กระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
กัน ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, เช่น กันจะไปรอที่สถานีรถไฟ. |
เกล้ากระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ขอประทาน | ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (มักใช้นำหน้าคำที่พูดกับผู้ใหญ่). |
ขอรับกระผม, ขอรับผม | คำรับด้วยความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง (ใช้พูดกับผู้ใหญ่). |
ข้า ๒ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เจริญพร | เป็นคำเริ่มที่ภิกษุสามเณรพูดกับสุภาพชน และเป็นคำรับ. |
เจ้า ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือเอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคำ นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่นจะไปด้วยหรือเปล่า. |
ฉัน ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ดูกร , ดูก่อน, ดูรา | (ดูกะระ, ดูกอน) คำกล่าวเรียกผู้ที่จะสนทนาด้วย เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น ดูกรเจ้าชาลีลูกรัก (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ถวายพระพร | คำเริ่มและคำรับที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านาย. |
เธอ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำเติมท้ายคำนำพระนามเจ้านายที่แสดงความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ มาจากคำว่า ธ ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ. |
เพ็ดทูล | ก. พูดกับเจ้านาย, พิดทูล ก็ว่า. |
รูป, รูป- | (รูบ, รูบปะ-) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. |
เรียม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับผู้ชายพูดกับผู้หญิงที่รัก, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. [ ข. |
ลื้อ ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ลูก | น. ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน |
ลูกช้าง | ส. คำแทนชื่อคนซึ่งพูดกับเจ้าที่เป็นผีแทนคำว่า ข้าพเจ้า. |
ไว้เนื้อเชื่อใจ | ว. ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขาเถอะ เขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. |
สัมมาคารวะ | น. ความเคารพนบนอบ เช่น พูดกับผู้ใหญ่ต้องมีสัมมาคารวะ. |
หนู ๒ | สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คำสำหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย. |
หม่อมฉัน | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูดสำหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือสำหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, คำที่พระมหากษัตริย์ใช้แทนพระองค์เมื่อมีพระราชดำรัสกับพระบรมวงศานุวงศ์และพระราชวงศ์ต่างประเทศ, โบราณใช้ว่า กระหม่อมฉัน. |
เหมือนว่า, เหมือนหนึ่งว่า | สัน. ดุจว่า, ประหนึ่งว่า, เหมือนกับว่า, เช่น เขาพูดกับฉันเหมือนว่าฉันเป็นเพื่อนเขา เขารักฉันเหมือนหนึ่งว่าเป็นลูกในไส้. |
อาตมภาพ, อาตมา ๑ | (-พาบ, อาดตะมา) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์ ทั้งที่เป็นเจ้านายหรือสามัญชน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เอ็ง | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้พูดกับผู้น้อยหรือใช้พูดกับเพื่อนฝูงที่อยู่ในวัยเดียวกัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |