แก๊ง | กลุ่มคนที่ประพฤติตนไม่ดี เช่น ในซอยนี้มีแก๊งติดยา ฉันจึงไม่กล้าเดินเข้าไปคนเดียว. |
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม | ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. |
เข้าวัดเข้าวา | ก. ไปวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม, ไปอยู่ที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม, ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม. |
จำเนียม | ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ เช่น บรรจงภาพจำเนียม (ลอ). |
เจียม ๒ | ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ, เช่น เจียมเนื้อเจียมตัว. |
ชะแม่ | น. สตรีชาววังฝ่ายใน เช่น ยังจะประพฤติตนให้นางท้าวชาวชะแม่พระสนมกำนัล สิ้นทั้งพระราชฐานรักใคร่ตัวได้แลฤา, บรรดาหมู่ชะแม่นางในทั้งหลาย (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) อนึ่ง ผู้เปนจ่าเปนโขลนท่านแต่งให้เรียกหาชะแม่ พระสนม ค่ำเช้าเข้าใต้เพลิง (กฎมนเทียรบาล). |
ชั้นหลัง | ว. รุ่นที่จะตามมา เช่น จงประพฤติตนเป็นตัวอย่างแก่ชนชั้นหลัง. |
ทิคัมพร | (-พอน) น. ชื่อนิกายในศาสนาเชน นักบวชนิกายนี้ประพฤติตนเป็นคนเปลือยกาย, คู่กับ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร. [ ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า ]. |
ลูกสวาท | น. ชายที่ประพฤติตนอย่างนางบำเรอ. |
วางตัว | ก. ประพฤติตน เช่น วางตัวไม่ดี คนอื่นจะดูถูกได้, ปฏิบัติตน เช่น วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร. |
ศักดิ์ศรี | น. เกียรติศักดิ์ เช่น ประพฤติตนไม่สมศักดิ์ศรี. |
เศวตัมพร, เศวตามพร | (สะเหฺวตำพอน, -ตามพอน) น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ นักบวชนิกายนี้ประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่มผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. |
สังเวช, สังเวช- | (สังเวด, สังเวชะ-) ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้วสังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงก็สังเวช. |
อยู่อาสา | น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็งและประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ). |