ทศพร | น. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ. |
กรรกศ | (กันกด) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กรรพุม, กรรพุ่ม | (กัน-) น. มือที่ประนม เช่น ถวายกรกรรพุม (ม. คำหลวง ทศพร) |
กรีฑาภิรมย์ | ว. น่ารื่นรมย์ยิ่งในกรีฑา, (โบ) ใช้ว่า กรีธาภิรมย์ ก็มี เช่น แห่งอรอาตมชายา อันกรีธาภิรมย์ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กรุง | กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กฤษฎาญชลี | (กฺริดสะดานชะลี) ก. มีอัญชลีอันกระทำแล้ว, กระทำอัญชลี, เช่น กฤษฎาญชลียะยุ่งแล (ม. คำหลวง ทศพร), ในวรรณคดีแผลงไปเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤษฎาญชลิต เช่น กฤษฎาญชลิตไหว้ (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิตวา เช่น อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิศ เช่น อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กฤษฎาญชวเลศ เช่น ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์ (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลี เช่น กฤษฎาญชุลีน้อม (ฉันทลักษณ์). |
กลิ่ง | (กฺลิ่ง) ก. เลือกสรร เช่น อันว่าพระพรใดทงงผองสิบสิ่ง แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว (ม. คำหลวง ทศพร). |
กว่าชิ่น, กว่าชื่น | ว. ไปทั้งสิ้น, ยิ่งนัก, เช่น ข้าเห็นร่มชมพูตรูรัตนพิศาล ตรงตระการกว่าชื่นแล (ม. คำหลวง ทศพร). |
กะหลาป๋า ๑ | บางทีเขียนเป็น กาหลาป๋า เช่น มีพระคลังพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศ เครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม) |
กัณฑ์ | (กัน) น. ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์ |
กันดาล | (-ดาน) น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อนน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
กันเมียง | น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม (ม. คำหลวง ทศพร). |
กัลชาญ | (กันละชาน) ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กาโมทย | (-โมด) ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่งความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณีสาวสวรรค์ประเสริฐนั้น (ม. คำหลวง ทศพร). |
กำราล | (-ราน) น. เครื่องลาด เช่น นั่งในกำราลไพโรจน์ในนิโครธารามรังเรจน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
กู่ ๑ | น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน (ม. คำหลวง ทศพร) |
โกฐาส | (โกดถาด) น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็นโกฐาสถ้อย (ม. คำหลวง ทศพร). |
เคี้ย | ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวารทุกแห่งแล (ม. คำหลวง ทศพร). |
จรกลู่ | (จอระกฺลู่) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้นกลางโพยมากาศ (ม. คำหลวง ทศพร). |
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี | (ชนมา-) น. อายุ, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ชิ่น | ก. สิ้น, หมด, เช่น อันว่าพระญาติท้งงชิ่น สทิ่นท้ยนจินดา (ม. คำหลวง ทศพร). |
เชื้อ ๒ | ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป (ม. คำหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่กับคำ เชิญ เป็น เชื้อเชิญ |
ซวด | ก. เกินขนาด, นูนขึ้นสูงขึ้น, เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิซวดเสมออก (ม. คำหลวง ทศพร). |
ดนุ, ดนู | ส. ฉัน, ข้าพเจ้า, เช่น ดนุถามก็เจ้าไซร้ บมิตอบณคำถาม วนิดาพยายาม กะละเล่นสำนวนหวล ก็และเจ้ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน (มัทนะ), เปนสังวาลย์วรรเวจเขบจขบวน คือคำนวณในดนูดูงามกว่าชื่นแล (ม. คำหลวง ทศพร). |
ดล ๒ | (ดน) ก. ถึง เช่น เท่าถึงอรหนตดล นฤพาน โสดเทอญ (ม. คำหลวง ทศพร). |
ตยุติ | (ตะยุติ) ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติลงเกอด (ม. คำหลวง ทศพร). |
ตระการ | ประหลาด, แปลก, เช่น ข้าเห็นร่มชมพู ตรูรัตนพิสาล ตรงตระการกว่าชื่นแล (ม. คำหลวง ทศพร), เสียงแตรสังขแลพาทยเภริยนุดนตรี อึงเองบพักตี ตระการ (อนิรุทธ์) |
ตู ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ พหูพจน์, เช่น อันว่าพวกตูผู้เถ้า ก็จะน่งงเฝ้าแฝงหลัง (ม. คำหลวง ทศพร). |
ถนิมกาม | ว. น่ารัก เช่น นางนงถ่าวถนิมกาม (ม. คำหลวง ทศพร). |
ถ่าว | ว. รุ่นสาว เช่น นงถ่าว, แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี (ม. คำหลวง ทศพร) |
ทชี | (ทะชี) น. นักบวช เช่น พระบาททงงสองฉลองขึ้นเหนือเกล้า ทชีเถ้ากาฬเทพิลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ทรวด | (ซวด) ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก (ม. คำหลวง ทศพร). |
ทลบม | (ทนละบม) ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น เหตุนางมีองค์อันอุดดม ดุจทลบมด้วยรัตตจันทน์น้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
นามไธย | (นามมะไท) น. ชื่อ เช่น อันว่านามไธยทั้งหลาย หมายแห่งราชธิดาทงงเจ็ดองค์ (ม. คำหลวง ทศพร). |
นารีสูร | น. เทพธิดา เช่น หนึ่งคือนารีสูรสุธรรมาก็ดี (ม. คำหลวง ทศพร). |
นาศ | ก. หมด, สิ้น, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์ (ม. คำหลวง ทศพร). |
บเอ | ว. มิใช่เอก, มิใช่หนึ่ง, มาก เช่น อักษรอรรถบเอ (ม. คำหลวง ทศพร). |
บารนี | ดั่งนี้ เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนี (ม. คำหลวง ทศพร). |
ปโยธร | น. “ผู้ทรงไว้ซึ่งนํ้า” คือ เมฆ เช่น อันว่าปโยธรอัศจรรย์ ก็ให้โบษขรพรรษธารา (ม. คำหลวง ทศพร) |
พิธี | การกำหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น (ม. คำหลวง ทศพร). |
เพณี | น. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี (ม. คำหลวง ทศพร). |
มกุฎ | (มะกุด) ว. สูงสุด, ขั้นสูง, เช่น อันกอปรด้วยลักณณษการอดุลย์ สุนทรเทพมกุฎ (ม. คำหลวง ทศพร), เจ้าก็เกิดในมกุฎเกศกรุงสีวีราษฎร์ (ม. ร่ายยาว กุมาร) (ป., ส. มกุฏ). |
ยาดา | น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตรก็ดี (ม. คำหลวง ทศพร). |
หญิบ | (หฺยิบ) ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร (ม. คำหลวง ทศพร). |
อันโทล | (-โทน) ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หากเที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล (จารึกวัดศรีชุม), นางก็อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้ (ม. คำหลวง ทศพร) |