ข้าพระพุทธเจ้า | (ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
พระพุทธเจ้า | น. คำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ. |
พระพุทธเจ้าข้า, พระพุทธเจ้าข้าขอรับ, พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม | น. คำขานรับพระมหากษัตริย์. |
พระพุทธเจ้าหลวง | น. คำเรียกพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตแล้ว, คำเต็มว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง. |
พระพุทธเจ้าอยู่หัว | น. คำเรียกพระมหากษัตริย์. |
กฐิน, กฐิน- | (กะถิน, กะถินนะ-) น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร |
กรรแสง ๓ | (กัน-) ก. ร้องไห้ เช่น สมเด็จพระบรม-บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
กันแสง ๑ | ก. ร้องไห้, ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง, โบราณเขียนเป็น กรรแสง ก็มี เช่น สมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
เกตุมาลา | น. พระรัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า. |
เกศธาตุ | น. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศาของพระพุทธเจ้า. |
เขี้ยวแก้ว | น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว |
ครรภธาตุมณฑล | น. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยังไม่ได้สำแดงให้ปรากฏ. |
คันธกุฎี | น. ชื่อกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระคันธกุฎี. |
จริยาปิฎก | น. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก. |
จอมไตร | น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ). |
จุฑามณี | มวยผมของพระพุทธเจ้า |
จุฑามณี | ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. |
จุฬามณี | มวยผมของพระพุทธเจ้า |
จุฬามณี | ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า. |
เจ้า ๑ | มักใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า |
ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. |
ชาดก | (ชา-ดก) น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุ-ศาสน์. (ป., ส. ชาตก). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ). |
ชิน- ๔ | (ชินะ-, ชินนะ-) น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับคำอื่นเป็น ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. |
ดับขันธ์ | ก. ตาย (ใช้แก่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์). |
ดำรัส | (-หฺรัด) น. คำพูดของพระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธดำรัส, คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. |
ตถาคต | (ตะถาคด) น. คำเรียกพระพุทธเจ้า, คำที่พระพุทธเจ้าใช้แทนพระองค์เอง. |
ตรัสรู้ | (ตฺรัดสะ-) ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) |
ตรีกาย | น. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย). |
ตรีปิฎก | น. ไตรปิฎก, พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก. |
ตรีภพนาถ | น. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น กษัตริย์ ก็มี. |
ตรีโลกนาถ | (-โลกกะนาด) น. ที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายถึง พระพุทธเจ้า. |
ตื่น | รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในคำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นแล้ว |
ไตรปิฎก | (-ปิดก) น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ใช้ว่า ตรีปิฎก ก็ได้. |
ไตรรัตน์ | น. แก้ว ๓ ประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกว่า สังฆรัตนะ, รัตนตรัย ก็เรียก. |
ถึง ๑ | รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก |
ถูปารหบุคคล | (-ระหะ-) น. บุคคลที่คู่ควรแก่การนำกระดูกของเขาบรรจุในสถูปไว้บูชา มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. |
เถรวาท | (เถระวาด) น. ลัทธิที่ถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอรหันตเถระรวม ๕๐๐ รูป ได้รวบรวมไว้ในคราวปฐมสังคายนา, ชื่อนิกายพระพุทธ-ศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. |
ทรมาน | ทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลงด้วยการแผ่เมตตาเป็นต้น เช่น พระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคิรี. |
ทศชาติ | น. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ. |
ทศพล | น. ผู้มีกำลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. |
ทัสนานุตริยะ | (ทัดสะนานุดตะริยะ) น. การเห็นอันประเสริฐยิ่ง เช่น การเห็นพระพุทธเจ้าเป็นทัสนานุตริยะ. |
เทววาจิกสรณคมน์ | (ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้. |
ธรรม ๑, ธรรม-, ธรรมะ | คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า |
ธรรมกาย | พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า. |
ธรรมจักร | น. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร |
ธรรมปฏิรูป, ธรรมประติรูป | น. คำสอนที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า, เรียกเต็มว่า สัทธรรมปฏิรูป. |
ธรรมราชา | น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, ชื่อหนึ่งของพญายม. |
ธรรมสามิสร | (-สามิด) น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. |
ธรรมสามี | น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า. |
ธรรมาทิตย์ | (ทำมา-) น. อาทิตย์แห่งธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า. |