนนี้ปลาเลือดอีกครั้ง และจะมีคนอื่น ๆ The Old Man and the Sea (1958) | But we have killed many sharks, you and I and ruined many more. | แต่เราได้ฆ่าปลาฉลามหลายคุณ และฉัน และอื่น ๆ อีกมากมายเจ๊ง The Old Man and the Sea (1958) | Until this moment you were safe because my sister was chosen and no other could be sacrificed to Kaili. | จนถึงขณะนี้คุณมีความปลอดภัย เพราะว่าน้องสาวของฉันได้รับการ คัดเลือก และไม่มีการอื่น ๆ ที่อาจจะมีการ เสียสละเพื่อ ไคยีลี Help! (1965) | I'm allergic to Penicillin and all them other wonder drugs. | อย่างไรก็ตามฉันแพ้ เพนิซิลิน และทุกสงสัยยาอื่น ๆ หมากฝรั่ง? Help! (1965) | After breakfasting in Paddington, we was transferred to the Second Army for Rhine and Other Rivers. | เราถูกย้ายไปที่สองกองทัพ สำหรับไรน์และแม่น้ำอื่น ๆ How I Won the War (1967) | There's lots of fun to be had out of other things as well. | ออกจากสิ่งอื่น ๆ เช่นกัน How I Won the War (1967) | I know there are others doing jobs in this war that are more glamorous. | ฉันรู้ว่ามีคนอื่น ๆ ที่ทำงาน ในสงครามครั้งนี้ที่มีเสน่ห์มาก ขึ้น How I Won the War (1967) | Many more of them live next door | อื่น ๆ อีกมากมายของพวกเขามีชีวิต อยู่ประตูถัดไป Yellow Submarine (1968) | We'll get other instruments, Lord Mayor. | เราจะได้รับเครื่องมืออื่น ๆ นายกเทศมนตรี Yellow Submarine (1968) | - We're the spitting image of each other. | เราภาพคายของแค่ละอื่น ๆ พระเจ้าใช่ Yellow Submarine (1968) | Buck up, and otherwise go mingle. | บั๊กขึ้นและอื่น ๆ คลาคล่ำไป Yellow Submarine (1968) |
| อื่น ๆ | [eūn-eūn] (x) EN: others FR: autres ; divers ; d'autres | และอื่น ๆ | [lae eūn-eūn] (x) FR: etc. (abrév.) ; et cetera = et caetera ; et le reste ; et ainsi de suite | รายได้อื่น ๆ | [rāidāi eūn-eūn] (pref, (n)) EN: other income FR: autres revenus |
| | accumulator | ตัวสะสมเป็นหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในหน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logical unit) ของคอมพิวเตอร์ เป็นที่ใช้สำหรับเก็บผลบวก หรือ การคำนวณอื่น ๆ และผลของการเปรียบเทียบเอาไว้ ถ้ามีหลายตัว มักเรียกว่า เรจิสเตอร์ (register) ดู register ประกอบ | active window | วินโดว์ที่กำลังใช้งานหมายถึง วินโดว์ที่กำลังใช้อยู่ หรืออาจพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า เป็นวินโดว์ที่มีโปรแกรมที่กำลังเปิดใช้อยู่ หรืออยู่หน้าวินโดว์อื่น ๆ วินโดว์นี้ จะเป็นวินโดว์ที่ตอบสนองการสั่งงานทุกอย่าง ถ้าบนจอภาพมีวินโดว์แสดงอยู่มากกว่าหนึ่งวินโดว์ จะมีวินโดว์ใช้งานอยู่เพียงวินโดว์เดียว นอกนั้นเป็นวินโดว์ที่ไม่ได้ใช้งาน (non-active window) โดยปกติแล้ว ถ้าเป็นระบบไมโครซอฟต์ วินโดว์ของพีซี (PC) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะทราบว่า วินโดว์ ไหนเป็นวินโดว์ใช้งาน โดยดูที่แถบชื่อ (title bar) ถ้าวินโดว์ ใดมีแถบชื่อที่สีต่างกว่าวินโดว์อื่น วินโดว์นั้นจะเป็นวินโดว์ที่ใช้งานอยู่ ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช วินโดว์ใช้งานจะมีเส้นหลาย ๆ เส้น ในช่องแถบชื่อนั้น ส่วนวินโดว์ที่ยังไม่ใช้งานแถบชื่อจะว่างเปล่า | adapter | (อะแดพ' เทอะ) n. บุคคลหรือสิ่งที่ปรับตัว, เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมส่วนที่มีขนาด่หรือแบบแตกต่างกันให้เข้ากันได้, อุปกรณ์. ตัวปรับต่อตัวปรับแผงวงจร (card) ที่มีสายไฟเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าผิดขนาด ผิดรุ่นกัน จะต้องมี "ตัวปรับต่อ" เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ บางทีอาจเสียบไว้ในช่องเสียบ (expansion slot) เลยก็ได้ | aerator | (แอ' ราเทอะ) n. เครื่องมืออัดอากาศเข้าไปในน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ , เครื่องอัดลม | aerometer | (แอรอม' มิเทอะ) เครื่องมือวัดน้ำหนักความเข้มข้นและอื่น ๆ ของอากาศหรือแก๊ส. aerometry n. | agog | (อะกอก') adj., adv. ตื่นเต้นมาก (ด้วยความกระตือรือร้นหรือความอยากรู้อยากเห็นหรืออื่น ๆ), Syn. highly excited | air curtain | ม่านลมจากอากาศที่อัด เพื่อกันแมลงหรืออื่น ๆ | al. | abbr. Latin alia (สิ่งอื่น ๆ) alil (คนอื่น ๆ) | album | (แอล' บัม) n. สมุดหน้าเปล่าสำหรับเก็บภาพแสตมป์หรืออื่น ๆ , แผ่นเสียงขนาดใหญ่, ชุดแผ่นเสียง, สมุดลงนามของผู้มาเยี่ยม | allo- | (คำเสริมหน้า) เกี่ยวกับ "อื่น ๆ" | alloy steel | เหล็กกล้าผสมคาร์บอนและธาตุอื่น ๆ เช่น โครเมียม โคบอลท์, ทองแดง, แมงกานีส, นิเกิล, ทั้งสเตน | alluvium | (อะลู' เวียม) n. (pl. -viums, -via) ชั้นของดิน โคลนและอื่น ๆ ที่น้ำพัดพามา, สิ่งต่าง ๆ ที่นอนก้นทับถมอยู่เมื่อไม่นานมา. | alt key | แป้นสลับเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำ ALT (ย่อมาจาก alternate) อยู่บนแป้น แป้นนี้ต้องใช้พร้อมกับแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อ กดแป้น ALT+P (กดแป้น ALT และแป้นตัวอักษร P พร้อมกัน) จะเท่ากับเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์แฟ้มข้อมูล | alternate key | เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (มีคำ ALT อยู่บนแป้น) แป้นนี้ต้องใช้พร้อมกับแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อ กดแป้น ALT+P (กดแป้น ALT และแป้นตัวอักษร P พร้อมกัน) จะเท่ากับเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์แฟ้มข้อมูล | ambry | (แอม' บรีป n. ตู้ใส่อาหาร, ตู้เสื้อผ้า, ตู้ใส่ภาชนะ, หนังสือ, เครื่องแต่งตัวและอื่น ๆ ของโบสถ์ | ansi character set | ชุดตัวอักขระของแอนซีหมายถึง การกำหนดตัวอักขระต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์ใช้ ที่สถาบันแอนซี (ANSI) เป็นผู้กำหนดไว้ โดยปกติจะประกอบด้วยตัวอักษรธรรมดาซึ่งมีอยู่ 26 ตัว (A-Z) และตัวเลข 10 ตัว (0-9) และยังมีสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น % | anthrax | (แอน' แธรค') n., (pl. -thraces) โรคติดต่อร้ายแรงในสัตว์เลี้ยง (วัวควาย และอื่น ๆ) เนื่องจากเชื้อ Bacillus anthracis, โรคฝีฝักบัวร้ายแรงในคน, โรคกาลีในสัตว์ | antioxidant | (แอนทิออค' ซิดันทฺ) n. การที่ยับยั้งขบวนการ oxidation, การที่ยับยั้งการสลายตัวของยาง สบู่และอื่น ๆ (inhibiting oxidation) | antipasto | (แอนทิพา' สโท) n. รายการตัวแต่งกลิ่นชูรส เช่น olives, salami, celery และอื่น ๆ | apogee | (แอพ'พะจี) n. จุดไกลสุดของดาวนพเคราะห์หรืออื่น ๆ ที่อยู่ห่างจากโลก. apogeal, apogean, apogeic adj., Syn. climax | apostasy | (อะพอส'ทะซี) n. การผละออกจากศาสนาหลักการณ์ พรรคหรืออื่น ๆ | apple desktop bus | ตัวนำข้อมูลเข้า <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า ADB หมายถึง ตัวประสาน (interface) ที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานของแป้นพิมพ์ เมาส์ (mouse) แทร็กบอลล์ (trackball) ฯ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่น ๆ ให้สามารถนำข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ (เฉพาะแมคอินทอช) | apstate | (อะพอส'เทท) n. บุคคลที่ผละออกจากศาสนา หลักการพรรคหรืออื่น ๆ (convert) apostatise, apostatize (อะพอส'ทะไทซ) n. กระทำการ apostasy (commit apostasy) | arpanet | (อาร์ปาเน็ต) ARPA นั้นย่อมาจาก Advanced Research Project Agency เป็นชื่อหน่วยงานที่ทำการวิจัยและทดลองเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่เชื่อมโยงสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพทางการทหารให้แก่กระทรวงกลาโหม ปัจจุบัน เครือข่ายอาร์ปาเน็ต ได้ไปผนวกเข้ากับเครือข่ายอื่น ๆ อีกหลายเครือข่าย เป็นเครือข่ายรวมใหญ่ในชื่อว่า "อินเตอร์เน็ต" (Internet) | assamese | (แอสซะมีซ') adj., n. (pl. -mese) เกี่ยวกับรัฐอัสสัม (พลเมือง, ภาษาและอื่น ๆ) . -n. ชาวอัสสัม, ภาษาอัสสัม | assignee | (อะไซนี') n. ผู้รับโอน (สิทธิ, ทรัพย์สินดอกเบี้ยหรืออื่น ๆ) | assignment | (อะไซ'เมินทฺ) n. หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย, การบ้าน, การโอน (สิทธิทรัพย์สิน, ดอกเบี้ยหรืออื่น ๆ), Syn. duty, task, mission | assyriology | (อะเซอริออล'โลจี) n. การศึกษาประวัติศาสตร์ภาษา วัฒนธรรมและอื่น ๆ ของ Assyria -Assyriologist, n. | astrophysics | (แอสโทรฟิซ'ซิคซฺ) n. สาขาดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติทางฟิสิคส์ของนพเคราะห์และดวงดาวอื่น ๆ -astrophysical adj. -astrophysicaist n. | auscultation | (ออสคัลเท'เชิน) n. การฟังตรวจโรค (ด้วยเครื่อง stethoscope หรือเครื่องมืออื่น ๆ) , การฟังเสียง (listening) | austenite | (ออส'ทะไนทฺ) n. สารละลาย (หลอดเหลว) ของคาร์บอนและธาตุอื่น ๆ ในเหล็ก | backing store | หน่วยเก็บหนุนหน่วยเก็บข้อมูล ที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บหนุนนี้แทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยเก็บความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backup storage | backup storage | หน่วยเก็บสำรอง <คำแปล>หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บสำรองแทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backing store | balkan | (บอล'เคิน) adj. เกี่ยวกับแหลมบอลข่าน (ประชาชน, เทือกเขา, ภาษาและอื่น ๆ) -Phr. (the Balkans ประเทศต่าง ๆ ของแหลมบอลข่าน), See also: balkanite adj. | beer hall | บาร์หรือสถานรื่นรมย์ที่มีเหล้าดนตรีการเต้นรำและอื่น ๆ | bellboy | (เบล'บอย) n. พนักงานรับใช้ในโรงแรม, คนหิ้วกระเป๋าและรับใช้ธุระอื่น ๆ ในโรงแรมหรือคลับ, Syn. bellhop | berth | (เบิร์ธ) { berthed, berthing, berths } n. ที่นอนในรถไฟ ในเรือ เครื่องบินหรือยานพาหนะอื่น ๆ , ห้องกัปตันเรือ, งาน, ตำแหน่ง, ที่ทอดสมอเรือ, ที่จอด vt., vi. จอดเรือ, หาที่จอดเรือ -Conf. birth | besiege | (บีซีจฺ') { besieged, besieging, besieges } vt. ล้อม, โอบล้อม, ล้อมโจมตี, กลุ้มรุมด้วย (คำถาม/งาน/การรบกวนหรืออื่น ๆ), See also: besiegement n. besieger n. | bionics | (ไบออน'นิคซฺ) n. การศึกษาเกี่ยวกับการปฎิบัติงานและการแก้ปัญหาของมนุษย์และสัตว์เพื่อนำไปใช้ผลิตคอมพิวเตอร์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกอื่น ๆ | c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม | canadian | (คะเน'เดียน) adj., n. (เกี่ยว) กับแคนาดา (คน, ภาษา, วัฒนธรรมและอื่น ๆ) | canape | (แคน'นะพี) n. ขนมปังหรือขนมชิ้นบางทาเนยและอื่น ๆ | canister | (แคน'นิสเทอะ) n. กล่อง (มักเป็นโลหะ) ใส่ชากาแฟและอื่น ๆ , ส่วนของหน้ากากกันแก๊สพิษ, ที่ใส่สารกรองแก๊สพิษ, ม่านกระสุน, ถ้ำ | canteen | (แคนทีน') n. กระติกน้ำ, ร้านอาหารในค่ายทหารหรือโรงเรียน, กล่องหีบใส่มีดช้อนส้อมและอื่น ๆ, Syn. bottle | card punch | อุปกรณ์เจาะบัตรหมายถึง อุปกรณ์แสดงผล (output device) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเจาะบัตร หรือ เครื่องที่ใช้บันทึกข้อความลงบนบัตรด้วยการเจาะรู ซึ่งเป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษอื่น ๆ ต่างกับเครื่องเจาะบัตรที่เรียกว่า keypunch กล่าวคือ keypunch เป็นเครื่องเจาะบัตรที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (คนเป็นผู้เจาะ) แต่ card punch เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดู keypunch เปรียบเทียบ | cargo | (คาร์'โก) n. สินค้า, สินค้าบรรทุกบนเรือ (เครื่องบิน, รถไฟและอื่น ๆ), Syn. goods -pl. cargoes, cargos | cast iron | n. โลหะผสมของเหล็กคาร์บอนและธาตุอื่น ๆ , เหล็กหล่อ | cater | (เค'เทอะ) { catered, catering, caters } vi. จัดอาหาร (การบริการและ อื่น ๆ) ให้, จัดหาสิ่งที่ต้องการให้, เสนอรายการบันเทิง, เสนอรายการ, สอดคล้อง, See also: caterer ผู้จัดหา. cateringly adv., Syn. victual, feed | celluloid | (เซล'ลูลอยดฺ) n. วัตถุใสที่ใช้ทำฟิล์มภาพยนตร์ ฟิล์มเอกซเรย์ ของเด็กเล่นและอื่น ๆ | ceo | (ซีอีโอ) ย่อมาจาก chief executive officer หรือ ประธานกรรมการบริหาร เป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหารงานที่ใช้กันในศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ทั่วไป |
| community enterprise | กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน | Microischemia | โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเป็นคําที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดขนาดเล็กในสมอง.การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายบริเวณสีขาวของสมองและไขสันหลังเป็นบริเวณที่มีใยประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก - เนื้อเยื่อสมองที่มีเส้นใยประสาทและทําหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังส่วนอื่น ๆ ของสมอง | state of the art | (adj) - ศาสตร์แห่งศิลป์ เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายถึงขั้นตอนการพัฒนา ที่ล้ำสมัยและมีคุณค่าที่จะแยกแยะจากสิ่งอื่น ๆ ทั่วไปในปัจจุบันได้ ส่วนใหญ่จะมักจะนำไปใช้กับนามอะไรก็ได้ที่ต้องถูก "พัฒนาขึ้น" เช่นการบินไทยชอบใช้คำว่า The state-of-the-art inflight entertainment system. - ล่าสุด ส่วนใหญ่จะใช้กับ เทคโนโลยีที่พัฒนาไปเรื่อยๆ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง เป็นต้น, Syn. lastest | to name a few | และอื่น ๆ อีก เช่น The company set up an affiliate to offer premium imported cars such as Alphard, Harrier, Mini, MX5 and Beetle, to name a few. |
| 準備 | [じゅんび, junbi] (n) (เพรพพะเร'เชิน) n. การเตรียม, การเตรียมการ, วิธีการเตรียมการ, สิ่งที่เตรียม, ตัวอย่างสำหรับตรวจ วินิจฉัยหรืออื่น ๆ , (พระคัมภีร์ไบเบิล) วันก่อนวันSabbath, the Preparation บทสวดมนต์น้ำในพิธีศาสนาหรือ Mass (ดู) |
| その他 | [そのほか, sonohoka] TH: และอื่น ๆ EN: etc. |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |