ทั่วไป, ทั่ว ๆ ไป | ว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จำกัด เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายทั่วไป ใช้กับทุกคน, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป. |
กอง ๒ | น. กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, เรียกหัวหน้าทหารหรือตำรวจที่มียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก ว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไป เรียกว่า ผู้กอง เฉพาะกองร้อยตำรวจเอกนิยมเรียกว่า สารวัตร หรือ ผู้บังคับกอง |
การบ้านการเมือง | น. กิจการบ้านเมืองทั่ว ๆ ไป. |
ไข่เน่า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้. |
ค่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และบางครั้งผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดำ [ Presbytis melalophos (Raffles) ] ค่างแว่นถิ่นใต้ [ P. obscura (Reid) ] ค่างหงอกหรือค่างเทา [ P. cristata (Raffles) ] และค่างแว่นถิ่นเหนือ ( P. phayrei Blyth). |
คุณนาย | น. คำยกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยังมิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ. |
ฆราวาส | (คะราวาด) น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช. |
จเร | (จะ-) น. ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร. |
จารึก ๒ | ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. |
ชื่อ | น. คำที่ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สถานที่ และสิ่งของโดยทั่ว ๆ ไปหรือโดยเฉพาะเจาะจง |
ตามีตามา, ตาสีตาสา | น. ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป. |
ท้องตลาด | น. ตลาดทั่ว ๆ ไป, ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ. |
เที่ยว ๒ | ก. ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลินตามสบาย เช่น ไปเที่ยวงานกาชาด, กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป เช่น ฉันเที่ยวตามหาเธอทั้งวัน, กิริยาที่ไปหรือทำในหลายที่ทั่ว ๆ ไป ใช้ประกอบกับกริยาอื่น ผู้พูดพูดในทำนองไม่เห็นด้วยว่าควรทำ เช่น เรื่องนี้เป็นความลับ อย่าเที่ยวพูดไปนะ. |
ธาตุ ๑, ธาตุ- | (ทาด, ทาตุ-) น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) ธาตุนํ้า (อาโปธาตุ) ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ธาตุลม (วาโยธาตุ) แต่ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสิ่งที่มีชีวิตเพิ่มอีก ๒ ธาตุ คือ อากาศธาตุ (ที่ว่าง) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้). |
ธาตุ ๒ | (ทาด, ทาตุ-) น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันต-ธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ |
ใบ้ | ว. พิการแต่กำเนิด ไม่สามารถพูดเป็นถ้อยคำที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจ, โดยปริยายหมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. |
ประชาชน, ประชาราษฎร์ | น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน. |
ประสม | ก. รวมกันเข้า (เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป). |
ผ้าผ่อน | น. ผ้าทั่ว ๆ ไป, ผ้านุ่งผ้าห่ม. |
ฝูง | น. พวก, หมู่, (ใช้แก่คนสามัญทั่ว ๆ ไป) เช่น ฝูงคน ฝูงชน, ใช้แก่อมนุษย์สามัญทั่ว ๆ ไป เช่น ฝูงเทวดา ฝูงยักษ์, ใช้แก่สัตว์ (นอกจากช้าง) เช่น ฝูงสัตว์ ฝูงวัว ฝูงควาย ฝูงมด. |
พจนานุกรม | (-กฺรม) น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มาของคำเป็นต้นด้วย. |
เพื่อน ๆ | น. เพื่อนทั่ว ๆ ไป เช่น พวกเพื่อน ๆ. |
ภูมิแพ้ | (พูม-) น. สภาพที่ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปรกติต่อสิ่งที่ตามธรรมดาเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนทั่ว ๆ ไปแล้วจะไม่มีอันตรายใด ๆ จะมีอันตรายก็เฉพาะในคนบางคนที่แพ้สิ่งนั้นเท่านั้น. |
มด ๒ | ใช้เป็นคำประกอบกับคำ หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป. |
มนุษย์มนา | น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. |
มะม่วงหิมพานต์ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Anacardium occidentale L. ในวงศ์ Anacardiaceae ผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง ยางเป็นพิษ มีเมล็ดอยู่ภายใน คั่วแล้วกินได้ ก้านผลอวบนํ้า ลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตว่า เมล็ด. |
มัน ๓ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. |
ย่อม ๑ | คำช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย. |
โยม | เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์. |
รอบตัว | ว. ทั่ว ๆ ไป เช่น ความรู้รอบตัว. |
ร้อยแก้ว | น. ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย เช่น ปฐมสมโพธิกถา, งานเขียนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ร้อยกรอง. |
รีม | น. หน่วยนับจำนวนแผ่นกระดาษ กำหนดว่า กระดาษ ๕๑๖ แผ่น เป็น ๑ รีม แต่โดยทั่ว ๆ ไปถือว่า กระดาษ ๔๘๐ หรือ ๕๐๐ แผ่น เป็น ๑ รีม. |
ลูกกรด | ชื่อกระสุนชนิดหนึ่ง เล็กกว่ากระสุนทั่ว ๆ ไป ปลอกทำด้วยโลหะ หัวกระสุนทำด้วยตะกั่ว มีลูกปรายและดินปืนอยู่ข้างใน มีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก. |
ไล้ | ก. ทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป เช่น ไล้ครีมให้ทั่วหน้า, เกลี่ยให้เสมอกัน, เกลี่ยให้เรียบ, เช่น ไล้ปูน. |
เว้น | ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทำหรือไม่พึงกระทำ) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคำอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น. |
โศกนาฏกรรม | (โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ) น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก. |
สงฆ์ | ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. |
สอดส่อง | ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้องสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร. |
สาธารณ์ | ทั่ว ๆ ไป เช่น ของสาธารณ์. |
สุขนาฏกรรม | (-นาดตะกำ) น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต. |
หมวด | กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท |
หมู่ ๑ | กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๑๐ คน มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นจ่า. |
อากาศ, อากาศ- | บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. |