หัวโต | ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด วงศ์ย่อย charadriinae ในวงศ์ Charadriidae และวงศ์ย่อย Dromadinae ในวงศ์ Glareolidae หัวใหญ่ แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน ทำรังเป็นแอ่งตามพื้นทราย วงศ์ย่อยแรก ปากสั้น คอสั้น ปีกกว้าง ปลายปีกมน ขาสั้น ไม่มีนิ้วหลัง หากินตามชายน้ำ กินสัตว์น้ำและแมลง เช่น หัวโตหลังจุดสีทอง [ Pluvialis fulva (Gmelin) ] หัวโตเล็กขาเหลือง (Charadrius dubius Scopoli) หัวโตทรายเล็ก (C. mongolus Pallas) วงศ์ย่อยหลัง คือ หัวโตกินปู (Dromas ordeola Paykull) ปากยาว แบนข้าง ขายาว มีนิ้วหลังโคนนิ้วมีพังผืด หากินตามชายน้ำและบริเวณน้ำตื้น กินสัตว์น้ำโดยเฉพาะปู. |
กด ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ]. |
กระเต็น | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลม ยาว ตรง แบนข้าง และแข็งแรง หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับเหยื่อเช่นปลาในนํ้าหรือแมลงตามท้องทุ่ง พวกที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่มีสีสวยสะดุดตา เช่น กระเต็นน้อยแถบอกดำ ( Alcedo euryzona Temminck) กระเต็นน้อยสามนิ้ว [ Ceyx erithacus (Linn.) ] พวกที่มีขนาดกลาง เช่น กระเต็นลาย [ Lacedo pulchella (Horsfield) ] กระเต็นอกขาว [ Halcyon smyrnensis (Linn.) ] กระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล [ Actenoides concretus (Temminck) ] และพวกที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระเต็นขาวดำใหญ่ [ Megaceryle lugubris (Temminck) ] กระเต็นปักหลักหรือปักหลัก [ Ceryle rudis (Linn.) ]. |
กระโห้ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Catlocarpio siamensis Boulenger ในวงศ์ Cyprinidae หัวโตมากโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบสีแดงคลํ้าหรือส้ม พบในแม่นํ้าใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร จัดเป็นปลานํ้าจืดในกลุ่มปลาตะเพียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
กะพง ๑ | น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ที่มีก้านครีบเป็นกระดูกแข็ง ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น กะพงแดง ( Lutjanus malabaricusSchneider) ในวงศ์ Lutjanidae, กะพงขาว [ Lates calcarifer (Bloch) ] ในวงศ์ Centropomidae, กะพงลาย [ Datnioides quadrifasciatus (Sevastianov) ] ในวงศ์ Lobotidae. |
กะรัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ. |
ข้างเงิน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. |
เขียวหางไหม้ | น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลำตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาลซึ่งมีทั้งสีน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลไหม้ ทุกชนิดออกหากินเวลากลางคืน มักมีนิสัยดุ มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ท้องเขียว ( Trimeresurus popeorum Smith) ปาล์ม ( T. wiroti Trutnau). |
คออ่อน ๒ | น. ชื่องูทะเลมีพิษชนิด Enhydrina schistosa Daudin ในวงศ์ Hydrophiidae ตัวยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร หัวโต ลำตัวสีเทาอมเขียว มีลายจาง ๆ หางแบนใหญ่พบอาศัยในทะเลโคลน มีนิสัยเอาหัวซุกลำตัวหรือวัสดุอื่น จึงเรียกว่า งูคออ่อน. |
เค้า ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Strigidae และวงศ์ Tytonidae หัวโต ตาโตอยู่ทางด้านหน้าของหัว มองเห็นได้ดีในเวลากลางคืน ขนรอบหัวและหน้าพองฟู รูปหน้าคล้ายรูปหัวใจ ขนตามลำตัวนุ่มหนาและเบามีลายเป็นจุด ๆ หรือลายคล้ายเกล็ดปลา หากินในเวลากลางคืน กลางวันหลบพักผ่อนตามต้นไม้ เช่น แสก [ Tyto alba (Scopoli) ] เค้ากู่หรือฮูก ( Otus lempiji Pennant) เค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา [ Bubo sumatranas (Raffles) ] เค้าป่าสีน้ำตาล ( Strix leptogrammica Temminck) เค้าโมงหรือเค้าแมว [ Glaucidium cuculoides (Vigors) ] เค้าเหยี่ยว [ Ninox scutulata (Raffles) ], ฮูก ก็เรียก. |
งวงช้าง ๒ | น. ชื่องูนํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Acrochordus javanicus Hornstedt ในวงศ์ Colubridae หัวโต ตาเล็ก ลำตัวอ้วนใหญ่นุ่มนิ่มคล้ายงวงช้าง ผิวหนังหยาบ เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ หางเรียวเล็ก อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มักขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ. |
จงอาง | น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah (Cantor) ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษรุนแรงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร หัวโต เกล็ดบนหัวใหญ่ สามารถยกหัวและลำตัวท่อนบนตั้งขึ้นได้สูงและแผ่บริเวณคอออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย แต่ไม่แผ่เป็นแผ่นกว้างเท่างูเห่า ขณะแผ่แม่เบี้ยจะเห็นลายขีดบั้งที่ด้านหลังคอ ตัวสีเขียวอมเทาหรือสีคลํ้า พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก. |
จะละเม็ด ๒ | น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Caretta caretta Linn. ในวงศ์ Cheloniidae หัวโตกว่าเต่าทะเลชนิดอื่น เกล็ดกระดองหลังแถวข้างมี ๕ ชิ้น กระดองสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลแดง ท้องสีขาวครีม พบในมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนํ้าอุ่นของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย พบน้อยในอ่าวไทย, เรียกไข่เต่าทะเลทุกชนิด ว่า ไข่จะละเม็ด. |
จิ้งจก | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae และ Eublephoridae เป็นสัตว์จำพวกตุ๊กแก หัวโต ตัวยาว หางยาว ปรกติเคลื่อนที่โดยการไต่สี่ขาตามผนังหรือต้นไม้ กระโดดได้ในระยะสั้น ๆ วิ่งได้เร็ว สลัดหางง่ายและงอกขึ้นใหม่ได้ ปรับสีตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้านหรือจิ้งจกบ้านหางแบน [ Cosymbotus platyurus (Schneider) ] ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดินลายหินอ่อน [ Cyrtodactylus peguensis (Kuhl) ] ตีนเกาะติดผนังไม่ได้, จิ้งจกบิน [ Platyurus craspedotus (Mocguard) ] สามารถร่อนตัวไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม. |
ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
ซ่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys nobilis (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ตุ๊กแก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ Gekko gecko (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน ( Ptychozoon lionatum Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. |
เต่านา | น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดกลาง ชนิด Malayemis subtrijuga (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Emydidae หัวโตสีดำมีลายสีขาวเป็นทางยาวมาถึงคอ กระดองสีน้ำตาล แผ่นเกล็ดขอบกระดองสีน้ำตาลเข้ม อาศัยกินสัตว์ขนาดเล็กตามท้องนาและหนองบึงทั่วไป. |
เต่าปูลู | น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก. |
โต้ ๑ | น. ชื่อมีดชนิดหนึ่ง สันหนา หัวโต, อีโต้ ก็เรียก. |
ใบขนุน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Lactarius lactarius (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Lactariidae ลำตัวกว้าง แบนข้าง หัวโต ปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่งอยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน หรือ สาบขนุน ก็เรียก. |
พญาปากกว้าง | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Eurylaimidae ปากใหญ่รูปสามเหลี่ยม อ้าปากได้กว้าง สีของปากฉูดฉาด สะท้อนแสง หัวโต ลำตัวอ้วนป้อม อาศัยอยู่ในป่าทึบ ทำรังด้วยใบไม้และใยแมงมุมเป็นรูปกระเปาะแขวนตามกิ่งไม้ใกล้แหล่งน้ำ กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และผลไม้ เช่น พญาปากกว้างสีดำ [ Corydon sumatranus (Raffles) ] พญาปากกว้างท้องแดง [ Cymbirhynchus macrorhynchos (Gmelin) ] พญาปากกว้างหางยาว [ Psarisomus dalhousiae (Jameson) ]. |
มีดโต้ | น. มีดขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ใบมีดมีรูปร่างคล้ายน้ำเต้าผ่าเสี้ยว หัวโต สันหนา โคนมีดแคบ ด้ามทำด้วยไม้เป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีด ขนาดสั้นพอมือกำ มีดโต้ขนาดใหญ่และกลาง ใช้ฟันหรือผ่าทั่วไป ขนาดเล็กใช้กรีดหรือผ่าทุเรียนเป็นต้น, พร้าโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก. |
แม่ตะงาว | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga multomaculata (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน. |
ไม้ตลก | น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหัวโต เอารากมาทำเป็นต้นไม้ดัด มีรูปทรงคดงอไม่เข้ารูปใด ๆ มีรากโผล่มาให้เห็น. |
หก ๒ | น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็ก ในวงศ์ Psittacidae ปากหนา หัวโต ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังตามโพรงไม้ มักเกาะห้อยหัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่ [ Psittinus cyanurus (Forster) ] หกเล็กปากแดง [ Loriculus vernalis (Sparrman) ] และหกเล็กปากดำ [ L. galgulus (Linn.) ]. |
หัวตะกั่ว ๑ | น. ชื่อปลาขนาดเล็กชนิด Aplocheilus panchax (Hamilton) ในวงศ์ Aplocheilidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโตและอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ ที่สำคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอน ก็เรียก. |