กบนา | น. ชื่อกบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann) หรือ Rana rugulosus (Wiegmann) ก็มีใช้กัน ในวงศ์ Ranidae หลังสีน้ำตาลอมเขียวมีจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำกระจายทั่วไป ท้องสีขาวนวล กินแมลง เป็นชนิดที่มีแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย. |
กระโดงแดง | ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) P. S. Green ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก |
กระเต็น | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลม ยาว ตรง แบนข้าง และแข็งแรง หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับเหยื่อเช่นปลาในนํ้าหรือแมลงตามท้องทุ่ง พวกที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่มีสีสวยสะดุดตา เช่น กระเต็นน้อยแถบอกดำ ( Alcedo euryzona Temminck) กระเต็นน้อยสามนิ้ว [ Ceyx erithacus (Linn.) ] พวกที่มีขนาดกลาง เช่น กระเต็นลาย [ Lacedo pulchella (Horsfield) ] กระเต็นอกขาว [ Halcyon smyrnensis (Linn.) ] กระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล [ Actenoides concretus (Temminck) ] และพวกที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระเต็นขาวดำใหญ่ [ Megaceryle lugubris (Temminck) ] กระเต็นปักหลักหรือปักหลัก [ Ceryle rudis (Linn.) ]. |
กระท่อม ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก. |
กระท่อมขี้หมู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก |
กระทุ่ม ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและระหว่างก้านใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. |
กระเบา ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่หรือกระเบานํ้า ( H. anthelminthicaPierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลักหรือกระเบียน ( H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดำ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง. |
กระพี้เขาควาย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Graham ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดำแข็งและหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ. |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กระแห, กระแหทอง | น. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus schwanefeldi (Bleeker) หรือ Puntius schwanefeldi (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ. |
กร่าง ๒ | (กฺร่าง) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. |
กราย ๔ | (กฺราย) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia malayana Hook. f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae เนื้อไม้ผ่าง่าย ใช้ทำฟืนและกระเบื้องไม้มุงหลังคา. |
กล้วยน้อย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia vielana Pierre ในวงศ์ Annonaceae กิ่งสีนํ้าตาลดำ ดอกหอม รากสีดำ กลิ่นเหมือนนํ้ามันดิน เชื่อกันว่ารากใช้แก้พิษงู. |
กวัก ๑ | (กฺวัก) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Amaurornis phoenicurus (Pennant) ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสั้น รูปร่างป้อม ขาและนิ้วยาว หน้าผากและด้านล่างลำตัวสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองนํ้า เดินหากินบนพื้นดินหรือบนใบพืชนํ้า เช่น บัว จอก แหน ขณะเดินหางมักกระดกขึ้นกระดกลง ในตอนเช้าหรือพลบคํ่าร้องเสียงดัง “กวัก ๆ ”. |
กะต่อม | น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก. |
กะทัง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Litsea monopetala (Roxb.) Pers. ในวงศ์ Lauraceae มีมากทางปักษ์ใต้ ใบเมื่อขยี้มีกลิ่นฉุนคล้ายการบูร ไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนได้. |
กะทังหัน | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Calophyllum thorelii Pierre ในวงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว ผลเล็ก รูปไข่ เนื้อไม้ใช้ทำพื้น ฝา เสาบ้าน และเสากระโดงเรือได้. |
กะนวล | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Garcinia merguensis Wight ในวงศ์ Guttiferae มียางสีเหลืองจาง ๆ ใช้สระผมได้. |
กะปูด | น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Cuculidae ปากแหลมสั้นหนา ตาสีแดง ลำตัวเพรียว หัว คอ และลำตัวมีขนสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง หากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ในระยะสั้น ๆ ร้องเสียง “ปูด ๆ ” มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ [ Centropus sinensis (Stephens) ] กะปูดเล็ก [ C. bengalensis (Gmelin) ] และกะปูดนิ้วสั้น ( C. rectunguisStrickland), ปูด หรือ กระปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด. |
กะเปียด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Premna tomentosa Willd. ในวงศ์ Labiatae ลักษณะคล้ายต้นสัก แต่ใบเล็กกว่า รูปไข่หรือรี ปลายแหลมก้านยาว เนื้อไม้ละเอียด ใช้ทำประโยชน์ได้, พายัพเรียก สักขี้ไก่. |
กะรัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ. |
กะราง, กะลาง | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อม หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน อาจหากินร่วมกับนกชนิดอื่น ๆ พวกที่อยู่ในวงศ์ Sylviidae มีปากหนาสั้นสีดำปลายแหลม เช่น กะรางหัวหงอก [ Garrulax leucolophus (Hardwicke) ] กะรางคอดำ [ G. chinensis (Scopoli) ] กะรางสร้อยคอเล็ก [ G. monileqer (Hodgson) ] พวกที่อยู่ในวงศ์ Upupidae ได้แก่ กะรางหัวขวาน ( Upupa epops Linn.) ปากยาวแหลมโค้งสีดำ หงอนขนสีส้มขอบดำ ลักษณะหงอนขนเหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลำตัวสีนํ้าตาลอมเหลือง มีแถบดำขาวสลับกัน, ชนิดนี้ การางหัวขวาน หรือ หงอนชบา ก็เรียก. |
กะอวม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Acronychia pedunculata (L.) Miq. ในวงศ์ Rutaceae ผลเล็ก สีเขียวอ่อนหรือสีนวล กินได้, กระเบื้องถ้วย เปล้าขลิบทอง ไพรสามกอ หรือ มะงัน ก็เรียก. |
กันเกรา | (-เกฺรา) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก. |
กา ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Corvus macrorhynchos Wagler วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากใหญ่หนาแบนข้าง ตาสีดำ ตัวสีดำ ร้องเสียง “กา ๆ ”, อีกา ก็เรียก |
กานพลู | (-พฺลู) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ดอกตูมมีรสเผ็ดร้อน ตากแห้งแล้วใช้เป็นเครื่องเทศและทำยา. |
ก้านเหลือง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Nauclea orientalis (L.) L. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระทุ่ม ขึ้นตามริมนํ้า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ในการก่อสร้าง. |
กาน้ำ | น. ชื่อนกน้ำขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Phalacrocoracidae คอยาว ตัวสีดำ ตีนมีพังผืด นิ้วแบบตีนพัดเต็ม ว่ายนํ้าเหมือนเป็ด ดำนํ้าจับปลากิน อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กานํ้าใหญ่ [ Phalacrocorax carbo (Linn.) ] กานํ้าปากยาว ( P. fuscicollisStephens) และกานํ้าเล็ก [ P. niger (Vieillot) ] . |
กาบกี้ | น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่ชนิด Hyriopsis ( Limnoscapha ) myersiana (Lea) ในวงศ์ Amblemidae เป็นหอยกาบขนาดกลาง, กี ก็เรียก. |
การเวก ๒ | (การะ-) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Paradisaeidae แต่ละชนิดมีสีสันหลากหลาย อาจมี ๕-๑๐ สีในตัวเดียวกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย พบในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง และทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีผู้นำมาเลี้ยงตามบ้าน เช่น ชนิด Paradisea apoda Linn. |
กาแวน | น. ชื่อนกขนาดกลาง ชนิด Crypsirina temia (Daudin) วงศ์ย่อย Corvidae ในวงศ์ Corvidae ปากค่อนข้างหนาคล้ายปากอีกา บริเวณหนังส่วนหน้าที่ติดกับโคนปากคล้ายกำมะหยี่สีดำ ม่านตาสีฟ้าสด ลำตัวสีดำ ปลายหางยาวกลมมนแผ่ออกได้คล้ายนกแซงแซง, กระแวน ก็เรียก. |
กำยาน ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Styraxวงศ์ Styracaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง ใบเดี่ยว ด้านบนสีขาว ดอกสีขาว หอมอ่อน ๆ ไม้ต้นชนิดนี้บางชนิดเมื่อเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้ เรียกว่า กำยาน. |
กิ้งโครง ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยง หางสั้น ขาแข็งแรง กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น กิ้งโครงแกลบปีกขาว [ Sturnus sinensis (Gmelin) ] ชนิดที่มีขนาดกลาง เช่น กิ้งโครงคอดำ ( S. nigricollis (Paykull)), คลิ้งโคลง ก็เรียก. |
กุระ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Shirakiopsis indica (Willd.) Esser ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มนํ้าขังและริมคลองนํ้ากร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก. |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
แก ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Corvus splendens Vieillot วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae รูปร่างคล้ายกาแต่ตัวและปากเล็กกว่า ขนตามลำตัวสีดำบางตอนมีสีเทาปน คอ อก และหลังสีเทา ปีกสีดำ เล็บแข็งแรงและคม, อีแก ก็เรียก. |
แก้ว ๕ | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสดเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทำด้ามมีดและไม้ถือ. |
ไก๋ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด T ernstroemia gymnanthera (Wight et Arn.) Bedd . ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามป่าโปร่งและป่าเขาสูง ดอกคล้ายสารภีป่า ผลสีแดง เปลือกมีนํ้าเมือกเหนียว ๆ ใช้ผสมปูนโบก, ไก๋แดง ก็เรียก. |
ไก่กอม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิด ในสกุล Ehretiaวงศ์ Ehretiaceae คือ ชนิด E. acuminata R. Br. ขอบใบจักถี่ ผลกลมเล็ก กินได้และชนิด E. timorensis Decne. ดอกเล็กมาก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลิ่นหอม. |
ไก่ฟ้า | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Phasianidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับไก่บ้าน ปากสั้นแข็งแรง ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย ตัวผู้ส่วนใหญ่ที่หน้ามีแผ่นหนังสีสดใสคล้ายหน้ากาก เกือบทุกชนิดมีหงอนเป็นพู่ขน คอยาว ลำตัวป้อม มีหลายสี ขาแข็งแรง หางยาวโดยเฉพาะตัวผู้มีหางกะลวยสวยงามเป็นพิเศษและสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ ผลไม้สุก และเมล็ดพืช เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว [ Lophura nycthemera (Linn.) ] พญาลอหรือไก่ฟ้าพญาลอ ( L. diardi (Bonaparte)) ไก่ฟ้าหางลายขวาง [ Syrmaticus humiae (Hume) ] . |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ขนุนสำปะลอ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg ในวงศ์ Moraceae ใบใหญ่เป็นแฉก ๆ ผลมีเมล็ดมาก กินได้ พันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด เรียก สาเก เนื้อกินได้. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) . |
ขล้อเงาะ | (ขฺล้อ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia cambodiana Gagnep. ในวงศ์ Combretaceae ใบรีหรือรูปไข่ ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ผลมี ๕ ครีบ, คร่อเงาะ ก็เรียก. |
ขล้อเทียน | (ขฺล้อ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Anogeissus rivularis (Gagnep.) O. Lecompte ในวงศ์ Combretaceae ใบเล็กลักษณะคล้ายใบทับทิม กิ่งมักเรียวและย้อย ช่อดอกและผลเป็นกระจุกกลม, คร่อเทียน ก็เรียก. |
ขลาย | (ขฺลาย) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ชนิด Diospyros rubraLecomte ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่าทางภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทำฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย (สมุทรโฆษ). |
ขลุ่ยเพียงออ | น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่ง ขนาดกลาง ใช้เป่าและเป็นหลักเทียบเสียงในวงเครื่องสาย. |
ข่อย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด Streblus asper Lour. ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าตํ่าและริมแม่นํ้าลำคลอง ใบเล็ก สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทำกระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ เปลือก เนื้อไม้ และเมล็ดใช้ทำยาได้. |
ขี้หนอน | (-หฺนอน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Zollingeria dongnaiensis Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าโปร่งที่ตํ่า ผลมี ๓ ครีบ. |