ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*จัดการประชุม*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: จัดการประชุม, -จัดการประชุม-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategyยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต]
ASEAN Finance Ministers Meetingการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน จัดขึ้นปีละครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้มีการจัดการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับญี่ปุ่น (AFMM + Japan) เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและความช่วยเหลือที่ ญี่ปุ่นให้แก่อาเซียน อาทิ แผนมิยาซาวา ควบคู่กันไปด้วย [การทูต]
ASEAN Ministerial Meetingการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน " เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็น เจ้าภาพ ส่วนใหญ่จะจัดการประชุมในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี " [การทูต]
ASEAN Regional Forumการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต]
Bangkok Processเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต]
D-8กลุ่มความร่วมมือของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นมุสลิมและเป็นสมาชิก OIC " ซึ่งมีประชากรมากที่สุด ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย อียิปต์ อิหร่าน ตุรกี และไนจีเรีย จัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2540 ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี " [การทูต]
Inter-Governmental Maritime Consultative Organizationองค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต]
Joint Commissionคณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน " [การทูต]
United Nations Conference on Trade and Developmentการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) " เป็นองค์กรของสหประชาชาติที่รับผิดชอบเรื่องการค้า การเงิน การ ลงทุน เทคโนโลยี และการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีหน้าที่เป็นเวทีประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล ศึกษาวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจโลกและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศ กำลังพัฒนา ปัจจุบันมีรัฐสมาชิก 190 ประเทศ ประชุมระดับรัฐมนตรีปีละ 4 ครั้ง ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัดครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 10) เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต]
Vienna Convention on Consular Relationsอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต]
Vienna Convention on Diplomatic Relationsอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศสมาชิก เพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการติดต่อและการคุ้มกันทางการทูต และได้เริ่มต้นประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึงวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1961 มีรัฐบาลของประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย 81 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อนุสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1964 [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
And they organized a big White House conference to say, "Oh, we're on top of this."พวกเขาจัดการประชุมใหญ่ทำเนียบขาว แล้วสรุปว่า"เราน่ะสุดยอดเรื่องโลกร้อนนี่เลย" An Inconvenient Truth (2006)
That's why we're having this meeting.เราถึงได้จัดการประชุมไง Faith Like Potatoes (2006)
Prime Minister, set up a meeting with Jol-Bon.ท่านเสนาบดี จัดการประชุมกับโจลบน Episode #1.41 (2006)
Set up a meeting of managers.จัดการประชุมของกลุ่มหัวหน้า Episode #1.43 (2006)
Setup a meeting with judge Birch.เตรียมจัดการประชุมร่วมกับผู้พิพากษาบริซ Law Abiding Citizen (2009)
Hey, listen in the calendar section all week long there's a fiction writer's seminar at UNM.เป็นวันหยุดยาว มีการจัดการประชุมสัมมนานักเขียนนิยาย ที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก และ คุณรู้นะ พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการเผยแผ่ Down (2009)
I'm hoping that i can count On your support tonight.-แบลร์เป็นแพะรับบาบที่น่าสงสารมาก -ผมคิดว่าจัดการประชุม Carrnal Knowledge (2009)
You didn't set this up?นายไม่ใช่คนจัดการประชุมนี่เหรอ Batman: Under the Red Hood (2010)
So you set up this meet?สรุป.. ใครจัดการประชุมนี้? Batman: Under the Red Hood (2010)
It's my meeting.ฉันจัดการประชุมเอง Batman: Under the Red Hood (2010)
They're setting up a community meeting.พวกเขาจัดการประชุมคนในชุมชน What Happens at Home... (2010)
I wish you didn't have to hear it this way, but that's why Thomas called this meeting.ฉันหวังว่า เธอคงไม่อยากได้ยินแบบนี้ เพราะเรื่องนั้น โธมัสถึงได้จัดการประชุมขึ้น Face Off (2011)
The conclave has met, considered reports from Maesters all over the Seven Kingdoms, and declared this great summer done at last.สถาบันได้จัดการประชุมลับ เพื่อสรุปผลรายงาน จากเมสเตอร์ทั่วทั้ง เจ็ดราชอาณาจักร และประกาศว่า ฤดูร้อนอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ The North Remembers (2012)
Once I have the facts, I'll set a meeting with the judge. All right.เมื่อผมได้รู้ความจริง ผมจะจัดการประชุมกับผู้พิพากษา Justice (2012)
If I can arrange it, would you be okay if we held that meeting right here?คุณจะตกลงไหมถ้าเราจะจัดการประชุมที่นี่? Blood Feud (2012)
Set a meeting.จัดการประชุม C.O.D. (2012)
My father saw him holding closed-door meetings with everyone who eventually betrayed him.พ่อฉันเห็นเขาจัดการประชุมลับ กับบรรดาคนที่ทรยศท่านในที่สุด Sin (2013)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
จัดการประชุม[jatkān prachum] (v, exp) EN: organize a conference

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top