กระ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ. |
กระดาด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทำยา หัวทำให้สุกแล้วกินได้, กระดาดขาว ปึมปื้อ เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก. |
กระดาดดำ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthosoma nigrum (Vell.) Mansf. ในวงศ์ Araceae ลักษณะคล้ายกระดาด [ Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ] ใบสีเขียวเข้มหรือม่วง โคนใบเว้าลึกคล้ายหัวลูกศร หัว ใบ และก้านกินได้. |
กระท้อน ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricumkoetjape (Burm. f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น. |
กระทุ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk. ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก ก็เรียก. |
กระบก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด I rvingia malayana Oliv. ex A. W. Benn. ในวงศ์ rvingiaceae ใบรูปไข่ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก. |
กระเบา ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่หรือกระเบานํ้า ( H. anthelminthicaPierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลักหรือกระเบียน ( H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดำ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง. |
กรีด ๓ | ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บกรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง |
กล้วย ๑ | (กฺล้วย) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายปีในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จำพวก จำพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยนํ้าว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก, จำพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา. |
กลอย ๑ | (กฺลอย) น. ชื่อไม้เถามีหนามชนิด Dioscorea hispida Dennst. ในวงศ์ Dioscoreaceae มีหัวกลมใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ หัวดิบมีพิษเบื่อเมา แต่เมื่อฝานแช่นํ้าไหลและนำมานึ่งหรือต้มให้สุกแล้วกินได้. |
กวางโจน | (กฺวาง-) น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาวคล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. |
ก่อ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมีเนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. |
กะทกรก | ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลืองกินได้ มีใบประดับเป็นฝอยหุ้ม ยอดนำมาต้มใช้เป็นผัก, กระโปรงทอง เงาะป่า ถลกบาตร เถาเงาะ เถาสิงโต หรือ หญ้ารกช้าง ก็เรียก. |
กะลุมพี | น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burret. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. |
กะอวม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Acronychia pedunculata (L.) Miq. ในวงศ์ Rutaceae ผลเล็ก สีเขียวอ่อนหรือสีนวล กินได้, กระเบื้องถ้วย เปล้าขลิบทอง ไพรสามกอ หรือ มะงัน ก็เรียก. |
กาน้า | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Canarium album (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก. |
กุยช่าย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. |
กูด ๑ | น. ชื่อเฟินหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ ชนิดที่กินได้ เช่น กูดขาวหรือผักกูด ( Diplazium esculentum Sw.) กูดกิน [ Pteridium aquilinum (L.) Kuhn var. yarrabense Domin ] กูดแดง ( Stenochlaena palustris Bedd.) |
เกด ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard ในวงศ์ Sapotaceae ผลคล้ายละมุดสีดา สุกแล้วมีรสหวาน กินได้. |
เกาลัด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Sterculia monospermaVent . ในวงศ์ Sterculiaceae ขอบใบเรียบ ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว เปลือกผลหนา ไม่มีหนาม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง สีนํ้าตาลแกมแดง เปลือกไม่แข็ง เนื้อในสีขาว กินได้. |
เกาลัดจีน | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Castanea mollissima Blume ในวงศ์ Fagaceae ขอบใบจักแหลม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน เปลือกหุ้มผลหนามีหนามแหลม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง เปลือกแข็ง สีนํ้าตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้. |
ไก่กอม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิด ในสกุล Ehretiaวงศ์ Ehretiaceae คือ ชนิด E. acuminata R. Br. ขอบใบจักถี่ ผลกลมเล็ก กินได้และชนิด E. timorensis Decne. ดอกเล็กมาก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลิ่นหอม. |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ขนุนสำปะลอ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg ในวงศ์ Moraceae ใบใหญ่เป็นแฉก ๆ ผลมีเมล็ดมาก กินได้ พันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด เรียก สาเก เนื้อกินได้. |
ขม ๒ | ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม. |
ของแห้ง | น. อาหารแห้งที่เก็บไว้กินได้นาน, เสบียงกรัง. |
ข่าแดง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Etlingera metriocheilos (Griff.) R.M. Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกสีแดง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ใกล้พื้นดิน กินได้, ปุดใบลาย ก็เรียก. |
ขาเขียด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Monochoria vaginalis (Burm.f.) C. Presl ex Kunth ในวงศ์ Pontederiaceae ดอกสีม่วงนํ้าเงิน เกิดในนํ้าและปลักตม กินได้. |
ข้าวตอก ๒ | ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. |
ข้าวสาร ๒ | น. ชื่อไม้เถาในสกุล Raphistemma วงศ์ Asclepiadaceae เช่น ข้าวสารดอกใหญ่ [ R. pulchellum (Roxb.) Wall. ] ข้าวสารดอกเล็ก [ R. hooperianum (Blume) Decne. ] ทั้ง ๒ ชนิดนี้ดอกกินได้. |
ขี้หนู ๑ | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Plectranthus rotundifolius (Poir.) Spreng. ในวงศ์ Labiatae หัวกินได้ เรียกว่า มันขี้หนู. |
ขี้เหล็ก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Senna siamea (Lam.) Irwin et Barneby ในวงศ์ Leguminosae มักขึ้นตามริมนํ้าหรือป่าชื้น ดอกสีเหลืองดกเป็นช่อใหญ่ เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่หรือบางทีเกือบดำ มีลายเป็นเส้นสีแก่หรือสีอ่อนกว่าพื้น แข็ง เหนียว และหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ใบอ่อนและดอกกินได้. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
ไข่เน่า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้. |
ไข่หิน ๒ | น. ชื่อสาหร่ายสีเขียวชนิด Nostochopsis lobatus Wood ในวงศ์ Nostochopsidaceae ลักษณะรูปไข่ ค่อนข้างกลมเล็ก สีเขียวแก่ เกิดในนํ้าใสสะอาด เกาะอยู่กับหิน กินได้, ดอกหิน ก็เรียก. |
ไข่แหน | (-แหฺน) น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Wolffia globosa (Roxb.) Hartog et Plas ในวงศ์ Lemnaceae เกาะกันเป็นกลุ่มลอยอยู่ในนํ้า ลักษณะเป็นเม็ดเขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ ขนาดเม็ดทราย ไม่มีราก เป็นพืชที่เล็กที่สุดในจำพวกพืชมีดอก กินได้, ไข่นํ้า หรือ ผำ ก็เรียก. |
คันทรง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Colubrina asiatica (L.) Brongn. ในวงศ์ Rhamnaceae ดอกสีเหลือง ยอดอ่อนกินได้ ใช้ทำยาได้. |
ค้างคาว ๒ | ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora lunata Willd. ในวงศ์ Passifloraceae ใบคล้ายปีกค้างคาว ด้านล่างของใบมีจุด ๓-๔ จุด ดอกกินได้. |
คุย ๒ | น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Willughbeiaวงศ์ Apocynaceae เช่น W. edulisRoxb. ใช้ย้อมผ้าให้มีสีแดงและใช้ทำยาได้ ผลกินได้. |
คูน ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Colocasia gigantea Hook. f. ในวงศ์ Araceae คล้ายบอน ก้านใบและแผ่นใบสีเขียวอ่อน มีนวล ก้านใบทำให้สุกกินได้, ปักษ์ใต้เรียก อ้อดิบ. |
เครือเขาน้ำ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetrastigma leucostaphyllum (Dennst.) Mabb. ในวงศ์ Vitaceae ขึ้นในป่าดิบ ลำต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า นํ้าในลำต้นกินได้. |
แค | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Sesbania grandiflora (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ดอกมีทั้งสีขาวและสีแดง ยอดอ่อน ดอก และฝักกินได้ เปลือกใช้ทำยา, แคบ้าน ก็เรียก, พันธุ์ที่ดอกสีแดงเรียก แคแดง. |
โคน ๒ | น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้นบริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึงนํ้าตาลดำ ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไปถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosusHeim. |
ไคร้ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Glochidion วงศ์ Euphorbiaceae เช่น ชนิด G. daltonii ( Müll. Arg.) Kurz ผลอ่อนกินได้ รากใช้ทำยา. |
เงาะ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Nephelium lappaceum L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน. |
จัน | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ. |
จาก ๑ | น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามริมฝั่งน้ำกร่อยในป่าชายเลน ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาว ผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก |
จาวมะพร้าว | ชื่อเห็ดชนิด Calvatia craniformis Coker et Couch ในวงศ์ Lycoperdaceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดเป็นก้อนกลมใหญ่ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล โคนสอบ เมื่ออ่อนอยู่กินได้ เมื่อโตเต็มที่ผิวบนย่นหยักคล้ายสมอง. |
จ้ำ ๓ | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Ardisia วงศ์ Myrsinaceae บางชนิดดอกและยอดอ่อนกินได้เรียก ผักจํ้า. |
จำปาดะ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้ |