ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: วงการ, -วงการ- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ ทิฟฟานี่ | [ทิฟฟานี่] (name) นักร้องจากประเทศเกาหลี ชื่อที่ใช้ในวงการ: ทิฟฟานี่ (เกาหลี: 티파니, Tiffany) ชื่ออังกฤษ: สเตฟานี่ ฮวัง (เกาหลี: 스테파니 황, Stephanie Hwang) ชื่อจริง: ฮวัง มิยอง (เกาหลี: 황미영, Hwang Miyoung) วันเกิด: 1 สิงหาคม ค.ศ. 1989 ส่วนสูง: 163 ซม. น้ำหนัก: 50 กก. กรุ๊ปเลือด: O ตำแหน่ง: นักร้องเสียงหลัก ระยะเวลาในการฝึก: 3 ปี 7 เดือน ฉายา: Spongebob Hwang, Fany Fany Tiffany, Human Jukebox, Mushroom, Tiffiana, JumFany, AjumNy, Ddilfany, Bam Fany เธอเกิดที่สหรัฐอเมริกา จุดเด่นอยู่ที่ตายิ้มแล้วรอยยิ้มที่แสนน่ารักของเธอเป็นสมาชิกวงGirls' Generation(SNSD)จากเกาหลีมีสมาชิกทั้งหมด9คน <a href="http://upic.me/show.php?id=2144b4a64be0d8b233ebd2aea98c7088" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/7l/zl0.8460523_1_1.jpg"></a> |
|
| Kim Taeyeon | (n, name) ศิลปินเกาหลี หัวหน้าวงเกิลกรุ๊ปชื่อดัง Girls' Generation หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า So nyeo Shi Dae ทั้ง 2 ชื่อแปลว่า ยุคของหญิงสาว มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน มีผลงานเพลงออกมาหลายอัลบั้ม คิม แทยอน เป็นนักร้องที่เสียงทรงพลังมากที่สุดในวง มีพรสวรรค์ในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก ด้วยน้ำเสียงที่หาคนเทียบได้ยาก ได้ร้องเพลงประกอบละคร ไว้หลายเรื่อง เช่น Hong Gill Dong / Beethoven Virus / Hana sang / Atena เป็นต้น และมีรางวัลการันตีในความสามารถด้านการร้องเพลงมากมาย มีผลงานดูเอ๊ทกับศิลปินหลายๆคน รวมถึง อาจารย์ที่สอน คิม แทยอนร้องเพลง หรือที่รู้จักในนามของ The one คิม แทยอน เป็นหัวหน้าวงที่นำวงจนสามารถรับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัล แผ่นเสียงทองคำ (Golden Disk Daesang) ทำให้ คิม แทยอน เป็นที่ยอมรับในวงการเพลงเกาหลี เป็นคนที่มากด้วยความสามารถ | 소녀시대 | [โซ นยอ ชิ แด] (n, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS, See also: R. Girls' Generation Image: |
| บวก | (vt) จู่โจม ปะทะ โจมตี มักใช้กันในกลุ่มผู้เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ บ้างก็ว่ามาจากวงการมวย คือ จังหวะบวกสวน เอาแรงชกของคู่ต่อสู้ที่ชกมาแล้วพลาด สะท้อนสวนกลับไปให้แรงยิ่งขึ้น |
| มวยไทยชิงแชมป์โลก | [sungice] (vt) มวยไทยชิงแชมป์โลก ศึกการแข่งขันมวยไทยที่ยิ่งใหญ่ การแข่งขัน มวยไทยชิงแชมป์โลก เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและน่าตื่นเต้นที่สุดในวงการมวยไทย ไม่เพียงแต่เป็นการแข่งขันที่เพื่อความเป็นแชมป์ แต่ยังเป็นที่ตกตามพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมไทย แทงมวยออนไลน์ ในบทความนี้ เราจะสำรวจความมีเกียรติและประวัติศาสตร์ของมวยไทยชิงแชมป์โลก กับความสนุกอันยิ่งใหญ่ของการแข่งขันกีฬาที่ทุกท่านไม่ควรพลาด เว็บมวยออนไลน์ https://007ufa.bet/%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/ |
| วงการ | (n) circle, See also: field, quarter, coterie, society, Syn. แวดวง, Example: Aristotle มีอิทธิพลต่อวงการศึกษา และวงการนักปรัชญาศาสนามาเป็นเวลานาน, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงาน, กลุ่มบุคคล | ทบวงการ | (n) official organization, See also: bureau, office, agency, Thai Definition: องค์กรทางราชการ | วงการทูต | (n) diplomatic circles, Syn. แวดวงทูต, Example: แขกที่มาอวยพรคู่บ่าวสาวมีแต่ผู้ที่อยู่ในวงการทูตทั้งนั้น, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทูต | วงการบิน | (n) airline industry, Count Unit: วงการ | วงการทหาร | (n) military, Syn. แวดวงทหาร, Example: นายทหารคนนี้กระทำตัวเป็นรอยด่างของวงการทหาร สมควรได้รับการลงโทษ, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เป็นทหาร | วงการพนัน | (n) gambling table, Example: เขาเป็นเจ้าพ่อในวงการพนันที่มีอิทธิพลมาก, Thai Definition: กลุ่มคนที่เล่นการพนัน | วงการศาสนา | (n) religious circles, Syn. แวดวงศาสนา, Example: ทุกวงการก็มีคนเลว ไม่เว้นแม้แต่วงการศาสนา, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศาสนา | วงการศิลปะ | (n) art circles, See also: creative circles, Syn. แวดวงศิลปะ, Example: เขากลายเป็นศิลปินชั้นแนวหน้าของวงการศิลปะภายในเวลาอันรวดเร็ว, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ | วงการเมือง | (n) political quarters, Syn. แวดวงการเมือง, Example: บางครั้งข่าวที่น่าสนใจอาจไม่ได้เกิดขึ้นในวงการเมือง แต่อาจเป็นชุมชนเล็กๆ ในเมืองหลวงที่ไม่มีใครรู้จัก, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมือง | วงการแพทย์ | (n) medical profession, Syn. แวดวงแพทย์, Example: ในวงการแพทย์รู้ดีว่าสิทธิของผู้ป่วยนั้นสำคัญมาก, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ | วงการกฎหมาย | (n) legal profession, Syn. แวดวงกฎหมาย, Example: พวกที่อยู่ในวงการกฎหมายรู้ดีว่าคดีนี้จะลงเอยอย่างไร, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่ใช้กฎหมาย | วงการเศรษฐกิจ | (n) economic sector, Syn. แวดวงเศรษฐกิจ, Example: เขาเป็นผู้นำในวงการเศรษฐกิจที่ริเริ่มระบบเศรษฐกิจแนวใหม่, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ | กระทรวงการคลัง | (n) Ministry of Finance, Count Unit: กระทรวง, Thai Definition: ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลงบประมาณแผ่นดิน | กระทรวงการต่างประเทศ | (n) The Ministry of Foreign Affairs | กระทรวงการต่างประเทศ | (n) Ministry of Foreign Affairs, See also: Foreign Office, State Department, Count Unit: กระทรวง, Thai Definition: ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ |
| ทบวงการ | น. องค์การทางราชการ. | ทบวงการเมือง | น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล. | วงการ | น. กลุ่มบุคคลที่มีอาชีพหรือความสนใจอย่างเดียวหรือในแนวเดียวกัน เช่น วงการธุรกิจ วงการบันเทิง วงการครู. | กรม ๓ | แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็นกระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). | คนใน | น. บุคคลที่เป็นพวกเดียวกัน, บุคคลในบ้าน, บุคคลในวงการ. | คร่ำหวอด | ว. มีประสบการณ์สูง, มีความชำนาญสูงมาก, เช่น เขาคร่ำหวอดอยู่ในวงการเมือง. | เงินทดรองราชการ | น. เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่าย | เจ้ามือ | น. ผู้ตั้งต้นในวงการพนันเช่นวงไพ่, ผู้รับกินรับใช้ในการเล่นการพนันเช่นถั่ว โป หวย | ชำนัญพิเศษ | เรียกองค์การต่าง ๆ ในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ว่า ทบวงการชำนัญพิเศษ. | ดาวรุ่ง | น. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด, ดาวประกายพรึก ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึง ผู้ที่มีชื่อเสียงเด่นขึ้นมาใหม่ เช่น ดาราคนนี้เป็นดาวรุ่งของวงการบันเทิง. | ตระทรวง | (ตฺระซวง) น. กระทรวง เช่น ให้ตราพระราชบันหญัตคำนับประเดียงโฆษนาแก่หมื่นขุนมุนนายทุกตระทรวงทบวงการ (สามดวง). | ตั๋วเงินคลัง | น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการกู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. | ธุรกิจหลักทรัพย์ | น. การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรียกโดยย่อว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. | นอกสังเวียน | ว. นอกวงการ, นอกเวที, เช่น เขาก็ดีแต่เก่งนอกสังเวียน. | บรรณพิภพ, บรรณโลก | น. วงการหนังสือ. | บริษัทหลักทรัพย์ | น. บริษัทหรือสถาบันการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต. | ภาษา | น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม | มิติ ๒ | น. ด้าน, มุมมอง, เช่น เปิดมิติใหม่ของวงการภาพยนตร์. | แมวมอง | ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดูว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น. | เล่นการเมือง | ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬาเก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม. | ไล่ออก | ก. คัดชื่อออกจากทะเบียน เช่น ไล่ออกจากโรงเรียน, ให้ออกจากราชการหรือวงการเพราะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ไล่ออกจากราชการ ไล่ออกจากงาน. | แวดวง | น. วงการ, กลุ่มที่สังกัดอยู่, เช่น ในแวดวงนักการเมือง ในแวดวงนักธุรกิจ. | สังคม, สังคม- | วงการหรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. | สังฆมณฑล | น. วงการคณะสงฆ์. |
| post-transitional stage | ขั้นตอนหลังช่วงการเปลี่ยนสภาพ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | peak | ยอด, ช่วงการใช้สูงสุด, สูงสุด [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | pre-transitional stage | ขั้นตอนก่อนช่วงการเปลี่ยนสภาพ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | population transition | ช่วงการเปลี่ยนสภาพทางประชากร [ ดู demographic transition ] [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | papal encyclical | สารสันตะปาปา (ใช้ในวงการศาสนา) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | public body | ทบวงการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | public body | ทบวงการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | shock absorber; suspension damper | ตัวหน่วงการสั่นสะเทือน [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | Secretary of State | ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | Secretary of State | ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | session | สมัยประชุม, ช่วงการประชุม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | State Department | กระทรวงการต่างประเทศ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | systole | ๑. การบีบตัวของหัวใจ๒. ช่วงการบีบตัวของหัวใจ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | span of control | ช่วงการควบคุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | SDV (spark delay valve) | เอสดีวี (ลิ้นหน่วงการเกิดประกายไฟ) [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | specialized agency | ทบวงการชำนัญพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | specialized agency | ทบวงการชำนัญพิเศษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | spark delay valve (SDV) | ลิ้นหน่วงการเกิดประกายไฟ (เอสดีวี) [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | suspension damper; shock absorber | ตัวหน่วงการสั่นสะเทือน [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | administrative department | ทบวงการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | agency, specialized | ทบวงการชำนัญพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | agency, specialized | ทบวงการชำนัญพิเศษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | jargon | ภาษาเฉพาะวงการ [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] | body, public | ทบวงการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | body, public | ทบวงการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | birth spacing | การเว้นช่วงการมีบุตร [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | maturity | ช่วงการเจริญเต็มที่ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | mortality transition | ช่วงการเปลี่ยนสภาพทางภาวะการตาย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | control, span of | ช่วงการควบคุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | Chancellor of the Exchequer | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | Chancellor of the Exchequer | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | confinement | ช่วงการคลอดบุตร, การเก็บตัว (เพราะป่วยหรือคลอด) [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | crystallization interval; freezing interval | ช่วงการตกผลึก [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | Department, State | กระทรวงการต่างประเทศ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | demographic transition | ช่วงการเปลี่ยนสภาพทางประชากร [ ดู population transition ] [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | damper | ๑. ตัวหน่วง ๒. ตัวหน่วงการสั่นสะเทือน [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | fertility transition | ช่วงการเปลี่ยนสภาพทางภาวะเจริญพันธุ์ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | freezing interval; crystallization interval | ช่วงการตกผลึก [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | Exchequer | กระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | Exchequer | กระทรวงการคลัง, ศาลคดีภาษีอากร (อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | Exchequer, Chancellor of the | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | encyclical, papal | สารสันตะปาปา (ใช้ในวงการศาสนา) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | transitional growth | การเพิ่มในช่วงการเปลี่ยนสภาพ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | telescopic shock absorber; telescopic damper | ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนแบบกระบอก [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | telescopic damper; telescopic shock absorber | ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนแบบกระบอก [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | Treasury | กระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | theory of the demographic transition | ทฤษฎีช่วงการเปลี่ยนสภาพทางประชากร [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
| Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] | Nuclear safeguards | การพิทักษ์ทางนิวเคลียร์, มาตรการป้องกัน ยับยั้ง และตรวจสอบ มิให้วัสดุนิวเคลียร์สูญหาย แปรสภาพ หรือนำไปใช้ในทางที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, Example: [นิวเคลียร์] | International Atomic Energy Agency | ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, ไอเออีเอ, หน่วยงานสากลด้านความร่วมมือทางนิวเคลียร์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 ภายใต้องค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของโลก ป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษยชาติ [นิวเคลียร์] | Women television personalities | สตรีในวงการโทรทัศน์ [TU Subject Heading] | Demographic transition | ช่วงการเปลี่ยนสภาพทางประชากร [TU Subject Heading] | Shock absorbers | ตัวหน่วงการสั่นสะเทือน [TU Subject Heading] | Television personalities | บุคคลในวงการโทรทัศน์ [TU Subject Heading] | Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] | ASEAN Finance and Central Bank Deputies Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน [การทูต] | ASEAN Finance and Central Bank Deputies + 3 (China, Japan and Republic of Korea) | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียนกับผู้แทนจาก จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี [การทูต] | ASEAN Finance Ministers Meeting | การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน จัดขึ้นปีละครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้มีการจัดการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับญี่ปุ่น (AFMM + Japan) เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและความช่วยเหลือที่ ญี่ปุ่นให้แก่อาเซียน อาทิ แผนมิยาซาวา ควบคู่กันไปด้วย [การทูต] | ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] | ASEAN Free Trade Area Council | คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงาน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปกติจะจัดขึ้นประมาณปีละครั้ง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน [การทูต] | Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] | Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] | AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee | คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น เป็นกรอบการหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนกับกระทรวงการค้าต่าง ประเทศและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จัดประชุมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 [การทูต] | ASEAN Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อติดตามและเสนอนโยบายด้านการเมือง ความมั่นคง และเรื่องอื่น ๆ ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน [การทูต] | ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] | ASEAN-EU Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหภาพยุโรป เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จัดขึ้นทุก 12-18 เดือน เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [การทูต] | ASEAN-UN Summit | การประชุมผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติ เป็นการประชุมระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนกับเลขาธิการสห ประชาชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 [การทูต] | Young Ambassador of Virtue | ยุวทูตความดี " เป็นโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษา- ธิการ เริ่มโครงการตั้งวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม จริยธรรมและคุณธรรมในบรรดาเยาวชนไทย อันเป็นการเสริมคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีครบทั้งความเก่ง ความดี และมีความสุข โดยหวังผลในที่สุดว่าคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยจะเป็นการเสริมสร้างพื้น ฐานความแข็งแกร่งแก่สังคมไทยและส่งเสริมให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยใน โลกอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในยุคโลกา- ภิวัฒน์ นอกจากการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว โครงการยุวทูตความดียังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทยและเยาวชนของ ประเทศต่าง ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister schools - โรงเรียนในประเทศที่ต่างกันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน) " [การทูต] | Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] | Broadcasting Division, Information Department | กองวิทยุกระจายเสียง กรมสารนิเทศ " กระทรวงการต่างประเทศ (เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุกระจายเสียงสราญรมย์ คลื่นความถี่ ระบบ AM 1575 KHz) " [การทูต] | Buakaew | ตราบัวแก้ว ตราบัวแก้วซึ่งเป็นรูปเทพยดานั่งในดอกบัว ถือดอกบัวข้างขวา ถือวชิระข้างซ้ายนั้น เป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งใช้มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบัวแก้วเป็นตราซึ่งเจ้าพระยาพระคลังใช้ประทับในเอกสารของกรมท่า และที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ [การทูต] | Chargé d' Affaires ad interim | อุปทูตรักษาราชการสถานเอกอัครราชทูต หรือ อุปทูตชั่วคราว " ในกรณีที่ตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนว่างลง หรือหัวหน้าคณะ ผู้แทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ อุปทูตชั่วคราวจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นการชั่วคราวได้ โดยหัวหน้าคณะผู้แทนจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศของรัฐ ผู้รับทราบ หรือหากหัวหน้าคณะผู้แทนไม่สามารถแจ้งได้ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้ส่งจะแจ้งนามอุปทูตชั่วคราวไปยังกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ " [การทูต] | Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] | Condolences | เมื่อใดที่ประมุขของรัฐผู้รับ หรือบุคคลในครอบครัวของประมุขนั้นถึงแก่กรรม เป็นธรรมเนียมที่ผู้แทนทางการทูตซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ประจำอยู่ในรัฐนั้น หลังจากที่ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศของผู้แทนทางการทูตนั้นก่อนทาง โทรเลขหรือโทรสารจะไปเยี่ยมหรือพบกับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมของรัฐนั้นเพื่อ แสดงความเสียใจในนามของประมุขของรัฐของตน โดยมิต้องรอรับคำสั่งเป็นพิเศษจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนตามปกติ โทรเลขหรือโทรสารแสดงความเสียใจนั้นจะส่งจากประมุขของรัฐ ไปยังบุคคลที่เหมาะสมในครอบครัวที่ประสบความทุกข์โศกนั้นโดยตรง [การทูต] | Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] | Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] | Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] | Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] | Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] | Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] | Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] | Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] | embassy | สถานเอกอัครราชทูต " ที่ทำการที่มีหัวหน้าสำนักงานในระดับเอกอัครราชทูตหรืออุปทูต ตำแหน่งต่าง ๆ ประจำสถานเอกอัครราชทูต มีดังนี้ Ambassador เอกอัครราชทูต Minister อัครราชทูต Minister Counsellor อัครราชทูตที่ปรึกษา Counsellor ที่ปรึกษา First Secretary เลขานุการเอก Second Secretary เลขานุการโท Third Secretary เลขานุการตรี Attaché ผู้ช่วยเลขานุการ นอกจากนี้ บางสถานเอกอัครราชทูต มีข้าราชการจากกระทรวงอื่น ๆ นอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ที่ปรึกษาฝ่ายแรงงาน เป็นต้น " [การทูต] | Enhanced Interaction | การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ " การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เป็นคำที่เสนอโดย นายอาลี อาลาตัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในที่ประชุม AMM ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา ซึ่งในด้านสารัตถะมีความหมายเช่นเดียวกับนโยบาย Flexible Engagement แต่เป็นคำที่อาเซียนส่วนใหญ่เห็นว่า มีความ เหมาะสมที่จะใช้สื่อเจตนารมณ์ของอาเซียนในการยกระดับความร่วมมือที่เพิ่มพูน และเปิดกว้างระหว่างกัน " [การทูต] | Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] | Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] | Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] | Food and Agriculture Organization | องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2488 มีหน้าที่บรรเทาความอดอยากและหิวโหยของ ประชากรโลกด้วยการส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกรรม การปรับปรุงโภชนาการ และแสวงหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัจจุบันมีสมาชิก 171 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี " [การทูต] | Forum for Comprehensive Development of Indochina | เวทีเพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบในอินโดจีน เป็นความริเริ่มโดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่จะให้มีเวทีปรึกษาหารือ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม กลไกประกอบด้วยคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะที่ปรึกษาภาคเอกชนโดยเน้นบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาภาค เอกชนตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ (GMS) [การทูต] | Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] | International Atomic Energy Agency | ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นองค์การอิสระและมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ [การทูต] | International Civil Aviation Organization | องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2490 โดยอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Convention on International Civil Aviation) มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นหน่วยงานกลางระหว่างประเทศสมาชิก ในการออกกฎ ระเบียบ และ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบินพลเรือน ปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา " [การทูต] | International Labor Organization | องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม [การทูต] | International Maritime Organization | องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีระหว่างประเทศสมาชิก ในการกำหนดมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการเดินเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน มีสมาชิก 155 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร " [การทูต] | Indigent Nationals | คนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต] |
| Investors. You must have contacts... in thejewish business community working here. | นายอยู่วงการนี่นา... Schindler's List (1993) | You know, that's the nightmare of shrinkdom, doctor. | คุณรู้ไหม นั่นมันเป็นฝันร้ายของวงการจิตแพทย์เชียวนะ คุณหมอ Basic Instinct (1992) | - So you're quitting show business, huh? | เลิกข้องแวะวงการบันเทิงเลยรึ? The Bodyguard (1992) | The new chief screw had the yard painted... and I was back walking in circles again. | สกรูหัวหน้าใหม่ ทาสีลานมี ... และฉันก็กลับ เดินในวงการอีกครั้ง In the Name of the Father (1993) | Everybody says you got the best nose for a con in the business. | ทุกคนพูดกันว่านายหูไวตาไวที่สุดในวงการนี้ In the Mouth of Madness (1994) | Horror writer Sutter Cane... a harmless pop phenomenon... or a deadly mad prophet of the printed page? | นักเขียนแนวสยองขวัญ ซัทเตอร์ เคน ผู้มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักอ่าน หรือผู้ทำนายในความบ้าคลั่งของวงการหนังสือ In the Mouth of Madness (1994) | You see, in my business, you soon find out... that anybody's capable of anything. | ในวงการธุรกิจ ไม่ช้าคุณจะรู้ว่า ใครมีความสามารถในการอดทนมากแค่ไหน In the Mouth of Madness (1994) | He's happy enough going around in circles. | เขามีความสุขมากพอที่จะไปรอบ ๆ ในวงการ Yellow Submarine (1968) | It's true, I have a lot of friends in politics. | มันเป็นความจริงที่ฉันมีจำนวนมากที่มีเพื่อนที่อยู่ในแวดวงการเมือง The Godfather (1972) | Tell me, Tex ma'am are you in show business? | - เท็กซ์ครับ งั้นเหรอ คุณอยู่ในวงการบันเทิงรึเปล่า Blazing Saddles (1974) | I'm younger than people think I am, because I've been around a long time. | ผมดูหนุ่มกว่าที่คนคิดกันครับ ผมอยู่ในวงการมานาน Oh, God! (1977) | And I come back to the world, and I see all those maggots at the airport, protesting' me, spittin'. | และผมกลับมาที่โลกและผมเห็น หนอนเหล่านั้นที่สนามบินประท้วงการคาย First Blood (1982) | I'm concerned about the slavery of Muslims. | ผมห่วงการถูกกดขี่ของชาวมุสลิม Gandhi (1982) | Secretary of State Caulfield met with the president for two hours this morning at the White House. | รัฐมนตรีกระทรวงการ ต่างประเทศของ โคฟีลด พบกับ ประธานสองชั่วโมงในเช้าวันนี้ ที่ทำเนียบขาว 2010: The Year We Make Contact (1984) | I work for the State Department, and I'm a homosexual. | ผมทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศ และผมเป็นพวกรักร่วมเพศ Clue (1985) | I've been in this business 20 years. | ฉันอยู่ในวงการธุรกิจมา 20 ปี Mannequin (1987) | Here I am, trying to impress these judges and I start with the oldest phrase in the history of showbiz. | ...คณะกรรมการ... ...แต่ผมกลับใช้คำที่เก่าที่สุด ของวงการบันเทิง Punchline (1988) | Getting thrown out of baseball ... was like having part of me amputated. | ถูกโยนออกจากวงการเบสบอล เหมือนร่างกายบางส่วนถูกตัดออกไป Field of Dreams (1989) | The hardest thing was leaving the life. | สิ่งที่ยากที่สุดคือลาออกจากวงการ Goodfellas (1990) | Souvenirs for old Mr. Left Behind Hollywood. | ที่ระลึกสำหรับ ผู้ที่ทิ้งวงการฮอลลีวู้ดไว้เบื้องหลัง Mannequin: On the Move (1991) | You! He's got a timetable. And as to making mistakes, he spent 20 years in a trade that doesn't forgive error. | เรื่องผิดพลาดน่ะ เขาอยู่ในวงการนี้มา 20 ปีแล้ว The Jackal (1997) | You wanna get into the biz, and you've never played my games? | คุณอยู่ในวงการเกมนี้ และคุณไม่เคยเล่นเกมของฉัน eXistenZ (1999) | You can see little dots come into the upper right corner of the screen. | เขาเป็นสุดยอด จอมทำลายล้าง ในวงการธุรกิจ ร้านอาหาร Fight Club (1999) | How often do you come across a three-headed dog? | บ่อยแค่ไหนที่เราจะเจอหมาสามหัว แม้เราจะอยู่ในวงการ Harry Potter and the Sorcerer's Stone (2001) | Coach obsessed with winning his 200th game helps bonehead players pass test to secure his position in the pantheon of high-school sports. | โค้ชเป็นเจ้าของถ้วยรางวัลชนะเลิศครั้งที่ 200 เชียวนะ เขาจะยอมลดตัวลงมาช่วยพวกนั้นเชียวหรือ คงได้กลายเป็นการขุดหลุมฝังตัวเอง ให้กับวงการกีฬาซะมากกว่า Hothead (2001) | Thanks to the Buddha, my life was spared | วงการให้ฉายาฉันว่า ยมบาลคู่แข่งเทวดา Infernal Affairs (2002) | The rule of this game is to take fate in our own hands | ฉันคิดว่าคนที่อยู่ในวงการนี้ เป็นตายอยู่ที่ตัวเองกำหนด Infernal Affairs (2002) | My name's Kawada. I'm from the Welfare Ministry. | ผมชื่อคาวาดะ ผมทำงานกับกระทรวงการคลัง Yomigaeri (2002) | It must've gone out of business, because it's not in any of the directories after 1960. | มันต้องหายไปจากวงการแน่... เพราะว่าไม่พบข้อมูลหลังจาก ปี 1960 Inspector Gadget 2 (2003) | "Nicholas Ray is cinema." | "นิโคลัส เรย์ คือ เทพของวงการภาพยนต์" The Dreamers (2003) | Billy, welcome back to the airwaves. | บิลลี่ ขอต้อนรับกลับสู่วงการ Love Actually (2003) | - These are from the Treasury... | -นี่จากกระทรวงการคลังค่ะ Love Actually (2003) | I think this is the worst crisis of confidence in business. | ผมคิดว่านี่เป็นวิกฤตศรัทธาครั้งร้ายแรงที่สุด ในวงการธุรกิจ The Corporation (2003) | Through the voices of CEOs whistle blowers brokers gurus and spies insiders and outsiders we present the corporation as a paradox an institution which creates great wealth but causes enormous and often hidden harms. | ในสารคดีนี้ เราจะให้ซีอีโอ, นักข่าวที่ขุดคุ้ยความจริง โบรกเกอร์, ผู้เชี่ยวชาญและสายลับ คนในวงการและนอกวงการมาพูดถึงบรรษัทธุรกิจ The Corporation (2003) | I had been in politics. | ผมเคยอยู่ในวงการเมือง The Corporation (2003) | A recent U.S. Treasury Department report revealed in one week alone | ในรายงานกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เมื่อไม่นานนี้ เปิดเผยว่าเพียงแค่ใน 1 สัปดาห์ The Corporation (2003) | Nicaragua for the Brown Brothers brokerage the Dominican Republic for sugar interests | ในนิคารากัวเพื่อบริษัทนายหน้าบราวน์บราเธอร์ส ในสาธารณรัฐโดมินิกันเพื่อผลประโยชน์ของวงการน้ำตาล The Corporation (2003) | So, what business brings the chief of Section 9 to the Ministry of Foreign Affairs? | อะไรทำให้หัวหน้าแผนก 9 เข้ามาเยี่ยมเยียนกระทรวงการต่างประเทศได้ Ghost in the Shell (1995) | His name's Nakamura, Section 6 Chief with the Ministry of Foreign Affairs. | เขาชื่อนากามูระ. หัวหน้าแผนก 6 สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ Ghost in the Shell (1995) | I'm submitting a formal complaint about this through the Ministry of Foreign Affairs. | ผมจะต้องทำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปยัง กระทรวงการต่างประเทศ Ghost in the Shell (1995) | Japan made headlines by opting to forego candidate representation in exchange for the systems integration subcontract. | ญี่ปุ่นทำข่าวโดยการเลือกที่จะ นำตัวแทนผู้สมัคร เพื่อแลกกับการรับ เหมาช่วงการรวมระบบ Contact (1997) | A phenomenon known in psychiatric circles as a self-reinforcing delusion. | ปรากฏการณ์ที่รู้จักกันดีในจิตเวช วงการเป็นความเข้าใจ ผิดในตัวเองเสริม Contact (1997) | We're talking about the biggest medical discovery in history. | เรากำลังพูดถึงการค้นพบครั้งสำคัญ ในประวัติศาสตร์ของวงการแพทย์ Anacondas: The Hunt for the Blood Orchid (2004) | We're three of a kind. Wish we'd known before. | ที่แท้พวกเราอยู่วงการเดียวกัน ถ้ารู้จักกันตั้งแต่แรกคงทำความรู้จักกันไว้ Kung Fu Hustle (2004) | You are a disgrace to Taekwondo! | พวกแกมันทำความเสื่อมเสียให้กับวงการเทควันโด! Spin Kick (2004) | How about another drink before I walk the plank? | แล้วเหล้าอีกแก้วล่ะ ก่อนที่ผมจะอำลาวงการ Mr. Monk and the Game Show (2004) | I was a Stanford graduate who'd entered the service through the R. O. T. C. | ผมเป็นบัณฑิตจากแสดนฟอร์ดในขณะนั้น และเข้าสู่วงการทหารโดยเป็นกองหนุน.. The Great Raid (2005) | I'm ruined! I'm gone! I'm out of the business! | มันพังแล้ว ชิวิตฉันมันพังพินาศหมดแล้ว ฉันออกจากวงการ Madagascar (2005) | I thought you worked in football. | ผมนึกว่าคุณอยู่วงการฟุตบอลเสียอีก Goal! The Dream Begins (2005) | The diplomatic community has lost a true gentleman— | วงการการฑูต จะสูญเสียสุภาพบุรุษที่แท้จริง The Constant Gardener (2005) |
| ช่วงการประชุม | [chūang kān prachum] (n, exp) EN: session | กระทรวงการเกษตร | [Krasūang Kānkasēt] (org) EN: Ministry of Agriculture FR: ministère de l'Agriculture [ m ] | กระทรวงการคมนาคม | [Krasūang Kān Khamanākhom] (org) EN: Ministry of Transport FR: ministère des Transports [ m ] | กระทรวงการคลัง | [Krasūang Kānkhlang] (org) EN: Ministry of Finance FR: ministère des Finances [ m ] | กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | [Krasūang Kān Phatthanā Sangkhom lae Khwām Mankhong khøng Manut] (org) EN: Ministry of Social Development and Human Security | กระทรวงการสาธารณสุข | [Krasūang Kān Sāthāranasuk] (org) EN: Ministry of Public Health FR: ministère de la Santé publique [ m ] | กระทรวงการต่างประเทศ | [Krasūang Kān Tāngprathēt] (org) EN: Ministry of Foreign Affairs ; Foreign Office ; State Department FR: ministère des Affaires étrangères [ m ] | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | [Krasūang Kān Thøngthīo lae Kīlā] (org) EN: Ministry of Tourism and Sports FR: ministère du Tourisme et des Sports [ m ] | กระทรวงการอุตสาหกรรม | [Krasūang Kān Utsāhakam] (org) EN: Ministry of Industry FR: ministère de l'Industrie [ m ] | วงการ | [wongkān] (n) EN: circle ; field ; quarter ; sphere ; coterie ; society FR: cercle [ m ] ; milieu [ m ] ; domaine [ m ] ; sphère [ f ] (fig.) | วงการบิน | [wongkān bin] (n, exp) EN: airline industry | วงการค้า | [wongkān khā] (n, exp) EN: commercial circles | วงการกฎหมาย | [wongkān kotmāi] (n, exp) EN: legal profession | วงการเมือง | [wong kānmeūang] (n, exp) EN: political circles ; political quarters FR: cercle politique [ m ] | วงการแพทย์ | [wongkān phaēt] (n, exp) EN: medical profession | วงการพนัน | [wongkān phanan] (n, exp) EN: gambling table | วงการศาสนา | [wongkān sātsanā] (n, exp) EN: religious circles FR: milieux religieux [ mpl ] | วงการเศรษฐกิจ | [wongkān sētthakit] (n, exp) EN: economic sector FR: secteur économique [ m ] ; milieux économiques [ mpl ] | วงการศิลปะ | [wongkān sinlapa] (n, exp) EN: art circles ; creative circles | วงการทหาร | [wongkān thahān] (n, exp) EN: military | วงการที่เชื่อถือได้ | [wongkān thī cheūatheūdāi] (n, exp) EN: reliable quarters ; reliable circles | วงการธุรกิจ | [wongkān thurakit] (n, exp) EN: business circles | วงการทูต | [wongkān thūt] (n, exp) EN: diplomatic circles ; diplomatic quarters ; diplomatic sphere FR: sphère diplomatique [ f ] | ยักษ์ใหญ่ในวงการน้ำมัน | [yak-yai nai wongkān nām man] (n, exp) EN: oil baron FR: magnat du pétrole [ m ] | ยักษ์ใหญ่ในวงการเงิน | [yak-yai nai wongkān ngoen] (n, exp) EN: financial magnate FR: baron de la finance [ ] |
| Chancellor of the Exchequer | (n) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษ | last-minute | (adj, adv) เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนการเกิดเหตุการณ์ที่อ้างถึง ปัจจุบันพบคำนี้บ่อยในวงการการท่องเที่ยว เช่น last-minute trip หรือ last-minute flight, See also: last minute | last minute | (n) ช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนการเกิดเหตุการณ์ที่อ้างถึง เช่น He always waits until the last minute, before he decides to buy a stock. ปัจจุบันพบคำนี้บ่อยในวงการการท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น last-minute trip หรือ last-minute flight, See also: last-minute | Department of Peacekeeping Operations | ทบวงการสันติบาล เป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติ มีหน้าที่ดูแลรักษาสันติภาพของมนุษยชาติในนามสหประชาชาติ |
| be in | (phrv) ทำงานเกี่ยวกับ, See also: อยู่ในวงการ, Syn. go into | comeback | (n) การกลับสู่ความสำเร็จอีกครั้ง, See also: การกลับเข้าในวงการ, การคืนชีพ, การกลับมาสู่ความนิยมอีกครั้ง, Syn. recovery, renewal, return | Emmy | (n) รางวัลประจำปีของวงการโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกาที่มอบให้รายการ, การผลิต, และการแสดงทางโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | field | (n) วงการ, See also: แวดวง, สาขา, แผนก, ฝ่าย, Syn. branch, subject | firmament | (n) คนที่เป็นสุดยอดในสาขาหรือวงการนั้นๆ | get one's foot in the door | (idm) เข้าสู่วงการ, See also: ได้ร่วมงาน | have one's foot in the door | (idm) เริ่มก้าวแรกของการเข้าสู่วงการ, Syn. get one's foot in the door, Ant. get one's foot in the door | wash one's hands of | (idm) ไม่ข้องเกี่ยวอีกต่อไป, See also: ล้างมือจากวงการ | indiction | (n) ช่วงการจัดเก็บภาษีทุก 15 ปีของอาณาจักโรมัน | jargon | (n) ภาษาเฉพาะกลุ่ม, See also: ภาษาเฉพาะวงการ, ภาษาเฉพาะอาชีพ, Syn. argot, parlance | newspaperdom | (n) วงการหนังสือพิมพ์ | redcoat | (n) ทหารอังกฤษที่แต่งเครื่องแบบสีแดงช่วงการปฏิวัติในอเมริกา | screen land | (n) วงการภาพยนตร์ |
| acronym | (แอค' โรนิม) n. คำย่อจากพยัญชนะตัวแรกหลายคำ. -acronymic adj. คำย่อรัสพจน์หมายถึง คำย่อที่เกิดจากการนำอักษรตัวแรก หรือกลุ่มอักษรบางตัวมาสร้างขึ้นเป็นคำใหม่ประกอบด้วยอักขระตั้งแต่สองตัวขึ้นไป นิยมออกเสียงเหมือนคำปกติ เช่น DOS ซึ่งเอาอักษร D มาจากคำว่า Disk อักษร O มาจาก คำ Operating และ S มาจากคำว่า System คำนี้จะอ่านออกเสียงว่า "ดอส" แทนที่จะอ่านว่า ดีโอเอส คำย่อประเภทนี้ นิยมใช้กันมากใน วงการคอมพิวเตอร์ เช่น BASIC ซึ่งย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ก็อ่านว่า "เบสิก" | apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ | apple ii | (แอปเปิลทู) เป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกที่บริษัทแอปเปิลผลิตออกมาสู่ตลาด คอมพิวเตอร์ชุดนี้ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ ในเชิงการใช้สอยอย่างมหาศาล ในวงการคอมพิวเตอร์ หลังจากที่แอปเปิล ทูออกสู่ตลาดแล้ว บริษัทแอปเปิลก็ได้ผลิตแอปเปิลทูอี (Apple IIe) และ แอปเปิล ทรี (Apple III) ตามกันออกมาอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ก็ตัดสินใจหยุดผลิตชุดแอปเปิล ทรี หันมาผลิตชุดแมคอินทอช ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากในปัจจุบัน | at & t | (เอที แอนด์ ที) ย่อมาจาก American Telephone and Telegraph หมายถึง บริษัทโทรศัพท์และโทรเลขของอเมริกา งานของบริษัทนี้มาเกี่ยวกับวงการคอมพิวเตอร์ก็ตรงที่คอมพิวเตอร์สมัยนี้ส่งข้อมูลและข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อ (ส่วนใหญ่เป็นการเกี่ยวข้องทางด้านการสื่อสารข้อมูล) | chancellor of the exchequ | n. รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ | chest | (เชสทฺ) n. หีบ, กล่องขนาดใหญ่, ลังขนาดใหญ่, ทรวงอก, หน้าอก, เต้านม, คลัง, เงินทุน, เงินแผ่นดิน, กรมคลัง, กระทรวงการคลัง, สิ่งที่เก็บอยู่ในหีบ | circle { circled | n. วงกลม, วงเวียน, วงแหวน, วัฎจักร, วงการ, ขอบเขต, บริเวณ, ปริมณฑล, อาณาจักร, ที่นั่งเป็นรูปวงกลม, โรงละครสัตว์, เส้นรอบวงที่แบ่งโลกออกเป็น2ส่วน, เส้นรุ้ง. vt. ล้อมรอบ, โคจรรอบ, หมุนรอบ vi. เคลื่อนเป็นรูปวงกลม, Syn. ring, cycle | circles } | n. วงกลม, วงเวียน, วงแหวน, วัฎจักร, วงการ, ขอบเขต, บริเวณ, ปริมณฑล, อาณาจักร, ที่นั่งเป็นรูปวงกลม, โรงละครสัตว์, เส้นรอบวงที่แบ่งโลกออกเป็น2ส่วน, เส้นรุ้ง. vt. ล้อมรอบ, โคจรรอบ, หมุนรอบ vi. เคลื่อนเป็นรูปวงกลม, Syn. ring, cycle | circling | n. วงกลม, วงเวียน, วงแหวน, วัฎจักร, วงการ, ขอบเขต, บริเวณ, ปริมณฑล, อาณาจักร, ที่นั่งเป็นรูปวงกลม, โรงละครสัตว์, เส้นรอบวงที่แบ่งโลกออกเป็น2ส่วน, เส้นรุ้ง. vt. ล้อมรอบ, โคจรรอบ, หมุนรอบ vi. เคลื่อนเป็นรูปวงกลม, Syn. ring, cycle | computerese | (สคัมพิวทะริซ) n. ภาษารหัสคอมพิวเตอร์ นักคอมพิวเตอร์หมายถึงคำศัพท์หรืออาจเป็นสำนวนต่าง ๆ ที่นักคอมพิวเตอร์มักใช้ และเป็นที่รู้จักในวงการนักคอมพิวเตอร์ด้วยกัน เช่น garbage ปกติแปลว่าขยะ นักคอมพิวเตอร์นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ | con | (คอน) 1. { conned, conning, cons } v. ต่อต้าน, แย้ง, เรียนรู้, ศึกษา, ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง, จำไว้, นำเรือ, ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน, การโต้เถียง, ผู้คัดค้าน, ผู้ลงบัตรคัดค้าน, นักโทษ, วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น | coterie | (โค'ทะรี) n. วง, วงการ, กลุ่มบุคคล, คณะ | crop marks | เครื่องหมายสำหรับเจียน <คำแปล>โปรแกรมบางโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมจัดพิมพ์เอกสาร (desktop publishing) จะทำเครื่องหมายไว้ให้สำหรับตัดหรือเจียนกระดาษให้ได้ขนาดที่ต้องการ การสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้น มักต้องใช้กระดาษตามขนาดที่เครื่องพิมพ์กำหนดไว้ เช่น A4 B5 ฯ ในขณะที่เราต้องการให้หน้ากระดาษของเรามีขนาดพิเศษ โปรแกรมก็จะช่วยให้เราสามารถพิมพ์งานของเราออกมาบนกระดาษขนาดมาตรฐานนั้น แต่มีเครื่องหมายบอกตำแหน่งที่จะต้องเจียนออกไว้ให้ด้วย เครื่องหมายนี้ออกจะเป็นสากลสำหรับบุคคลในวงการพิมพ์ | ddt | (ดีดีที) ในความหมายทั่วไป คำนี้หมายถึง "ยาฆ่าแมลง" นำมาใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ เป็นคำแสลงหมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในโปรแกรมในกรณีที่มีมาก ๆ (ทั้งนี้เพราะในการเขียนโปรแกรมนั้น เราเรียกจุดบกพร่องในโปรแกรมว่า แมลง หรือ bug โดยปกติแล้ว การแก้ไขธรรมดา ๆ จะใช้คำว่า debug) | disbar | (ดิสบาร์') vt. ขับออกจากวงการทนายความ, เพิกถอนสิทธิในการเป็นทนายความ | dope ring | n. วงการค้ายาเสพติด | exchequer | (เอคซฺ'เชคเคอะ) n. กระทรวงการคลัง, คลัง, เงินทุน | ieee | (ไอทริพเพิลอี) ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronic Engineers แปลว่า สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลdเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป | institute of electrical a | สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า IEEE (อ่านว่า ไอทริพเพิลอี) เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป | instruction time | เวลาทำคำสั่งเครื่องหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งดำเนินการแล้วเสร็จ หรือได้รับคำตอบที่ต้องการจากชุดคำสั่งหนึ่ง ๆ โดยปกติ การทำงานของคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ1. ช่วงการแปล (compilation time) 2. ช่วงการกระทำการ (execution time) มีความหมายเหมือน execution time | laity | (เล'อิที) n. กลุ่มฆราวาส, กลุ่มผู้ทำงานสักการะบูชา, ผู้ไม่ชำนาญ, ผู้อยู่นอกวงการอาชีพหนึ่ง | leg | (เลก) { legged, legging, legs } n. ขา, ช่วงการเดินทางหรือเดินเรือ, นักต้ม vt. เคลื่อนด้วยเท้า พายด้วยเท้า -Phr. (pull one's leg ล้อเลียน), See also: leggy adj. | officialdom | (อะฟิช'เชิลดัม) n. วงการข้าราชการ | oscar | (ออส'เคอะ) n. รางวัล ผลงานดีเด่นของวงการภาพยนตร์ในอเมริกา | outside | (เอาทฺ'ไซดฺ) n. ข้างนอก, ด้านนอก, ผิวนอก, ส่วนนอก, สิ่งภายนอก, นอกวงการ, โฉมหน้า, โฉมภายนอก adj., adv. ภายนอก, ด้านนอก, ผิวนอก, วงนอก, ไกลสุด, เต็มขีด prep. ภายนอก, ข้างนอก. -Phr. (at the outside เต็มที่ เต็มขีด มากที่สุด) -Phr. (outside of นอกจาก ยกเว้น) | peopleware | ส่วนบุคลากรในวงการคอมพิวเตอร์ หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น นักเขียนโปรแกรม (programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (systems analyst) วิศวกร (engineer) ผู้เตรียมข้อมูล (data entry) รวมไปถึงผู้ควบคุมเครื่อง (operator) อย่างไรก็ตาม สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว คำว่า "ผู้ใช้เครื่อง" (user) จะถูกรวมอยู่ในบุคลากรคอมพิวเตอร์ด้วย | point of sale system | ระบบ ณ จุดขายใช้ตัวย่อว่า POS (อ่านว่า พีโอเอส) ในวงการคอมพิวเตอร์ จะหมายถึง การขายทั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในราคาขายปลีก ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หมายรวมทั้งอุปกรณ์ ต่าง ๆ ด้วยเป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ (scanner) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode reader) ฯลฯ | pos | (พีโอเอส) ย่อมาจาก point of sale (ณ จุดขาย) ในวงการคอมพิวเตอร์ จะหมายถึง การขายทั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในราคาขายปลีก ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หมายรวมทั้งอุปกรณ์ ต่าง ๆ ด้วยเป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ (scanner) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (bar code reader) | retrocede | (รีทระซีด') vi. ถอยหลัง, ปลดเกษียณ, ออกจากวงการ, หลับใน, เข้าข้างใน vt. มอบคืน, คืนให้, คืนที่ดินให, See also: retrocession n. retrocedence n. retrocessive adj., Syn. recede, retire | ring | (ริง) { rang, rung, ringing, rings } n. วงแหวน, แหวน, ล้อ, ห่วง, วงปีของต้นไม้, ทางวงกลม, สนามวัวแข่ง, สนามมวย, สนามมวยปล้ำ, การต่อยมวย, การแข่งขัน, สังเวียน, วงการ, กลุ่ม, คณะ, ปอยผมที่ขดเป็นวง, สียงกริ่ง, เสียงกระดิ่ง, เสียงโทรศัพท์, เสียงกังวาน, การโทรศัพท์ -v. ล้อมวง, กลายเป็นวงแหวน | screen land | n. โลกภาพยนตร์, วงการภาพยนตร์ | secretary of state | n. รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา, (อังกฤษ) รัฐมนตรี | section | (เซค'เชิน) n. การตัดออก, ส่วนที่ตัดออก, ส่วนตัด, ท่อน, ส่วน, ตอน, ข้อ, ชิ้น, ช่วง, มาตรา, หมวด, วรรค, หมู่, หน่วย, เหล่า, กลุ่ม, วงการ, เครื่องหมายแบ่งตอน vt. ตัด, แบ่ง, แยก, ผ่า, ผ่าตัด, See also: sectional adj., Syn. part, division, district | treasurer | (เทรช'เ?อะเรอะ) n. ผู้รักษาทรัพย์สมบัติ, เหรัญญิก -Phr. (Lord High Treasurer เสนาบดีฝ่ายการคลัง, ขุนคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง), See also: treasurership n. | treasury note | n. ธนบัตรกระทรวงการคลัง (มักเป็นชนิดระยะยาว) | vineyard | (วิน'เยิร์ด) n. ไม่องุ่น, สวนองุ่น, ที่เพาะเลี้ยงองุ่น, วงการ | world | (เวิร์ลดฺ) n. โลก, เขตโลก, พิภพ, มนุษย์โลก, สากล, โลกมนุษย์, มวลมนุษย์, มนุษยชาติ, สาธารณชน, ชนชั้นเฉพาะของมนุษย์, วงการ, อาณาจักร, วงสังคม, จุกรวาล, ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่, สรรพสิ่ง, จำนวนมหาศาล, ชีวิตโลก, ทางโลกีย์, -Phr. (for all the world โดยสิ้นเชิง) |
| commerce | (n) การค้าขาย, การค้า, การพาณิชย์, วงการค้า | exchequer | (n) กระทรวงการคลัง, ท้องพระคลัง, คลัง, เงินทุน | filmdom | (n) วงการภาพยนตร์, โลกภาพยนตร์, โลกมายา | kingdom | (n) อาณาจักร, ขอบเขต, วงการ, ปริมณฑล | outsider | (n) คนข้างนอก, คนวงนอก, คนนอกวงการ | rake | (n) ไม้กวาดเงินในวงการพนัน, คราด, เสาเรือ, คนเหลวไหล, คนเจ้าชู้ | retrocede | (vt) มอบคืน, ถอยหลัง, ปลดเกษียณ, ออกจากวงการ | retrocession | (n) การคืนให้, การถอยหลัง, การปลดเกษียณ, การออกจากวงการ | section | (n) ตอน, ส่วน, แผนก, มาตรา, วรรค, หมวด, วงการ | world | (n) โลก, ชาวโลก, มวลมนุษย์, วงการ, สรรพสิ่ง |
| apem | เป็นโหลดหรือ ฟังก์ชั่นในวงการ DotA ย่อมาจาก "All Pick Easy Mode" คำอธิบายเพิ่มเติม เป็นโหลดที่พวก noob, grean, kak ชอบใช้กัน แต่ไม่ได้หมายความว่า โหมดอื่นจะไม่มีนะ | body man | [บอดี้แมน] (n, jargon) ผู้ช่วยส่วนตัวของนักการเมือง หรือ ผู้สมัครชิงตำแหน่งทางการเมือง (ศัพท์ในวงการเมืองอเมริกัน) | burick | (n, slang) ใช้ในวงการเกม! แปลว่า เทคนิคที่ได้มาจากการใช้ข้อผิดพลาดในเกม (มาจากคำว่า บัค รวม กับ ทริค) ( * w *m Power by iiiita also RYUTAZA) | Discipline | [ดิสซะพลิน] (n) วิชา, สาขา, วงการ | Girls' Generation | [เกิล เจนเนอเรชัน] (n, คำเฉพาะ) ศิลปินกลุ่มหญิงที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในวงการเพลงเกาหลี มีผลงานออมามากมาย เริ่มต้น Debut ในกลางปี 2007 ด้วยเพลงเปิดตัว Into the new world ด้วยน้ำเสียงที่เข็มแข็ง ท่าเต้นทรงพลัง ทำให้ค่อยๆได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงแรก โดนกระแสต่อต้านมากมาย แต่พวกเธอทั้ง 9 ก็ สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถและความตั้งใจจริง จนกระทั่ง มีอัลบั้มออกมามากมาย ปี2007 อัลบั้ม Girls' Generation ปี2008 อัลบั้ม Baby Baby (Repackage) ปี 2009 มินิอัลบั้มที่ 1 Gee ซึ่งอัลบั้มนี้โด่งดังมาก เพลง Gee ขึ้นอันดับหนึ่งของรายการ Music Bank 9 สับดาห์ซ้อน ในปีเดียวกัน ได้ออกมินิอัลบั้มที่ 2 Genie ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ปี 2010 อัลบั้ม Oh! Run Devik Run และล่าสุด Hoot ซึ่งยังได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน มีคอมเสริตเดี่ยวในหลายๆประเทศแถบเอเชีย เช่น เกาหลี จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ซึ่งกระแสตอบรับดีมาก | girls' generation | [เกิล'ส เจเนอเรชั่น] (name, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS | High Dynamic Range, HDR | (n, phrase, colloq, abbrev) (Photography) การถ่ายหรือสร้างภาพที่มีช่วงการรับแสงสูงกว่าปกติ ให้เป็นภาพที่มีความสว่างชัดเจนทั่วทั้งภาพ ทั้งส่วนเงามืด (shadow) ถึงส่วนสว่าง (Highlight) และให้ดูมีมิติมากขึ้น | international atomic energy agency | (name, org) ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ | inw | [เทพ] (n, adv) ใช้กันในวงการ DotA มีความหมายว่า ฝีมือการเล่นระดับเทพ(ไม่ได้หมายความว่าจะ grean ไม่ได้นะ) เช่น พี่ชายคนนั้นเล่น inwจังเลยอ้ะ หรือ แม่ง inw อย่าไปท้ามันนะฮ้ะ | madison avenue | ถนนใหญ่สายหนึ่งในนครนิวยอร์คซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทโฆษณาจำนวนมาก ในบางปริบท จึงหมายถึงวงการโฆษณา | noob | (n, colloq) ในวงการเกมส์ DotA ใช้เรียกบุคคลซึ่งเล่นมานานแล้วยังไม่เก่ง แล้วยังอวดดี ชอบสั่งในขณะเล่นเกมส์ ทำตัวน่ารักเกียจ หรืออาจออกจากเกมส์เมื่อเห็นว่าตัวเองเสียเปรียบ ซึ่งจะไม่เหมือนกัน newbie ซึ่งเป็นผู้หัดเล่นใหม่เท่านั้น ดังนั้น newbie จึงไม่เหมือนกันกับ noob | prequel | คำเรียกหนังสือ/ภาพยนตร์ภาคต่อ ที่มีลำดับเนื้อเรื่องก่อนเนื้อเรื่องหลัก เช่น หนังภาคแรกที่จบไปแล้วเป็นเรื่องของตัวเอก และหนังภาค2ที่กำลังเข้าเป็นเรื่องของพ่อแม่ตัวเอก ในวงการหนังจะเรียกหนังภาค 2 ว่า "prequel" เป็นต้น | Secretary of State | (n) เสนาบดีใหญ่ เป็นตำแหน่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีประจำอยู่ในสองกระทรวงคือกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงปิตุภูมิ | SNSD | [โซ นยอ ชิ แด] (abbrev, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS, See also: 소녀시대, Syn. Girls' Generation | walkthrough | (slang) เป็นคำที่ใช้ในวงการเกม! โดยสรุปแล้วมันคือคำว่า "บทสรุป" ( * w *m Power by iiiita also RYUTAZA) |
| 外務省 | [がいむしょう, gaimushou] (n) กระทรวงการต่างประเทศ | 国防省 | [こくぼうしょう, kokuboushou] (n) กระทรวงการต่างประเทศ, See also: R. กระทรวง | 外務省 | [がいむしょう, gaimushou] (n) กระทรวงการต่างประเทศ | 財務省 | [ざいむしょう、saimushou, zaimushou , saimushou] (n) กระทรวงการคลัง | 財務省 | [ざいむしょう、zaimushou, zaimushou , zaimushou] (n) กระทรวงการคลัง |
| 大蔵省 | [おおくらしょう, ookurashou] TH: กระทรวงการคลัง EN: finance ministry |
| | auswertig | (adj) ต่างประเทศ das auswärtige Amt กระทรวงการต่างประเทศ |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |