ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*น้ำกร่อย*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: น้ำกร่อย, -น้ำกร่อย-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
น้ำกร่อย(n) brackish water, Example: น้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นน้ำกร่อยที่ต้องมีค่าความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสม, Thai Definition: น้ำจืดปนน้ำเค็ม

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
กดเหลืองน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
กะต่อมน. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก.
ก้ามกรามน. ชื่อกุ้งชนิด Macrobrachium rosenbergii (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามใหญ่สีฟ้าหรือสีคราม มีหนาม ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อยแล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด, กุ้งก้ามคราม หรือ กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง.
กุ้งนางน. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด.
ข้างลาย ๑น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Terapon และ Pelates วงศ์ Teraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๓๓ เซนติเมตร เช่น ชนิด T. jarbua (Forsskål), P. quadrilineatus (Bleeker), ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก.
จาก ๑น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามริมฝั่งน้ำกร่อยในป่าชายเลน ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาว ผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก
จาก ๓น. ชื่อปูชนิด Varuna litterata (Fabricius) ในวงศ์ Grapsidae ลำตัวแบน สีน้ำตาลอมเหลือง อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.
จุมพรวดน. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gobiidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes, Periophthalmus ทำรูอยู่ตามป่าชายเลน รูปร่างและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด B. boddarti (Pallas), กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
นวลจันทร์ ๒น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด Chanos chanos (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก.
เปี้ยว ๑น. ชื่อปูทะเลขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล Ucaวงศ์ Ocypodidae ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่เท่าหรือโตกว่าลำตัว และอีกข้างหนึ่งเล็กกว่ามาก ส่วนตัวเมียมีก้ามขนาดไล่เลี่ยกันทั้ง ๒ ข้าง อาศัยอยู่ตามชายเลนในน้ำกร่อยหรือทะเล เช่น ชนิด U. dussumieri (H. Milne Edwards), ก้ามดาบ ก็เรียก.
ริวกิวน. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อย ชนิด Arius thalassinus (Rüppell) ในวงศ์ Ariidae ลำตัวกลม ยาว ท้องแบน ปลายจะงอยปากมนในปลาขนาดเล็ก และแหลมป้านในปลาขนาดโต ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนปนแดง หรือฟ้าอมเทา ตัวผู้มีพฤติกรรมฟักไข่และดูแลตัวอ่อนโดยอมไว้ในช่องปาก พบห่างฝั่งมากกว่าปลากดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘๕ เมตร, กดทะเล กดโคกกะโส เลียวเซียว ลู่ทู่ กด หรือ อุก ก็เรียก.(ดู กด และ อุก).
ไรน้ำน. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ cladocera รูปร่างแตกต่างกันไป โดยทั่วไปลำตัวกลมคล้ายไข่ ขนาดยาว ๐.๔-๑.๘ มิลลิเมตร มีแผ่นเปลือกคลุมประกบซ้ายขวา ท้ายสุดของส่วนท้องเป็นหนามแหลมยื่นและแยกเป็น ๒ แฉก ปากเล็ก กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พบตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ไรแดง [ Moina macrocopa (Straus) ] ในวงศ์ Daphnidae ไรน้ำกร่อย (Diaphanosomaspp.) ในวงศ์ Sididae, ลูกไร ก็เรียก.
สงกรานต์ ๒(-กฺราน) น. สัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.
เสือพ่นน้ำน. ชื่อปลาน้ำกร่อยทุกชนิดในสกุล Toxotesวงศ์ Toxotidae บางชนิดอยู่ได้ดีในเขตน้ำจืด ทุกชนิดมีพฤติกรรมในการว่ายเสมอผิวน้ำและล่าเหยื่อจำพวกแมลงและแมงเป็นส่วนใหญ่ที่อยู่เหนือผิวน้ำได้ถึง ๓ เมตร ด้วยการพ่นเม็ดน้ำเป็นทางให้ไปโดนเหยื่อตกลงมาเป็นอาหาร ทุกชนิดมีพื้นลำตัวและครีบสีเงินอมเหลืองแกมเขียว ที่สำคัญคือ มีแถบหรือแต้มสีดำพาดขวางอยู่ตั้งแต่หัวถึงคอดหาง ขนาดยาว ๓๐-๕๐ เซนติเมตร, เสือ ก็เรียก.
แสม ๒(สะแหฺม) น. ชื่อปูน้ำกร่อยหลายชนิดในสกุล Episesarma วงศ์ Grapsidae ลักษณะกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม สีคล้ำค่อนไปทางน้ำตาลดำ ระหว่างตามีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกฟูก อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน เช่น ชนิด E. mederi (H. Milne Edwards) ชนิดนี้ถ้านำมาดองน้ำเกลือ เรียก ปูเค็ม.
หนวดพราหมณ์ ๒(หฺนวดพฺราม) น. ชื่อปลานํ้าจืดหรือน้ำกร่อยในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลม ปากอยู่ตํ่ามาก ตาเล็ก เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สำคัญก้านครีบส่วนล่างของครีบอกแยกกันและยื่นเป็นเส้นคล้ายหนวดหลายเส้นยาวเลยครีบหาง ลำตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า.
หมอเทศน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Oreochromis mossambicus (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร.
หัวแข็ง ๒น. ชื่อกุ้งชนิด Exopalaemon styliferus (H. Milne-Edwards) ในวงศ์ Palaemonidae ลำตัวใส หัวมีผิวเกลี้ยงเรียบ ปลายกรีงอนขึ้นมีสีแดง ปลายหางสีแดง อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ส่วนใหญ่พบในทะเลหรือน้ำกร่อย บางครั้งพบในน้ำจืด.
ไหล ๑น. ชื่อปลารูปร่างกลมยาวและเคลื่อนที่คล้ายงู มีหลายวงศ์ในหลายอันดับ ส่วนใหญ่ไม่มีเกล็ด มีเมือกมาก เช่น ไหลนาหรือไหลบึง [ Monopterus albus (Zuiew) ] ในวงศ์ Monopteridae ส่วนชนิดที่มักพบในน้ำกร่อย ได้แก่ชนิด Ophisternon bengalensis (M’ clelland) ในวงศ์ Synbranchidae นอกจากนี้ก็เป็นปลาไหลทะเลทุกชนิดทุกสกุล ในวงศ์ Muraenidae, Muraenesocidae, Ophichthyidae, อีสานเรียก เอียน หรือ เอี่ยน สำหรับปลาไหลนา.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
brackishที่น้ำกร่อย [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Brackish zoneเขตน้ำกร่อย, Example: บริเวณที่น้ำจากแม่น้ำไหลมาบรรจบกับน้ำทะเล เนื่องจากเขตน้ำกร่อยเป็นบริเวณที่ผสมผสานกันระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม เขตน้ำกร่อยจึงเป็นพื้นที่ที่รวมของบรรดาสัตว์น้ำจากท้องทะเลมากมายหลายชนิดจนอาจเรียกได้ว่าเป็นอู่ชีวิตของทะเล [สิ่งแวดล้อม]
Brackish water ecologyนิเวศวิทยาน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Brackish water fishesปลาน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Brackish watersน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Estuariesบริเวณน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Estuarine biologyชีววิทยาน้ำกร่อย [TU Subject Heading]
Brackish Water Depositตะกอนน้ำกร่อย, Example: ตะกอนที่น้ำกร่อยพัดพามาทับถมแล้วเกิดเป็นดิน ในประเทศไทยพบที่ราบภาคกลางตอนใต้ ตั้งแต่แถวทุ่งรังสิตขึ้นไปถึงจังหวัดอยุธยา ดินที่เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยนี้จะเป็นดินเปรี้ยวจัด ในชั้นหน้าตัดของดินมักจะพบสารสีเหลืองคล้างฟางข้าว เกิดขึ้นในดินชั้นใดชั้นหนึ่ง สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน [สิ่งแวดล้อม]
Brackish Water Sedimentตะกอนน้ำกร่อย, Example: ตะกอนที่น้ำกร่อยพัดพามาทับถมแล้วเกิดเป็นดิน ในประเทศไทยพบที่ราบภาคกลางตอนใต้ ตั้งแต่แถวทุ่งรังสิตขึ้นไปถึงจังหวัดอยุธยา ดินที่เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยนี้จะเป็นดินเปรี้ยวจัด ในชั้นหน้าตัดของดินมักจะพบสารสีเหลืองคล้างฟางข้าว เกิดขึ้นในดินชั้นใดชั้นหนึ่ง สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน [สิ่งแวดล้อม]
Brackish or Estuaries Ecosystemระบบนิเวศน้ำกร่อย, Example: ระบบนิเวศในบริเวณที่น้ำมีความเค็มตั้งแต่ 2-30 ส่วนในพันส่วน เป็น ระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำบริเวณที่มีการผสมผสานกันระหว่างน้ำจืด และน้ำทะเล มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มตามฤดูกาล แต่ละบริเวณจะมี ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและขนาดแตกต่างกันไป บริเวณน้ำกร่อยนี้ โดยทั่วไปเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ อาหาร และผลผลิตทางชีวภาพสูง เนื่องจากได้รับสารอาหารมาจากแม่น้ำ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ องค์ประกอบที่สำคัญของบริเวณน้ำกร่อยในเขตร้อน คือ ป่าชายเลน (Mangrove Forest) [สิ่งแวดล้อม]
wetlandsพื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาจเป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทยได้ประกาศให้บริเวณเขตพรุควนขี้เสียน และบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งอาจอยู่ตามพรมแดนระหว่างประเทศด้วย [การทูต]
brackish waterbrackish water, น้ำกร่อย [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
น้ำกร่อย[nām krǿi] (n, exp) EN: brackish water  FR: eau saumâtre [ f ]

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Daphnia(n) ไรน้ำยักษ์, ไรน้ำสีน้ำตาล, แพลงก์ตอนน้ำกร่อย
salt marsh(n) บึงน้ำเค็ม, บึงน้ำกร่อย

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top