กรนนเช้า | (กฺรัน-) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย (ม. คำหลวง มัทรี). |
ขื่อหมู่ | น. ขื่อไม่น้อยกว่า ๒ ตัว เจาะฝังเข้าไปในเสาร่วมในซึ่งเป็นมุมแล้วทอดไปหาเสาหรือผนังของระเบียงคล้ายเต้าที่รับเชิงกลอน. |
เข้าเจ้าเข้านาย | ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลักผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม. |
เข้าเฝ้า | ก. ไปหาเจ้านาย. |
แจ้น | ก. รีบไปหา (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น แจ้นไปหา แจ้นไปฟ้องครู แจ้นมาแต่เช้า. |
ซมซาน | ก. ไปหาที่พึ่งหรือที่พักพิง เพราะความบอบช้ำ หมดแรงหรือหมดหนทาง เช่น ในที่สุดเขาก็ซมซานกลับบ้านเกิด, ซาน หรือ ซานซม ก็ว่า. |
ซาน | ก. ไปหาที่พึ่งหรือที่พักพิง เพราะความบอบช้ำ หมดแรงหรือหมดหนทาง, ซมซาน หรือ ซานซม ก็ว่า. |
ซานซม | ก. ไปหาที่พึ่งหรือที่พักพิง เพราะความบอบช้ำ หมดแรงหรือหมดหนทาง เช่น ในที่สุดเขาก็ซานซมกลับบ้านเกิด, ซาน หรือ ซมซาน ก็ว่า. |
ด๊ก ๆ | ว. อาการที่รีบไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ด้วยความเต็มใจหรือสมัครใจ เช่น พอเจ้านายอยากได้ต้นไม้มาประดับห้อง เขาก็ด๊ก ๆ ไปหามาให้ พอเช้าขึ้นมาเขาก็ด๊ก ๆ พาลูกไปส่งโรงเรียน. |
ด้น | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น หนทางไกลเท่าใดก็จะด้นไปหา, ด้นดั้น หรือ ดั้นด้น ก็ว่า |
ดั้นด้น | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น จะไกลแค่ไหน ฉันก็จะดั้นด้นไปหาเธอ, ด้น หรือ ด้นดั้น ก็ว่า. |
ด้านหน้า | ก. ข่มความอายเข้าไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือเป็นต้น. |
ดิ่ง | วัตถุมงคล สำหรับห้อยสายลูกประคำ มีลักษณะกลมเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยมซ้อนเรียงกัน ๓ ลูก จากลูกใหญ่ลงไปหาลูกเล็ก พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทานแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบ. |
แดกดัน | ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดให้เจ็บใจ เช่น ในบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง นางรจนาพูดแดกดันพี่สาวทั้ง ๖ ว่า ผัวพี่ไปหาปลากับบ่าวไพร่ น้อยฤๅช่างได้มาอักโข ผัวข้าหาปลาประสาโซ แต่จมูกไม่โหว่เหมือนผู้ดี, แดก ก็ว่า. |
ตกปลอก | ก. สวมปลอกที่ข้อตีนคู่หน้าของช้าง เพื่อล่ามไว้ไม่ให้ไปหากินไกลหลังจากที่ใช้งานแล้ว. |
ตัวเป็นเกลียว | แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น เมื่อนั้น โฉมนางตะเภาทองผ่องใส ทั้งนางตะเภาแก้วแววไว ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็นเกลียว จึงว่าดูเอาหรือเจ้าไกร ว่าจะไปหาครูสักประเดี๋ยว มิรู้ช่างโป้ปดลดเลี้ยว ไปเที่ยวเกี้ยวชู้แล้วพามา (ไกรทอง). |
ตัวหารร่วมมาก | น. จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนำไปหารจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม. |
เตียว ๑ | เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปลิงขาวจับลิงดำมัด เพื่อพาไปหาฤๅษี. |
ถอยหลังเข้าคลอง | ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. |
นิรนัย | (-ระไน) น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย เช่น มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย นาย ก. เป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นนาย ก. ก็ต้องตาย, ตรงข้ามกับ อุปนัย. |
แนะ | ก. ชี้แนวทางหรือวิธีการให้รู้โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น แนะให้ไปหาหมอ แนะให้รู้เป็นนัย ๆ. |
บัญญัติไตรยางศ์ | น. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง ๓ จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น. |
ปริสัญญู | (ปะ-) น. ผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น. |
ปิหลั่น | (-หฺลั่น) น. ค่ายที่ทำให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ, วิหลั่น ก็ว่า. |
ไป | ก. เคลื่อนจากตัวผู้พูด เช่น เขาไปตลาด เขาเข็นเรือไม่ไปเพราะเรือเกยตื้น, ใช้ตรงข้ามกับ มา, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางออกจากตัวผู้พูด เช่น เขาเดินไปโรงเรียน, ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางออกจากตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น ผมขอให้คุณเดินทางไปหาผมวันอาทิตย์นี้, หรือเป็นคำประกอบกริยามีความหมายว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทำไปกินไป, เป็นคำประกอบท้ายคำวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป. |
ผละ | (ผฺละ) ก. แยกออก, ละไว้, เช่น ลูกพอโตก็ผละออกจากพ่อแม่, ทิ้งไป เช่น ผละไปหาคนรักใหม่. |
เฝ้า | ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราช และหม่อมเจ้า. |
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท | ก. ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ. |
เฝ้าทูลละอองพระบาท | ก. ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
พักผ่อนหย่อนใจ | ก. พักผ่อนไปหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน. |
พาล ๒, พาลา | น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาลพาลพาไปหาผิด. |
มอญซ่อนผ้า | น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมักฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่ายังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิม ผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้าให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อน ก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่งแทนที่ ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป. |
ย้อนหลัง | ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง. |
เยี่ยม ๑ | ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน |
แยกย้าย | ก. แยกกันไปคนละทาง เช่น พองานเลิกต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน, แยกและย้ายไปอยู่คนละแห่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ตายลูก ๆ ก็แยกย้ายไปหาที่อยู่ใหม่. |
ไล่นิ้ว | ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีประเภทเครื่องสีเครื่องดีดจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียงสูงไปหาต่ำเพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง. |
ไล่สี | ก. เกลี่ยสีให้เสมอกันในการระบายสี ระบายสีให้เป็นไปตามลำดับของสีจากสีอ่อนไปหาแก่หรือจากสีแก่ไปหาอ่อน. |
ไล่เสียง | ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียงสูงไปหาต่ำ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนบรรเลง หรือเพื่อหาเสียงที่ถูกต้อง. |
วัวพันหลัก | ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี. |
วิญญาณ | น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ |
วิหลั่น | น. ค่ายที่ทำให้ขยับลุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ. |
สร้อย ๒ | (ส้อย) น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cyprinidae มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงในลำน้ำใหญ่ในฤดูนํ้า และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินหรือสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลเอ่อนองหรือท่วมขังในตอนกลางและปลายฤดูน้ำหลาก ส่วนใหญ่ลำตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดำบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว, กระสร้อย ก็เรียก. |
สู่ | ไปเยี่ยม, ไปหา, เช่น ไปมาหาสู่กัน |
เสียเที่ยว | ก. เดินทางไปหรือมาแล้วไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ เช่น เดินทางไปหาเพื่อนแล้วไม่พบ เสียเที่ยวเปล่า. |
หน้าเริด | ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มาแต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา, หน้าตั้ง ก็ว่า. |
หมาถูกน้ำร้อน | น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่านไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่านไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย. |
หลงลม, หลงลมปาก | ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคนชวนไปหาลาภทางไกล. |
หันหน้า | หันไปหา เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร หันหน้าเข้าวัด. |
หา ๑ | ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา |
หา ๑ | เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย |
call | (vt) โทรศัพท์ไปหา, Syn. telephone, call up, ring, phone |
call | (vi) โทรศัพท์ไปหา |
chuck down | (phrv) ขว้างลงไปที่ (คำไม่เป็นทางการ), See also: โยนลงไปหา, Syn. fling down, hurl down, throw down, toss down |
get back to | (phrv) โทรศัพท์กลับไปหา |
go for | (phrv) ไปหาเพื่อนำมาให้, Syn. come for, send for |
go over to | (phrv) เข้าไปหา, Syn. go across to |
go over | (phrv) เยี่ยม, See also: เเวะไปหา, แวะเยี่ยม, Syn. bring over |
gravitate to | (phrv) ถูกดึงดูดเข้าหา, See also: เคลื่อนเข้าไปหาด้วยแรงดูงดูด, Syn. gravitate towards |
gravitate towards | (phrv) ถูกดึงดูดเข้าหา, See also: เคลื่อนเข้าไปหาด้วยแรงดูงดูด, Syn. gravitate to |
have back | (phrv) ยอมกลับมาคืนดีกับ, See also: หวนกลับไปหา สามีหรือภรรยา, Syn. send back, take back |
reflexive | (adj) ซึ่งเป็นสรรพนามที่ย้อนกลับไปหาประธาน (ทางไวยากรณ์) |
run to | (phrv) วิ่งไปยัง, See also: วิ่งไปหา |
having it large | (sl) ไปหาความสนุกสนาน, See also: ออกไปมีช่วงเวลาที่สนุกสนาน |
larging it | (sl) ไปหาความสนุกสนาน, See also: ออกไปมีช่วงเวลาที่สนุกสนาน |
see | (vt) ไปหา, See also: เยี่ยม, เข้าไปพบ, ไปมาหาสู่, ไปสนทนา, ติดต่อ, ปรึกษา, ติดตาม, พูดคุย, สัมภาษณ์, Syn. attend, escort, speak to, have a conference with, consult, discuss, visit |
seeker | (n) ผู้แสวงหา, See also: ผู้เสาะหา, ผู้ไปหา, ผู้สำรวจ, Syn. inquirer, searcher, explorer |
send to | (phrv) ส่งไปยัง, See also: ส่งไปหา, ส่งให้ |
stoop to | (phrv) ก้มไปหา, See also: โค้งตัวหา |
ascending order | เรียงลำดับขึ้นหมายถึง การเรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง เช่น จาก 0 ถึง 100 หรือจาก A ถึง Z ตรงข้ามกับ descending order หรือเรียงลำดับลงดู descending order เปรียบเทียบ |
assort | (อะซอร์ทฺ') vt., vi. เลือกสรร, แบ่งประเภท, ไปหาสู่กัน. -assortive adj. |
countdown | (เคาทฺ'เดาน์) n. การนับถอยหลัง, การนับถอยหลังไปหาศูนย์, การเตรียมการขั้นสุดท้าย |
hypertext | ข้อความหลายมิติหมายถึง การเรียกหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้ ให้แสดงบนจอภาพ ซึ่งอาจมีทั้งข้อความที่ใช้อธิบาย หรือบางทีจะมีภาพประกอบ มีเสียง หรือมีการแสดงการเคลื่อนไหว ฯ ใช้มากในโฮมเพจต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต ส่วนมาก คำที่จะมีคำอธิบายเช่นนี้ มักจะเป็นคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ หรือไม่ก็เป็นตัวดำหนา เมื่อลากเมาส์ไปวางที่คำเหล่านี้ ตัวชี้ตำแหน่งจะเปลี่ยนเป็นนิ้วชี้ ถ้ากดเมาส์ ก็จะมีรายละเอียดมาอธิบายให้ หรือจะโยงไปหารายละเอียดของเรื่องนั้น ๆ |
non system disk | จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลระบบหมายถึง จานบันทึกที่ไม่สามารถนำมาใช้ ในการเริ่มเครื่องใหม่ (boot) ได้ ทั้งนี้ เพราะเมื่อจัดระบบการเก็บข้อมูล (format) ไม่ได้สั่งให้คัดลอกแฟ้มข้อมูลระบบมาด้วย แฟ้มข้อมูลระบบมี 3 แฟ้ม คือ Ibmbio.Com (Io.Sys) , Ibmdos.Com (Msdos.Sys) และ Command.Com สองแฟ้มแรกจะซ่อนอยู่ (hidden file) มองไม่เห็นบนจอภาพ จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลระบบทั้งสามนี้ เมื่อนำมาเริ่มเครื่องใหม่ จะมีข้อความระบุความผิดพลาดบนจอภาพ ว่า เป็น non-system disk และจะมีคำสั่งว่าให้กดแป้นใด ๆ ก็ได้เพื่อคอมพิวเตอร์จะได้ไปหาแฟ้มระบบนี้ในหน่วยบันทึกอื่นต่อไป |
relational database | ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์หมายถึง ฐานข้อมูลแบบหนึ่ง ที่ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลที่แยกต่างหากออกจากกันเป็นหลาย ๆ แฟ้ม แต่ละแฟ้มเหล่านั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอยู่ การเรียกหาข้อมูลในแฟ้มหนึ่งจะโยงไปหาแฟ้มอื่นได้ เช่น เราอาจมีแฟ้มข้อมูลที่เก็บสินค้า และอีกแฟ้มข้อมูลหนึ่งเก็บรายชื่อลูกค้า เราอาจสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ แล้วเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการจากแต่ละแฟ้มให้มาสัมพันธ์กัน เพื่อจะรู้ได้ว่า ลูกค้าคนใดสั่งสินค้าใดไปจำนวนเท่าใด ทั้งสิ้นขึ้นกับการออกแบบระบบให้แฟ้มเหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วย |
town | (ทาวน์) n. เมือง, นคร, เขตชุมชน, ชาวเมือง, ประชาชนทั้งเมือง, เขตศูนย์การค้าของเมือง, -Phr. (go to town ทำ (วางแผน) ดีและเร็ว, ไปหาความสำราญ) , -Phr. (go up town ไปในเมือง, ) -Phr. (on the town หาความสำราญในเมือง), See also: townish adj. |