กริม | (กฺริม) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae หรือ Belontiidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัดซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๗ เซนติเมตร ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย [ T. vittatus (Cavier) ], กัดป่า ก็เรียก. |
กะต่อม | น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก. |
กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กินปลี | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด วงศ์ย่อย Nectariniidae ในวงศ์ Nectariniidae ขนคลุมลำตัวสีเหลือบเป็นมัน ตัวผู้สีเข้มกว่าตัวเมีย ซึ่งส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลอมเขียว ปากยาวเรียวโค้งลงเหมาะสำหรับดูดน้ำต้อยจากปลีกล้วย ดอกไม้ และจับแมลงกิน เช่น กินปลีอกเหลือง [ Nectarinia jugularis (Linn.) ] กินปลีหางยาวเขียว [ Aethopyga nipalensis (Hodgson) ] กินปลีท้ายทอยสีน้ำเงิน [ Hypogramma hypogrammicumMüller ]. |
แก่น | น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสำคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. |
ไก่ป่า | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว [ G. g. gallus (Linn.) ] และไก่ป่าติ่งหูแดง [ G. g. spadiceus (Bonaterre) ] ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน. |
เข้ม | แก่, จัด, (มักใช้แก่สีและรส) เช่น สีเข้ม. |
จิ้มฟันจระเข้ | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็นท่อ ลำตัวยาวเรียวมาก หน้าตัดเป็นเหลี่ยม ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ครีบท้องไม่มี ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไข่ไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีนํ้าตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด Doryichthys boaja (Bleeker) ส่วนในทะเลได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น Doryrhamphus, Corythoichthys, Trachyramphus มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่. |
ซ่อนทราย | ชื่อปลาทะเลในสกุล Sillagoวงศ์ Sillaginidae หัวหลิมแหลม ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางเป็นแฉกตื้นหรือเว้าเพียงเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ลำตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา บางชนิดมีแต้มสีน้ำตาลเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลำตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง บ้างมีจุดบนครีบหลัง อยู่เป็นฝูง ไซ้ทรายหากุ้ง ปู หอย หรือหนอนขนาดเล็กอยู่ตามเขตน้ำตื้นบริเวณชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร, เห็ดโคน หรือ บุรุด ก็เรียก. |
ตด ๒ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลำตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภทควินอลออกมาทางก้นมีเสียงดัง ร้อนและมีควัน ที่สำคัญ เช่น ชนิด Pheropsophus occipitalis (MacLeay), P. javanus (Dejean), ปักษ์ใต้เรียก ขี้ตด. |
ตะกรับ ๓ | (-กฺรับ) น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus (Linn.) ในวงศ์ Scatophagidae ลำตัวสั้น แบนข้าง หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทา หรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. |
ทึดทือ | น. ชื่อนกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Strigidae ตาสีเหลือง ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน กินปลาเป็นส่วนใหญ่ อาจกินหนูและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ บ้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ [ Ketupa zeylonensis (Gmelin) ] และทึดทือมลายู [ K. ketupa (Horsfield) ]. |
น้ำมันดิน | น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดำ ได้จากการกลั่นทำลายไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อนำไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมาก. |
โป่งวิด | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis (Linn.) ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ปากยาวแหลม วงรอบเบ้าตาและหางตาสีขาว ตัวสีนํ้าตาลลาย ตัวเมียมีขนาดใหญ่และสีเข้มสวยกว่าตัวผู้ เมื่อออกไข่จะปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่ตามลำพัง ทำรังเป็นแอ่งบนพื้นดิน อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก. |
ม้าน้ำ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลำตัวหนา หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาว ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนหางเรียวยาว ม้วนได้ ไม่มีครีบหาง ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบก้นที่มีขนาดเล็กมาก มีครีบอกแต่ไม่มีครีบท้อง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการังและสาหร่ายทะเล โดยทรงตัวในแนวตั้งและอาจใช้ส่วนหางพันยึดวัตถุใต้นํ้า หลังผสมพันธุ์ ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
แรด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osphronemus gouramy Lacepède ในวงศ์ Osphronemidae ลำตัวแบนข้างหนา ปากเชิด ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น มีลายแถบสีเข้มพาดขวางลำตัวเห็นได้ชัดโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ขนาดใหญ่มีโหนกที่สันหัวคล้ายนอและมีสีส้ม พื้นลำตัวและครีบสีนํ้าตาล ขนาดยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร. |
เล็ดงา | น. ชื่อลายผ้านุ่ง ลักษณะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวขนาดเท่าเมล็ดงากระจายอยู่บนผ้าพื้นสีเข้ม. |
สร้อยนกเขา | น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Osteochilus และ Dangila วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด O. hasselti (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก. |
สร้อยนกเขา | ชื่อปลาทะเลในสกุล Diagramma และ Plectorhynchus วงศ์ Haemulidae โดยเฉพาะชนิดที่มีจุดสีเข้มกระจายหรือเรียงเป็นแถวอยู่ข้างตัว หรือบนหัวและครีบ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด D. pictum (Thunberg) ที่ขณะเป็นปลาขนาดเล็กจะมีแถบกว้างสีดำหรือม่วงดำพาดตามยาวตลอดลำตัวและครีบรวม ๓-๔ แถบ ขณะโตขึ้นแถบเหล่านี้จะแตกออกกลายเป็นจุดใหญ่และเล็กลงตามลำดับ ปลาที่มีขนาดโตมีสีเทาและจุดเหล่านี้จะเล็กลงอีกจนอาจจางหายไปจากบริเวณหัวและท้องคงปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหลัง ครีบหลัง และครีบหางเท่านั้นขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, สร้อยปากหมู ข้างตะเภา หรือ ตะเภา ก็เรียก. |
สลาด | (สะหฺลาด) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus (Pallas) ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลำตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มีขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็กมาก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลำตัวสีขาว หลังเทา ไม่มีจุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร ใช้ทำอาหารประเภททอดมัน ปลาเห็ด หรือลูกชิ้นได้รสชาติดี, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก. |
หมอเทศ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Oreochromis mossambicus (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร. |
หริ่ง | น. ชื่อหนูขนาดเล็กถึงขนาดปานกลางหลายชนิด ในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus Linn.) มีขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างแบน หน้าสั้น ฟันเล็ก ขาสีดำ ปลายนิ้วสีขาว ฝ่าตีนสีเข้ม หางยาวสีดำ เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกระโดดเก่ง ในประเทศไทยมีผู้พบบางตัวมีแถบสีเหลืองพาดตามขวางบริเวณกลางลำตัวใกล้โคนขาหลัง แยกเป็นชนิดย่อย M. m. castaneusWaterhouse, หนูหริ่งไม้หางพู่ [ Chiropodomys gliroides (Blyth) ] มีขนลำตัวค่อนข้างยาว ด้านหลังสีน้ำตาลคล้ำ ท้องสีขาว หางยาว มีแผงขนสีขาวและดำตั้งแต่กลางหางไปถึงปลาย ปลายหางเป็นพู่สีขาว อาศัยอยู่ตามป่า. |