กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. |
กลดกำมะลอ | น. กลดชนิดหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป. |
กำมะลอ | เรียกกลดที่ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป ว่า กลดกำมะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่องกำมะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาวหรือแพรขาว ว่า ลายกำมะลอ |
เกียรติมุข | (เกียดมุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก. |
แกนทราย | น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทยด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและเหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูปตามที่ต้องการ. |
ขัดสมาธิ | (ขัดสะหฺมาด) ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกัน เรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. |
ขัดสมาธิ | (ขัดสะหฺมาด) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย. |
เขี้ยวตะขาบ | ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง. |
ครรภมณฑล | น. ห้องประดิษฐานพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์. |
ครอบ ๑ | (คฺรอบ) ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงำไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสำหรับครอบพระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น |
คันดาลฉัตร | น. คันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูปเป็นต้น. |
คันธารราษฎร์ | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง สำหรับตั้งในพิธีขอฝนและแรกนาเป็นต้น. |
คู่บ้านคู่เมือง | ว. ที่เป็นของประจำบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง. |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
งั่ง ๑ | น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียกพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทำพิธีเบิกพระเนตร. |
จงกรมแก้ว | น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. |
จระนำ | (จะระ-) น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนำ. |
ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. |
ชุกชี | (ชุกกะ-) น. ฐานส่วนล่างที่เป็นส่วนรองรับรัตนบัลลังก์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นต้น มักก่ออิฐถือปูน, จุกชี ก็ว่า. |
เช่า | ซื้อพระพุทธรูป วัตถุมงคล หรือสิ่งที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป, บูชา ก็ใช้. |
เช่าพระ | ก. ซื้อพระพุทธรูปหรือพระเครื่องไปบูชา, บูชาพระ ก็ว่า. |
เชิญ | ถือ อุ้ม ชู หรือนำไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง |
ซุ้มคูหา | น. ซุ้มรอบพระปรางค์และพระเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป. |
ซุ้มจระนำ | น. ชื่อซุ้มท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์ เป็นช่องตัน มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป. |
ฐาน ๑ | (ถาน) น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. |
ดาล ๑ | น. กลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัดบานประตูอย่างประตูโบสถ์ เช่น ลงดาล ลั่นดาล ขัดดาล, เหล็กสำหรับไขดาลโบสถ์หรือวิหาร มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างคันฉัตรปักอยู่หลังพระพุทธรูป เรียกว่า ลูกดาล, ช่องสำหรับไขดาล เรียกว่า ช่องดาล, (โบ) ใช้ว่า ดาฬ. |
ถวายข้าวพระ | ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับคาวหวานไปถวายพระพุทธรูปโดยยกมือประนม กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺยฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ. |
ถวายเนตร | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ในพระอิริยาบถยืนด้วยพระอาการสำรวม พระหัตถ์ขวาทาบหลังพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตรทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์. |
ทรงเครื่อง | ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง |
ทองคำเปลว | น. ทองคำที่มีเนื้อทองร้อยละ ๙๙.๙๒ และตีแผ่ให้เป็นแผ่นบางที่สุดได้ ๐.๐๑ มิลลิเมตร ตัดใส่แผ่นกระดาษ ใช้สำหรับปิดบนสิ่งที่ลงรักเช่นพระพุทธรูป. |
ทองประทากล้อง | น. ทองคำที่ตีแผ่เป็นแผ่น สำหรับบุพระพุทธรูปเป็นต้น. |
ทับเกษตร ๒ | (-กะเสด) น. ส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง. |
ทุกรกิริยา | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนที่พระเพลา พระวรกายผ่ายผอมจนเห็นพระผาสุกะ (ซี่โครง). |
นากสวาด | (-สะหวาด) ว. เรียกสีสวาดชนิดที่มีสีนากเจือ, เรียกสีเนื้อโลหะพระพุทธรูปที่มีสีแดงอมส้ม. |
นาคปรก | (นากปฺรก) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสอง วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกเหนือพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาค อีกแบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน. |
นาคาวโลก | (-คาวะ-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย). |
นาภิ, นาภี ๑ | น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี |
บุษบก | (บุดสะบก) น. เรือนยอดแบบหนึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน เป็นอย่างเรือนโกง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุเช่นพระพุทธรูปเป็นต้น. |
บูชา | ซื้อพระพุทธรูป วัตถุมงคล หรือสิ่งที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระพุทธรูปองค์นี้บูชามาเท่าไร, เช่า ก็ใช้. |
บูชาพระ | ก. แสดงความเคารพพระพุทธรูปด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น |
บูชาพระ | ซื้อพระพุทธรูปหรือพระเครื่องไปบูชา, เช่าพระ ก็ว่า. |
เบญจโลหะ | น. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ (ตำราสร้างพระพุทธรูป). |
เบิกพระเนตร | น. พิธีฝังหรือเขียนพระเนตรพระพุทธรูป ซึ่งถือว่าเมื่อได้เบิกพระเนตรแล้วจึงเป็นองค์พระโดยสมบูรณ์. |
ปฏิมา, ปฏิมากร | น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียกย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. |
ปฐมเทศนา | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมายสำคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทำนิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทำท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง. |
ประดิษฐาน | (ปฺระดิดสะถาน) ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. |
ประทากล้อง | (ปฺระทากฺล้อง) น. ทองคำที่ตีแผ่เป็นแผ่น สำหรับบุพระพุทธรูปเป็นต้น, เรียกเต็มว่า ทองประทากล้อง. |
ประภามณฑล | น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูป. |
ปัทมาสน์ | (ปัดทะมาด) น. ฐานบัว (เช่นฐานพระพุทธรูปมีลายบัวควํ่าบัวหงาย). |
ปาง ๑ | ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ |