กรรเชียง | (กัน-) น. เครื่องพุ้ยนํ้าให้เรือเคลื่อนไป รูปคล้ายแจวแต่ไม่มีหมวกแจว พาดกับหูกรรเชียงบนหลักที่อยู่ข้างแคมเรือข้างละอันคู่กัน ใช้เหนี่ยวด้ามให้พุ้ยน้ำ, ใช้ว่า กระเชียง ก็มี, ท่าว่ายน้ำโดยนอนหงายแล้วใช้แขนทั้ง ๒ พุ้ยน้ำให้ตัวเลื่อนไป, ตีกรรเชียง ก็ว่า. ก. กิริยาที่นั่งหันหน้าไปทางท้ายเรือแล้วใช้มือเหนี่ยวกรรเชียงพุ้ยน้ำให้เรือเคลื่อนไป, ตีกรรเชียง ก็ว่า. |
ขึงอูด | ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น. |
ตากตน | ก. นอนแผ่, นอนหงาย, เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล (ม. คำหลวง กุมาร). |
ตีกรรเชียง | (-กัน-) ก. กิริยาที่นั่งหันหน้าไปทางท้ายเรือแล้วใช้มือเหนี่ยวกรรเชียงพุ้ยนํ้าให้เรือเคลื่อนไป, กรรเชียง ก็ว่า, ว่ายนํ้าโดยนอนหงายแล้วใช้แขนทั้ง ๒ พุ้ยนํ้าให้ตัวเลื่อนไป, กิริยาที่ชกไปถอยไป เรียกว่า ชกแบบตีกรรเชียง, (โบ) แจวเรือ. |
แผ่สองสลึง | ว. อาการที่นอนหงายมือตีนเหยียดออกไปเต็มที่. |
พลิกตัว | ก. เปลี่ยนท่านอนจากท่าหนึ่งเป็นอีกท่าหนึ่งเช่นจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง. |
สองแง่สองง่าม | ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย ทั้งความหมายธรรมดาและความหมายที่ส่อไปในทางหยาบโลน (มักใช้ในปริศนาคำทาย) เช่นนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย. |
อลึ่งฉึ่ง | เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียกอาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบาย ว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง. |
อุตตานภาพ | (อุดตานะพาบ) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัดทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตาน-ภาพ (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอล้มลงอุตตานะภาพ (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). |