advanced technology | เทคโนโลยีก้าวหน้าใช้ตัวย่อว่า AT หมายถึงคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มรุ่นหนึ่งที่ใช้บัสชนิด 16 บิต แทนแผ่นวงจร 8 บิตที่ใช้ก่อนหน้านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว |
alphabetic code | รหัสตัวอักษร <คำแปล>เป็นรหัสตัวอักษรที่ส่งเข้าคอมพิวเตอร์แล้วคอมพิวเตอร์สามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำได้ ตัวอักษร 1 ตัวจะใช้รหัสเป็นชุดของบิต 1 ชุดเรียกว่า "ไบต์" (byte) ดู byte ประกอบ |
ascii | คำย่อ American Standard code For Information Interchange, รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศนี้ เป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้กับคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่ใช้เลขฐานสอง รหัสแอสกี, รหัสมาตรฐาน ใช้แทนอักขระด้วย 7 บิต (ถ้ารวม parity check ด้วยจะเป็น 8 บิต) |
baud | (บอด) เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็ม 1 บอดเท่ากับจำนวนบิตที่ส่งได้ใน 1 ครั้ง ถ้าส่งได้ครั้งละ 2 บิต 1 บอดก็จะเท่ากับ 2 บิต โมเด็มจะดีหรือไม่ ก็ดูที่ความเร็วจากหน่วยวัดนี้ โดยปกติ เท่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีขนาดความเร็ว 300 บอด (ประมาณ 37 ตัวอักษร) และ 1, 200 บอด (ประมาณ 150 ตัวอักษร) |
binary coded decimal | เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานของ <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า BCD หมายถึงรหัสที่ใช้แทนเลขฐาน ซึ่งกำหนดให้เลขฐานสิบแต่ละตัวแทนด้วยเลขฐานสอง 4 บิต ตัวอย่าง เช่น เลข 17 ในฐานสิบ เขียนเป็นเลขฐานสองว่า 0001 0111 โดยที่เลขหลักของบิตจากซ้ายไปขวา เป็นลำดับเพิ่มตามสูตร 8-4-2-1 เลข 17 ที่เป็นฐานสิบ เมื่อแสดงในรูปเลขฐานสองธรรมดาจะเป็น 10001 |
binary digit | เลขโดดฐานสองเรียกย่อ ๆ ว่า bit หมายถึง ตำแหน่งหนึ่งในเลขฐานสอง ซึ่งเป็นได้ 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ใช้แทนค่าต่าง ๆ บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในการเก็บค่า เรานำบิตมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7-8 บิต เพื่อใช้เป็นรหัสแทนตัวอักขระต่าง ๆ ดู bit ประกอบ |
bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ |
bit string | สายบิตหมายถึง ลำดับของบิตที่เกี่ยวเนื่องกัน |
bitmap | (บิตแมป) แผนที่บิตหมายถึง เส้นตัดกันของบิตในแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงให้เป็นจุดภาพ ภาพในคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสง ซึ่งเรียกว่าจุดภาพ (pixel) รวมตัวกัน ภาพที่มีจำนวนจุดภาพมาก จะยิ่งดูคมชัดมากดู pixel ประกอบ |
bitmapped font | แบบอักษรบิตแมปหมายถึง แบบอักษรที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ รวมตัวกันที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) เมื่อขยายขนาดให้ใหญ่ จะเห็นรอยหยัก ๆ ไม่เรียบสวย กับทั้งยังเปลืองที่เก็บมาก ดู bitmapped image ประกอบ |
bitmapped graphic | (กราฟิกบิตแมป) หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped image |
bitmapped image | ภาพบิตแมป <คำแปล>หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped graphic |
bits per inch | บิตต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก โดยวัดว่า แถบบันทึก 1 นิ้วจะเก็บตัวอักขระได้กี่บิต |
bits per second | บิตต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า BPS เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
bmp | (บีเอ็มพี) ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพหรือกราฟิกที่มีลักษณะเป็นจุดภาพ (pixel) เล็ก ๆ ที่เรียกว่าบิตแมป เช่น WINLOGO.BMP ดู bitmap ประกอบ |
bpi | (บีพีไอ) ย่อมาจาก bits per inch หรือบิตต่อนิ้ว เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก โดยวัดว่า แถบบันทึก 1 นิ้วจะเก็บตัวอักขระได้กี่บิต |
bps | (บีพีเอส) ย่อมาจาก bits per second หรือบิตต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) |
check bit | บิตตรวจสอบบิตที่เพิ่มเข้าไปในข้อมูล ใช้เมื่อจะตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการส่งข้อมูล |
circular shift | การเลื่อนเป็นวงหมายถึง การเลื่อนบิต (bit) ที่อยู่ปลายด้านหนึ่งไปอยู่ปลายอีกด้านหนึ่งในเรจิสเตอร์ (register) เดียวกัน ในการเลื่อนแบบนี้ บิตจะไม่หายไปไหน มีความหมายเหมือน cyclic shiftดู shift ประกอบ |
computer code | รหัสคอมพิวเตอร์รหัสเครื่องหมายถึง รูปแบบพื้นฐานของบิตที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบให้รู้จักว่า เป็นคำสั่งและข้อมูล เช่น รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) หมายถึง ตัวแทนอักขระ ตัวเลข หรือคำสั่งที่ใช้ในเครื่องมีความหมายเหมือน machine code |
cp/m | (ซีพี/เอ็ม) ย่อมาจาก Control Program for Microcomputers เป็นชื่อโปรแกรมระบบที่เคยโด่งดังมากเมื่อสมัยใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ 8 บิต หรือเมื่อราวสิบปีก่อน |
cyclic shift | หมายถึง การเลื่อนบิต (bit) ที่อยู่ปลายด้านหนึ่งไปอยู่ปลายอีกด้านหนึ่งในเรจิสเตอร์ (register) เดียวกัน ในการเลื่อนแบบนี้ บิตจะไม่หายไปไหน มีความหมายเหมือน circular shiftดู shift ประกอบ |
digit bit | บิตเลขเป็นกลุ่มของบิต ที่ทำให้รหัสของการแทนตัวเลข ตัวอักษร และตัวอักขระพิเศษต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถแทนค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) ประกอบด้วย 8 บิต สี่บิตแรกเรียกบิตโซน (zone bit) สี่บิตหลังเรียกบิตเลข (digit bit) รหัสแอสกี (ASCII) ประกอบด้วย 7 บิต สามบิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลขมีความหมายเหมือน numeric bit |
error correcting code | รหัสแก้ความผิดพลาดหมายถึง รหัสที่สามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในขณะอ่านข้อมูล ส่งข้อมูล และพิมพ์ผลลัพธ์ การค้นพบนี้จะอาศัยการใช้บิตเสริม (parity bit) พิเศษในข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจะชี้ไปที่บิตที่มี ความผิดพลาด และจะเปลี่ยนค่าจาก 0 เป็น 1 หรือ 1 เป็น 0 ให้ |
even parity | ภาวะคู่หมายถึง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล โดยการเพิ่มบิตต่อกันเข้ากับข้อมูล (concate nate) เพื่อให้จำนวนบิตที่มีค่าเป็น 1 เปลี่ยนเป็นเลขคู่ ดู odd parity เปรียบเทียบ |
fatbits | แฟตบิตส์เมื่อต้องการจะนำภาพมาขยายบนจอภาพเพื่อให้มองเห็น ส่วนละเอียดได้ดียิ่งขึ้น วิธีทำก็คือ ขยายขนาดของจุดซึ่งเป็น องค์ประกอบ สำคัญของภาพให้ใหญ่หรือให้อ้วน ขึ้นตามชื่อ ที่ใช้เรียกเพื่อจะได้แก้ไขได้ง่าย จุดที่นำมาขยายขนาดนี้ ที่ เรียกว่า "แฟตบิตส์" |
kilobit | (กิโลบิต) เท่ากับ 1000 บิต |
macintosh | (แมค' คินทอช) n. ชื่อคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่ง ออกแบบสร้างขึ้นโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ นำออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ.1984 คอมพิวเตอร์ตระกูลนี้ประกอบด้วยตัวประมวลผลแบบจุลภาค (microprocesssor) ขนาด 32 บิต เป็นเครื่องแรก อีกทั้งได้สร้างตัวประสานกับผู้ใช้ (user interface) ทำให้ผู้ใช้เครื่องรู้สึก สะดวกสบายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเรียนรู้เข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในวิทยาการคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากใช้ภาพเป็นสื่อทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ต่อมาเครื่องพีซีก็สร้างระบบวินโดว์ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องยี่ห้อนี้มีส่วนแบ่งการตลาดสูงรองจากเครื่องของบริษัทไอบีเอ็มเท่านั้น |
nibble | (นิบ'เบิล) { nibbled, nibbling, nibbles } vi., vt. แทะ, ตอด, กินหรือตัดออกเป็นชิ้น เล็ก ๆ n. ชิ้นเล็กชิ้นน้อย, การแทะ, การตอด., See also: nibbler n. นิบเบิล <คำอ่าน>หมายถึง ครึ่งหนึ่งของหนึ่งไบต์หรือเท่ากับสี่บิต เพราะ 8 บิตเท่ากับ 1 ไบต์ ดู byte ประกอบ |
numeric bit | บิตตัวเลขเป็นกลุ่มของบิตที่ทำให้รหัสของการแทนตัวเลข ตัวอักษร และเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวดตอร์ สามารถแทนค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น รหัส เอ็บซีดิก (EBCDIC) ประกอบด้วย 8 บิต 4 บิตแรกเรียกว่า บิตโซน (zone bit) 4 บิตหลัง เรียกบิตเลข (numeric bit) เป็นต้นมีความหมายเหมือน digit bit |
odd even check | การตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่หมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจสอบแต่ละหน่วยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) หรือเป็นคำ (word) ว่ามีจำนวนบิต (bit) ที่เป็น 1 เป็นจำนวนคู่หรือคี่ โดยการเพิ่มหนึ่งบิตที่เรียกว่า บิตเสริม (parity bit) เข้าที่ท้ายหรือต้นข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้จำนวนบิตที่เป็น 1 เป็นเลขคี่หรือคู่เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน, บันทึก, หรือถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริมก็จะถูกนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากันก็แปลว่าการอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน parity check |
odd parity | ภาวะคี่หมายถึง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลโดยการเพิ่มบิตต่อหันเข้ากับข้อมูล (concatenate) เพื่อให้จำนวนบิตที่มีค่าเป็นคู่ เปลี่ยนเป็นเลขคี่ดู even parity เปรียบเทียบ |
packet switching | การสลับกลุ่มข้อมูลในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต) ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับไปรวมกันเองดู circuit switching เปรียบเทียบ |
parity | ภาวะคู่หรือคี่หมายถึง กรรมวิธีของการทดสอบความผิดพลาดของข้อมูลโดยการเพิ่มบิตต่อกันเข้ากับข้อมูล โดยวิธีการเพิ่มบิตที่มีจำนวนค่าเป็นคี่ (1) ให้เปลี่ยนเป็นเลขคู่ (0) เรียกว่า ภาวะเสริมคู่ (even parity) หรือ เพิ่มบิตที่มีจำนวนค่าเป็นคู่ (0) ให้เปลี่ยนเป็นเลขคี่ (1) เรียกว่า ภาวะเสริมคี่ (odd parity) |
parity bit | บิตภาวะคู่หรือคี่หมายถึง บิตที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ถ้าเป็น 1 ก็เรียกว่า ภาวะคี่ ถ้าเป็น 0 ก็เป็น ภาวะคู่ |
parity check | การตรวจสอบภาวะเสริมหมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจแต่ละหน่วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) คำ (word) ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน บันทึก หรือ ถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริม (parity bit) ก็จะถูกนำมาคำนวณแล้วเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากัน ก็แปลว่า การอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้มีการอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน odd even check |
pcx | (พีซีเอกซ์) ใช้เป็นนามสกุลของแฟ้มข้อมูลประเภทที่เก็บภาพสำหรับพีซี (.pcx) มีลักษณะการเก็บคล้ายกับแบบบิตแมป (bitmap) ใช้กับโปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ บนพีซีได้เกือบทุกโปรแกรม (ดู bitmap) |
ps/2 | (พีเอส/ทู) ย่อมาจาก personal system 2 เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่น 2 เตรียมไว้ให้ใช้ตัวประมวลผลชนิด 32 บิตด้วย |
scalable font | แบบอักษรที่กำหนดขนาดได้หมายถึง แบบตัวอักษรที่จะสามารถลดหรือขยายขนาดให้เป็นเท่าใดก็ได้ (กำหนดเป็นจุดหรือ point) และไม่ว่าจะกำหนดขนาดเท่าใด ก็จะดูสวยเหมือนกันหมด (ถ้าเป็นแบบอักษรบิตแมป คอมพิวเตอร์จะต้องเก็บตัวอักษรไว้ทุกขนาด ซึ่งจะเปลืองเนื้อที่เก็บเป็นอันมาก |
screen fonts | แบบอักษรที่เห็นบนจอเป็นแบบอักษรที่คอมพิวเตอร์เก็บในลักษณะของบิตแมป (bitmap) ทำให้ตัวอักษรที่มองเห็นบนจอภาพ กับที่พิมพ์ออกมาบนกระดาษมีลักษณะไม่เหมือนกัน (ปกติเครื่องพิมพ์ที่มีความละเอียดสูง จะทำให้แบบอักษรดูสวยกว่าที่เห็นบนจอภาพ |
serial communications | การสื่อสารแบบเรียงลำดับหมายถึง การถ่ายโอนข้อมูลทีละบิตผ่านทางสายเคเบิลเดี่ยว โดยปกติจะต้องให้ผ่านโมเด็ม (modem) ด้วย |
serial port | ช่องอนุกรมหมายถึง ช่องที่อยู่ด้านหลังของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีไว้สำหรับเสียบสายไฟ ต่อไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เมาส์ การถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางช่องนี้ จะช้ากว่าผ่านทางช่องขนาน (pararell port) มาก เพราะจะสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น ดู pararell port เปรียบเทียบ |
sign bit | บิตเครื่องหมายหมายถึง บิตที่แสดงเครื่องหมาย เช่น + , - โดยปกติ จะอยู่หน้าบิตอื่น |
stop bit | บิตหยุดหมายถึง บิตสัญญาณสั่งบอกว่าให้หยุด เพราะการถ่ายโอนข้อมูลสำเร็จเรียบร้อยแล้ว |
unix | ยูนิกซ์เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ของคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้งานร่วมกันหลายราย (multiusers) โปรแกรมระบบนี้เขียนด้วยภาษาซี (ซี) พัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิจัยเบลล์ ของบริษัท TT&T เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ราวปลายทศวรรษ 1960 ใช้ได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (ชนิด 32 บิต) มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมโปรแกรมระบบยูนิกซ์นั้น กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกที มี่โปรแกรมสำเร็จจำนวนมากที่เขียนภายใต้ระบบนี้ ระบบนี้มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างระบบดอส (DOS) และระบบกุย (GUI) ดู DOS และGUI ประกอบ |
windows new technology | ใช้ตัวย่อว่า Windows NT (อ่านว่า วินโดว์สเอ็นที) เป็นชื่อระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนาต่อจากระบบวินโดว์ เพื่อให้สามารถใช้กับเครือข่ายได้ ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิต ถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ โอเอส/ทู (OS/2) |
windows nt | วินโดว์เอ็นทีย่อมาจาก windows new technology เป็นชื่อระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนาต่อจากระบบวินโดว์ เพื่อให้สามารถใช้กับเครือข่ายได้ ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิต ถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ โอเอส/ทู (OS/2) |
z80 | (ซีเอตตี) ย่อมาจาก Zilog 80 เป็นชื่อของไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ขนาด 8 บิตรุ่นโบราณ สมัยที่ยังใช้ระบบปฏิบัติการซีพี/เอ็ม (CP/M) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้ใช้ตัวใหม่ชื่อ 8080 ซึ่งเร็วกว่าแทน |
zone bit | บิตโซนเป็นกลุ่มของบิตที่ทำให้รหัสของการแทนตัวเลข ตัวอักษร และเครื่องหมายพิเศษ ต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถแทนค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น รหัส เอ็บซีดิก (EBCDIC) ประกอบด้วย 8 บิต สี่บิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลข (digit bit) รหัสแอสกี (ASCII) ประกอบด้วย 7 บิต สามบิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียก บิตเลข รหัสบีซีดี (BCD) ประกอบด้วย 6 บิต สองบิตแรกเรียก บิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลขดู EBCDIC, ASCII, BCD ประกอบ |