"ไรแว๊ ช่างน่ามคาน อัลไลกัน หยั่มมา ลำไย บ่องตง" อะไรกันครับนี่
คำสแลง ศัพท์เฉพาะ หรือตัวย่อต่างๆ ที่ได้ยินหรือได้เห็นใช้กัน ในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกไซเบอร์ สื่อสังคมออนไลน์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้ในการสนทนา เนื่องจากเขียนสั้นดี ประหยัดเวลาในการพิมพ์
ซึ่งจริงๆ แล้ว คำสแลงเหล่านี้ช่วยในการพัฒนาของสมองซีกขวาในเรี่องของจินตนาการ รวมถึงทำให้เรารู้ว่าภาษาของเรานั้น มีความเคลื่อนไหว ไม่ตาย และอีกทั้งยังเป็นเหมือนวิธีการแสดงออกถึงตัวตนให้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่เพื่อนๆ ของวัยรุ่น เราเป็นผู้ใหญ่ เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง เรียนรู้เอาไว้ได้ไม่เสียหลาย สนุกดี ให้ทันโลก ประดับสมอง และยังทำให้เรารู้เท่าทันลูกๆ เพราะคำบางคำที่เด็กๆ ใช้กันอยู่อาจเป็นสัญญาณเตือนให้เห็นถึงพฤติกรรมบางอย่างที่พวกเขาอาจกำลังแอบทำ หรือกำลังจะลงมือทำอยู่ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม การใช้สแลงก็ควรเป็นไปอย่างมีกาลเทศะ คือเมื่ออยู่ในสังคมออนไลน์ หรือกลุ่มเพื่อน ก็ใช้ไป แต่เวลาทางการก็ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการจะดีกว่านะครับ บ่องตง :)
ในส่วนคำสแลงในภาษาไทยที่เราเห็นใช้กัน มีอยู่มากมาย เนื้อเพลงหรือไรม์ (Rhyme) ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของ 50 ศัพท์สแลง ที่ได้ถูกรวบรวม มาในรูปแบบของบทเพลงแร็ปให้ เราได้อัปเดทกัน เรามาร้องตามกันนะครับ
เพลงแร็ป "สแลง" โดย PPP PaPaPong https://youtu.be/Y_C5_7FEO9c
(มีทั้งหมด 50 คำในเพลง)
1) ภาษามีการเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นสแลง ตามยุคสมัย
2) สิ่งแวดล้อม อายุและเพศ ภาษาถิ่น ภาษาเทศ ล้วนแล้วเป็นปัจจัย
3) ฟังแล้วอาจจะ "หัวร้อน" ใจเย็นไว้ก่อน ทำความเข้าใจ
=> หัวร้อน (อารมณ์ร้อน)
4) คงไว้ซึ่งสติ และให้หัวเราะ "อิอิ" ตีเนียนนำไปใช้
5) ให้มอง กลับไปที่ "เตง" แต่ก่อนก็เป็น พูดกันเป็นประจำ
=> เตง (ตัวเอง)
6) "บ่องตง" เป็นเรื่องธรรมดา การเปลี่ยนแปลงของภาษา เห็นทุกที่ก็ทำ
=> บ่องตง (บอกตรงๆ)
7) บางคำ "ตะมุตะมิ" เช่น "อุต้ะ!" สุดฮิต คำอุทานขำขำ
=> ตะมุตะมิ (น่ารักน่าเอ็นดู)
8) วัยรุ่นแค่อยากแสดงออก ถึงตัวตน
ขอบอก ให้เป็น ที่ยอมรับกัน
9) โดนทิ้ง เราเรียก "โดนเท" ส่วน "ขี้เม้ง" วีนเก่ง และขี้อวดนะ "ไอ้ขิง"
10) "นก" แปลว่าชวดหรือพลาด แฟนคลับที่บ้ามาก เราจะเรียกว่า "ติ่ง"
11) ความลับที่เราต้องแบก เรียกว่าโดน "โป๊ะแตก" เมื่อถูกเผยความจริง
12) จินตนาการในทางชู้สาว เห็นน้องนางกับพี่บ่าว อุ๊ยนั้นมัน "คู่จิ้น"
13) "มองแรง" เมื่อไม่พอใจ ใช้สายตาตวัดไป อย่างรวดเร็วและรุนแรง
14) เมื่อเจอคนที่ "งานดี" แต่ "เล้าหลือ" เซ้าซี้ เลยยอมใจยอมแพ้
=> งานดี (หล่อสวยหุ่นดี), เล้าหลือ (เซ้าซี้)
15) "ไรแว๊" "ช่างน่ามคาน" "อัลไลกัน" น่ารำคาญ "หยั่มมา" "ลำไย"
=> ไรแว๊ (อะไรวะ), ช่างน่ามคาน (น่ารำคาญ), อัลไล (อะไร), หยั่มมา (อย่ามา), ลำไย (คนที่ทำตัวเชื่องช้า จนน่ารำคาญ)
16) "ตั้ลล้าก" น่ารัก น่าเอ็นดู ฟังแล้วแสลงหู "โอป่ะเตง" "จีว่า" ขอ "อำไพ"
=> โอป่ะเตง (โอเครึเปล่าตัวเอง), จีว่า (เวลาเห็นใครแสดงออกเกินความจำเป็น), ขออำไพ (ขออภัย)
17) "ไรหรา" ทำเป็น "มะรุ" "คีบับ" "แฮ๊บ" รึหนู แล้ว "แอ๊บแบ๊ว" "ชิมิ"
=> ไรหรา (อะไรเหรอ), มะรุ (ไม่รู้), คีบับ (คือแบบ), แฮ๊บ (แอบขโมย), แอ๊บแบ๊ว (ทำไร้เดียงสา), ชิมิ (ใช่ไหม)
18) มีงานก็ได้แต่ "เผา" หนักเบาก็ไม่เอา "ถ้วย ถัง กะละมัง" ผักชี้ "ผักชี"
=> เผางาน (ทำงานแบบลวก ๆ), ถ้วย ถัง กะละมัง (ไร้สาระไปวัน ๆ), ผักชี (ผักชีโรยหน้า=การทำดีเพียงผิวเผินเพื่อเอาหน้า)
19) ดูเพื่อนสุดแสนจะ "ปัง" ดูมีพลัง "ดาเมจ" "จีจี"
=> ปัง! (โดดเด่น อลังการ ยิ่งใหญ่), ดาเมจ (damage, พลังทำลาย, เป็นคำที่มาจากเกม), จีจี (จริงจริง)
20) "มองบน" คือเอือมระอา ตะกละ "ชิซูกะ" แก่มาก เราเรียก "แกสบี้"
=> มองบน (เอือมระอา), ชิซูกะ (ตะกละ), แกสบี้ (แก่มาก)
21) "ฟิน" มาจากฟีนาเล่ เป็นสแลงสุดเก๋ จบอย่างสมบูรณ์
=> ฟิน (เจ๋งมาก มาจาก “ฟีนาเล่” (Finale) ภาษาฝรั่งเศส)
22) อยากเป็นนู่น "วันนาบี" อยากเป็นนี่ ช่างสุดแสน จอมปลอมนะพ่อคุณ
=> วันนาบี (WannaBE, จอมปลอม)
23) "กิ๊บเก๋" "เก๋กู๊ด" "ยูเรก้า" "เดิ้น" "เริ่ด" สุดซ่าส์ทันสมัย สุด "คูล"
24) สุดท้าย "จิบิจุ๊บุ" บ๊ายบาย "บุยบุย" ศัพท์สแลงของวัยรุ่น
=> จิบิจุ๊บุ (จุ๊บจุ๊บ), บุย บุย (บ๊าย บาย)
Comments