กระปุ่ม | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สำหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้, อีสานว่า กะปุ่ม. |
กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม | ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม (นิ. เพชร). |
กะปุ่ม | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง. (ดู กระปุ่ม). |
ตะปุ่มตะป่ำ | ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระอย่างผิวมะกรูด, ปุ่มป่ำ ก็ว่า. |
ปุ่ม | น. ปม, ของที่นูนขึ้นจากพื้นเดิม เช่น ปุ่มฆ้อง. |
ปุ่มป่ำ | ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระอย่างผิวมะกรูด, ตะปุ่มตะป่ำ ก็ว่า. |
ปุ้ม | น. ยอดที่นูนกลม. |
ปุ๋ม | ว. เสียงดังเช่นนั้น. |
ปุ่มปลา | น. ผักปุ่มปลา. (ดู ปอด ๒). |
ปุ่มเป้ง, ปุ้มเป้ง | ดู เป้ง ๑. |
ปุ่มเปือก, ปุ้มเปือก | น. ต่อมนํ้าที่เกิดในเลนในตม. |
ผักปุ่มปลา | ดู ปอด ๒. |
วางปุ่ม | ก. ทำท่าไว้ยศ, วางท่า ก็ว่า. |
กระปมกระปำ, กระปมกระเปา | ว. ปุ่มป่ำ, ปมเปา, ตะปุ่มตะป่ำ, เป็นปมเป็นก้อน. |
กระป่ำ ๑ | ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ (ม. คำหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคำ กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ. |
กระพอง ๑ | น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า. |
ก้อนขี้หมา | น. ปุ่มเหนือปลายปากบนของจระเข้, ขี้หมา หรือ หัวขี้หมา ก็เรียก. |
กะพอง | น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง, กระพอง ตระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า. |
กะลาซอ | น. กะลามะพร้าวที่มีปุ่มนูนเป็นรูปสามเส้า ใช้สำหรับทำซอสามสาย, เรียกลักษณะของหัวกะโหลกศีรษะที่เป็นรูปอย่างนั้น. |
ขรุขระ | (ขฺรุขฺระ) ว. เป็นปุ่มเป็นแง่, ไม่เรียบราบ. |
ขี้แต้ | น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมาจากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้. |
เข็มหมุด ๑ | น. เข็มที่มีหัวเป็นปุ่มใช้กลัดกระดาษหรือผ้าเป็นต้น. |
ครุคระ | (คฺรุคฺระ) ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็ครุคระขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
ฆ้อง | น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีปุ่มนูนกลมตรงกลางสำหรับตี มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง. |
ฆ้องชัย | น. ฆ้องมีปุ่มตรงกลาง ขนาดกว้างประมาณ ๘๐ เซนติเมตร สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
งวง ๒ | น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo Linn. ในวงศ์ Meleagrididae ปากสั้นเรียวบาง หัวสีฟ้า หัวและคอเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ ตัวผู้บริเวณหน้าผากเหนือจะงอยปากบนมีหนังสีแดงอมส้มห้อยยาวคล้ายงวงช้าง ยืดหดได้ ขนลำตัวสีเขียวอมน้ำเงินแซมด้วยสีเหลืองทอง ตัวเมียหนังที่ห้อยอยู่บริเวณหน้าผากเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ ขนลำตัวสีน้ำตาลเรียงกันคล้ายเกล็ดปลา กินเมล็ดพืช ใบไม้ และสัตว์เล็ก ๆ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ. |
จอมเปาะ | ว. กลมนูนอย่างปุ่มฆ้อง. |
ฉัตร ๑, ฉัตร- | ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบโดยรอบอย่างฉัตร |
ฉาบ ๑ | น. เครื่องตีกำกับจังหวะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปร่างเป็นแผ่นกลมคล้ายจาน มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง เจาะรูกลางปุ่มร้อยเชือกหรือเส้นหนังสำหรับจับ มี ๒ ขนาด คือ ขนาดเล็ก เรียกว่า ฉาบเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๒-๑๔ เซนติเมตร และขนาดใหญ่ เรียกว่า ฉาบใหญ่ กว้าง ๒๔-๒๖ เซนติเมตร. |
ชระง่อน | (ชะระ-) น. ชะง่อน, หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากภูเขา. |
ชะง่อน | น. หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากเขา เช่น ที่งอกง้ำเป็นแง่เงื้อมก็ชะงุ้มชะโงกชะง่อนผาที่ผุดเผินเป็นแผ่นพูตะเพิงพัก (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ชานฉัตร | น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, หลังฉัตร ก็ว่า. |
ดอกดิน | น. ชื่อพืชเบียน ๒ ชนิด ในสกุล Aeginetia วงศ์ Orobanchaceae คือ ชนิด A. pedunculata Wall. และชนิด A. indica L. ลำต้นเป็นปุ่มปมเกาะเบียนรากหญ้า ดอกสีม่วงดำ อยู่พ้นพื้นดินขึ้นมา ใช้ทำขนม, ดอกดินแดง ก็เรียก. |
ตระพอง | (ตฺระ-) น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง, กะพอง กระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า. |
ตะพอง | น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง, กระพอง กะพอง หรือ ตระพอง ก็ว่า. |
ตาตุ่ม ๑ | น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. |
ตานกแก้ว | น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. |
ตู้เกม | น. เครื่องเล่นเกมอย่างเกมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ด้านหน้ามีจออย่างจอคอมพิวเตอร์ มีปุ่มและแกนควบคุมให้ผู้เล่นควบคุมคำสั่งการเล่น ผู้เล่นต้องหยอดเหรียญจึงจะเริ่มเล่นเกมได้. |
ทอนซิล | น. ปุ่มเนื้อเยื่อนํ้าเหลือง อยู่ในบริเวณลำคอข้างละปุ่ม มีหน้าที่ช่วยป้องกันการแผ่กระจายของแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางลำคอ. |
นม ๑ | ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทองหลาง |
นมหนู | ส่วนของเครื่องใช้เป็นปุ่มมีรูเพื่อให้ฉีดน้ำมันออกมา เช่น นมหนูตะเกียง นมหนูเครื่องยนต์. |
นอต ๒ | น. เครื่องตรึงหรือขันสิ่งอื่นให้แน่น ประกอบด้วยแท่งและแป้นโลหะ, ตัวที่เป็นแท่งมีปลายข้างหนึ่งเป็นปุ่ม อีกข้างหนึ่งมีเกลียวด้านนอก เรียกว่า นอตตัวผู้ และตัวที่เป็นแป้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรงกลางและมีเกลียวด้านใน เรียกว่า นอตตัวเมีย. |
บุ้ง ๓ | น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับถูไม้ ทำด้วยเหล็ก รูปร่างคล้ายตะไบ มีฟันเป็นปุ่มแหลมคม. |
เบญกานี ๑ | น. ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ หรือปุ่มหูดที่เกิดตามใบของไม้ก่อชนิด Quercus infectoriaOliv. ในวงศ์ Fagaceae เกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด Cynips tinctoria ในวงศ์ Cynipidae รสฝาดจัด ใช้ทำยาได้ เรียกว่า ลูกเบญกานี. |
ปม | น. เนื้อที่เป็นปุ่มขึ้นตามตัว, ขอดของผ้าหรือเชือก, ข้อยุ่งที่แก้ยาก. |
ปมเปา | ว. ปุ่มที่เกิดตามเนื้อตามตัว. |
ปอด ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sphenoclea zeylanica Gaertn. ในวงศ์ Sphenocleaceae ขึ้นตามที่ลุ่มนํ้าขัง ลำต้นอ่อน ดอกสีเขียว ๆ ขาว ๆ ใช้เป็นผักและทำยาได้ เรียก ผักปอด, ผักปุ่มปลา ก็เรียก. |
ปาด ๒ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Rhacophoridae รูปร่างใกล้เคียงกับกบหรือเขียด ขายาว ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้ามาก ปลายนิ้วเป็นปุ่มแบนสามารถยึดเกาะติดกับพื้นผิวหน้าเรียบได้ มักพบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ตัวผู้ทำกองฟองสำหรับตัวเมียวางไข่ไว้ตามกิ่งไม้เหนือชายนํ้า กินแมลง เช่น ปาดบ้านหรือเขียดตะปาด [ Polypedates leucomystax (Gravenhorst) ] ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบินหรือปาดเขียวตีนดำ ( Rhacophorus nigropalmatus Boulenger), ปาดตะปุ่มจันทบุรี ( Theloderma stellatum Taylor), เขียดตะปาด ก็เรียก. |
เป้ง ๑ | น. ชื่อปาล์ม ๓ ชนิดในสกุล Phoenix วงศ์ Palmae ก้านใบมีหนาม คือ เป้งทะเล ( P. paludosa Roxb.) ขึ้นตามชายทะเล, เป้งดอย ( P. loureiroiKunth) ขึ้นตามป่าดอน, และ เป้งบก ปุ่มเป้ง หรือ ปุ้มเป้ง ( P. acaulis Roxb.) ขึ้นในป่าเต็งรัง. |