กระดึงพระราม | ดู เขนงนายพราน. |
งอมพระราม | ว. มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะงอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก (ลักวิทยา). |
บุหรี่พระราม | น. ชื่อไม้เถาชนิด Neoalsomitra sarcophylla (Wall.) Hutch. ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ดอกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ กลีบดอกติดกันเป็นรูปปากแตรบาน ๆ ผลเรียวยาวคล้ายกระบองกลมหรือเป็นสามเหลี่ยม เวลาแก่ผลจะแตกที่ปลายเป็น ๓ ช่อง เมล็ดสีดำ แบน มีปีกบาง ๆ ที่ปลาย. |
พระราม, พระรามา | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือทั้งสองทำมือล่อแก้ว ระดับวงกลาง ปฏิบัติได้ทั้งหักข้อมือหงายลงและตั้งข้อมือขึ้น. |
พระรามโก่งศร | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือขวาจีบคว่ำ แขนตึง ระดับไหล่ มือซ้ายจีบหงายข้างเอวด้านขวา เอียงศีรษะข้างขวา. |
แล่งพระราม | ดู เขนงนายพราน. |
กราน ๒ | (กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี. |
เขนงนายพราน | (ขะเหฺนง-) น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน ก็เรียก. |
เคี่ยว | ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
ชวัก | (ชะ-) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระรามพระลักษณชวักอร (แช่งน้ำ). |
ตะกรวย | (-กฺรวย) น. ภาชนะสานด้วยตอก ตาห่าง ๆ คล้ายตาชะลอม ทรงกระบอกปากกลม ก้นมน เช่น เมื่อข้าพเจ้าตัดศีรษะกามะนีขาดแล้ว จะได้รับเอาศีรษะมิให้ทันตกลงถึงดิน ใส่ในตะกรวยซึ่งแขวนไปกับข้างม้านั้นเข้ามาถวายพระองค์ (ราชาธิราช สมิงพระรามอาสา). |
ตามกวาง | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่, เรียกชื่อเต็มว่า พระรามตามกวาง |
นฤพาน | (นะรึ-) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์บางพระองค์ เท่าที่ปรากฏในเอกสารสมัยอยุธยา) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน (พงศ. กรุงเก่า). |
พรหมาสตร์ | (พฺรมมาด) น. ชื่อศรเล่มหนึ่งของพระราม. |
พระ | อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา |
มฤคระเริง | น. ชื่อเพลงระบำสำหรับกวาง ใช้ในการแสดงโขนตอนพระรามตามกวาง. |
รามเกียรติ์ | (รามมะเกียน) น. ชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยพระรามทำศึกกับทศกัณฐ์เพื่อชิงนางสีดา. |
ลักษมณ์ | (ลัก) น. ชื่อน้ององค์หนึ่งของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์. |
เลื่อม | น. วัสดุสำหรับปักลวดลายลงบนผ้า มักมีลักษณะบางเป็นรูปกลมแบนเล็ก ๆ ตรงกลางมีรู เป็นเงามัน สำหรับใช้ปักลวดลาย เช่นเสื้อโขนตัวทศกัณฐ์ พระราม พระลักษมณ์ เป็นต้น. |
สะบัดย่าง | ว. อาการที่ม้าวิ่งหรือเดินสะบัดขาอย่างสง่างาม เช่น ว่าพลางทางขับม้าสีหมอก ให้ออกสะบัดย่างวางใหญ่ (ขุนช้างขุนแผน), ฝ่ายสมิงพระรามขึ้นม้าควบไปแต่เวลาเช้าจนสามโมงบ่ายฝึกหัดม้านั้นให้รู้จักทำนองรบรับได้คล่องแคล่วสันทัดแล้ว ก็ชักม้าสะบัดย่างน้องเป็นเพลงทวนกลับมา (ราชาธิราช). |
สิบแปดมงกุฎ | น. เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน |
สีดา | น.ชื่อตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นมเหสีของพระราม. |
หริวงศ์ | (หะริวง) น. วงศ์หรือเชื้อพระนารายณ์คือพระรามเป็นต้น. |