สัมมาชีพ | (n) honest livelihood, Syn. สัมมาอาชีวะ, Example: ความสุขที่แท้จริงคือ การมีปัญญาและการงานที่เป็นสัมมาชีพอย่างแท้จริง, Thai Definition: การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบที่ถูกต้อง |
สัมมาสติ | (n) right mindfulness, See also: right recollection, Example: เมื่อมีสัมมาสติก็จะเกิดสมาธิสร้างปัญญาให้เกิดแจ้ง, Thai Definition: ความระลึกชอบ |
สัมมาทิฐิ | (n) right views, Example: คำสอนในทางธรรมเป็นการช่วยให้คนเกิดสัมมาทิฐิ, Thai Definition: ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม |
สัมมาวาจา | (n) right speech, Example: มนุษย์ใดมีสัมมาวาจากับตัวก็จะสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ชีวิต, Thai Definition: การเจรจาชอบ คือ ประพฤติวจีสุจริต |
สัมมาคารวะ | (n) respect, See also: esteem, regard, deference, Example: เขาเป็นคนมีสัมมาคารวะและเชื่อฟังผู้ใหญ่, Thai Definition: การมีความเคารพนอบน้อมต่อผู้อื่น |
สัมมาสมาธิ | (n) right concentration, Syn. สมาธิชอบ, Example: ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องฝึกสงบจิตใจให้เกิดสัมมาสมาธิ จิตจึงจะเป็นจิตที่มีคุณภาพ, Thai Definition: ความตั้งใจชอบ |
สัมมาอาชีวะ | (n) right livelihood, Syn. สัมมาชีพ, Example: ผู้เกียจคร้านที่จะประกอบสัมมาอาชีวะก็คอยจ้องแต่จะลักขโมยเขาเบียดเบียนเขา, Thai Definition: การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบที่ถูกต้อง |
สัมมา | ว. ชอบ, ดี, (มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส) เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาชีพ. |
สัมมากัมมันตะ | น. “การงานชอบ” คือ ประพฤติกายสุจริต.(ป.). |
สัมมาคารวะ | น. ความเคารพนบนอบ เช่น พูดกับผู้ใหญ่ต้องมีสัมมาคารวะ. |
สัมมาจริยา | น. การประพฤติชอบ. |
สัมมาชีพ | น. อาชีพที่สุจริต, อาชีพที่ชอบธรรม, เช่น การทำไร่ทำนานับว่าเป็นสัมมาชีพอย่างหนึ่ง. |
สัมมาทิฐิ | น. ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. |
สัมมาวาจา | น. “การเจรจาชอบ” คือ ประพฤติวจีสุจริต. |
สัมมาวายามะ | น. ความพยายามชอบ. |
สัมมาสติ | น. ความระลึกชอบ. |
สัมมาสมาธิ | น. สมาธิชอบ, ความตั้งใจชอบ. |
สัมมาสังกัปปะ | น. ความดำริในทางที่ชอบ. |
สัมมาอาชีวะ | น. การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ. |
เกินเลย | ก. แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ, เหลื่อมลํ้าทางจำนวน. |
จารี | น. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี. |
ต้นมือ | น. ตอนแรก ๆ เช่น ต้องสอนเด็กให้มีสัมมาคารวะเสียแต่ต้นมือ ถ้าโตแล้วจะสอนลำบาก. |
ทางสายกลาง | น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง |
ทิฐิ | (ทิดถิ) น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด |
มรรค, มรรค-, มรรคา | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. |
สมัญญา | (สะมัน-) น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ศาสดาของศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. |
สัตบุรุษ | (สัดบุหฺรุด) น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. |
สัปปุริส-, สัปปุรุษ | (สับปุริสะ-, สับปุหฺรุด) น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา, คนที่มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม. |
อนุตร- | (อะนุดตะระ-) ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. |
อริยมรรค | น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทางดำเนินของพระอริยะ |
อัษฎางคิกมรรค | (อัดสะดางคิกะมัก) น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธ-ศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง. |