ฝ่าพระบาท | (pron) Your Royal Highness, Example: หม่อมฉันไม่เห็นด้วยเลยที่ฝ่าพระบาทจะเสด็จไปในที่อันตรายเช่นนั้น, Thai Definition: สรรพนามบุรุษที่ 2 เมื่อพูดกับเจ้านาย แทนคำว่า ท่าน, Notes: (ราชา) |
ฝ่าพระบาท | (n) the sole of the foot (of royal), Syn. ฝ่าเท้า, ฝ่าตีน, Example: พระพุทธเจ้าทรงได้รับบาดแผลเพียงฝ่าพระบาทห้อเลือด, Notes: (ราชา) |
รอยพระบาท | (n) footprint, See also: footmark, Syn. รอยเท้า, Example: ตลอดระยะเวลากว่าสี่สิบปีที่ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม รอยพระบาทได้ยาตรย่ำไปทั่วแดนสยาม, Count Unit: รอย, Notes: (ราชา) |
ใต้ฝ่าพระบาท | (pron) Your Highness, See also: you, Example: นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์มาบอกแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่าใต้ฝ่าพระบาททรงรับเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษา โครงการงานอนุสรณ์อยุธยาแล้ว, Thai Definition: สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าและเจ้าฟ้า |
ทราบฝ่าพระบาท | (v) know, See also: understand, perceive (used only when speaking to royalty), Thai Definition: รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอที่ทรงกรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า), Notes: (ราชา) |
ใต้ฝ่าละอองพระบาท | (pron) Your Majesty, See also: you, Example: นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ใต้ฝ่าละอองพระบาทได้ทรงนำนักเรียนนายร้อยไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกด้วย, Thai Definition: สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับพระอัครมเหสีที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีลงมาจนถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี |
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท | (v) know, See also: understand (used when speaking to royalty), Syn. รู้, Example: เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระบรมรูปทรงม้าขึ้น, Notes: (ราชา) |
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท | (v) have an audience of the king, Example: นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่, Thai Definition: คำราชาศัพท์ หมายถึงเข้าพบพระมหากษัตริย์หรือพระบรมราชินีนาถ |
ฉลองพระบาท | น. รองเท้าของพระมหากษัตริย์. |
ใต้ฝ่าพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่เจ้านายชั้นพระองค์เจ้าและเจ้าฟ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้ฝ่าละอองพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ทราบฝ่าพระบาท | ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอที่ทรงกรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า). |
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท | ก. รู้ (ใช้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ). |
ทราบฝ่าละอองพระบาท | ก. รู้ (ใช้กราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี). |
ทองพระบาท | น. กำไลเท้า. |
ฝ่าพระบาท | ส. ท่าน (ใช้แก่พระองค์เจ้าถึงหม่อมเจ้า), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ฝ่าละอองธุลีพระบาท | ส. ท่าน (ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ฝ่าละอองพระบาท | ส. ท่าน (ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท | ก. ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ. |
เฝ้าทูลละอองพระบาท | ก. ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
รองพระบาท | น. รองเท้าของเจ้านาย. |
ลาดพระบาท | น. พรมสีน้ำตาลมีขอบสำหรับปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนินของพระมหากษัตริย์และพระราชินี, ในปัจจุบันใช้ปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนินของพระบรมวงศ์ด้วย. |
ลาดพระบาท | ก. กิริยาที่เจ้าพนักงานปูลาดพรมทางเดินสำหรับทางทรงพระดำเนินของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์. |
ลายพระบาท | น. ลายมงคล ๑๐๘ ประการในพระพุทธบาทจำลอง. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กระวีชาติ | น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ (สามดวง). |
กริตย- | (กฺริดตะยะ-) ก. ทำ เช่น พระบาทสญไชยก็ชำระกริตยภิษิตสรรพางค์ (ม. คำหลวง มหาราช). |
กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. |
กำแพงเขย่ง | (-ขะเหฺย่ง) น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก. |
กำไล | น. ชื่อเครื่องประดับลักษณะเป็นวง สำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือ ว่า ทองกร หรือ ทองข้อพระกร กำไลเท้าว่า ทองข้อพระบาท หรือ ทองพระบาท. |
เกือก | น. รองเท้า, ลักษณนามว่า คู่ หรือ ข้าง, ราชาศัพท์ว่า รองพระบาท หรือ ฉลองพระบาท. |
แก้มลิง | น. พื้นที่มีลักษณะเป็นแอ่งตามธรรมชาติหรือขุดขึ้นเพื่อรองรับและกักเก็บน้ำในช่วงฝนตกมีน้ำมาก และระบายออกทะเลในช่วงที่น้ำทะเลลดลง เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและบรรเทาอุทกภัย. |
แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. |
ไกพัล | (ไกพัน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). |
ขอเดชะ | น. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ. |
คร่า | (คฺร่า) ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี เช่น ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้งไซ้ให้คร่ามือออกไปจากพระโรงแลให้ห้ามเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สามดวง), ท่านให้มาว่ากล่าวร้องฟ้องณะโรงสานตามกระบินเมืองอย่าให้ตีด่าฉุดคร่าเอาโดยกำลังเองศักอันเลย (สามดวง) |
คลื่นกระทบฝั่ง ๑ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง อัตรา ๓ ชั้น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
โครงการตามพระราชประสงค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาทดลองปฏิบัติด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อทรงศึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญและทดลองจนได้ผลสรุปที่ดี และทรงมั่นพระราชหฤทัยว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลหรือผู้สนใจรับไปดำเนินงานต่อ แบ่งเป็นโครงการทดลองในเขตพระราชฐาน และโครงการทดลองนอกเขตพระราชฐาน. |
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อเสนอและแนวทางให้หน่วยงานเอกชนรับไปดำเนินงานและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์เนินดินแดง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. |
โครงการพระดาบส | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส. |
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์สำหรับจัดทำแปลงเกษตรผสมผสาน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อทดลองค้นคว้าหารูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และเป็นสถานที่ฝึกอบรมการเกษตรภาคปฏิบัติให้นักศึกษาและประชาชนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ เช่น โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ชุมพร อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. |
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทดลองงานทางด้านการเกษตร ภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับปฏิบัติตามหรือปรับปรุงแก้ไขในการประกอบอาชีพของราษฎร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ โครงการไม่ใช่ธุรกิจ เช่น บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลอง และโครงการกึ่งธุรกิจ เช่น โรงงานผลิตและแปรรูปนมสดครบวงจร โรงสีข้าว. |
โครงการหลวง | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานอาชีพทางเลือกใหม่แก่ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ ซึ่งเดิมปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ให้หันมาปลูกไม้ดอก ไม้ผล พืชผักเมืองหนาว และเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่าย สร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ทำให้ลดปัญหายาเสพติด ช่วยพิทักษ์รักษาป่าต้นน้ำ และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน. |
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. |
จงกรมแก้ว | น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. |
จุลจอมเกล้า | (จุนละ-) น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. |
เฉลิมพระชนมพรรษา | (ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา) น. เรียกวันบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา. |
ชระลั่ง | (ชะระ-) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท (ม. คำหลวง กุมาร). |
ช้างเผือก ๒ | น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง มีที่มาจากตราดาราช้างเผือกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือก. |
ซากศพ | น. ศพ เช่น แม้นพระองค์ไม่ทรงเลี้ยงมัทรีไว้ จะนิ่งมัธยัสถ์ตัดเยื่อใยไม่โปรดบ้าง ก็จะเห็นแต่กเลวระร่างซากศพของมัทรี (ม. ร่ายยาว มัทรี), เจ้าพี่เอ๋ยอุตส่าห์พาซากศพ มาให้พบผัวรักเมื่อเป็นผี (ตับนางลอย), บางทีเขียนเป็น ทรากศพ ก็มี เช่น พระบาทเจ้าจะได้ทอดทัศนา ซึ่งทรากศพสาธารณนอนตาย (ม. คำหลวง มัทรี), ร่างของคนที่ตายมานานแล้วแต่มีเค้าพอให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงเป็นต้น. |
ดิเรกคุณาภรณ์ | น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-มหาภูมิพลอดุลยเดช มี ๗ ชั้น. |
ตกลึก | เข้าไปที่ลึก, สู่ที่ลึก, สู่ที่ลำบาก เช่น เห็นเขาตกเขาแตกมาตกลึก อนาถนึกแล้วน่าน้ำตาไหล (นิ. พระบาท) |
ตำหนัก | น. ที่ประทับของเจ้านาย เช่น ตำหนักปลายเนิน หรือของสมเด็จพระสังฆราช เช่น ตำหนักเพชร, ถ้าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระตำหนัก เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักวาสุกรี. |
ติดสนม | ก. ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐาน ใช้แก่พระราชวงศ์ฝ่ายในและข้าราชการฝ่ายใน โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของโขลน, ถูกกักบริเวณในวังที่ประทับ โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพวกสนมพลเรือน ใช้แก่ผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่. |
ทชี | (ทะชี) น. นักบวช เช่น พระบาททงงสองฉลองขึ้นเหนือเกล้า ทชีเถ้ากาฬเทพิลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ทฤษฎีใหม่ | น. หลักวิชาการจัดการเกษตรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง มี ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นต้น คือ ครอบครัวเกษตรกรรายย่อยบริหารจัดการพื้นที่ทำกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน คือ พื้นที่ขุดสระ พื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่ปลูกพืชไร่พืชสวน และพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อให้เกิดการผลิตที่พออยู่พอกิน ขั้นกลาง คือ รวมเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมเพิ่มผลผลิตและจำหน่ายอย่างมีพลังต่อรอง และขั้นก้าวหน้า คือ สร้างเครือข่ายนอกชุมชนเพื่อหาแหล่งทุนมาร่วมลงทุนและพัฒนา ทุกขั้นตอนเน้นความมัธยัสถ์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. |