ความเห็น | น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ. |
ลงความเห็น | ก. มีความเห็นร่วมกัน. |
การออกเสียงประชามติ | น. การขอความเห็นชอบจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อาจกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน โดยวิธีการให้ออกเสียงลงมติโดยตรง. |
เกลียว | (เกฺลียว) ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, นํ้าหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ขัดแย้งกัน เรียกว่า ปีนเกลียว. |
ข้อคิดเห็น | น. ความเห็น. |
คณะกรมการจังหวัด | น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด. |
คณะองคมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
คล้อยตาม | ก. สอดคล้องไปในทางเดียวกัน, มีความเห็นอย่างเดียวกัน, เช่น ฉันเห็นคล้อยตามเขา. |
เครือข่าย | น. ระบบ เส้นทาง หรือการปฏิบัติงานที่ติดต่อประสานกันเป็นโยงใย เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายวิทยุชุมชน, กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน มีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เครือข่ายนักวิจัย. |
งัดข้อ | ก. เกร็งแขนขัดกัน แล้วออกกำลังกดให้แขนอีกฝ่ายหนึ่งล้มลง, โดยปริยายหมายความว่า โต้เถียงกัน, มีความเห็นขัดแย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน. |
เจตภูต | (เจดตะพูด) น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ. |
ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ | ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. |
ฉันทานุมัติ | (ฉันทานุมัด) น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ. |
ตัดสิน | ก. ลงความเห็นชี้ขาด. |
แตกคอ | ก. หมางใจกันเพราะภายหลังเกิดมีความเห็นหรือรสนิยมไม่ตรงกัน, แตกสามัคคี. |
แตกฝูง | ก. ปลีกตัวออกจากหมู่, มีความประพฤติหรือความเห็นผิดแผกไปจากหมู่. |
โต้แย้ง | ก. แสดงความเห็นแย้งกัน. |
ทรรศนะ | (ทัดสะนะ) น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทัศนะ ก็ใช้. |
ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา | (ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-) น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. |
ทางสายกลาง | น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง |
ทาบทาม | ก. ติดต่อสอบถามเพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน. |
ทิฏฐุชุกรรม | น. การทำความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). |
ทิฐิ | (ทิดถิ) น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด |
ที่ปรึกษา | น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นและคำแนะนำ. |
ธรรมทรรศนะ | น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. |
ปรึกษา | (ปฺรึกสา) ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนำ, พิจารณาหารือกัน, พิจารณาอภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคำพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา (ในทางศาล). |
ปรึกษา | (ปฺรึกสา) น. เรียกความเห็นแนะนำที่ให้เนื่องด้วยการหารือ ว่า คำปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับหารือเพื่อให้ความเห็นแนะนำ ว่า ผู้รับปรึกษา. |
ปีนเกลียว | ว. มีความเห็นไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกัน, แตกพวกหรือไม่ถูกกัน. |
ผ่าน | ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว |
ผู้บริหารท้องถิ่น | น.ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี. |
ฝักถั่ว | น. การแสดงความอ่อนน้อม อ้อนวอน หรือขอร้องโดยวิธียกมือไหว้ เช่น มืออ่อนเป็นฝักถั่ว, การพลอยยกมือแสดงความเห็นชอบตามเขาไป มักใช้พูดตำหนินักการเมืองในเวลาลงคะแนนเสียง. |
ฝ่ายค้าน | น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึง ผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใครจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน. |
ฝ่ายเสนอ | น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายค้าน. |
พระราชกำหนด | น. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้มีผลใช้บังคับไปพลางก่อนตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนดเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติ. |
มติ | (มะติ) น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้ |
มโนทุจริต | (มะโนทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ๑. |
มโนสุจริต | (มะโนสุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑ ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑. |
มรรค, มรรค-, มรรคา | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. |
มฤจฉาทิฐิ | น. มิจฉาทิฐิ, ความเห็นผิดทางธรรม. |
มากหมอมากความ | ว. หลายคนก็มีความเห็นแตกต่างกันเป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้. |
มิจฉาทิฐิ | น. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. |
มุติ | (มุ-ติ) น. ความรู้สึก, ความเห็น, ความเข้าใจ. |
ไม่เห็นจะ | ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่า ไม่สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย. |
ยืนกราน | ก. ยืนคำอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็นเป็นอื่น). |
เยภุยสิกา | น. ความเห็นข้างมาก. |
แย้ง | ก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน เช่น ความเห็นแย้งกัน ข้อความแย้งกัน |
รับฟัง | ก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา. |
เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. |
เรียกร้อง | ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้องขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ. |
ลงคะแนน | ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน. |
วีดิทัศน์ | วีดิทัศน์, <br />วีดิทัศน์<br />มาจากคำว่า <br /><ul><li>วีติ หมายถึง รื่นเริง, ยินดี</li><li>ทัศน์ หมายถึง ความเห็น, การเห็น, การแสดง<br /></li></ul><br /> [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Selfishness | ความเห็นแก่ตัว [TU Subject Heading] |
Agrément | ความเห็นชอบ ในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำในประเทศใด กำหนดให้ประเทศผู้ส่งขอความเห็นชอบจากประเทศผู้รับก่อน [การทูต] |
Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] |
ASEAN Ministerial Meeting on Haze | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับปัญหาหมอกควัน " จัดขึ้นตามความจำเป็นและด้วยความเห็นชอบของทุกประเทศสมาชิก เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ อาเซียนด้านปัญหาหมอกควัน " [การทูต] |
ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] |
ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
declaration | ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบาง เรื่อง [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
Final Act | กรรมสารสุดท้าย คือคำแถลงหรือคำสรุปอย่างเป็นทางการจากเรื่องราวการ ประชุม คำแถลงนี้จะระบุสนธิสัญญาและอนุสัญญาที่ได้มีการลงนามกันอันเป็นผลจากการ ประชุม และในบางกรณีจะผนวกความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือความปรารถนาจากที่ประชุมไว้ ด้วย ผู้แทนที่มีอำนาจเต็มเท่านั้นจะเป็นผู้ลงนามในกรรมสารสุดท้าย ในตอนสุดท้ายของการประชุม [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
Hanoi Plan of Action | แผนปฏิบัติการฮานอย เป็นแผนงานระยะ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นแผนงานฉบับแรกของอาเซียนสำหรับการสร้างเสริม ความร่วมมือของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Investment Promotion Action Plan | แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (ระหว่างเอเชีย-ยุโรป) ได้รับความเห็นชอบในการประชุม ASEM 2 เมื่อปี พ.ศ. 2541 [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
The Great Wonders of Suwannabhumi | โครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
Auditor’s opinion | ความเห็นผู้สอบบัญชี [การบัญชี] |
Qualified opinion | ความเห็นแบบมีเงื่อนไข [การบัญชี] |
blog | บล็อก, ระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความเห็นได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
accord | (vi,, vt) เห็นด้วย, See also: ยอมตกลงกัน, มีความเห็นสอดคล้อง, Syn. reconcile |
acquiescence | (n) การยอมตาม, See also: การยอมรับ, ความเห็นพ้อง, Syn. submission, resignation |
agreement | (n) ข้อตกลง, See also: ความตกลง, ความยินยอม, ความเห็นพ้อง, Syn. recognition, approval |
altruism | (n) ความไม่เห็นแก่ตัว, See also: ความเห็นแก่ผู้อื่น, Syn. selflessness |
angle | (n) แง่มุมในการพิจารณา, See also: แง่ ความเห็น, มุมมอง, Syn. standpoint, outlook, perspective |
approval | (n) ความเห็นพ้อง, See also: ความยินยอมพร้อมใจ, ความเห็นชอบด้วย |
ascribe | (vt) ลงความเห็นว่าเป็นของ |
association | (n) ความคิดที่เชื่อมโยง, See also: ความเห็นที่เชื่อมโยง, Syn. train of thought, chain of ideas |
attitude | (n) ทัศนคติ, See also: ความคิดเห็น, ทัศนะ, ความเห็น, Syn. opinion, viewpoint |
avarice | (n) ความโลภ, See also: ความเห็นแก่ได้, ความละโมบ, Syn. cupidity |
adhere to | (phrv) ศรัทธาต่อ (ความคิด, ความเชื่อ, ความเห็น), See also: เชื่อมั่นต่อ ความเชื่อ, ความคิด, แผนงาน อย่างแน่วแน่, ยึด, ยึดตาม, ทำตาม, Syn. cleave to, cling onto, cling to, hold to, keep to, stick to, stay with, Ant. depart from, deviate from |
advise on | (phrv) แนะนำ (บางคน) ให้ทำบางสิ่ง, See also: แนะให้ปฏิบัติ, ให้ความเห็น, Syn. advise about |
against someone's will | (idm) ปราศจากความเห็นพ้อง |
commentate | (vi) ออกความเห็น, Syn. comment |
compassion | (n) ความเห็นใจ, See also: ความรู้สึกเศร้าใจไปกับความทุกข์ของผู้อื่น, Syn. sympathy, empathy, pity |
condolement | (n) การแสดงความเสียใจต่อผู้อื่น, See also: การแสดงความเห็นใจ, Syn. condolence, sympathy, pity |
condolence | (n) การแสดงความเสียใจต่อผู้อื่น, See also: การแสดงความเห็นใจ, Syn. condolement, sympathy, pity |
charge off | (phrv) ลงความเห็นว่า |
deduce from | (phrv) สรุปจาก, See also: อนุมานจาก, ลงความเห็นจาก, Syn. infer from |
divide on | (phrv) มีความเห็นต่างกันในเรื่อง |
decisive | (adj) ซึ่งลงความเห็นแล้ว, See also: ซึ่งแน่นอน, ซึ่งตัดสินแล้ว, Syn. conclusive, convincing, final, indisputable, undeniable |
deduct | (vi) ลงความเห็น (ตามหลักเหตุผล), See also: อนุมาน, สรุป, Syn. deduce, derive, infer |
democratism | (n) ความเห็นเป็นประชาธิปไตย |
determination | (n) การตัดสินใจ, See also: การตกลงใจ, การลงความเห็น, การสรุป, Syn. judgement, conclusion |
determine | (vt) ตัดสินใจ, See also: ตกลงใจ, ลงความเห็น, Syn. decide, settle, purpose, intend |
discuss | (vt) สนทนา, See also: แลกเปลี่ยนความเห็น, ปรึกษาหารือ, อภิปราย, ถกเถียง, ถกปัญหา, Syn. consult, analyze, criticize, confabulate |
discussion | (n) การสนทนา, See also: การปรึกษาหารือ, การอภิปราย, การประชุม, การแลกเปลี่ยนความเห็น, การอภิปราย, Syn. consulation, argument, conference, seminar |
dissentient | (n) ผู้ที่ไม่เห็นด้วย, See also: ผู้ที่มีความเห็นขัดแย้ง, Syn. opposer |
dogmatism | (n) การคิดว่าความเห็นของตนเองถูกต้อง, See also: การยึดเอาตนเป็นหลัก |
enlightenment | (n) การตรัสรู้, See also: ความเห็นแจ้ง, การรู้แจ้งเห็นจริง |
feeling | (n) ความเข้าใจ, See also: ความรัก, ความเห็นใจ, ความเมตตา |
find | (vi) ตัดสิน (ในศาล), See also: ตัดสินชี้ขาด, ลงความเห็น |
generalize about | (phrv) ลงความเห็นเกี่ยวกับ, See also: พูดกว้างๆเกี่ยวกับ |
go down | (phrv) ได้รับความเห็นชอบ, See also: ได้รับการอนุมัติ, Syn. come across |
go through | (phrv) ขอความเห็นชอบจาก, See also: ได้รับการอนุมัติจาก |
infer from | (phrv) ลงความเห็นจาก, See also: สรุปจาก, อนุมานจาก, Syn. deduce from, generalize from |
heresy | (n) ความเห็นนอกรีต, Syn. misbelief |
have a heart of gold | (idm) มีความเห็นอกเห็นใจ, See also: มีความเมตตากรุณา |
in my book | ในความคิดของ, See also: ตามความเห็นของ |
in one's book | (idm) ในความเห็นของ (บางคน), See also: ตามความเห็นของ บางคน |
milk of hum kindness | (idm) ความเมตตาปราณีผู้อื่น, See also: ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น |
rate someone | (idm) ประเมินว่าดี, See also: ให้ความเห็นว่าชอบ |
reach an agreement (with someone) | (idm) เห็นด้วยหลังจากถกเถียงมานาน, See also: ยอมรับความเห็น |
send up a trial balloon | (idm) ลองฟังเสียงตอบรับก่อน, See also: ทดลองดูความเห็นของคนทั่วไปก่อน |
to someone's way of thinking | (idm) ในความเห็น, See also: ใคความคิด |
judge between | (phrv) ตัดสินใจระหว่าง (ว่าสิ่งไหนดีกว่ากัน), See also: ลงความเห็นระหว่าง, ชี้ขาดระหว่าง |
kick about | (phrv) พยายามลงความเห็น (คำไม่เป็นทางการ), See also: พิจารณา, Syn. kick round |
kick around | (phrv) พยายามลงความเห็น (คำไม่เป็นทางการ), See also: พิจารณา, Syn. kick round |
judge | (vt) ตัดสิน, See also: พิจารณา, ลงความเห็น, Syn. consider, reckon |
lonely | (adj) ขาดความเห็นใจ, See also: ขาดการสนับสนุน, ขาดความช่วยเหลือ, ขาดมิตรภาพ, ขาดแรงกระตุ้น |
advance | (แอดวานซ'ฺ) vt., vi., n. นำหรือส่งไปข้างหน้า, ก้าวหน้า, เสนอความเห็น, เจริญ, เลื่อน (ตำแหน่ง) , เพิ่ม (อัตรา) , เร่ง, จัดให้, ยก (ธง) , ล่วงหน้า, อ้าง, ทาบทาม, เกี้ยว, Syn. forward |
advert | (แอดเวอท') vi. ให้ความเห็น, หันความสนใจ, กล่าวถึง, พูดถึง, Syn. heed, refer |
advice | (แอดไวสฺ') n. คำแนะนำ, ข้อคิดเห็น, ความเห็น, ความประพฤติ, การบอกข่าว, ข่าว, รายงาน, Syn. counsel, notification |
advise | (แอดไวซ) vt., vi. แนะนำ, เตือน, ให้ความเห็น, บอก ข่าว, ให้คำปรึกษา, Syn. direct |
agreement | (อะกรี' เมินทฺ) n. การตกลง, การยินยอม, การเห็นด้วย, ข้อตกลง, สัญญา, ความเห็น ตรงกัน, Syn. pact, consent, alliance |
ah | (อา) interj. โอย, อะฮ้า! (คำอุทานแสดงความเจ็บปวดความประหลาดใจ ความเห็นด้วยความสงสาร การบ่น ความยินดี ฯลฯ) |
appealing | (อะพีล'ลิง) adj. ดึงดูดความสนใจ (ความต้องการ, ความอยากรู้อยากเห็น, ความเห็นใจ) -appealingness n., Syn. attractive, charming, pleasing, Ant. repulsive |
ascribe | (อะสไครบ') vt. ให้เหตุผล, ลงความเห็นว่าเป็นของสันนิษฐาน, Syn. credit, attribute |
ascription | (อัสคริพ'เชิน) n. การให้เหตุผล, การลงความเห็นว่าเป็นของ, Syn. description |
bowel | (เบา'เอิล) n. ลำไส้, ส่วนของลำไส้, ส่วนใน, ความสงสาร, ความเห็นใจ vt. ถ่ายท้อง |
comment | (คอม'เมินทฺ) { commented, commenting, comments } n., vi., vt. (ให้) ข้อคิดเห็น, ความเห็น, ข้อสังเกต, คำอธิบาย, คำวิจารณ์, See also: commenter n. |
commentator | (คอม'เมินเทเทอะ) n. ผู้วิจารณ์, ผู้ออกความเห็น, ผู้อธิบาย, ผู้บรรยายข่าว, Syn. critic |
compassion | (คัมแพซ'เชิน) n. ความสงสาร, ความเวทนา, ความเห็นอกเห็นใจ, Syn. pity |
compassionate | (คัมแพช'เชินเนท) adj. มีความสงสาร, มีความเวทนา, มีความเห็นอกเห็นใจ, See also: compassionateness n.ดูcompassionate, Syn. tender-hearted, sympathetic, Ant. ruthless |
computer vendor group | กลุ่มผู้ขายเครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกรณีที่ต้องการแยกให้เห็นความแตกต่างกับกลุ่มผู้ใช้ (user group) ทั้งสองกลุ่มมักจะรวมตัว กันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและความเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในมุมและทัศนะที่แตกต่างกันดู computer user group เปรียบเทียบ |
concent | (คันเซนทฺ') n. ความเห็นพ้อง, ความลงรอยกัน, Syn. harmony |
conclude | (คันคลูด') { concluded, concluding, concludes } vt. ลงเอย, สิ้นสุดลง, สรุป, ลงมติ, ตัดสินใจ. vi. สิ้นสุดลง, ลงเอย, ลงความเห็น, ตัดสินใจ, Syn. finish, infer, deduce |
consent | (คันเซนทฺ') { consented, consenting, consents } n. การอนุญาต, ความเห็นชอบ, การยินยอม. vt. อนุญาต, เห็นชอบ, ยินยอม -Id. (Silence gives consent การนิ่งเฉยคือการเห็นด้วย), Syn. compliance, Ant. dissent |
consideration | (คันซิดเดอเร'เชิน) n. การพิจารณา, การครุ่นคิด, สิ่งที่ควรพิจารณา, การชดเชย, ความเห็นใจคนอื่น, ความสำคัญ, ความนับถือ, Syn. thinking |
consonance | (คอน'ซะเนินซฺ) n. ความเห็นพ้อง, ความลงรอยกัน, เสียงประสาน., Syn. consonancy, Ant. dissonance |
conspectus | n. ปริทรรศน์, การมองหรือความเห็นอย่างกว้าง ๆ , การสำรวจ, ข้อสรุป, บทสรุป |
consult | (คันซัลทฺ') { consulted, consulting, consults } v. ปรึกษา, หารือ, ขอความเห็น, ปรึกษาหมอ, พิจารณา, ปรึกษากับตรวจ, ค้น n. (คอน'ซัลทฺ, คันซัลทฺ') การปรึกษา, See also: consultable adj. ดูconsult consulter n., Syn. confer |
deduce | (ดิดิวซฺ') vt. อนุมานจาก, ลงความเห็นหรือสรุปจาก., See also: duducibility n. ดูdeduce duducibleness n. ดูdeduce deducible adj. ดูdeduce |
dissentient | (ดิเซน'เชินทฺ) adj., n. (ผู้) ซึ่งมีความเห็นไม่ตรงกัน, ซึ่งคัดค้าน, แตกแยก, See also: dissentience n. ดูdissentient dissentiency n. ดูdissentient |
dissident | (ดิส'ซิเดินทฺ) n. ซึ่งไม่เห็นด้วย, ซึ่งไม่ลงรอยกัน, ซึ่งมีความเห็นไม่พ้องกัน. n. ผู้ที่ไม่เห็นด้วย, ผู้ที่มีความเห็นไม่พ้องกัน, Syn. protestor, dissenter, nonconformist |
ego | (เอก'โก, อี'โก) n. อัตตา, ตัวเอง, อัตมา, ความเห็นแก่ตัว, Syn. self, egotism -pl. egos |
egoism | (เอก'โกอิสซึม, อี-) n. ลัทธิอัตตา, คตินิยมตน, ความเห็นแก่ตัว, ลัทธิเห็นแก่ตัว, See also: egoistic adj. ดูegoism egoistical adj. ดูegoism, Syn. egotism |
favor | (ฟะ'เวอะ) n. ความกรุณา, การกระทำที่กรุณา, ความสงเคราะห์, ความประทับใจ, ความนิยม, ความเข้าข้าง, ไมตรีจิต, บุญคุณ, การสนับสนุน, ความเห็นพ้อง, ของขวัญ, ของระลึก, เครื่องหมาย, โบ, สิทธิพิเศษ. -Phr. (in favo (u) r of สนับสนุน, เข้าข้าง) . -Phr. (in one's favo (u) r เพื่อผลประโยชน |
favour | (ฟะ'เวอะ) n. ความกรุณา, การกระทำที่กรุณา, ความสงเคราะห์, ความประทับใจ, ความนิยม, ความเข้าข้าง, ไมตรีจิต, บุญคุณ, การสนับสนุน, ความเห็นพ้อง, ของขวัญ, ของระลึก, เครื่องหมาย, โบ, สิทธิพิเศษ. -Phr. (in favo (u) r of สนับสนุน, เข้าข้าง) . -Phr. (in one's favo (u) r เพื่อผลประโยชน |
feeling | (ฟีล'ลิง) n. ความรู้สึก, ความคิดเห็น, ความรู้สึกสัมผัส, อารมณ์, จิตใจ, ความเห็นใจ, ความสำนึก. adj. ไว (ความรู้สึก) , เห็นใจ, มีอารมณ์., See also: feelingly adv. feelingness n., Syn. sensation |
find | (ไฟดฺ) { found, found, finding, finds } vt. พบ, ประสบ, หา, ได้รับ, จัดหา, ไปถึง, ตัดสิน, ชี้ขาด, บรรลุ, ก่อให้เกิด. vi. รู้สึก, เห็นว่า, ตัดสิน, ชี้ขาด, ลงความเห็น., See also: find oneself รู้ถึงความสามารถของตนและรู้วิธีใช้มัน. -Phr. all found ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้อง หาเป็นคำสั่งหนึ่งที่ให้ตรวจค้นหาข้อมูลที่ต้องการในแฟ้มใดแฟ้มหนึ่ง ถ้าเป็นโปรแกรมประมวลผลคำ word processing เราอาจค้นหาได้เป็นคำ ๆ ไป ถ้าเป็นโปรแกรมฐานข้อมูล database management เราจะสามารถค้นหาไปทีละระเบียน record บางทีอาจใช้หมายถึงการค้นหาแฟ้มข้อมูลว่าเก็บไว้ในสารบบ directory ใด เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบวินโดว์ด้วย อยู่ใต้เมนู File มีความหมายเหมือน search |
freemasonry | (ฟรี'เมเซินรี) n. การร่วมสงเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน, ความเห็นอกเห็นใจกัน, ความสามัคคี |
generalisation | n. ลักษณะทั่วไป, หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป, การพูดคลุม, การลงความเห็น, การวางหลักเกณฑ์, Syn. generality, majority |
generalise | vt. วางหลัก, พูดคลุม, ทำให้เป็นลักษณะทั่วไป, ลงความเห็น. vi. ลงความเห็นทั่วไป, พูดคลุม., See also: generalizer, generaliser n. |
generalization | n. ลักษณะทั่วไป, หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป, การพูดคลุม, การลงความเห็น, การวางหลักเกณฑ์, Syn. generality, majority |
generalize | vt. วางหลัก, พูดคลุม, ทำให้เป็นลักษณะทั่วไป, ลงความเห็น. vi. ลงความเห็นทั่วไป, พูดคลุม., See also: generalizer, generaliser n. |
geniality | (จีนีแอล'ลิที) n. ความใจดี, ความเห็นอกเห็นใจคนอื่น, ความร่าเริงเบิกบานใจ, ความมีมิตรไมตรีจิต, Syn. cheerfulness, kindliness -A.cheerlessness |
good | (กูด) adj. ดี, กรุณา -Id. (all in good time ถูกกาลเทศะ, เหมาะเจาะ) n. คุณค่า, ผลประโยชน์, ความดีเลิศ, ความกรุณา, See also: goods n. สินค้า. -Phr. for good ตลอดไป interj. คำอุทานแสดงความพอใจหรือความเห็นด้วย, ดี -adv. ดี. -S... |
imperception | (อิมเพอเซพ' เชิน) n. การไร้ความรู้สึก, อำนาจที่ด้อยลงในการรับความรู้สึก (สำเหนียกได้ยิน, ความเข้าใจ, ความเห็น) ., See also: imperceptive adj. imperceptivity, imperceptiveness n., Syn. blemish, fault |
infer | (อินเฟอร์') vt. อนุมาน, สรุป, ส่อให้เห็น, ลงความเห็น, ชี้ให้เห็นว่า, แนะนำ, อนุมาน, สรุป., See also: inferable, inferible, inferrible adj. inferably adv. inferrer n. |
judgement | (จัดจฺ'เมินทฺ) n. การพิจารณา, การพิจารณาอรรถคดี, การตัดสิน, การลงความเห็น, ความเห็น, คำวินิจฉัย, การพิพากษาครั้งสุดท้ายของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ทั้งหลาย, วาระสุดท้ายของโลก (หรือ Last judg (e) ment), Syn. consideration, ruling, opinion, wisdom |
judgment | (จัดจฺ'เมินทฺ) n. การพิจารณา, การพิจารณาอรรถคดี, การตัดสิน, การลงความเห็น, ความเห็น, คำวินิจฉัย, การพิพากษาครั้งสุดท้ายของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ทั้งหลาย, วาระสุดท้ายของโลก (หรือ Last judg (e) ment), Syn. consideration, ruling, opinion, wisdom |
martyr | (มาร์'เทอะ) n. ผู้ยอมรับการทรมานจากความตายแต่ไม่ยอมละทิ้งซึ่งศาสนา ความเชื่อหรืออุดมการณ์ของตัว, ผู้ได้รับการทรมานอย่างรุนแรงหรือเนืองนิจ, ผู้เรียกร้องความเห็นอกเห็นใจหรือความสนใจโดยแสร้งได้รับความทุกข์ทรมานหรืออื่น ๆ, See also: martyrly adv. adj. |
notice | (โน'ทิส) { noticed, noticing, notices } n. ข่าวสาร, ข้อความที่เตือน, หมายเหตุ, ข้อสังเกต, การเตือน, การสังเกต, ความสนใจ. vt. สังเกต, ระวัง, แจ้งความ, ประกาศ, แจ้งล่วงหน้า, ออกความเห็น, ให้ความสนใจ, Syn. remark, note, heed |
observation | (ออบเซอเว'เชิน) n. การสังเกต, การปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่, ข้อสังเกต, ความเห็น, ข้อเตือนใจ, ข้อมูล, ข้อความ, ข่าว, สิ่งที่ได้จากการสังเกต, Syn. perception |
opinionated | (อะพิน'เยินเนทิด) adj. ดื้อดึง, มีความเห็นที่ยึดแน่น, See also: opinionatedness n. |
pity | (พิท'ที) n. ความสงสาร, ความเมตตา, ความเห็นอกเห็นใจ -Phr. (take (have) on pity แสดงความปรานีต่อ) vt., vi. รู้สึกสงสาร, รู้สึกเมตตาเห็นอกเห็นใจ., Syn. sympathy |
point of view | ความเห็น, แง่คิด, Syn. standpoint |
pronouncement | (พระเนาซฺ'เมินทฺ) n. การประกาศ, การแถลง, คำประกาศ, คำแถลง, ข้อคิดเห็น ความเห็น, การออกเสียง |
public opinion | n. มติมหาชน, ความเห็นโดยทั่วไปของสาธารณชน |
advise | (vt) แนะนำ, ให้ความเห็น, ให้คำปรึกษา, ตักเตือน |
ascribe | (vt) อ้าง, ให้เหตุผล, สันนิษฐาน, ลงความเห็น |
ascription | (n) การอ้าง, การให้เหตุผล, การสันนิษฐาน, การลงความเห็น |
comment | (n) คำวิจารณ์, คำอธิบาย, ความเห็น, ข้อสังเกต |
comment | (vt) วิจารณ์, อธิบาย, ให้ข้อสังเกต, เสนอความเห็น |
commentary | (n) คำวิจารณ์, คำอธิบาย, ความเห็น, คำบรรยาย |
commentator | (n) ผู้วิจารณ์, ผู้ออกความเห็น, ผู้อธิบาย, ผู้บรรยาย |
commiseration | (n) ความสงสาร, ความเวทนา, ความสังเวช, ความเห็นอกเห็นใจ |
compassion | (n) ความสงสาร, ความสมเพช, ความเวทนา, ความเห็นอกเห็นใจ |
compassionate | (adj) มีความสงสาร, มีความเห็นอกเห็นใจ, มีความเวทนา |
consensus | (n) ความลงรอยกัน, ความสอดคล้อง, ความเห็นส่วนใหญ่, มติมหาชน, เอกฉันท์ |
consent | (n) ความเห็นชอบ, การอนุมัติ, ความยินยอม |
consideration | (n) การพิจารณา, การครุ่นคิด, การคำนึงถึง, ความเห็นอกเห็นใจ |
consult | (vt) ปรึกษาหารือ, พิจารณา, ขอความเห็น |
current | (n) กระแส, ความเห็น, กระแสน้ำ, กระแสลม |
deduce | (vt) อ้างจาก, อนุมานจาก, ลงความเห็นจาก, พิจารณาเหตุผลจาก |
deem | (vi) เชื่อว่า, เห็นว่า, ถือว่า, รู้สึกว่า, คิดว่า, เข้าใจว่า, ลงความเห็นว่าน |
egoism | (n) ความเห็นแก่ตัว, ลัทธิอัตตานิยม, คตินิยมตนเอง |
generalize | (vt) กล่าวอย่างกว้างๆ, วางหลัก, ลงความเห็น, พูดคุย |
infer | (vt) ลงความเห็น, วินิจฉัย, สรุป, อนุมาน, แสดง |
inference | (n) การลงความเห็น, การวินิจฉัย, การสรุป, การอนุมาน, การแสดง |
judge | (vt) พิพากษา, ตัดสิน, พิจารณา, วิจารณ์, ลงความเห็น |
mercy | (n) ความเห็นใจ, ความกรุณาปรานี, ความเมตตา |
misconceive | (vt) มีความเห็นที่ผิด, เข้าใจผิด |
misconception | (n) ความเข้าใจผิด, ความเห็นผิด |
notice | (vt) สังเกตเห็น, ประกาศ, ออกความเห็น, แจ้งล่วงหน้า, สนใจ |
observation | (n) การสังเกต, ความเห็น, ข้อมูล |
observer | (n) ผู้ตรวจการ, ผู้สังเกตการณ์, ผู้ออกความเห็น |
opine | (vi) ออกความเห็น, แสดงความคิดเห็น |
pity | (n) ความสงสาร, ความเวทนา, ความเมตตา, ความสมเพช, ความเห็นใจ |
proposal | (n) ข้อเสนอ, การขอแต่งงาน, การเสนอความเห็น, คำขอ |
propose | (vi) เสนอความเห็น, ขอแต่งงานด้วย |
remorse | (n) ความเสียใจ, ความสำนึกผิด, ความสงสาร, ความเห็นใจ |
sake | (n) ประโยชน์, เหตุ, เป้าหมาย, ความเห็นแก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง |
SELF-self-interest | (n) ความเห็นแก่ตัว, ประโยชน์ส่วนตัว |
selfishness | (n) ความเห็นแก่ตัว |
sentimentality | (n) ความซาบซึ้ง, ความเห็นอกเห็นใจ |
standpoint | (n) แง่คิด, ความเห็น, หลัก, ทัศนคติ, จุดยืน |
sympathy | (n) ความสงสาร, ความเห็นอกเห็นใจ, การเข้าข้าง, ความพอใจ |
theory | (n) ทฤษฎี, กฎ, หลัก, ข้อสมมุติ, เหตุผล, ความเห็น |