ในที | ว. มีท่าทีจะเป็นเช่นนั้นแต่ไม่แสดงให้ปรากฏ เช่น ยิ้มในที รู้ในที, อยู่ในที ก็ว่า. |
รู้กันอยู่ในที | ก. รู้เรื่องดีอยู่แล้วระหว่างกันโดยไม่ต้องพูดออกมา เช่น เขารู้กันอยู่ในทีแล้วว่าจะยกมรดกให้แก่ผู้ใด. |
กก ๓ | น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชื้นแฉะ ชนิดลำต้นกลมใช้ทอหรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลมหรือกกเสื่อ ( Cyperus corymbosus Rottb.) ที่ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา ( C. involucratus Rottb.) กกสามเหลี่ยม [ Actinoscirpus grossus (L. f.) Goetgh. et D.A. Simpson ] กกขนากหรือกกกระหนาก ( C. difformis L.). |
กรด ๓ | (กฺรด) น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C. B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก |
กระจาย | ก. ทำให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ |
กระเจา | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorusวงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม ( C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และปอกระเจาฝักยาว ( C. olitorius L.) ฝักยาวเรียวมีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทำกระสอบ. |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระดูกอึ่ง | น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด D. triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งตํ่าซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่วเป็นข้อ ๆ ใช้ทำยาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคำผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก |
กระทู้ถาม | น. คำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. |
กระบิ ๒ | น. หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิในหนองเป็นสองหน (ไกรทอง). |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กระสือ ๑ | น. ผีชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก ออกหากินในเวลากลางคืน เห็นเป็นแสงเรือง ๆ ในที่มืด, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย |
กระสือ ๑ | ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด |
กลบ | (กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี). |
กลับมาตายรัง | ก. ในที่สุดก็ต้องหวนกลับมาอยู่กับครอบครัวตามเดิม (ใช้แก่สามี) เช่น เขาไปไหนไม่รอด ต้องกลับมาตายรัง. |
กล้า ๑ | (กฺล้า) น. ต้นข้าวอ่อนที่เพาะจากข้าวเปลือกสำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลมเรียกพืชที่เพาะไว้สำหรับย้ายไปปลูกในที่อื่น ว่า กล้า เช่น กล้าพริก กล้ามะเขือ. |
กลาง | (กฺลาง) น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน กลางทาง |
กลางแปลง | ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง. |
ก้อง ๑ | ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จำกัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. |
กอดเข่า, กอดเข่าเจ่าจุก | ก. อยู่ในที่จำกัดอย่างหงอยเหงา เช่น ฝนตกทั้งวัน ไปไหนไม่ได้ ต้องนั่งกอดเข่าเจ่าจุกอยู่แต่ในบ้าน. |
กะสมอ | ก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอดหรือเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป. |
กะพ้อ ๒ | น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ). |
กะเม็งตัวผู้ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Wedelia chinensis (Osbeck) Merr. ในวงศ์ Compositae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ทอดลำต้นและออกรากตอนโคน ใบคาย ดอกสีเหลือง ใช้ทำยาได้. |
กะลอ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Müll. Arg. |
กัญญา ๒ | (กันยา) น. เครื่องบังแดดรูปหลังคาทรงจั่ว ใช้สำหรับตั้งเหนือแคร่หามหรือเรือยาวเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้เป็นนายในที่นั้น, เรียกแคร่หามหรือเรือยาวที่มีกัญญา ว่า แคร่กัญญา เรือกัญญา. |
กันเกรา | (-เกฺรา) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก. |
การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ | น. การดำเนินการพัฒนาที่ดินหลายแปลงโดยการวางผังจัดรูปที่ดินใหม่ ปรับปรุงหรือจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการร่วมรับภาระและกระจายผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ. |
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | น. การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิ และการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนมาจัดให้แก่เกษตรกรผู้ยากจน โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม. |
การะเกด | น. ชื่อไม้พุ่มเพศผู้ชนิด Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi ในวงศ์ Pandanaceae มักขึ้นในที่ชื้นแฉะและริมนํ้า ใบแคบและยาว ขอบใบมีหนามห่าง ๆ ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม, ลำเจียกหนู ก็เรียก. |
กิ้งกือเหล็ก | น. ชื่อกิ้งกือขนาดเล็กชนิด Polydesmusspp. ในวงศ์ Polydesmidae โตขนาดก้านไม้ขีดไฟ ลำตัวแบนทางด้านบน ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร สีดำเป็นมัน ขอบข้างลำตัวและท้องสีครีมอ่อน หากินอยู่ตามกองขยะ ปุ๋ยหมัก มักซุกอยู่ในที่มืดและชื้น. |
กินข้าวลิง | ก. กินสิ่งที่พอจะหาได้ เพราะไปตกอยู่ในที่ที่ไม่มีอาหารจะกิน เช่น ไปเที่ยวป่าคราวก่อน หลงทางอยู่นาน เกือบจะต้องกินข้าวลิงเสียแล้ว. |
กินที่ลับไขที่แจ้ง | ก. เปิดเผยเรื่องที่ทำกันในที่ลับ. |
เกร็ด ๒ | (เกฺร็ด) น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคลสำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขันในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา. |
โกหก | ก. จงใจกล่าวคำที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ). |
ไก่หลง | น. ผู้หญิงที่รู้ไม่เท่าทันโลก พลัดมาอยู่ในที่ที่ถูกผู้ชายล่อลวงไปได้. |
ไกลหูไกลตา | ก. อยู่ในที่ที่ดูแลไม่ถึง, อยู่ห่างไกลการติดต่อ, เช่น ลูกอยู่ไกลหูไกลตา ต้องดูแลตัวเองให้ดี, ห่างหูห่างตา ก็ว่า. |
ขน ๓ | น. ชื่อหญ้าชนิด Brachiaria mutica (Forssk.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นในที่ชื้นและชายนํ้า ข้อ กาบใบ และใบมีขน ใช้เป็นอาหารสัตว์, ปล้องขน ก็เรียก. |
ขลุก ๑ | (ขฺลุก) ว. ง่วนอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือในที่ใดที่หนึ่ง. |
ขลุกขลัก | ว. ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ, ติดขัด, ไม่สะดวก, เสียงดังอย่างก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห. |
ขอยืม | ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า. |
ขัง | ก. ให้อยู่ในที่ล้อมเช่นกรง คอก หรือเล้า เป็นต้น, ให้อยู่ในที่ซึ่งกันไว้ เช่น ขังนํ้า |
ขานนาค | ก. กล่าวตอบในเวลาที่พระคู่สวดสวดถามคุณสมบัติและโรคต้องห้ามเป็นภาษาบาลีในที่ประชุมสงฆ์ แล้วนาคผู้ขอบวชเป็นภิกษุตอบรับหรือปฏิเสธเป็นภาษาบาลีเช่นกัน. |
ขึ้นซัง | ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทำอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
เข้าเงียบ | ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา. |
เข้าบัว | ก. เอาอัฐิเข้าไปเก็บไว้ในที่บรรจุอัฐิซึ่งสร้างเป็นรูปดอกบัวตูมบนฐานเตี้ย ๆ. |
โขมด ๑ | (ขะโหฺมด) น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. |
คนทีสอ | (คน-) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทำยาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย. |
คราด ๒ | (คฺราด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Acmella oleracea (L.) R. K. Jansen ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย, พายัพเรียก ผักเผ็ด. |
คลอน | (คฺลอน) ว. เคลื่อนไปมาได้ในที่บังคับ เช่น ฟันคลอน. |
paludal | ขึ้นในที่ลุ่ม [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
point of order | การประท้วงในที่ประชุมสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
lying by | เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิทั้งที่อยู่ในที่นั้น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
leasehold | สิทธิในที่ดิน (ที่มีกำหนดเวลา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
land certificate | หนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
land title | กรรมสิทธิ์ในที่ดิน [ ดู title to land ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
life estate | สิทธิเก็บกินในที่ดินตลอดชีวิต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
res sua nemini servit (L.) | ภาระจำยอมย่อมไม่มีในที่ดินของตนเอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
remainder | สิทธิช่วงหลัง (ในที่ดิน), สิทธิประโยชน์ที่ยังเหลืออยู่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
several fishery | สิทธิจับปลาได้แต่ผู้เดียว (ในที่ของตน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
scotopia | การเห็นในที่มืด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
order, point of | การประท้วงในที่ประชุมสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
opposition bencher | สมาชิกสภาสามัญอังกฤษที่นั่งในที่นั่ง ฝ่ายค้าน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
acknowledgment of right to production of documents | หนังสือรับรองสิทธิในที่ดินแทนโฉนด (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
adaptation, dark | การปรับสายตาในที่มืด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
avulsion | ดินที่ถูกน้ำชะไปตกอยู่ในที่ดินของคนอื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
absolute title | กรรมสิทธิ์เด็ดขาด (ในที่ดิน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
quality of estate | ลักษณะการใช้สิทธิในที่ดิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bencher, opposition | สมาชิกสภาสามัญอังกฤษที่นั่งในที่นั่งฝ่ายค้าน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
certificate, land | หนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
conditional fee | กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกโดยมีเงื่อนไข [ ดู fee simple conditional ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
cotenancy | การเป็นผู้ครอบครองร่วม (ในที่ดิน) (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
cattle gate | สิทธิที่จะนำสัตว์ไปเลี้ยงในที่ดินของผู้อื่น (ก. เก่าอังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
conveyance | ๑. การโอนสิทธิในที่ดิน๒. ยานพาหนะ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
damage feasant | การปล่อยให้สัตว์ไปทำความเสียหาย (ในที่ดินของผู้อื่น) (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
drainage right | สิทธิที่จะชักน้ำหรือระบายน้ำ (เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dark adaptation | การปรับสายตาในที่มืด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
demesne | สิทธิในที่ดิน (ก. เก่า) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
freehold | กรรมสิทธิ์ในที่ดิน (ตามคอมมอนลอร์) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
freehold | กรรมสิทธิ์ในที่ดิน (ตามคอมมอนลอว์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
freespace loss | การสูญเสีย(สัญญาณ)ในที่ว่าง, การสูญเสีย(สัญญาณ)ในสุญเขต [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fee simple; fee simple absolute in possession | กรรมสิทธิ์เด็ดขาดในที่ดิน (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fee simple absolute in possession; fee simple | กรรมสิทธิ์เด็ดขาดในที่ดิน (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fee simple conditional | กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกโดยมีเงื่อนไข (ก. อังกฤษ) [ ดู conditional fee ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
estover | สิทธิใช้ไม้ในที่ดินที่เช่า [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
estate | ๑. ที่ดินกรรมสิทธิ์, สิทธิในที่ดิน๒. กองมรดก, ทรัพย์มรดก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
expectancy, estates in; estates in expectancy | สิทธิในที่ดินที่หวังว่าจะได้รับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
estate, life | สิทธิเก็บกินในที่ดินตลอดชีวิต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
estates in expectancy; expectancy, estates in | สิทธิในที่ดินที่หวังว่าจะได้รับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
in public | ในที่สาธารณะ, ต่อสาธารณชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
title to land | กรรมสิทธิ์ในที่ดิน [ ดู land title ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
third-party rights in land | สิทธิของบุคคลภายนอกในที่ดิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Radiological survey | การสำรวจทางรังสี, การประเมินภาวะทางรังสีและอันตรายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิต การใช้ การขนถ่าย การปลดปล่อย การขจัด หรือการที่มีวัสดุกัมมันตรังสีหรือต้นกำเนิดรังสีอยู่ในที่นั้นๆ [นิวเคลียร์] |
Work Environment | สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน [TU Subject Heading] |
Crime scene searches | การสืบสวนในที่เกิดเหตุ [TU Subject Heading] |
Graffiti | การวาดและเขียนในที่สาธารณะ [TU Subject Heading] |
Nonverbal communication in the workplace | การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดในที่ทำงาน [TU Subject Heading] |
On-Site Disposal | การกำจัดในที่, Example: การกำจัดของเสีย ณ แหล่งกำเนิด [สิ่งแวดล้อม] |
Open Dumping | การทิ้งขยะในที่โล่ง, Example: การนำขยะมูลฝอยไปทิ้งในที่โล่ง โดยปล่อยให้ย่อยสลายเองทางธรรมชาติโดยจุลินทรีย์ [สิ่งแวดล้อม] |
Asia-Europe Cooperation Framework | กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป เป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในกรอบอาเซม ซึ่งได้รับรองในที่ประชุมผู้นำอาเซม ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน [การทูต] |
Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] |
apartheid | การปกครองประเทศแบบแบ่งแยกผิวพันธุ์ เป็นระบบปกครองที่ใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโดยไม่ แบ่งแยกผิวพันธุ์ครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2537 ในระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแอฟริกาใต้ผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกรัฐสภา การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางพื้นที่ การเลือกที่อยู่อาศัย การใช้สถานที่พักผ่อน การรับราชการ การเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐบาล เป็นต้น [การทูต] |
Young Ambassador of Virtue | ยุวทูตความดี " เป็นโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษา- ธิการ เริ่มโครงการตั้งวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม จริยธรรมและคุณธรรมในบรรดาเยาวชนไทย อันเป็นการเสริมคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีครบทั้งความเก่ง ความดี และมีความสุข โดยหวังผลในที่สุดว่าคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยจะเป็นการเสริมสร้างพื้น ฐานความแข็งแกร่งแก่สังคมไทยและส่งเสริมให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยใน โลกอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในยุคโลกา- ภิวัฒน์ นอกจากการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว โครงการยุวทูตความดียังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทยและเยาวชนของ ประเทศต่าง ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister schools - โรงเรียนในประเทศที่ต่างกันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน) " [การทูต] |
Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Enhanced Interaction | การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ " การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เป็นคำที่เสนอโดย นายอาลี อาลาตัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในที่ประชุม AMM ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา ซึ่งในด้านสารัตถะมีความหมายเช่นเดียวกับนโยบาย Flexible Engagement แต่เป็นคำที่อาเซียนส่วนใหญ่เห็นว่า มีความ เหมาะสมที่จะใช้สื่อเจตนารมณ์ของอาเซียนในการยกระดับความร่วมมือที่เพิ่มพูน และเปิดกว้างระหว่างกัน " [การทูต] |
final perimeter | แนวเขตที่ยอมรับกันในที่สุด [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] |
สถานีบริการ | สถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน] |
Polyurethane rubber | ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Altitude, High | ที่สูง, ที่ระดับสูง, สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ, ในที่สูง [การแพทย์] |
Blindness, Day | มองไม่เห็นในที่สว่าง [การแพทย์] |
Calcification, Metastatic | แคลเซี่ยมไปจับในที่ห่างไกลออกไป [การแพทย์] |
Crutch Elevation | การใช้ไม้ค้ำยันในที่ต่างระดับ [การแพทย์] |
Dark Adaptation Screening | การทดสอบการเห็นในที่มืด [การแพทย์] |
Dark Adaptation Screening Test | การตรวจทดสอบการเห็นในที่มืด [การแพทย์] |
Dark Adaptation Test | การวัดเวลาของการมองเห็นในที่สลัว [การแพทย์] |
Dark Adaptation, Impair | การเสื่อมของการมองเห็นในที่มืด [การแพทย์] |
Dark Adapted Vision | การปรับการมองเห็นภาพในที่มืด [การแพทย์] |
Dark Repair | การซ่อมแซมในที่มืด [การแพทย์] |
Deja Vu | รู้สึกว่าตนเองเคยอยู่ในที่นั้นทั้งๆที่ไม่เคยอยู่ [การแพทย์] |
Demotion | การเลื่อนตำแหน่งไปในที่ไม่มีอำนาจสั่งการ [การแพทย์] |
Double Set Up | ตรวจภายในที่ห้องผ่าตัด, ตรวจภายในในห้องผ่าตัด, การตรวจภายในที่ห้องผ่าตัด [การแพทย์] |
Esotropia, Congenital | ตาเขเข้าในที่เป็นมาแต่กำเนิด [การแพทย์] |
Excision Repair | การซ่อมแซมในที่มืด [การแพทย์] |
Freeze-Thaw Cycling Technique | การเก็บตัวอย่างไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงและต่ำสลับ [การแพทย์] |
ดัชนีสุขภาพจิต | ดัชนีสุขภาพจิต, สิ่งที่ใช้วัดสภาพชีวิตที่เป็นสุข อันเป็นผลจากการมีความสามารถในการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิต มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยครอบคลุมถึงความดีงามในจิตใจ ภายใต้สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในที่นี้เป็นระดับบุคคล มิได้รวมถึงร [สุขภาพจิต] |
budding | การแตกหน่อ, การแตกตา, การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแบบหนึ่ง เกิดขึ้นโดยส่วนของเซลล์ หรือกลุ่มเซลล์เจริญยื่นออกมาจากลำตัวหรือลำต้นเดิม แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงรูปร่างจนคล้ายตัวเดิมหรือต้นเดิม จากนั้นจะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดสามารถจะดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง มักพบในสิ่งมีชีวิตชั้นต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
crustose lichen | ครัสโตสไลเคน, ไลเคนที่สามารถดำรงชีวิตอยู่บนก้อนหินหรือในที่แห้งแล้งได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kinesis | ไคนีซิส, พฤติกรรมการเคลื่อนที่ที่ไม่มีทิศทางแน่นอนของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเพื่อตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าภายนอก เช่น ตัวกุ้งเต้น ปกติอาศัยอยู่ในที่ชื้น ถ้ามาอยู่ในที่แห้งจะกระโดดไปมาอย่างไม่มีทิศทางแน่นอน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
selaginella | ซีเลกจิเนลลา, พืชพวกหนึ่งที่มีระบบท่อลำเลียง มีขนาดเล็ก อยู่ในไฟลัมไลโคไฟตา ชอบขึ้นในที่ร่มชื้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
phagocytosis | ฟาโกไซโทซิส, กระบวนการที่เม็ดเลือดขาวทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยการใช้เยื่อหุ้มเซลล์โอบล้อมเชื้อโรคไว้จนในที่สุดเชื้อโรคนั้นหลุดเข้าไปอยู่ในเซลล์และถูกย่อยทำลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lycopodium | ไลโคโพเดียม, พืชพวกหนึ่งในไพลัมไลโคไฟตา ชอบขึ้นในที่ชื้น มีร่มเงา มีชื่อเรียกทั่วไปว่า club moss (แต่ไม่ใช่พืชจำพวกมอส) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amplitude modulation (AM) | ระบบเอเอ็ม, ในที่นี้ให้แปลว่า ระบบเอเอ็ม ตามคำศัพท์ในหนังสือเรียนวิชาฟิสิกส์ มัธยมศึกษาตอนปลาย คำศัพท์นี้ในหนังสือเรียนเล่มอื่นบางทีแปลว่า การผสมคลื่นทางแอมพลิจูด ในพจนานุกรมวิทยาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า modulation แปลว่า การกล้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Addison's disease | โรคแอดดิสัน, โรคที่เกิดจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์ถูกทำลายจนไม่สามารถ สร้างฮอร์โมนได้ อาการสำคัญของโรคคือ ซูบ ผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ ได้ กระเพาะและลำไส้ไม่ทำงานและถึงตายในที่สุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
population | ประชากร, กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในที่เดียวกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
about | (prep) ทั่วๆ, See also: ในที่ต่างๆ |
about | (adv) ทั่วๆ, See also: ในที่ต่างๆ |
anorak | (n) เสื้อแจ๊คเกตตัวหนาและใหญ่ มีหมวก (ใช้สวมในที่มีอากาศหนาวเย็นมาก) |
away | (adv) ในที่อื่น |
after all is said and done | (idm) ในที่สุด, See also: สุดท้าย |
air one's dirty linen in public | (idm) พูดถึงเรื่องส่วนตัวในที่สาธารณะ, See also: เผยเรื่องส่วนตัวต่อสาธารณะ |
at last | (idm) ในที่สุด, See also: สุดท้าย, ท้ายที่สุด, Syn. finally |
at length | (idm) ในที่สุด, See also: สุดท้าย, ท้ายสุดนี้ |
at some length | (idm) ในที่สุด, See also: สุดท้าย, ท้ายที่สุด |
backstreet | (adj) (การทำผิดกฎหมาย) ที่เกิดขึ้นในที่ลับ, Syn. squalid |
banana skin | (n) สถานการณ์ที่ทำให้เหมือนคนโง่หรือตัวตลก (คำไม่เป็นทางการ), See also: สิ่งที่ทำให้อับอายในที่สาธารณะ |
belle | (n) คนสวยที่สุดในที่นั้น |
busk | (vt) แสดงละครหรือดนตรีในที่สาธารณะ |
be away | (phrv) เก็บในที่เก็บ, See also: ไว้ที่, เก็บที่ |
be inside | (idm) จำคุก, See also: ติดคุก, ติดตาราง, ถูกจำคุก, อยู่ในที่คุมขัง |
be upon | (phrv) เข้าที่, See also: อยู่ในที่, อยู่ในตำแหน่ง, Syn. keep on, remain on, stay on |
Calor gas | (n) แก๊สชนิดหนึ่งที่เก็บในสภาพที่เป็นของเหลวบรรจุในภาชนะเหล็กสำหรับใช้ในที่ที่ไม่มีเชื้อเพลิง |
camiknickers | (n) ชุดชั้นในที่ประกอบด้วยชุดท่อนบนและกางเกงใน (มักทำด้วยผ้าไหม) |
cenotaph | (n) อนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงผู้ตายซึ่งเสียชีวิตในที่อื่น |
cold storage | (n) การแช่เย็น, See also: การเก็บไว้ในที่เย็น |
containment | (n) การเก็บไว้ในที่จำกัด, See also: การควบคุมไว้ |
denunciate | (vt) ประณามในที่สาธารณะ (คำทางการ), See also: กล่าวหา, Syn. accuse, Ant. praise |
denunciation | (n) การประณามในที่สาธารณะ, See also: การกล่าวหา, Syn. accusation, allegation |
deposit | (vt) เก็บไว้ในที่ปลอดภัย |
doss | (vi) นอนในที่พักราคาถูก (คำสแลง), See also: ไม่ได้นอนบนเตียงหรือที่นอน |
dyke | (n) ทำนบกั้นน้ำไม่ให้ไหลลงมาในที่ราบต่ำ |
elocution | (n) ศิลปของการพูดในที่ชุมชน |
encage | (vt) ขังกรง, See also: ขังไว้ในที่ที่คล้ายกรง, Syn. cage, confine, imprison |
end up | (vi) ลงท้าย, See also: ในที่สุด, ลงเอย, สรุป |
enshrinement | (n) การวางไว้บนแท่นบูชา, See also: การตั้งไว้ในที่บูชา |
eventual | (adj) ที่เกิดขึ้นในขั้นสุดท้าย, See also: ซึ่งเกิดขึ้นในตอนท้าย, ซึ่งเกิดขึ้นในที่สุด, Syn. final, ultimate |
eventually | (adv) ในที่สุด, Syn. ultimately, finally |
every nook and cranny | (idm) ทุกซอกทุกมุมในที่นั้น |
finally | (adv) ในที่สุด, See also: จนแล้วจนรอด, ในท้ายที่สุด, ท้ายที่สุด, Syn. at last, eventually, ultimately, Ant. first, initially |
flasher | (n) คนที่ชอบอวดอวัยวะเพศในที่สาธารณะ (แสลง), See also: พวกอนาจาร |
get on | (phrv) ลุกขึ้นพูดในที่สาธารณะ, Syn. be on, get to |
get up | (phrv) ลุกขึ้นพูดในที่สาธารณะ |
go out | (phrv) ถูกพบเห็นว่าอยู่ด้วยกันในที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ, Syn. come over |
go out with | (phrv) คบหากับ, See also: เห็นว่าอยู่กับบางคนในที่สาธารณะ, Syn. go out |
in the long run | (idm) ในที่สุด, See also: ในระยะยาว |
graffiti | (n) การวาดภาพหรือเขียนบนกำแพงในที่สาธารณะ |
haggis | (n) อาหารเครื่องในที่ประกอบด้วยหัวใจ ตับและอื่นๆ ของแกะหรือลูกวัว |
hall | (n) บ้านหลังใหญ่ที่ตั้งอยู่ในที่ดินที่กว้างขวางมาก |
here | (adv) ที่นี่, See also: ตรงนี้, ในที่นี้, ณ ที่นี้, ที่ตรงนี้ |
in place | (idm) เข้าที่, See also: อยู่ในที่ |
in the middle of nowhere | (idm) ในที่ห่างไกล, See also: อยู่ไกล |
into the middle of nowhere | (idm) ในที่ห่างไกล, See also: อยู่ไกล |
on deposit | (idm) ซึ่งเก็บไว้ในที่ปลอดภัย, See also: เก็บในตู้เซฟ / ธนาคาร |
on view | (idm) แสดงในที่สาธารณะ |
out of place | (idm) ไม่อยู่ในที่ (ที่ควรอยู่), See also: ไม่เข้าที่ |
about | (อะเบาทฺ') adj. รอบ ๆ , อ้อม, เวียนรอบ, ราว, ประมาณ, ติดตัว, ข้าง ๆ ตัว, ในที่ต่าง ๆ , เกี่ยวกับ, แพร่หลาย, ทั่ว, ใกล้, ในราว, หันกลับ, หมุนกลับ, หมุนเวียน, เคลื่อนไหว, Syn. regarding, concerning, around |
ad extremum | (อาด' เอคเทร ' มูม) Latin สุด, ที่สุด, ในที่สุด (to the extreme, finally) |
aerial | (แอ' เรียล) adj. เกี่ยวกับอากาศ, อยู่ในอา-กาศ, อยู่สูงในอากาศ, ไม่มีรูปร่าง, เพ้อฝัน, สวยงาม, เจริญได้ดีในที่ที่มีอากาศ, เกี่ยวกับเครื่องบิน. -n. สายอากาศ., Syn. antenna, dreaming |
agoraphobia | (แอกโกราโฟ' เบีย) n. โรคกลัวอยู่ในที่โล่งหรือที่ชุมชน (fear of being in open space) |
airing | (แอ' ริง) n. การตาก, การสนทนาโต้แย้ง (ข้อ คิดเห็น, ข้อเสนอ) , การเดินหรือขับรถในที่โล่งแจ้ง |
alibi | (แอล' ละไบ) n., (pl. -bis) ความแก้ตัวของจำเลยที่ว่าเขาไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ, คำแก้ตัว. |
all | (ออล) n., adj., adv. ทั้งหมด, จำนวนทั้งหมด, ทั้งมวล, ทั่วทุก, ตลอด, เท่าที่มีทั้งหมด, ล้วน, แท้, สูงสุด, ที่สุด. -above all ก่อนอื่น. -after all อย่างไรก็ตาม, ในที่สุด. -once and for all ในที่สุด. -all but เกือบจะ, จวนเจียน |
booby | (บู'บี) n. คนโง่, คนเซ่อ, คนที่เล่นเลวที่สุดในทีม, คนที่ได้คะแนนน้อยที่สุด, Syn. dunce |
bug | (บัก) { bugged, bugging, bugs } n. แมลง, เชื้อจุลินทรีย์, ความบกพร่อง, แฟน, คนคลั่ง, เครื่องดักฟัง, ความคลั่ง, เหยื่อตกปลาที่คล้ายแมลง vt. รบกวน, ติดตั้งเครื่องดักฟังในที่ลับ, Syn. fault, defect จุดบกพร่องหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมอันเนื่องมาจากคำสั่งในโปรแกรมนั้นเอง ซึ่งทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาด หรือไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นอกจากปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมแล้ว อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่องก็ได้ คำนี้มาจากคำ bug ที่แปลว่า ตัวด้วง ตัวแมลง ที่ชอบทำให้คอมพิวเตอร์สมัยก่อนเสีย เกิดการลัดวงจรขึ้น การแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม จึงใช้คำว่า "debug" |
class a/class b | ชั้นเอ/ชั้นบีเป็นการกำหนดคุณภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะกรรมการคมนาคมของรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Communications Commission) ที่ใช้กำหนดระดับของพลังงานไฟฟ้าแรงสูงที่จะใช้ในคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็น Class A แปลว่า อนุญาตให้ใช้ในที่ทำงานได้ ถ้าเป็น Class B หมายความว่า ใช้ในที่ทำงานก็ได้ ที่บ้านก็ได้ (ถ้าหากนำคอมพิวเตอร์ Class A มาใช้ที่บ้านอาจไปรบกวนการรับวิทยุหรือภาพทางโทรทัศน์ของบ้านอื่น) |
cohabit | vi. อยู่กินด้วยกันอย่างสามีภรรยา, อยู่ร่วมกัน, อยู่ในที่เดียวกัน., See also: cohabitant n. ดูcohabit cohabitation n. ดูcohabit |
commonable | (คอม'มะนะเบิล) adj. ซึ่งใช้ร่วมกันเพื่อสาธารณประโยชน์, สาธารณะ, เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ร่วม, พอจะปล่อยเลี้ยงในที่สาธารณะได้ |
computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส |
connive | (คะไนฟว') { connived, conniving, connives } vi. ยินยอมลับ ๆ , ยินยอมในที่, อนุญาตลับ ๆ , ร่วมมืออย่างลับ ๆ , หลิ่วตา., See also: conniver n. ดูconnive connivingly adv. ดูconnive, Syn. conspire |
curtesy | (เคอร์'ทะซี) n. กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกของภรรยาที่ตาย, Syn. life tenure |
dark horse | ม้ามืด, ม้าที่ไม่คาดคิดว่าจะชนะการแข่ง, คนที่ไม่คาดคิดกันว่าจะชนะ แต่ก็ชนะในที่สุด |
darkle | (ดาร์ค'เคิล) vi. มืด, กลายเป็นมืด, หลบเข้าซ่อนในที่มืด |
darkling | (ดาร์คฺ'ลิง) adv. ในที่มืด. adj. กำลังมืด, คลุมเครือ |
darkly | (ดาร์คฺ'ลี) adv. คลุมเครือ, ซึ่งปรากฎในที่มืด, ลึกลับ, ซ่อนเร้น, ไม่สมบูรณ์ |
drag and drop | ลากแล้วปล่อยลากไปวางหมายถึง การใช้เมาส์ลากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ภาพหรือข้อความทั้งบล็อก) บนจอภาพ ไปวางไว้ยังตำแหน่งใหม่ โดยต้องกำหนด (select) ให้คอมพิวเตอร์รู้ก่อน แล้วจึงใช้เมาส์ลากไป การลากด้วยเมาส์นั้น จะต้องกดนิ้วชี้บนปุ่มซ้ายของเมาส์แช่ไว้ ในขณะที่ลากเมาส์เพื่อนำไปวางในที่ ๆ ต้องการ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะยกนิ้วออกจากเมาส์ได้ ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) อาจลากไปได้ทั้งแถวหรือทั้งคอลัมน์ |
elocution | (เอลละคิว'เชิน) n. วิธีการพูดหรืออ่านออกเสียง, การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการพูดในที่ชุมนุม, See also: elocutionary adj. ดูelocution elocutionist n. ดูelocution |
embouchure | (อามบูชัว') n., Fr. ปากแม่น้ำ, ทางออกของหุบเขาที่เข้าไปในที่ราบ, |
eventual | (อีเวน'ชวล) adj. เกี่ยวกับผลสุดท้าย, ในที่สุด |
final | (ไฟ'เนิล) adj. สุดท้าย, ในที่สุด, เด็ดขาด, เป็นการสรุป. n. สิ่งสุดท้าย, ตอนจบ |
finally | (ไฟ'เนิลลี) adv. ในที่สุด, ในบั้นปลาย, โดยสรุป, โดยเด็ดขาด, Syn. ultimately |
grandstand | n. ที่นั่งชมด้านหน้าที่เป็นเอกเทศของแต่ละคน, ผู้ชมที่นั่งอยู่ในที่ดังกล่าว vi. แสดงด้วยใจจดใจจ่อ. |
hostel | (ฮอส'เทิล) n. ที่พัก, โรงแรม, หอพักนักเรียน. v. เดินทางและพักในที่พักรับรองดังกล่าว |
house arrest | การกักกันผู้ต้องหาไว้ในที่อยู่ของเขา |
in | (อิน) prep. ใน, ภายใน, ข้างใน, ในระหว่าง, ในสภาพ, ในภาวะ, ในข้อที่ว่า., See also: in that เนื่องจาก, เพราะว่า. in so far as ตราบใดที่ -adv. ใน, ภายใน, อยู่ข้างใน, ในบ้าน, ในที่ทำงาน, ในตำแหน่ง, ในฤดูเก็บเกี่ยว, ในการบริหารงาน, สอดคล้องกับ -adj. |
in loco | (อินโล'โค) L. ในที่ที่เหมาะสม |
itinerancy | (ไอทิน'เนอเรินซี) n. การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, การธุดงค์, กลุ่มผู้เดินทางไปในที่ต่าง ๆ , การหมุนเวียนไปประจำที่ต่าง ๆ, Syn. itineracy |
itinerant | (ไอทิน'เนเรินทฺ) adj., n. (ผู้ที่) หมุนเวียนประจำในที่ต่าง ๆ , ซึ่งเดินทางและทำงานไปในที่ต่าง ๆ, Syn. nomadic, wandering, traveling, Ant. settled, fixed |
itinerate | (ไอทิน'นะเรท) vt. เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, เร่ร่อน, ท่องเที่ยว, เดินทางและทำงานในที่ต่าง ๆ, See also: itineration n. |
jus soli | ถือสัญชาติของประเทศในที่เขาเกิด |
landholder | (แลนดฺ'โฮลเดอะ) n. ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน, ผู้ครอบครองที่ดิน., See also: landholding n. ดูlandholder |
last | (ลาสทฺ) { lasted, lasting, lasts } adj., adv. สุดท้าย, ล่าสุด, สายสุด, โดยสรุป, ในที่สุด, ที่คงเหลืออยู่สิ่งเดียว, ก่อนสิ้นชีพ, ที่สุด, อย่างยิ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว, ล่าสุด, ใหม่เอี่ยม, แต่ละ n. คนสุดท้าย, ตอนจบ, ข้อสรุป v. ต่อไป, ต่อเนื่อง, ยืนหยัด, ทนทาน. คำศัพท์ย่อย: |
lastly | (ลาสทฺ'ลี) adv. ในที่สุด, โดยสรุป, สุดท้ายนี้ |
localise | (โล'คะไลซ) vt. ทำให้จำเพาะอยู่เฉพาะส่วนเฉพาะที่, จำกัด, จำกัดวง. vi. รวมอยู่ในที่หรือท้องที่หนึ่ง, จำกัดวง., See also: localizable adj. ดูlocalize localization n. ดูlocalize localizer n. ดูlocalize, Syn. limit, locate, c |
localize | (โล'คะไลซ) vt. ทำให้จำเพาะอยู่เฉพาะส่วนเฉพาะที่, จำกัด, จำกัดวง. vi. รวมอยู่ในที่หรือท้องที่หนึ่ง, จำกัดวง., See also: localizable adj. ดูlocalize localization n. ดูlocalize localizer n. ดูlocalize, Syn. limit, locate, c |
nomadic | (โนแมด'ดิค) adj. ร่อนเร่ไปในที่ต่าง ๆ , ท่องเที่ยว |
once | (วันซฺ) adv. ครั้งหนึ่ง, ครั้งเดียว, แต่ก่อน adj. เมื่อก่อน, กาลก่อน conj. พอ....ก็, เมื่อไร...ก็, ถ้า....ก็ n. ครั้งหนึ่ง, โอกาสเดียว, ครั้งเดียว, -all at once ทันที, พร้อมกัน -Phr. (at once ทันทีพร้อมกัน) -Phr. (once and for all (once for all) ในที่สุด, เด็ดขาด, ท |
order | (ออร์'เดอะ) n. คำสั่ง, ใบสั่ง, ตั๋วแลกเงิน, ธนาณัติ, หนังสือมอบอำนาจ, ระดับ, ลำดับ, ขั้น, นิกาย, คณะสงฆ์, อนุกรม, ชนิด, แบบแผน, ระเบียบ, สมณศักดิ์, เครื่องอิสริยาภรณ์, การลงมติในที่ประชุมนิติบัญญัติ. -Phr. (in order เหมาะสม, เป็นระเบียบ) -Phr. (in order that เพื่อว่า) vt.ออกคำสั่ง, สั่งซื้อ, ทำให้เป็นระเบียบ, บรรพชา, แต่งตั้งให้เป็นพระ |
overwrite | บันทึกทับหมายถึง การบันทึกแฟ้มข้อมูลลงเก็บในหน่วยบันทึก โดยใช้ชื่อซ้ำกับชื่อแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิม หรือบันทึกข้อมูลทับลงไปในที่อยู่ (address) เดิม การทำดังกล่าวจะมีผลให้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดิมหายไป (มีความหมายเหมือน replace) ส่วนมาก คอมพิวเตอร์มักจะมีคำเตือนย้ำให้ก่อนเสมอ โดยเฉพาะเมื่อใช้คำสั่ง "save as" เพื่อสั่งเก็บข้อมูลลงในหน่วยบันทึก |
perch | (เพิร์ชฺ) n. สิ่งสำหรับให้นกหรือสัตว์เกาะ, ที่เกาะ, ที่นั่งในที่สูง, ที่พักผ่อน, ตำแหน่งหรือฐานะสูง, ไม้, ราว, เสา, ปลาน้ำจืดจำพวก Perca vi., vt. เกาะ, พักอยู่ในที่สูง, See also: percher n., Syn. vantage, roost |
poach | (โพช) vi., vt. ลุกล้ำ, ล้ำ, ขโมยจับสัตว์ในที่ดินของคนอื่น, ล่าสัตว์หรือจับปลาอย่างผิดกฎหมาย, ถูกย่ำเป็นเลนหรือเป็นหลุม, ชิงตีลูก, แย่ง, แหย่, Syn. trespass |
postmaster | (โพสทฺ'มาสเทอะ) n. เจ้าหน้าที่ในที่ทำการไปรษณีย์, นายไปรษณีย์, (สมัยก่อน) เจ้าของโรงม้าสำหรับผู้เดินทาง, See also: postmastership n. |
public | (พับ'ลิค) n. สาธารณชน, สาธารณ adj. เกี่ยวกับสาธารณชน, โดยส่วนรวม, มีชื่อเสียง, เลื่องลือ, ระดับชาติ -Phr. (go public ขายหุ้นแก่สาธารณะ) -Phr. (in public โดยเปิดเผย, ไม่ใช่ส่วนตัว, ในที่สาธารณะ) |
public-speaking | n. การแสดงปาฐกถา, การกล่าวคำปราศรัย, การพูดในที่ชุมนุมชน |
publicly | (พับ'ลิคลี) adv. ในที่สาธารณะ, โดยเปิดเผยแก่คนทั่วไป, ในนามของชุมชน, ต่อธารกำนัล, ต่อสาธารณชน, โดยรัฐบาล, โดยกลุ่มชน, Syn. generally, popularly |
pulp | (พัลพฺ) n., v. (ทำให้เป็น, กลายเป็น) ส่วนที่เป็นเนื้อผลไม้, เนื้อเยื่อในที่นิ่มและมีของเหลวมา, ส่วนนิ่มของอวัยวะ, หนังสือถูก ๆ |