นิรุทธ์ | ก. ดับแล้ว. |
รุทธ์ | ก. ห้าม, กีด, กั้น, ดับ. |
อวรุทธ์, อวรุทธก | (อะวะรุด, อะวะรุดทะกะ) ว. ถูกขับไล่. |
อวิรุทธ์ | ว. ไม่ขัดข้อง, ไม่ผิดพลาด |
อวิรุทธ์ | สะดวก |
อวิรุทธ์ | มีอิสระ. |
กรภุม | (กอระ-) น. กระพุ่ม เช่น สนธยากรภุมบุษ ปบังคมบำบวงสรณ (อนิรุทธ์). |
กระเบง | ก. เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน (อนิรุทธ์) |
กระเบิก | ก. เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ (อนิรุทธ์). |
กระพุ่ม | น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญ- จนแมนมาเลขา (อนิรุทธ์). |
กระลับกระลอก | (-หฺลับ-หฺลอก) ก. พลิกแพลง เช่น ก็กระลับกระลอกแทง (อนิรุทธ์). |
กระแหม็บ, กระแหม็บ ๆ | (-แหฺม็บ) ว. หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกำลัง, (โบ) เขียนเป็น กระแหมบ ก็มี เช่น กระแหมบกระเหม่นทรวง (อนิรุทธ์). |
กระอืด | ก. ร้องไห้รํ่าไร, รํ่าไห้, เช่น เกรงอาตม์กระอืดโอย (สรรพสิทธิ์), จำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงละลวงกาม (อนิรุทธ์). |
กรัง ๒ | (กฺรัง) น. เนิน เช่น กึกก้องไพรกรัง (อนิรุทธ์), อเนกทั่วไพรกรัง (ดุษฎีสังเวย). |
กลอน ๓ | (กฺลอน) น. ลูกตุ้ม, ขลุบ, เช่น แกว่งกลอนยรรยงยุทธ์ (อนิรุทธ์). |
กั้ง ๒ | ก. กั้น เช่น นา ๑๖๐๐ กินเมืองเจียดเบื้ออหักรองตลุ่มกั้งกแอทาชาต (สามดวง), ดุจจันทราทิตยมณฑล เกือบกั้งเบื้องบน บุรีระเรื่อยฉายา (อนิรุทธ์). |
กันเอา | ว. กรรเอา, กลมกล่อม, เช่น สรวญเสียงกันเอาเอา มโนเทพรังรักษ์ (อนิรุทธ์). |
กำเลา | ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ (อนิรุทธ์). |
จะกรุน, จะกรูน | ว. สีดำ, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชำนิเมามัน หลากหลากหลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล (อนิรุทธ์). |
จาป ๑, จาปะ | (จาบ) น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วยลูกจาปแล่นลิ่ว (อนิรุทธ์). |
ฉะกะ | ก. ระกะ เช่น โกมุทอุบลบานฉะกะ (อนิรุทธ์). |
โชรม | รุมกัน, ช่วยกัน, เช่น โชรมป่ายโชรมปืนโชรมโจม โชรมรุกโชรโชรม รเร่งรโรมโรมรุม (อนิรุทธ์). |
ซระ | (ซะ) ก. ชะ, ล้าง, เช่น ไชยสินธุสมุทรแขวงขอบ เรียบรัตนเรียงรอบ คือฝั่งสมุทรเซราะซระ (อนิรุทธ์). |
เซรา | (เซา) น. ซอกผา, ห้วย, เช่น ป่าดงพงหลวงตระการ เซราะเซราเขาธาร ชรลัดชรล่องดองไพร (อนิรุทธ์). |
เซราะ | (เซาะ) ก. เซาะ เช่น ไชยสินธุสมุทรแขวงขอบ เรียบรัตนเรียงรอบ คือฝั่งสมุทรเซราะซระ (อนิรุทธ์). |
โซรม | (โซม) ก. รุมกัน, ช่วยกัน, เช่น จึ่งจะรุมโรมโซรมปรทยด (ม. คำหลวง ชูชก), เลือดไหลคือโชรเซราะธาร ยักษาพลพาน โซรมก็ผาดผลาญผลง (อนิรุทธ์). |
โซรมโรม | ก. รุมรบกัน, เขียนเป็น โซรมรโรม ก็มี เช่น ศรสาตรสาตรา- วุธโซรมรโรมแทง (อนิรุทธ์). |
ดำแคง | ก. เลื่องลือ, ระบือไป, ดังสนั่น, เช่น เมิลมุขรุกขผกาผลาผลตระการ เซาะธารดำแคงเสียง คครึง (อนิรุทธ์). |
ดำรู ๑ | ว. งาม, น่ารัก, เช่น นุประดับนางสนมบู เจียรจันทรดำรู หฤทัยเกิดกามา (อนิรุทธ์). |
โดรณ, โดรณะ | (โดน, โดระนะ) น. ซุ้ม, ประตูซุ้ม, เช่น แขลโขลญทวารจริจรวจ ตรดวจดารโดรณ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), นางจรัลโดรณจรวจจรี เชิงเทินคือคิรี คิรินทรเรืองรอบคอบ (อนิรุทธ์). |
ตรลบ | (ตฺระหฺลบ) ก. ตลบ, เขียนเป็น ตรหลบ หรือ ตระหลบ ก็มี เช่น สองก้ำกึ่งกันทานทบ แผลงศรตรหลบ ตรเลิดพันลึกนิดินบน (อนิรุทธ์), ไพร่พลเมืองนาวนาว นฤนาท แตรตระหลบก้องหล้า ส่งสยง (ยวนพ่าย), เถิดฤๅจะรื้อรบ ตระหลบวิ่งเข้าชิงแดน ฟันเสียให้นับแสน ให้เศียรขาดลงดาดดิน (พากย์นางลอย). |
ตรเลิด | (ตฺระเหฺลิด) ก. เตลิด เช่น สองก้ำกึ่งกันทานทบ แผลงศรตรหลบ ตรเลิดพันลึกนิดินบน (อนิรุทธ์). |
ตระกอง | (ตฺระ-) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น ดุจมือไตรโลกยตระกอง เศิกเสี้ยนยากปอง จะป่ายจะปีนเปลืองตน (อนิรุทธ์), กระกอง ก็ว่า. |
ตระการ | (ตฺระ-) ว. งาม เช่น ป่าดงพงหลวงตระการ เซราะเซราเขาธาร ชรลัดชรล่องดองไพร (อนิรุทธ์), น้ำพุพุ่งซ่า ไหลฉ่าฉาดฉาน เห็นตระการ (สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย เพลงเถา) |
ตระการ | ประหลาด, แปลก, เช่น ข้าเห็นร่มชมพู ตรูรัตนพิสาล ตรงตระการกว่าชื่นแล (ม. คำหลวง ทศพร), เสียงแตรสังขแลพาทยเภริยนุดนตรี อึงเองบพักตี ตระการ (อนิรุทธ์) |
ตระบัด ๑ | (ตฺระ-) ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, เช่น พลิกไปมาฟื้นตื่นองค์ ในรถมาศผจง ก็ตื่นตรบัดบัดใจ (อนิรุทธ์), กระบัด ก็ใช้. |
ตระโบม | (ตฺระ-) ก. โลมเล้า, กอด, เช่น เชยแก้มลลาโลม ตระโบมจูบพระเพาพะงา บัดเดี๋ยวจะคืนมา ประสบน้องสำราญรมย์ (อนิรุทธ์), กระโบม ก็ว่า. |
ตระอร | ประคับประคอง เช่น อุษากำสรดกล่าว คดีโดยดั่งสมสอง ชายหนึ่งมาลอบลอง ในราตรีตระอรอร (อนิรุทธ์), เกื้อกามตระอร (กฤษณา). |
ตฤบ, ตฤป | (ตฺริบ) ก. อิ่มเอม, เสพ, เช่น ตฤบรสสุคนธกำจร (อนิรุทธ์). |
เต้า ๒ | น. นม เช่น แสงสอดลอดในพระไทรพราย เดือนบ่ายต้องเต้าเจ้าวันทอง (ขุนช้างขุนแผน), บัวตูมติดขั้วบังใบ บังใบท้าวไท ว่าเต้าสุดาดวงมาลย์ (อนิรุทธ์) |
ไตร ๑ | (ไตฺร) ว. ไกร, ยิ่ง, เช่น ปางนั้นพระพลเทพก็เล็งศัตรูไตร สว่างไสวไหว พลพีริยโจษจรร (อนิรุทธ์). |
ไตรตรา | ก. ตรวจและหมายไว้ เช่น ไตรตราหาหน้าตรวจตรา หญิงชายชายหา ก็รู้ระบิตริตรอง (อนิรุทธ์) |
ถั่น ๆ | ว. เร็ว ๆ, พลัน ๆ, เช่น ถั่นถั่นถึงพนไพรพิศาลสุขรมย์ ชื่นชมสำราญสม สำเริง (อนิรุทธ์) |
ถีบฉัด | ก. อาการที่ช้างใช้ตีนหลังถีบหรือเตะ เช่น ม้วนงวงแทงธรณีดล งางอนเงยกล คือดั่งจะเสื้องสอยดาว ถีบฉัดผัดผาผาดสราว ไม้ไล่เหิรหาว ก็ฟุ้งทั้งป่าเปนไฟ (อนิรุทธ์). |
ท่าว ๑, ทะท่าว | ก. ล้ม, ทบ, ยอบลง, เช่น ก็กรลับกรลอกแทง ทีเดียวก็ท่าวล้มในกลางแปลง (อนิรุทธ์), ซ้ำ เช่น ก้มเกล้าท่าวทวน ทำนูญบำบวงสรวลเสร (อนิรุทธ์) |
ทำเนียม | ว. เทียม, แนบ, ชิด, เช่น ใครโทจะเท่าเทียม ทำเนียมพักตรเล้าโลม เล้าลูบตระโบมโสม รูปกฤตย์ฤดีดาย (อนิรุทธ์). |
ทึก | น. นํ้า เช่น ปางคราสฉมจันทนคันธา เรียบเทียบทึกสรา สำรวลสำราญริมถนน (อนิรุทธ์). |
เทง, เท้ง ๑ | ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวารพระกุฎีกูดังนี้ (ม. คำหลวง กุมาร), ตระบัดก็ให้เท้ง กระทุ่มเภรียครืนเครง กึกก้องบันลือเลวง (อนิรุทธ์). |
เทียร, เที้ยร, เทียรย่อม | ก. ย่อม, ล้วนแล้วไปด้วย, เช่น นี่รอยเบื้องบุญสองรา เทียรทอดรอดมา มาลุมาหล่งโดยใจ (อนิรุทธ์), เขาอันชื่อไกรลาสนั้นเทียรย่อมเงินแล (ไตรภูมิ). |
ธาษตรี | (ทาดตฺรี) น. แผ่นดิน, โลก, เช่น คึกคึกเครงเครงธาษตรี คือสีหสู้สี หสีหนาทสรรทับ (อนิรุทธ์). |