ASEAN Committee in Seoul | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโซล ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำ กรุงโซล มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิ สัมพันธ์กับสาธารณรัฐเกาหลีที่กรุงโซล [การทูต] |
Accelerating Economic Recovery in Asia | โครงการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชีย (สำหรับประเทศไทย) เป็นโครงการที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศในระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 6 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศในเอเชีย 3 ประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ คือ สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย และไทย [การทูต] |
ASEAN Finance and Central Bank Deputies + 3 (China, Japan and Republic of Korea) | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียนกับผู้แทนจาก จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี [การทูต] |
ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] |
ASEAN-ROK Business Council | สภาธุรกิจอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี จัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2534 [การทูต] |
Asia Pacific Economic Cooperation | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก " เป็นกระบวนการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเป้าหมายในการเปิดการค้าเสรีและการลงทุน ภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้ว และปี พ.ศ. 2563 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา ขณะนี้มีสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกีนี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้ง " [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Dialogue Partners | คู่เจรจาอาเซียน " ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย " [การทูต] |
ASEAN - China, Japan and the Republic of Korea Relationship | ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธาณรัฐเกาหลี เป็นกลไกความร่วมมือใหม่ที่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งผู้นำของ อาเซียน จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้พบกันเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยในปี พ.ศ. 2542 ผู้นำอาเซียน+3 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) เป็นหลักการพื้นฐานของการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง [การทูต] |
Asia Europe Meeting | การประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 " [การทูต] |
East Asia Latin American Forum | เวทีหารือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศจาก ภูมิภาคลาตินอเมริกา 12 ประเทศ เม็กซิโก ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา เปรู บราซิล ชิลี อาร์เจนตินา อุรุกวัย ปารากวัย และโบลิเวีย " [การทูต] |
East Asia Vision Group | กลุ่มวิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของประธานาธิบดีคิม แด จุง แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างการประชุมหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดและแสวงหาแนวทางขยายความร่วมมือระหว่างกันในทุก ด้านและทุกระดับเพื่อมุ่งแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง [การทูต] |
Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] |
(ASEAN-ROK) Special Cooperation Fund | กองทุนความร่วมมือพิเศษอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี [การทูต] |