ตะโพกสุดเสียงสังข์ | น. เรียกตะโพกหญิงที่ผายออกมาก. |
ท้ายสังข์ | น. ท้ายสุดของปืนใหญ่แบบไทย มีลักษณะงอนคล้ายก้นของหอยสังข์. |
น้ำสังข์ | น. นํ้าพระพุทธมนต์ที่หลั่งจากสังข์ในพิธีมงคล เช่นรดลงที่มือคู่บ่าวสาวในงานแต่งงาน หรือรดลงที่ศีรษะเด็กในงานโกนจุก. |
สังข-, สังข์ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด เช่น สังข์รดน้ำหรือสังข์อินเดีย (Turbinella pyrumLamarck) ในวงศ์ Turbinellidae เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร [ Chalonia tritonis (Linn.) ] ในวงศ์ Cymatiidae เปลือกมีสีและลวดลายสวยงาม ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. |
สุดเสียงสังข์ | ว. ที่ผายออกมาก (ใช้แก่ตะโพกหญิง) ในความว่า ตะโพกสุดเสียงสังข์. |
กรรเจียกจอน | น. เครื่องประดับหู เช่น กรรเจียกจอนจำหลักลายซ้ายขวา (สังข์ทอง), เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี. |
กรองกรอย | ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย (สังข์ทอง), ตองตอย ก็ว่า. |
กระบาล | (-บาน) น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์ (สามดวง) |
กะเลียว | น. สีเขียวอมดำ, เรียกม้าที่มีสีเช่นนั้น ว่า ม้ากะเลียว หรือ ม้าสีกะเลียว เช่น ข้าเห็นพาชีสีกะเลียว มาเที่ยวกินถั่วริมรั้วไร่ (สังข์ทอง). |
กัมพู | น. หอยสังข์ |
กาบเดียว, กาบเดี่ยว | น. ชื่อเรียกหอยชั้น Gastropoda เปลือกหุ้มตัวต่อกันเป็นชิ้นเดียว โดยม้วนเป็นวงซ้อนกัน และมีช่องให้หอยยื่นตีนออกมาจากเปลือกได้ เช่น หอยสังข์ หอยโข่ง หอยขม. |
กิ่งก้อย | น. นิ้วเล็ก เช่น จะชนะไม่เท่ากิ่งก้อย (สังข์ทอง). |
กุศราช | (กุดสะหฺราด, กุดสะราด) น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง (สังข์ทอง). |
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า | ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เรา เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า (สังข์ทอง). |
ขอน | ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่งหรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน. |
ขื่อมุก | น. แกนเปลือกที่อยู่ในตัวหอยจำพวกหอยสังข์ใช้ทำด้ามทัพพีเป็นต้น. |
ครุ่น | (คฺรุ่น) ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น. |
คลี | (คฺลี) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม (สังข์ทอง) |
ควักค้อน | (คฺวัก-) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า. |
แครง ๔ | (แคฺรง) ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทำด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจำรัสแครง ใสส่อง (ทวาทศมาส). |
งามแงะ | ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง (สังข์ทอง). |
เงือด, เงือดงด | ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคำรบสองคาบสามคาบ (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้ (สังข์ทอง). |
จ้าน | ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม (สังข์ทอง). |
จู่ลู่ | โดยปริยายหมายความว่า วู่วาม, หุนหันพลันแล่น, เช่น อย่าจู่ลู่ดูถูกนะลูกรัก (อภัย), ดูทำนองพระมณีพี่ยา เห็นว่าจะจู่ลู่วู่วาม (มณีพิชัย), เพื่อนกันช่วยฉุดยุดไว้ ผิดไปไม่ได้อย่าจู่ลู่ ตามกรรมตามเวรนางโฉมตรู จู่ลู่จะพากันวุ่นวาย (สังข์ทอง). |
ฉัยยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒). |
ฉาทนะ | (ฉาทะนะ) น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกำบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ไฉยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒). |
ชอบกล | แปลกผิดปรกติ เช่น คนข้างหลังลาดเลาเป็นเจ้าชู้ ตาหูชอบกลเจ้ามณฑา (สังข์ทอง), หน้าตาชอบกล ท่าทางชอบกล. |
ช่างกระไร | คำกล่าวติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาจะหาไหน พี่น้องพร้อมพรั่งช่างกระไร แต่จะยกมือไหว้ก็ไม่มี (สังข์ทอง), คำกล่าวแสดงความตื่นเต้น เช่น น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร นางในกรุงศรีไม่มีเทียม (ขุนช้างขุนแผน). |
ชื่นมื่น | ก. ชื่นบาน เช่น ท้าวสามนต์ฟังถ้อยค่อยชื่นมื่น (สังข์ทอง). |
ชุบตัว | ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้นอย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟเพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้กลับเป็นหนุ่มใหม่ |
ซ้อแซ้ | ว. ซอแซ, เสียงจอแจ, เช่น ผินหน้าปรับทุกข์กันซ้อแซ้ (สังข์ทอง). |
เซซัง | เที่ยวไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีจุดหมายไร้ที่พึ่ง เช่น นางจันทร์เทวีอุ้มพระสังข์เที่ยวเซซังไปในป่า. |
โซ | ว. อดอยาก เช่น อดโซ ผอมโซ หิวโซ, ยากจน เช่น ผัวข้าหาปลาประสาโซ แต่จมูกไม่โหว่เหมือนผู้ดี (สังข์ทอง). |
ด้วน | ก. กุด, ขาด, สั้นเข้า, เช่น ทำไมกับหูแหว่งจมูกวิ่น ถึงจะด้วนเสียสิ้นก็ของข้า (สังข์ทอง) เขาถูกฟันแขนจนด้วน. |
ดูดู๋, ดูหรู | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธ เช่น อีรจนาดูดู๋มึงช่างมักง่าย ทรลักษณ์อัปรีย์ไม่มีอาย หน่อกษัตริย์ทั้งหลายไม่เอื้อเฟื้อ (สังข์ทอง), ดูหรูอ้ายเจ้าเล่ห์ทำเสแสร้งพูดจานี่แอบแฝงเป็นแยบคาย (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
แดกดัน | ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดให้เจ็บใจ เช่น ในบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง นางรจนาพูดแดกดันพี่สาวทั้ง ๖ ว่า ผัวพี่ไปหาปลากับบ่าวไพร่ น้อยฤๅช่างได้มาอักโข ผัวข้าหาปลาประสาโซ แต่จมูกไม่โหว่เหมือนผู้ดี, แดก ก็ว่า. |
ตละ ๑ | (ตะละ) ว. เช่น, เหมือน, ดุจ, เช่น หน้าตาตละยักษ์มักกะสัน (สังข์ทอง). |
ต่อ ๔ | ว. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา (สังข์ทอง) |
ตะแก, ตะแก่ | น. ตัวแก เช่น แล้วตรัสกับเสนานินทาเมีย ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย (สังข์ทอง) |
ติดต้อยห้อยตาม | ก. ตามไปติด ๆ เช่น แต่ร่ำร้องเรียกหาเลือดตาย้อย อุตส่าห์สู้ติดต้อยห้อยตาม (สังข์ทอง). |
ถูกใหญ่ | ก. อาการที่ผู้ขี่ใช้ขากระตุ้นม้าอย่างแรงเพื่อให้ม้าซอยเท้าพร้อมจะเคลื่อนไป เช่น แต่จะขอมิ่งม้าอาชาไนย ที่ถูกใหญ่เคล่าคล่องทำนองคลี (สังข์ทอง). |
ทยา ๒ | (ทะ-) ว. ดี, สำคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง (ไกรทอง), กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน (สังข์ทอง). |
ทรง | ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม |
ทอง ๑ | น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า, เรียกเต็มว่า ทองคำ, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่น ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า (สังข์ทอง ตอนตีคลี) |
ทะยาทะแย, ทะยาทะแยแส | ก. เอาใจใส่, สนใจ, แยแส, เช่น แก้สาดเสียสิ้นกินแต่ของ อันใบตองหาทะยาทะแยไม่ (ขุนช้างขุนแผน), เมื่อนั้นรจนาไม่ทะยาทะแยแส คิดว่าเงาะลูบหลังทำรังแก ไม่เหลียวแลร้องอึงคะนึงไป (สังข์ทอง). |
ท้าว ๒ | ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว (สังข์ทอง). |
นวลหง | งามเลิศ เช่น พระสังข์ตั้งแต่วันนั้นมา ไม่ไว้ใจรจนานวลหง (สังข์ทอง). |
นักเทศ | น. คนต่างประเทศที่สำหรับใช้ในราชสำนัก เช่น นักเทศจงไปสั่งการ พนักงานของใครให้ขวายขวน (สังข์ทอง). |
บั้งแบว | ว. มีหน้าตาพิลึก เช่น หูตาบั้งแบวเหมือนแมวคราว (สังข์ทอง). |