กระจุ๋มกระจิ๋ม | ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, จุ๋มจิ๋ม ก็ว่า. |
เกลือจิ้มเกลือ | ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อคนเค็มมาพบกัน. |
ข้าวต้มจิ้ม | น. ข้าวเหนียวใส่ไส้กล้วยน้ำว้า ห่อใบตอง ต้มสุก แล้วตัดเป็นชิ้น ๆ โรยมะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือเล็กน้อย. |
จิ่ม | ก. ล่วงเข้าไปแต่น้อย เช่น ใส่กลอนจิ่มไว้นิดเดียว. |
จิ้ม | ก. จุ่ม, จุ้ม, เช่น จิ้มนํ้าพริก จิ้มหมึก |
จิ้ม | เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทิ่มหรือแทงเบา ๆ เช่น จิ้มฟัน, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ เช่น เอามะม่วงจิ้มพริกกะเกลือ. |
จิ้มก้อง | ก. เจริญทางพระราชไมตรีเฉพาะกับประเทศจีน โดยนำพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิตามเวลาที่กำหนด ปรกติ ๓ ปี ต่อครั้ง เช่น แต่งทูตออกไปจิ้มก้อง (พงศ. ร. ๓), (ปาก) โดยปริยายหมายถึงนำสิ่งของเป็นต้นไปกำนัลเพื่อเอาใจ. |
จิ้มฟันจระเข้ | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็นท่อ ลำตัวยาวเรียวมาก หน้าตัดเป็นเหลี่ยม ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ครีบท้องไม่มี ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไข่ไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีนํ้าตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด Doryichthys boaja (Bleeker) ส่วนในทะเลได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น Doryrhamphus, Corythoichthys, Trachyramphus มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่. |
จิ้มลิ้ม | ว. น่ารักน่าเอ็นดู (มักใช้แก่หน้าตาหญิงรุ่นสาว). |
จุ๋มจิ๋ม | ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, กระจุ๋มกระจิ๋ม ก็ว่า. |
น้ำจิ้ม | น. เครื่องจิ้มลักษณะเป็นน้ำใสหรือข้น โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน ใช้ชูรสอาหาร เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน น้ำจิ้มอาหารทะเล. |
ประจิ้มประจ่อง | ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย. |
ประจิ้มประเจ๋อ | ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก. |
ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ | ว. แสดงอาการกินหมากจัดเอาอย่างเขา |
ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ | เจ้าหน้าเจ้าตา, ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ. |
แมลงจิ้มฟันจระเข้ | น. ดาโป้งเป้ง. (ดู ดาโป้งเป้ง). |
ไม้จิ้มฟัน | น. ไม้ชิ้นเล็ก ๆ ปลายแหลม ใช้แคะเศษอาหารในซอกฟัน. |
ก้อง ๒ | น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. |
กุ้งเต้น ๑ | น. ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งแม่น้ำที่ยังสด ผ่าหลัง ราดด้วยน้ำมะนาว กินกับน้ำจิ้ม, ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งฝอยเป็น ๆ บีบมะนาว ปรุงด้วยพริกตำและน้ำปลา. |
ข้าวตังหน้าตั้ง | น. ของว่างชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยข้าวตังทอดกรอบกับเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง เรียกว่า หน้าตั้ง. (ดู ข้าวตัง และ หน้าตั้ง ประกอบ). |
ข้าวมันไก่ | น. ข้าวเจ้าหุงด้วยน้ำต้มกระดูกไก่โดยหุงแบบไม่เช็ดน้ำ กินกับไก่ตอนต้มหั่นเป็นชิ้น มีเต้าเจี้ยว ขิงแก่ และพริกน้ำส้มหรือซีอิ๊วเป็นน้ำจิ้ม. |
ข้าวหมูกรอบ | น. ข้าวสุกมีหมูกรอบวางข้างบน กินกับน้ำจิ้มทำจากซีอิ๊วและพริกชี้ฟ้าหั่น. |
จ่อม ๑ | น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาหรือกุ้งตัวเล็ก ๆ หมักเกลือไว้ระยะหนึ่ง แล้วใส่ข้าวสารคั่วป่น ทำด้วยปลาเรียกว่า ปลาจ่อม ทำด้วยกุ้งเรียกว่า กุ้งจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
จิงจัง, จิ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า. |
จุ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า. |
เจ่า ๑ | น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
แจ่ว | น. เครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ทำด้วยนํ้าปลาร้าหรือน้ำปลาใส่พริกป่น. |
ซอส | น. เครื่องปรุงรส มีลักษณะเหลวหรือค่อนข้างข้น ใช้จิ้มหรือปรุงอาหารเพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น. |
ดาโป้งเป้ง | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Nepidae ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Laccotrephesเช่น ชนิด L. ruberLinn. และ L. robustus Stål ลำตัวยาว ๓-๔ เซนติเมตร มีหางยาวยื่นออกมา ๒ เส้น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ขาคู่หน้าแข็งแรง จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นลูกน้ำหรือดักแด้ยุงกิน, มวนแมงป่องน้ำ หรือ แมลงดาโป้งเป้ง ก็เรียก, พายัพเรียก ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว, อีสานเรียก แมงฮอด อีงอด งอดน้ำ หรือ กะโซ่น้ำ, ปักษ์ใต้เรียก แมลงจิ้มฟันจระเข้ หรือ แมลงดาขี้ควาย. |
ดือ | น. สะดือ เช่น ขุนช้างฉุดผ้าคว้าจิ้มดือ (ขุนช้างขุนแผน). |
ทองพลุ | น. ขนมแป้งทอดชนิดหนึ่ง ทอดเป็นก้อนกลมพอง จิ้มน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้ง หรือผ่าแล้วใส่ไส้, โบราณเรียก ท้องปลุ. |
น้ำพริก | น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วยกะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทนกะปิก็มี เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รสแต่ค่อนข้างหวาน ทำด้วยถั่วทองคั่วแล้วโขลก เนื้อกุ้งโขลก ผสมกับกะทิ และเครื่องปรุงรส กินกับเหมือดคือผักบางอย่าง ใช้กินกับขนมจีน, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม. |
บูดู | น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุงรส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดูแบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้. |
ป่น | น. เครื่องจิ้มอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยนํ้าปลาร้า. |
ปลาจ่อม | น. ปลาเล็ก ๆ ที่หมักด้วยเกลือและข้าวคั่วเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
ปลาเจ่า | น. ปลาที่หมักด้วยเกลือและข้าวหมากเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
ปลาม้ำ | น. ปลาร้าญวน ทำด้วยปลาดิบหมักเกลือ ใส่ข้าวคั่ว ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
ปลาร้า | น. ปลาหมักเกลือ ใส่ข้าวคั่ว ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
ปากซ่อม | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด หลายสกุล วงศ์ย่อย Scolopacinae ในวงศ์ Scolopacidae ปากยาวแหลม ปลายปากโป่ง ลำตัวป้อม มีลายสีนํ้าตาลและขาว ขาสั้น มักอยู่ตามลำพัง หากินในเวลาพลบคํ่าและกลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจำพวกหนอนและไส้เดือนในดินลักษณะคล้ายกับการจิ้ม เช่น ปากซ่อมหางเข็ม [ Gallinago stenura (Bonaparte) ] ปากซ่อมดง ( Scolopax rusticola Linn.) ปากซ่อมเล็ก [ Gallinago minima (Brünnich) ], ปากส้อม ก็เรียก. |
เปาะเปี๊ยะ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนำแป้งสาลีมาทำให้สุกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. |
แป๊ะซะ | น. ชื่ออาหารใช้ปลานึ่งจิ้มนํ้าส้มกินกับผัก. |
ฝังเข็ม | ก. เอาเข็มที่ทำเป็นพิเศษชะโลมน้ำมันมนตร์ วางบนแขนให้ปลายจิ้มลงในเนื้อ แล้วเสกให้ค่อย ๆ เข้าไปในแขนโดยเชื่อว่าเพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน |
พริกกะเกลือ | น. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตำจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล. |
ไม้ ๑ | น. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน ว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้ |
สร่ง ๒ | (สะหฺร่ง) น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับรากผักชี พริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก ทอดให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม. |
ส้อม | เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน |
สะเต๊ะ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่ปรุงรสแล้วเสียบไม้ย่างไฟ กินกับนํ้าจิ้มและอาจาด. |
สัก ๓ | ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกจิ้มที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐานบนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น. |
สุกียากี้ | น. ชื่ออาหารแบบญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ เต้าหู้ และผักบางชนิด, ไทยนำมาดัดแปลงโดยใช้เนื้อสัตว์ ผักต่าง ๆ วุ้นเส้น และไข่ เป็นต้น ลวกในน้ำซุป กินกับน้ำจิ้ม, บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า สุกี้. |
แสง ๑ | เพชรพลอย เช่น ตาวจิ้มแสง ว่า ดาบฝังพลอย. |