กระจุ๋งกระจิ๋ง | ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. |
กระจุ๋งกระจิ๋ง | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. |
กระจู๋กระจี๋ | ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า. |
กระจู๋กระจี๋ | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า. |
กระซุบกระซิบ | ก. พูดกันเบา ๆ. |
กลุ้ม ๑ | (กฺลุ้ม) ก. ปกคลุมอยู่ทำให้มืดคลุ้ม เช่น ควันกลุ้ม หมอกกลุ้ม. ว. ชุลมุน, ขวักไขว่, เช่น วิ่งกันให้กลุ้ม, ประดังกัน ในคำว่า พูดกันให้กลุ้ม. |
กะหนุงกะหนิง | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม. |
เกรียวกราว | ว. เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, โดยปริยายหมายความว่า ที่รู้และพูดกันทั่วไป เช่น เป็นข่าวเกรียวกราว. |
ข่าวลือ | น. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน. |
จรรโจษ | (จันโจด) ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า. |
จ้อกแจ้ก | ว. เสียงดังเช่นนั้น, เสียงของคนมาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูดกันจนฟังไม่ได้ศัพท์. |
จันโจษ | ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี. |
จุ๋งจิ๋ง | ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. |
จุ๋งจิ๋ง | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. |
จู๋จี๋ | ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า. |
จู๋จี๋ | ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า. |
โจษ, โจษจัน | (โจด, โจดจัน) ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้. |
ซุบซิบ | ก. พูดกันเบา ๆ ไม่ต้องการให้คนอื่นได้ยิน, กระซุบกระซิบ ก็ว่า. |
ต่อความยาวสาวความยืด | ก. พูดกันไปพูดกันมาให้มากเรื่องเกินสมควร. |
ตาด ๔ | น. ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ บางทีก็เรียกว่า ตาดมองโกล, ชื่อภาษาของพวกตาด ใช้พูดกันในดินแดนตั้งแต่ทิวเขาอูราลทางตะวันตกไปจนถึงทิวเขาอัลไตทางตะวันออก. |
ทะลุกลางปล้อง | ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากำลังพูดกันอยู่. |
ทั้งหลาย | ว. หมดด้วยกัน เช่น คนทั้งหลายเกิดมาแล้วต้องตาย, มีจำนวนมาก เช่น คนทั้งหลายเขาพูดกันว่า. |
แปร่ง | (แปฺร่ง) ว. มีเสียงพูดผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่นนั้น ๆ, ไม่สนิท. |
เฝือ ๒ | เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกันจนเฝือ. |
ล้งเล้ง | ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะวิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง. |
ลือ | ก. พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน เช่น เขาลือว่าจะเกิดเหตุที่ท่าน้ำ, (โบราณ ใช้ ฦๅ). |
วงใน | น. บุคคลหรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง เช่น ข่าวนี้รู้มาจากวงในของราชการ เรื่องนี้พูดกันแต่วงในของคณะรัฐมนตรี, ตรงข้ามกับ วงนอก. |
สังสนทนา, สั่งสนทนา | ก. พูดกันฐานกันเอง, พูดจาหารือกัน, มักใช้ สั่งสนทนา. |
เสียงแปร่ง | น. เสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่นนั้น ๆ. |
หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ | ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ. |
หนาหู | ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหูว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็นคำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง. |
ออกตัว | ก. พูดกันตัวหรือแก้ตัวไว้ก่อน |