กระต้วมกระเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี. |
ก๊วยเตี๋ยว, ก๋วยเตี๋ยว | น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้น ๆ ถ้าลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวแห้ง ถ้าใส่น้ำซุป เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ถ้านำเส้นมาผัด เรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวผัด. |
ก๋วยเตี๋ยวถังแตก | น. ชื่อก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง มีแต่เส้นผัดกับผัก ราคาถูก. |
ไก่เตี้ย ๑ | ดู แจ้. |
ไก่เตี้ย ๑ | ดูใน ไก่. |
ไก่เตี้ย ๒ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Canavalia rosea (Sw.) DC. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีชมพู ขาว หรือ ม่วง, กำพร้า หรือ ถั่วคร้า ก็เรียก. |
ต้วมเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่ต้วมเตี้ยมอยู่อย่างนี้ทำงานไม่ทันเพื่อนเขาหรอก, กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า. |
เตี้ย | ว. มีรูปร่างตํ่ากว่าปรกติ. |
เตี้ยตน | ว. ถ่อมตน. |
เตี้ยอุ้มค่อม | น. คนที่ช่วยเหลือคนที่มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจน ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจนเหมือนกัน. |
เตี๋ยม | น. ที่สำหรับใส่ข้าวเปลือกหรือของอย่างอื่นเช่นเกลือหรือปูน เอาเสื่อลำแพนล้อมเป็นวงรอบแล้วยาด้วยขี้วัวหรือขี้ควาย. |
เตี่ยว | น. ผ้าแคบยาวสำหรับคาดปากหม้อกันไม่ให้ไอร้อนออกเวลานึ่งของ, ผ้าขัดหนอกผู้หญิงสำหรับซับระดูหรืออยู่กระดานไฟ |
เตี่ยว | ใบตองหรือใบมะพร้าวสำหรับคาดกลัดห่อขนม เช่นห่อข้าวหมาก ห่อขนมตาล |
เตี่ยว | กางเกง. |
เตี่ยว | ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น. |
โรงเตี๊ยม | น. ที่พักคนเดินทาง, โรงแรม. |
ศาลเตี้ย | น. เรียกการที่คนหรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจดำเนินคดีตามกฎหมายจับกุมคนมาชำระตัดสินความโดยพลการ ว่า ตั้งศาลเตี้ย. |
กระจาด | น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียกเครื่องสานที่ทำเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สำหรับใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ. |
กระด้วมกระเดี้ยม | ว. กระต้วมกระเตี้ยม. |
กระโดนดิน | น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Careya herbacea Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นตามที่ลุ่มดินทราย ลักษณะทั่วไปคล้ายกระโดน สูงไม่เกิน ๑ เมตร ผลมีขนาดย่อมกว่า, กระโดนเบี้ย ก็เรียก. |
กระต่ายจาม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centipeda minima (L.) A. Braun et Asch. ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มตํ่า แฉะ ต้นเตี้ยติดดินคล้ายต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลมคล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทำยาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์, กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด ก็เรียก. |
กระติ๊ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Estrildidae ปากสั้นหนารูปกรวยปลายแหลม หัวกลม ลำตัวอ้วนป้อม มีหลายสี ปลายหางแหลม ใช้หญ้าทำรังเป็นรูปกลมอยู่บนพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือกอหญ้า ปากรังอยู่ทางด้านข้าง กินเมล็ดพืช มีหลายชนิด ที่พบมาก คือ กระติ๊ดขี้หมู [ Lonchura punctulata (Linn.) ] ชนิดอื่น ๆ เช่น กระติ๊ดเขียวหรือไผ่ [ Erythrura prasina (Sparrman) ] กระติ๊ดแดงหรือสีชมพูดง [ Amandava amandava (Linn.) ] กระติ๊ดท้องขาว[ Lonchura leucogastra (Blyth) ], กะทิ ก็เรียก. |
กระทดกระทัน | ว. คด ๆ ค้อม ๆ เช่น ที่เตี้ยค่อมค้อมคดกระทดกระทันนั้นก็มีอยู่มากหลาย (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
กระปุก | น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกำหรือผลจาก เช่น ผลระกำกระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก. |
กร่ำ ๒ | (กฺรํ่า) ก. เอาพร้าหวดตัดหญ้าที่โทรมแล้วให้เตี้ยลง, ตร่ำ ก็ว่า. |
ก้อม | ว. ค่อม, เตี้ย. |
ก่อมก้อ | ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ (โลกนิติ). |
กอย | น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างต่ำเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, เงาะ ก็เรียก. |
กะซวก | กินอย่างรวดเร็วเพราะหิว เช่น กะซวกก๋วยเตี๋ยวไป ๓ ชาม. |
กำพร้า ๓ | ดู ไก่เตี้ย. |
กำแพงแก้ว | น. กำแพงเตี้ย ๆ ที่ทำล้อมโบสถ์ วิหาร หรือเจดีย์ เป็นต้น เพื่อให้ดูงาม. |
ข้าวซอย | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง เป็นเส้นคล้ายบะหมี่ แล้วปรุงเครื่อง, เดิมเรียก ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ. |
เข้าบัว | ก. เอาอัฐิเข้าไปเก็บไว้ในที่บรรจุอัฐิซึ่งสร้างเป็นรูปดอกบัวตูมบนฐานเตี้ย ๆ. |
ค่อม ๑ | ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมาก ว่า หลังค่อม |
ค่อม ๑ | ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. |
คาด ๑ | ก. พันโดยรอบแล้วทำอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นผูกหรือกลัดเป็นต้นเพื่อไม่ให้หลุด เช่น เอาผ้าคาดพุง คาดเตี่ยวใบตอง คาดเข็มขัด, พาดเป็นทางยาวไป เช่น พื้นขาวคาดแดง. |
คุกคลาน | ก. คลานด้วยกิริยาที่ยอบตัวลงให้เตี้ยโดยใช้เข่าเดิน. |
เคี้ย | ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวารทุกแห่งแล (ม. คำหลวง ทศพร). |
แคระ | (แคฺระ) ว. เตี้ยเล็กกว่าปรกติ เช่น คนแคระ ม้าแคระ ต้นไม้แคระ. |
โคก ๑ | น. ที่ดินที่นูนสูงขึ้นคล้ายเนิน แต่เตี้ยกว่า. |
เงาะ ๑ | น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น. |
แจ้ | น. ชื่อไก่ซึ่งคัดเลือกสายพันธุ์มาจากไก่ [ Gallus gallus (Linn.) ] ตัวเล็กเตี้ย สั้น กลม หลังสั้นกว้าง หัวใหญ่ หงอนใหญ่ตั้งตรงมี ๕ หยัก เหนียงใหญ่กลม ห้อยลงทาบข้างคอ จะงอยปากแข็งแรง โค้งลงเล็กน้อย ตาและติ่งหูใหญ่ คอสั้น ปีกใหญ่ยาว ปลายปีกชี้จดพื้นดิน หางพัดใหญ่ กางแผ่ออกตั้งชี้ขึ้น ขาสั้น แข้งไม่มีขน นิ้วตีนเล็ก ตรง, ไก่เตี้ย ก็เรียก. |
แจ้ | ว. ลักษณะของต้นไม้เตี้ย ๆ ที่มีกิ่งทอดแผ่ออกไปโดยรอบ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เรือนทรงแจ้. |
เชริด | (ชะเริด) น. เทริด, เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า. |
ซ้องแมว | น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Gmelina philippensisCham. ในวงศ์ Labiatae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อห้อย มีใบประดับสีขาวอมเขียวตลอดช่อ ราก ใบ และผลใช้ทำยา ผลเชื่อมกินได้, ช้องแมว ซองแมว หรือ ข้าวจี่ ก็เรียก. |
ซัด ๓ | ก. กิน เช่น ซัดก๋วยเตี๋ยวไป ๓ ชาม |
ซึ้ง ๑ | น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะทรงกระบอกเตี้ย ๆ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒-๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้มีไอน้ำร้อน ชั้นที่ซ้อนข้างบนเจาะเป็นรู ๆ ที่ก้น เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อนสุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ลังถึง หรือ ถึง ก็ว่า. |
เซ็น ๓ | ก. ลงลายมือชื่อ, เซ็นชื่อ ก็ว่า, (ปาก) ซื้อโดยค้างชำระเงินและผู้ขายลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน เช่น เซ็นค่าก๋วยเตี๋ยวไว้ก่อน. |
ด้วมเดี้ยม | ว. กระด้วมกระเดี้ยม, ต้วม ๆ เตี้ยม ๆ, ค่อย ๆ ไป, ไม่คล่องแคล่ว. |
เดี้ย | ว. เตี้ยลง, ตํ่าลง. |