กด ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ]. |
กราบ ๑ | (กฺราบ) น. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม, ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสำหรับเดิน, เรียกส่วนด้านข้างของเรือรบเรือสินค้าเป็นต้น. |
แขยง ๑ | (ขะแหฺยง) น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน ( Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [ Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan) ] แขยงธงหรือแขยงหมู ( M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู ( Bagrichthys obscures Bleeker). |
ไขรา | น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนังอาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า. |
คอขวด | น. ส่วนของถนน สะพาน หรือลำน้ำตอนที่แคบเข้า. |
ฉันทลักษณ์ | (ฉันทะลัก) น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์. |
ดัก ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mucronatum Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร. |
ดุกทะเล | น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Plotosus lineatus (Thunberg) และ P. canius (Hamilton) ในวงศ์ Plotosidae มีเงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังตอนแรก ส่วนครีบหลังตอนที่ ๒ ต่อเนื่องกับครีบก้นและครีบหางยาว, สามแก้ว ปิ่นแก้ว หรือ เป็ดแก้ว ก็เรียก. |
ตกข้าว | น. วิธีการที่นายทุนรับซื้อข้าวตามจำนวนที่กำหนดกับชาวนาตอนที่ข้าวลัดใบแล้ว โดยตกลงกันว่านายทุนจะให้เงินแก่ชาวนาก่อน แล้วชาวนาจะให้ข้าวเปลือกแก่นายทุนหลังจากนวดข้าวเสร็จแล้ว. |
ตอน ๑ | น. ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ (ใช้แก่สิ่งที่มีความยาว) เช่น ถนนวิภาวดีรังสิตตอนที่ผ่านดอนเมืองรถติดมาก โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย. |
ตะเข็บ ๔ | น. แนวผ้าหรือสิ่งอื่นตอนที่เย็บติดกัน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตะเข็บรอยต่อจังหวัด. |
ทุพภิกขันดร, ทุพภิกขันดรกัป | (ทุบพิกขันดอน, ทุบพิกขันดะระกับ) น. ระยะเวลาที่กำหนดไว้ว่าเป็นตอนที่ขาดแคลนอาหาร เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีโลภะหนา. (ป.). (ดู อันตรกัป ประกอบ). |
ทู ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma (Bleeker) ในวงศ์ Scombridae หัวท้ายเรียว ลำตัวแบนข้าง เกล็ดเล็กบาง ด้านหลังสีน้ำเงินอมเขียว ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้ามกับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดำ ๓-๖ จุด เรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน คอดหางแคบ อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. |
นอตหลุด | ก. คุมสติไม่อยู่ เช่น เมื่อวานฉันเกือบนอตหลุดตอนที่ทะเลาะกับเขา, หลุด ก็ว่า |
บานแผละ | (-แผฺละ) น. ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเป็นต้นเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่. |
บึก | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasianodon gigas Chevey ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดสั้นมากข้างละ ๑ เส้นที่มุมปาก ไม่มีฟัน ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็ก ลำตัวด้านหลังสีเทาอมนํ้าตาลแดง ด้านท้องสีขาว มีในลำแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร. |
ใบขนุน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Lactarius lactarius (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Lactariidae ลำตัวกว้าง แบนข้าง หัวโต ปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่งอยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน หรือ สาบขนุน ก็เรียก. |
ปลาย | (ปฺลาย) น. ตอนยอด, ตอนที่สุด. |
ปาเต๊ะ ๒ | น. ชื่อผ้าโสร่งชนิดหนึ่ง ใช้เคลือบด้วยขี้ผึ้งเหลวบางตอนที่ไม่ต้องการให้มีสีสันหรือลวดลาย. |
ผมนาง | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris (Bloch), A. indicus (Rüppell), Carangoides armatus (Rüppell) และ C. hedlandensis (Whitley) ในวงศ์ Carangidae รูปร่างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนปลายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น และพับลงในร่องได้ ที่สำคัญคือ ต่างก็มีส่วนหน้าของทั้งครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลังเป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำ จึงได้ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะปลาขนาดเล็กของชนิด A. indicus (Rüppell) ยังมีครีบท้องยาวมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๑๕๐ เซนติเมตร, โฉมงาม ก็เรียก. |
ผ้านุ่ง | น. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ. |
มังกง | น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio (Hamilton) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลำตัวและครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดำ มีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ในนํ้ากร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก. |
แม่ลาย | น. ลายตอนที่เป็นประธานมีซํ้า ๆ กันเป็นแถวไป. |
รักแร้ | เรียกส่วนของสิ่งก่อสร้างตอนที่ผนังกับผนังจดกันเป็นมุมฉากทั้งด้านในและด้านนอก เช่น รักแร้ปราสาท รักแร้กำแพงแก้ว รักแร้โบสถ์. |
ไรฟัน | น. แนวฟันตอนที่เหงือกหุ้ม. |
เลี้ยว | น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง เช่น เลยเลี้ยวแรกไป ๕๐ เมตรก็ถึงที่พัก, หัวเลี้ยว ก็ว่า. |
วจีวิภาค | น. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ. |
วากยสัมพันธ์ | น. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็นประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคำในประโยค. |
สะดือทะเล ๑ | น. บริเวณทะเลตอนที่มีน้ำไหลวนเป็นเกลียวลึกลงไปซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของทะเล. |
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย | ก. เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม เช่น ตอนที่เบรกรถยนต์เริ่มไม่ดี ก็ไม่รีบไปซ่อม พอเบรกแตกไปชนต้นไม้เข้า เลยต้องเสียค่าซ่อมมาก เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย. |
หลุด | คุมสติไม่อยู่ เช่น เมื่อวานฉันเกือบหลุดตอนที่ทะเลาะกับเขา, นอตหลุด ก็ว่า |
ห้วงน้ำ | น. ทะเลหรือแม่นํ้าตอนที่กว้างใหญ่. |
หัว ๑ | ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่างตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน |
หัวเลี้ยว | น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง, เลี้ยว ก็ว่า. |
หัวหมู | น. ส่วนของไถตอนที่ปลายสอดติดผาล. |
หางยาม | น. หางคันไถตอนที่มือถือ. |
ไหล่ | น. ส่วนของบ่าตอนที่ติดกับต้นแขน. |
ออกแขก | น. การแสดงลิเกตอนที่มีตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง. |
อักขรวิธี | น. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. |
Compton scattering | การกระเจิงแบบคอมป์ตัน, ปรากฏการณ์เมื่อโฟตอนวิ่งชนอิเล็กตรอนของอะตอม แล้วเกิดการกระเจิง โฟตอนที่กระเจิงออกไปจะมีพลังงานลดลงจากเดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมของการกระเจิงและมวลของอนุภาคที่ถูกชน ปรากฏการณ์นี้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ คือ อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2470 [นิวเคลียร์] |
Nuclear fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
Ionizing radiation | รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
Nuclear fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] |
secondary use | secondary use, การใช้เนื้อเยื่อเพื่อวัตถุประสงค์ต่อเนื่องเพิ่มเติมไปจากตอนที่ทำการเก็บรวบรวมเนื้อเยื่อในตอนต้นหรือเพิ่อวัตถุประสงค์อื่นที่ต่างไปจากวัตถุประสงค์ตอนต้นโดยสิ้นเชิง (tissues are used for purpose that either extend beyond or are totally different from the primary purpose [ชีวจริยธรรม] |
Maneuver, First | ขั้นตอนที่ 1, วิธีทำขั้นที่ 1 [การแพทย์] |