เชี้ย | ก. เชิญ, มักใช้ประกอบกับคำ เชิญ เป็น เชี้ยเชิญ. |
เชี่ยน, เชี่ยนหมาก | น. ภาชนะสำหรับใส่เครื่องหมากพลู เดิมเป็นภาชนะจำพวกเครื่องเขิน. |
เชี่ยม | น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. |
เชี่ยว | ว. อาการที่สายนํ้าไหลแรง เรียกว่า นํ้าไหลเชี่ยว. |
เชี่ยวชาญ | ว. สันทัดจัดเจน, ชํ่าชอง, มีความชำนิชำนาญมาก. |
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ | อย่าขวางผู้ที่มีอำนาจหรือผู้ที่กำลังโกรธจัด. |
กระโตน | ก. กระโจน เช่น นํ้าเชี่ยวเกลียวโยน กระโตนฉ่า ๆ (สุบิน). |
กราก ๑ | (กฺราก) ว. รวดเร็ว เช่น นํ้าไหลเชี่ยวกราก. |
กวี | (กะวี) น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จำแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความนึกคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความเป็นจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งโดยฉับพลันทันที. |
กะบัง ๒ | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลำปักทางซ้ายและทางขวาเรียงกันเป็นลำดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทำร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็นทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่ายที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่นํ้าไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า. |
กัลชาญ | (กันละชาน) ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ (ม. คำหลวง ทศพร). |
เก๋า ๒ | ว. เชี่ยวชาญ, มีประสบการณ์หรือความชำนาญมาก, เช่น คุณปู่เก๋ามากในเรื่องพระเครื่อง |
คงคา ๑ | น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจำนํ้า, ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว) |
เครื่องกิน | น. เครื่องสำหรับใส่ของกินเช่นเชี่ยนหมาก |
โคกม้า ๑ | น. นักหมอม้า, ผู้เชี่ยวชาญเรื่องม้า. |
โครงการตามพระราชประสงค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาทดลองปฏิบัติด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อทรงศึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญและทดลองจนได้ผลสรุปที่ดี และทรงมั่นพระราชหฤทัยว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลหรือผู้สนใจรับไปดำเนินงานต่อ แบ่งเป็นโครงการทดลองในเขตพระราชฐาน และโครงการทดลองนอกเขตพระราชฐาน. |
จอก ๑ | น. ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สำหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก |
ชำนัญพิเศษ | น. เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ว่า ผู้ชำนัญพิเศษ |
ชำนาญ | ก. เชี่ยวชาญ, จัดเจน. |
ชำนิ ๒ | ก. รู้ชัดเจน, เชี่ยวชาญ, คล่องแคล่ว. |
ชำนิชำนาญ | ก. เชี่ยวชาญมาก, สันทัดจัดเจน. |
ชำเนียร ๒ | ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชำเนียรในศิลป์ (สรรพสิทธิ์). |
ชีระ ๒ | ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว. |
เชียร ๒ | ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น เชียรเชียรใบบาตรนํ้า (แช่งนํ้า). |
ซึ้ง ๓ | ว. ลึก เช่น น้ำลึกพานเชี่ยวซึ้ง สุดพาย (โลกนิติ), เขียนเป็น ซรึ้ง ก็มี เช่น คูคอบสามชั้นซรึ้ง ขวากแขวง (ยวนพ่าย). |
แตกฉาน ๑ | ว. ชำนิชำนาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น มีความรู้แตกฉาน. |
ที่ไหน | คำใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มีความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา (อิเหนา). |
นักวิชาการ | น. ผู้เชี่ยวชาญวิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา. |
บาธรรม | น. ผู้เชี่ยวชาญในทางธรรม, อาจารย์ทางธรรม. |
เปรื่อง | (เปฺรื่อง) ก. เชี่ยวชาญ, ปรุโปร่ง, แตกฉาน, เช่น ปัญญาเปรื่อง สมองเปรื่อง. |
เปศล-, เปศละ | เก่ง, ชำนาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. |
ฝีมือ | น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมีศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์ |
พุทธาภิเษก | น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ. |
ฟุ้งเฟื่อง | ว. เชี่ยวชาญ, ชำนิชำนาญ, (ใช้แก่สติปัญญา), เฟื่องฟุ้ง ก็ว่า. |
เฟื่องฟุ้ง | ว. เชี่ยวชาญ, ชำนิชำนาญ, (ใช้แก่สติปัญญา), ฟุ้งเฟื่อง ก็ว่า. |
ยวดยง | ว. เชี่ยวชาญที่สุด, เก่งที่สุด. |
เรี่ยว | เรียกสายนํ้าที่ไหลเชี่ยวแรง. |
ลิงตกต้นไม้ | น. ผู้เชี่ยวชาญในวิชาใดก็ตามอาจพลาดพลั้งในวิชานั้นได้. |
ลิ้น ๑ | โดยปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่องอาหาร |
วิจักขณ์, วิจักษณ์ | ว. ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา, เชี่ยวชาญ, ชำนาญ. |
วิสัญญีแพทย์ | น. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ. |
สถานภาพ | ตำแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ปรากฏในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี |
สำหรับ | ว. คู่กับ, ควรกับ, เช่น ช้อนกับส้อมเป็นของสำหรับกัน หมากพลูกับเชี่ยนเป็นของสำหรับกัน. |
สุภาษิต | น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. |