มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ ภาษาเบสิก | [phāsā Bēsik] (n, exp) EN: Basic language FR: langage Basic [ m ] |
| |
| ^ | <คำแปล> hat หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายหมวก (^) ในภาษาไทยเราก็เรียกเครื่องหมายนี้ว่า "หมวก" ใช้แทน แป้นควบคุม (Control Key) เช่น กดแป้นควบคุมและแป้น K จะใช้ย่อ ๆ ว่า กด ^K ในภาษาเบสิกใช้หมายถึงการยกกำลัง เช่น 5^3 มีความหมายว่า 5 ยกกำลัง 3 ดู caret ประกอบ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>caretหมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น | bas | (บีเอเอส) ใช้เป็นนามสกุลของแฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาเบสิก | basic | (เบ'ซิค) 1. adj. เกี่ยวกับฐาน, เกี่ยวกับด่าง 2. เป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่งใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษาเบสิกนี้เขียนง่าย ๆ เหมาะกับผู้เริ่มต้นเรียน คำว่า BASIC นั้นย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code แปลได้ว่า รหัสคำสั่งที่เป็นสัญลักษณ์เอนกประสงค์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อเริ่มนำออกใช้ใหม่ ๆ ภาษานี้มีข้อจำกัดมาก ในปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาภาษานี้ไปไกลแล้ว แต่นักทำโปรแกรมทั่วไปมักจะดูถูกว่า เป็นภาษาสำหรับผู้เริ่มต้น และไม่นิยมนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมใหญ่ ๆ ข้อดีของภาษานี้ก็คือ จะทราบที่ผิดและแก้ไขได้ทันที | c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม | caret | ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>หมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น | computer program | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้ | control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO, IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก | extension | (อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก, การยืดออก, การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก, โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type | filetype | ชื่อประเภทแฟ้มข้อมูลหมายถึงส่วนหนึ่งของชื่อแฟ้มข้อมูล โดยปกติในระบบดอส จะเขียนมีขนาดความยาวไม่เกิน 3 ตัวอักขระ เช่น EXAM. BAS BAS จะบ่งบอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาเบสิก | gw-basic | (จีดับบลิวเบสิก) เป็นชื่อภาษาเบสิกแบบหนึ่งที่ดัดแปลงไปจากภาษาเบสิกธรรมดา ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วหันไปใช้ QBASIC แทน | high level language | ภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ | interbreed | (อินเทอบรีด') v. ทำให้ผสมพันธุ์กันระหว่างพันธุ์ต่าง ๆ , ทำให้ผสมพันธุ์กัน. ภาวะเชิงโต้ตอบหมายถึง ภาวะการตอบโต้อย่างทันทีทันควัน เช่น การพิมพ์ป้อนโปรแกรมภาษาเบสิกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าพิมพ์ผิด ก็จะมีรายงานบนจอภาพทันที ผิดกับการใช้โปรแกรมบางภาษาที่ไม่สามารถโต้ตอบได้ ต้องรอจนจบโปรแกรมก่อน จึงจะโต้ตอบ หรือรายงานข้อผิดพลาด หรือหาผลลัพธ์ ให้คำตอบได้ | interpreter | ตัวแปลภาษาเป็นโปรแกรมตัวแปลที่อ่านคำสั่งในโปรแกรมทีละคำสั่ง (ไม่รอจนจบโปรแกรมเหมือนตัวแปลอื่น) แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้นเลย เช่น ตัวแปลที่ใช้แปลโปรแกรมภาษาเบสิก (BASIC) การเรียนวิธีเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ ผู้เรียนจะรู้สึกว่าง่ายและทันใจ เพราะพอใส่คำสั่งเข้าไป เครื่องก็จะรายงานได้ทันทีว่า คำสั่งนั้นถูกหรือผิด ถ้าสั่งให้ทำอะไร ก็จะทำให้เลย ข้อเสียของตัวแปลประเภทนี้ ก็คือ คอมพิวเตอร์จะไม่เก็บคำแปลไว้ หากจะต้องย้อนกลับไปทำคำสั่งนั้นอีก ก็จะต้องแปลใหม่อีกทุกครั้ง ดู compiler ประกอบ | peek | (พีค) vi., n. แอบมอง, มองตามช่อง, มองแวบหนึ่ง, Syn. spy, peep, glance, peer พีก <คำอ่าน>เป็นคำสั่งหนึ่งของภาษาเบสิก BASIC ที่จะสั่งให้แสดงที่อยู่ที่แน่นอนของข้อมูลในหน่วยความจำ ส่วนมากจะใช้ เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงค่าที่เก็บอยู่ในนั้น ดู BASIC ประกอบ | poke | (โพค) v. แหย่, กระทุ้ง, กระแทก, ปัก, เสียบ, ดัน, กระตุ้น, ค้นหา., See also: poke fun at หัวเราะ. n. การผลัก, การดัน, Syn. prod, โพก <คำอ่าน>เป็นคำสั่งหนึ่งในภาษาเบสิก BASIC ที่สั่งกำหนดให้เก็บค่าใดค่าหนึ่งในเลขที่อยู่ address ที่แน่นอนในหน่วยความจำได้ | run | (รัน) { ran, run, running, runs } vi., vt. วิ่ง, เข้าแข่ง, รีบ, ขับ, แล่น, เดินเครื่อง, ดำเนินการ, ปฏิบัติการ, (เวลา) ผ่านไป, เป็นจำนวน, เป็นดังต่อไปนี้, เป็นหนี้, มีอายุ, ผ่านไปอย่างรวดเร็ว, เคลื่อนไปตาม, วิ่งไปตาม, กระทำ n. การวิ่ง, ระยะทางที่ไป, เส้นทาง, ทางน้ำไหล, เที่ยวเรือ, เที่ยวรถ, ความต่อเนื่อง, ก้าวหน้า, ทิศทาง, ดำเนินงานหมายถึง การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นไปตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมในภาษาเบสิก (BASIC) ใช้เป็นคำสั่งให้เริ่มกระทำการตามคำสั่งในโปรแกรม | true basic | ทรูเบสิก <คำอ่าน>เป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง เป็นภาษาโครงสร้างของภาษาเบสิก ได้รับการพัฒนามาจากภาษาเบสิกเมื่อ ค.ศ.1983 ไม่ต้องมีเลขหมายประจำบรรทัด (line number) |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |