Intellectual property | ทรัพย์สินทางปัญญา [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Intellectual property | ทรัพย์สินทางปัญญา [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
WIPO | ชื่อย่อขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาในระดับนานาชาติ (World Intellectual Property Organization), ชื่อย่อขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาในระดับนานาชาติ (World Intellectual Property Organization), Example: ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนการใช้งานอันมีทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้การคุ้มครองตามเจตนาของมนุษยชาติ ขยายขอบเขตถึงสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ ศิลปะ WIPO มีบทบาทสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพ และความสุขในชีวิตของมนุษย์และรวมถึงสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศต่าง ๆ สำนักงานใหญ่ WIPO ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์และยังเป็น 1 ใน 16 หน่วยงานพิเศษเฉพาะของสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่บริหารจัดการ สนธิสัญญาระดับนานาชาติ 23 เรื่องที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ ของทรัพย์สินทางปํญญาซึ่งมีประเทศสมาชิก จำนวน 184 ประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา, Example: ที่โดยทั่วไปหมายถึงทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ เกิดขึ้นจากความพากเพียรในสติปัญญา/การรอบรู้ ส่วนใหญ่หมายถึง สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า การออกแบบ และลิขสิทธิ์ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
TRIPs | ความตกลงเพื่อกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองขั้นต่ำ สำหรับทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิก WTO [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
PR, Intellectual Property Rights | การมีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
World Intellectual Property Organization Performances and Phonograms Treaty (1996) | สนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ค.ศ. 1996) [TU Subject Heading] |
World Intillectual Property Organization Copyright treaty (1996) | สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ค.ศ. 1996) , สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ค.ศ. 1996) [TU Subject Heading] |
Agreement on Trade-Related Aspect of Intellectural Property Rights (1994) | ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (ค.ศ. 1994) [TU Subject Heading] |
Doha Declaration on the TRIPs Agreement and Public Health (2001) | ปฏิญญาโดฮาความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าและการสาธาณสุข (ค.ศ. 2001) [TU Subject Heading] |
Intellectual property | ทรัพย์สินทางปัญญา [TU Subject Heading] |
Intellectual property (International law) | ทรัพย์สินทางปัญญา (กฎหมายระหว่างประเทศ) [TU Subject Heading] |
Intellectual property infringement | การละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา [TU Subject Heading] |
Intellectual Property Right (IPRs) | สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา, Example: สิทธิของเจ้าของงานที่เกิดจกการประดิษฐ์ คิดค้น ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะได้ดังนี้ 1) ลิขสิทธิ์ข้างเคียง ได้แก่ งานวรรณกรรม ศิลปกรรม ซึ่งรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และงานฐานข้อมูล ส่วนสิทธิข้างเคียง ได้แก่ สิทธิของนักแสดง การบันทึกเสียง และการแพร่เสียงแพร่ภาพ 2) สิทธิบัตร ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่เป็นของใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ 3) เครื่องหมายการค้า ได้แก่ เครื่องหมายที่แสดงถึงความแตกต่างของสินค้าหรือบริการของแต่ละบริษัท หรือกลุ่มอุตสาหกรรม [สิ่งแวดล้อม] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
Trade Facilitation Action Plan | แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างเอเชีย-ยุโรป " มีการจัดลำดับความสำคัญไว้หลายสาขา เช่น ทางด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา E-commerce การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล กระบวนการทางด้านศุลกากร ฯลฯ " [การทูต] |
Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights | หมายถึง สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เช่น เครื่องหมายการค้า (trademark) ลิขสิทธิ์ (copyrights) และสิทธิบัตร (patent) เป็นต้น [การทูต] |
World Intellectual Property Organization | องค์การเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้า ถือกำเนิดจากอนุสัญญากรุงปารีส ปี ค.ศ. 1883 และอนุสัญญากรุงเบอร์นส์ ปี ค.ศ. 1886 ว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมอนุสัญญาจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้านี้ ได้มีการลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1967 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งของสหประชาชาติ และมีประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การแล้วรวม 155 ประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการให้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ทั่วโลกได้รับการธำรงรักษาและเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและวัฒนธรรม และเอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดวิทยาการเทคโนโลยี รวมทั้งให้เผยแพร่งานวรรณกรรม และศิลปกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และทรัพย์สินทางลิขสิทธิ์กับสิทธิที่ใกล้เคียงองค์การมีสำนักเลขาธิการตั้ง อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตำแหน่งหัวหน้าขององค์การนี้ เรียกว่า ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งขณะนี้ได้แก่ Dr.Arpad Bogsch [การทูต] |
Working Group on Intellectual Property Cooperation | คณะทำงานด้านความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน [การทูต] |
World Intellectual Property Organization | องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก [การทูต] |
ทรัพย์สินทางปัญญา | ทรัพย์สินทางปัญญา, Example: ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เป็นสิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ แบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม แบ่งออกได้เป็น สิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า การออกแบบอุตสาหกรรม ความลับทางการค้า และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (2) ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนตร์ หรืองานด้านอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานฐานข้อมูล ดังนั้น สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น <p> ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วสองครั้งโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |