ขีด | ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาวปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด |
โคลงโบราณ | น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งคล้ายโคลง ๔ มีบังคับสัมผัส แต่ไม่มีบังคับเอกโท เช่น โคลงมหาวิชชุมาลี โคลงมหาสินธุมาลี ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรากาพย์สารวิลาสินี. |
ชื่อจริง | น. ชื่อของบุคคลที่ใช้เป็นทางการ ปรากฏอยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวเป็นต้น. |
ดรรชนี ๓ | น. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดัชนี ก็ใช้. |
ดัชนี ๓ | น. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดรรชนี ก็ใช้. |
น้ำต้อย | น. นํ้าหวานที่หล่ออยู่ในดอกไม้ เกิดจากต่อมนํ้าหวานซึ่งมักปรากฏอยู่ที่โคนของกลีบดอก |
นิโคติน | น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีจุดเดือด ๒๔๗ °ซ. เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. |
นิวคลิอิก | น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี ๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบ-นิวคลิอิก (deoxyribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (ribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและถ่ายทอดพันธุกรรม. |
ไนโตรเจน | น. ธาตุลำดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ในบรรยากาศ ธาตุนี้มีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. |
พัดชา | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ปรากฏอยู่ในเพลงเรื่องทำขวัญและในตับนางนาค. |
ยูริก | น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C5H4N4O3 ลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีปรากฏอยู่เป็นจำนวนน้อยในปัสสาวะและในโลหิต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์ คือมีอาการบวมปวดบริเวณข้อกระดูก จะปรากฏมีเกลือโซเดียมและโพแทสเซียมของกรดนี้เกาะอยู่ที่ข้อกระดูกนั้น ๆ เรียกว่า กรดยูริก. |
รอย ๑ | น. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลาย เป็นต้น ที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน |
แวบวับ | ว. อาการที่แสงสว่างปรากฏอยู่ชั่วแว็บเดียวแล้วก็หายไปและปรากฏขึ้นมาใหม่ต่อเนื่องกัน เช่น ไฟจากป้ายโฆษณามีแสงแวบวับ แสงดาวแวบวับอยู่บนท้องฟ้า. |
สมการ | (สะมะกาน, สมมะกาน) น. ข้อความที่แสดงความเท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ เฉพาะบางค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ หรือการเหมือนกันของข้อความย่อย ๒ ข้อความที่ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย =. |
สมาชิก ๒ | (สะมา-) น. สิ่งแต่ละสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในเซตใดเซตหนึ่ง เช่น { ก, ข, ค } คือ เซตของอักษร ๓ ตัวแรกในภาษาไทย มีสมาชิก ๓ ตัว, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในคู่อันดับใดคู่อันดับหนึ่ง เช่น (ก, ข) คือ คู่อันดับหนึ่งที่มี ก เป็นสมาชิกตัวหน้า ข เป็นสมาชิกตัวหลัง. |
สร้อยนกเขา | ชื่อปลาทะเลในสกุล Diagramma และ Plectorhynchus วงศ์ Haemulidae โดยเฉพาะชนิดที่มีจุดสีเข้มกระจายหรือเรียงเป็นแถวอยู่ข้างตัว หรือบนหัวและครีบ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด D. pictum (Thunberg) ที่ขณะเป็นปลาขนาดเล็กจะมีแถบกว้างสีดำหรือม่วงดำพาดตามยาวตลอดลำตัวและครีบรวม ๓-๔ แถบ ขณะโตขึ้นแถบเหล่านี้จะแตกออกกลายเป็นจุดใหญ่และเล็กลงตามลำดับ ปลาที่มีขนาดโตมีสีเทาและจุดเหล่านี้จะเล็กลงอีกจนอาจจางหายไปจากบริเวณหัวและท้องคงปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหลัง ครีบหลัง และครีบหางเท่านั้นขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, สร้อยปากหมู ข้างตะเภา หรือ ตะเภา ก็เรียก. |
สำแดง ๓ | คำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์. |
หรดาล | (หอระดาน) น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกำมะถัน มีปรากฏในธรรมชาติ ๒ ชนิด คือ หรดาลแดงกับหรดาลกลีบทอง มักจะปรากฏอยู่ปนกัน ในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ทั้ง ๒ ชนิด. |
อนุมูลกรด | น. ส่วนหนึ่งของโมเลกุลของกรดที่ปรากฏอยู่หลังจากที่ไฮโดรเจนไอออนแยกตัวออกไปแล้ว เช่น อนุมูลกรดคาร์บอเนต (-CO3) อนุมูลกรดไฮโดรเจนซัลเฟต (-HSO4). |
อสมการ | (อะสะมะกาน, อะสมมะกาน) น. ข้อความที่แสดงการไม่เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย < หรือ >. |
อาร์กอน | น. ธาตุลำดับที่ ๑๘ สัญลักษณ์ Ar เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ ๐.๙๔ โดยปริมาตร ใช้ประโยชน์นำไปบรรจุในหลอดไฟฟ้าและหลอดเรืองแสง. |
เอนไซม์ | น. สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่าง ๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก. |