Search result for

*รังสีแกมมา*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: รังสีแกมมา, -รังสีแกมมา-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
รังสีแกมมาดู แกมมา.
กัมมันตภาพรังสี(กำมันตะ-) น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน.
แกมมาน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร.
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
บีตาน. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา.
โพซิตรอน(-ตฺรอน) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าเท่ากับประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน แต่เป็นประจุไฟฟ้าบวก เมื่อโพซิตรอนและอิเล็กตรอนอย่างละ ๑ อนุภาคมากระทบกัน ทั้งคู่จะทำลายล้างกันสูญหายไปด้วยกันทั้งสิ้น และให้พลังงานมากมายเกิดขึ้นในรูปของรังสีแกมมา, แอนติอิเล็กตรอน ก็เรียก.
รังสีคอสมิกน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงยิ่ง มีช่วงคลื่นสั้นยิ่งกว่ารังสีแกมมามาก องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตอนประมาณร้อยละ ๙๐ และพบอิเล็กตรอน อนุภาคแอลฟาด้วย เกิดมาจากอวกาศนอกโลกพุ่งมาสู่โลก ยังไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่นอน.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
gamma radiationการแผ่รังสีแกมมา [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
gamma rayรังสีแกมมา [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
gamma-ray logแถบบันทึกข้อมูลรังสีแกมมา [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Gamma ray brustsการระเบิดของรังสีแกมมา [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Absorbed doseปริมาณ (รังสี) ดูดกลืน, Absorbed dose, D<sub>T, R</sub> ปริมาณพลังงานที่วัตถุดูดกลืนไว้เมื่อได้รับรังสี มีหน่วยเป็น เกรย์ ปกติจะระบุชนิดของวัตถุและชนิดของรังสี โดยเขียนเป็นสัญลักษณ์ดังนี้ D<sub>material, radiation</sub> เช่น D<sub>lung, alpha </sub>ยกเว้นรังสีแกมมาอาจไม่ต้องระบุชนิดของรังสี เช่น Dwater (ดู gray, Gy ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Absorberสารดูดกลืน, วัสดุใดๆ ที่สามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของ<em>รังสีชนิดก่อไอออน</em> ตัวอย่างของสารดูดกลืน<em>นิวตรอน</em> เช่น แฮฟเนียม หรือ แคดเมียม ใช้เป็นแท่งควบคุมใน<em>เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์</em> สารดูดกลืนรังสีแกมมา เช่น คอนกรีตและเหล็ก ใช้เป็นวัสดุกำบังรังสีในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แผ่นกระดาษหรือแผ่นโลหะบางสามารถดูดกลืนหรือลดความเข้มของรังสีแอลฟาได้ [นิวเคลียร์]
Activation analysisการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี, การจำแนกชนิดและตรวจหาปริมาณของธาตุในสารตัวอย่าง โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาลักษณะเฉพาะที่ปลดปล่อยจาก <em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ที่เกิดขึ้นจากการนำสารตัวอย่างนั้นไปก่อกัมมันตภาพรังสี (ดู Activation ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Annihilationประลัย, ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
Cerenkov radiationการแผ่รังสีเซเรนโกฟ, ปรากฏการณ์เรืองแสงเมื่ออนุภาคที่มีประจุเคลื่อนผ่านวัสดุโปร่งใส ด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วของแสงในวัสดุนั้น เช่น ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเครื่องฉายรังสีแกมมาแบบสระน้ำ จะเห็นการแผ่รังสีนี้เป็นแสงเรืองสีฟ้า พาเวล อเล็กเซวิช เซเรนโกฟ (Pavel Alexsejevich Cerenkov) เป็นคนแรกที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ [นิวเคลียร์]
Decay, radioactiveการสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์]
Disintegration, radioactiveการสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์]
Electromagnetic radiationรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กที่ประสาน และมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ รังสีเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และสามารถผ่านสุญญากาศได้ [นิวเคลียร์]
Excited stateสถานะถูกกระตุ้น, สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะเมื่อมีพลังงานสูงกว่าระดับปกติ พลังงานส่วนเกินของนิวเคลียสมักถูกปลดปล่อยเป็นรังสีแกมมา สำหรับพลังงานส่วนเกินของโมเลกุลอาจปรากฏในลักษณะการเรืองแสงหรือความร้อน (ดู ground state ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Terrestrial radiationรังสีจากพื้นโลก, รังสีจากสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่บนพื้นโลก เป็นรังสีที่มนุษย์ได้รับจากภายนอกร่างกายปีละประมาณ 410 ไมโครซีเวิร์ต ส่วนที่มีผลเป็นปริมาณรังสีต่อมนุษย์คือรังสีแกมมา ซึ่งปลดปล่อยมาจากนิวไคลด์รังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก (ดู Primordial radionuclides) ได้แก่ สารกัมมันตรังสีในอนุกรมยูเรเนียม อนุกรมทอเรียม และสารกัมมันตรังสีโพแทสเซียม (K-40) [นิวเคลียร์]
Single Photon Emission Computed Tomographyสเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก, Example: [นิวเคลียร์]
Single Photon ECTสเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก [นิวเคลียร์]
Scintillationแสงวับ, แสงที่เปล่งออกมาอย่างรวดเร็ว เมื่อรังสีชนิดก่อไอออนทำอันตรกิริยากับวัสดุบางชนิด เช่น รังสีแกมมากระทำต่อผลึกโซเดียมไอโอไดด์ [นิวเคลียร์]
Radiotherapyรังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์]
Radiographyการถ่ายภาพรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออน เช่น รังสีเอกซ์ หรือ รังสีแกมมา ถ่ายภาพวัตถุบนแผ่นฟิล์มโดยอาศัยหลักการดูดกลืนรังสี ส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้น้อยกว่าจะปรากฏภาพเงาบนฟิล์มทึบกว่าส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้มากกว่า [นิวเคลียร์]
Radioactive decayการสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์]
Radiative captureการจับยึดแบบปล่อยรังสี, กระบวนการจับยึดทางนิวเคลียร์โดยนิวเคลียสแล้วแผ่เฉพาะรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทันที เช่น เมื่อนิวเคลียสจับยึดนิวตรอนแล้วปล่อยรังสีแกมมาออกมา [นิวเคลียร์]
Radiation, nuclearรังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Radiation therapyรังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์]
Radiation induced F1-sterilityการชักนำให้เป็นหมันในรุ่นลูกด้วยรังสี, การใช้รังสีชักนำให้แมลงศัตรูพืชในกลุ่มผีเสื้อเป็นหมันแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะถ่ายทอดความเป็นหมันแบบสมบูรณ์ในรุ่นลูก โดยไม่ทำให้พฤติกรรมและความสามารถในการผสมพันธุ์เสียไป ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประชากรแมลงอีกวิธีหนึ่ง <br>วิธีการนี้ประสบความสำเร็จใน หนอนเจาะสมอฝ้ายสีชมพู (pink bollworm) และหนอนทำลายแอปเปิล (codling moth) โดยใช้รังสีแกมมาที่ปริมาณ 80-200 เกรย์ </br> <br> (ดู sterile insect technique ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์]
radiationรังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์]
Photonโฟตอน, กลุ่มหนึ่งๆ ของพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโมเมนตัมซึ่งเป็นลักษณะของอนุภาค แต่ไม่มีมวลหรือประจุไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ [นิวเคลียร์]
Pair productionแพร์โพรดักชัน, การแปลงพลังงานจลน์ของโฟตอนหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงให้เป็นมวล เกิดเป็นอนุภาคย่อยและปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้น เช่น การที่รังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานตั้งแต่ 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ขึ้นไป ผ่านสนามไฟฟ้ารอบนิวเคลียสแล้วกลายเป็นอิเล็กตรอนและโพซิตรอนที่มีพลังงานเท่ากัน <br>พลังงาน 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์เทียบเท่ากับมวลนิ่งของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอนรวมกัน</br>, Example: [นิวเคลียร์]
Nuclear radiationรังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Nuclear fissionการแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์]
Neutron bombลูกระเบิดนิวตรอน, ลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาดเล็ก ออกแบบเป็นพิเศษให้มีผลทำลายน้อยที่สุดจากแรงระเบิดและความร้อนในวงจำกัดรัศมีสองร้อยถึงสามร้อยเมตร แต่มีผลในวงกว้างทำให้สิ่งมีชีวิตถึงตายได้จากอนุภาคนิวตรอนและรังสีแกมมา ลูกระเบิดนิวตรอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายรถถังและกองทหารในสนามรบโดยไม่เป็นอันตรายต่อตัวเมืองและย่านชุมชนที่อยู่ห่างออกไป <br>(ดู H-bomb ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Neutron Activation Analysisการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน, เอ็นเอเอ, การจำแนกชนิดและปริมาณของธาตุในสารตัวอย่างโดยใช้อนุภาคนิวตรอนเป็นตัวกระทำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีแก่สารตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ แล้ววัดรังสีแกมมาเฉพาะตัวที่ปลดปล่อยจากนิวไคลด์รังสีที่เกิดขึ้น <br>(ดู activation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Mutagenic agentสิ่งก่อการกลาย, สิ่งก่อกลายพันธุ์, สิ่งที่ทำให้ความถี่ของการกลายพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นจากที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น สารเอทิลมีเทนซัลโฟเนต (ethylmethane sulfonate) และรังสีแกมมา [นิวเคลียร์]
Mutagenสิ่งก่อการกลาย, สิ่งก่อกลายพันธุ์, สิ่งที่ทำให้ความถี่ของการกลายพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นจากที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น สารเอทิลมีเทนซัลโฟเนต (ethylmethane sulfonate) และรังสีแกมมา, Example: [นิวเคลียร์]
Ionizing radiationรังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Induced mutationการกลายพันธุ์จากการเหนี่ยวนำ, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ ของเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการใช้รังสีแกมมา หรือสารเคมีบางชนิด เหนี่ยวนำให้เกิดการกลาย [นิวเคลียร์]
Fissionฟิชชัน, การแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์]
Food irradiationการฉายรังสีอาหาร, การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตอย่างถูกสุขลักษณะและบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสม ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรือลำอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาค ด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิ ยับยั้งการทำลายหรือแพร่พันธุ์ของแมลง ยืดอายุการเก็บรักษา ยับยั้งการงอก และชะลอการสุก [นิวเคลียร์]
Gamma fieldไร่รังสีแกมมา, พื้นที่ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง และติดตั้งเครื่องฉายรังสีแกมมาอยู่ตรงกลาง ใช้สำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ดอก และไม้ประดับ เพื่อศึกษาผลของรังสีแกมมาปริมาณต่ำที่พืชได้รับอย่างสม่ำเสมอ [นิวเคลียร์]
Gamma greenhouseเรือนรังสีแกมมา, เรือนเพาะเลี้ยงพืชที่มีหลังคาโปร่งแสง บริเวณตรงกลางเรือนหรือด้านใดด้านหนึ่งของห้องติดตั้งเครื่องฉายรังสีแกมมา มีกำแพงคอนกรีตหนาเพื่อป้องกันไม่ให้รังสีออกสู่ภายนอก และมีเครื่องควบคุมการฉายรังสีอยู่ด้านนอก ใช้สำหรับศึกษาผลของรังสีต่อพืชและการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยให้พืชที่ปลูกในกระถางได้รับรังสีปริมาณต่ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานาน [นิวเคลียร์]
Gamma irradiationการฉายรังสีแกมมา [นิวเคลียร์]
Gamma radiationรังสีแกมมา [นิวเคลียร์]
Gamma rayรังสีแกมมา, Example: รังสีที่มีอำนาจการทะลุทะลวงสูง ส่งผ่านไปได้ในอากาศเป็นระยะทางไกลไชทะลุของบางอย่างได้ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะบางๆ ต้องใช้กำแพงคอนกรีตจึงจะกั้นไว้ได้ เช่น 60Co รังสี gamma เป็นอันตรายต่อร่างกายมาก เพราะไชผ่านเข้าไปได้ลึก และทำให้โมเลกุลที่มันตกกระทบกลายเป็น ion เป็นเหตุให้เคมีของโมเลกุลเปลี่ยนไป หรือเซลล์ตาย และยังผลกระทบต่อไปจนกระทั่งอวัยวะถูกทำลาย [สิ่งแวดล้อม]
Effect of gamma rays onผลกระทบของรังสีแกมมา [TU Subject Heading]
Gamma camerasเครื่องบันทึกภาพรังสีแกมมา [TU Subject Heading]
Gamma raysรังสีแกมมา [TU Subject Heading]
Relative Biological Effectผลทางชีววิทยาสัมพัทธ์, การเปรียบเทียบปริมาณรังสีของรังสีชนิดหนึ่งกับรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60 ที่ก่อให้เกิดผลทางชีววิทยาเหมือนกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน $ RBE = \frac{ ปริมาณรังสีจากรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 }{ ปริมาณรังสีจากรังสีชนิดอื่น } $ [นิวเคลียร์]
Gamma (G - Ray)รังสีแกมมา, Example: มีอำนาจการทะลุทะลวงสูง ส่งผ่านไปได้ในอากาศเป็นระยะทางไกล ไชทะลุของบางอย่างได้ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะบาง ๆ ต้องใช้กำแพงคอนกรีตจึงจะกั้นไว้ได้ เช่น 60Co รังสี gamma เป็นอันตรายต่อร่างกายมาก เพราะไชผ่านเข้าไปได้ลึก และทำให้ โมเลกุลที่มันตกกระทบกลายเป็น ion เป็นเหตุให้เคมีของโมเลกุลเปลี่ยนไปหรือเซลล์ตาย และยังผลกระทบต่อไปจนกระทั่งอวัยวะถูกทำลาย [สิ่งแวดล้อม]
gamma irradiationการฉายรังสีแกมมา, การนำวัตถุใดๆ ไปฉายรังสีแกมมาโดยไม่มีรังสีตกค้าง [พลังงาน]
ionisingradiationรังสีชนิดก่อไอออน, คือ พลังงานในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออนุภาครังสีใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตรอนที่มีความเร็วสูง รังสีชนิดนี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต [พลังงาน]
Positron Emission Tomographyเป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน]
radappertizationการทำให้ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหรือจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ยังผลให้อาหารนั้นเก็บได้นานหลายเดิอน หรือเป็นปี โดยไม่ต้องใช้ความเย็น เช่น การทำอาหารแช่แข็ง หรือใช้ความร้อน เช่น การทำอาหารกระป๋อง ตัวอย่างอาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับคนไข้ และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ [พลังงาน]
radiation disinfestationการควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตผลการเกษตร ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน เพื่อกำจัด หรือยับยั้งการขยายพันธุ์ของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหารหรือผลิตผลการเกษตร และจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับเข้ามาทำลายของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหาร หรือผลิตผลการเกษตรที่ฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ [พลังงาน]
radiation sprout inhibitionการยับยั้งการงอกด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทพืชหัวไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุม หรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือนโดยไม่งอกหรืองอกเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการฉายรังสีที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้ อาหารเน่าเสีย ตัวอย่างของอาหารที่นำมาฉายรังสี ได้แก่ หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม และขิง [พลังงาน]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
gamma ray(n) รังสีแกมมา

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top