เจียมสังขาร | ก. รู้จักประมาณร่างกาย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่เจียมสังขาร. |
บุญญาภิสังขาร | น. สภาพที่บุญตกแต่ง. |
ปลงสังขาร | ก. พิจารณาเห็นว่าเราจะต้องตายเป็นแน่แท้. |
ปลงอายุสังขาร | ก. บอกกำหนดวันสิ้นสุดแห่งอายุ (ใช้แก่พระพุทธเจ้า). |
วายชนม์, วายชีวิต, วายปราณ, วายวาง, วายสังขาร | ก. ตาย. |
สังขาร, สังขาร- | (-ขาน, -ขาระ-, -ขานระ-) น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง |
สังขาร, สังขาร- | ความคิดเป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). |
สังขาร, สังขาร- | (-ขาน, -ขาระ-, -ขานระ-) ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี. |
สังขารธรรม | (สังขาระ-) น. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง. |
สังขารโลก | (สังขานระ-) น. ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวง. |
สังขารา | น. ชื่อทำนองเพลงไทย ใช้ขับร้องในการเล่นหุ่นกระบอก. |
สิ้นสังขาร | ก. ตาย เช่น ร้องประกาศแก่พหลพลยักษ์ อันรามลักษมณ์สุดสิ้นสังขาร (รามเกียรติ์). |
ขันธ์ | น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. |
จีรัง | ว. นาน, ยาวนาน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยั่งยืน เป็น จีรังยั่งยืน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน. |
ชิวงคต, ชีวงคต | ก. ตาย เช่น มาตรแม้นพระองค์ชีวงคต โอรสจะม้วยสังขาร์ (รามเกียรติ์ ร. ๒). |
แตกดับ | ก. สูญสลาย เช่น วิญญาณแตกดับ สังขารย่อมแตกดับเป็นธรรมดา, ตาย ในคำว่า ชีวิตแตกดับ. |
เที่ยง | ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน |
ธรรมฐิติ | น. “การตั้งอยู่แห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
ธรรมธาตุ | น. “การทรงอยู่แห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
ธรรมนิยาม | น.“การกำหนดแน่นอนแห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
ธรรมสถิติ | น. “การตั้งอยู่แห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
ธรรมสังเวช | น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). |
นิพพิทาญาณ | น. ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในทุกข์, ปัญญาสามารถหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย. |
เบญจขันธ์ | น. กอง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. |
ปลงธรรมสังเวช | (ปฺลงทำมะสังเวด) ก. เกิดความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (ใช้แก่พระอริยบุคคล). |
มาร, มาร- | ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. |
ยั่งยืน | ก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว. |
ร่วงโรย | ก. เสื่อมไป, สิ้นไป, เช่น สังขารร่วงโรย, เซียวไป เช่น อดนอนหน้าตาร่วงโรย. |
รู้เท่า | ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร |
รูป, รูป- | (รูบ, รูบปะ-) น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่ |
วิญญาณ | ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ |
วิปัสสนา | (วิปัดสะนา) น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. |
เวทนา ๑ | (เวทะ-) น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ |
สัญญา | ความจำ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. |
อสุภกรรมฐาน | (-กำมะถาน) น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร. |
อัศจรรย์ | (อัดสะจัน) น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมีความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. |